หน้าแรกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร สื่อธรรมะ กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร

 

 

 

 

 

 






ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้
  นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
  นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

...นอดีตกาลสมัยพระเจ้าพรหมทัต

ครองราชสมบัติ ณ กรุงพาราณสี

พระองค์มีม้าสินธพ อาชาไนย*

ชื่อว่า " โภชาชานียะ" เป็นม้า

ที่ได้รับการฝึกมาแล้วอย่างดีเยี่ยม

มีรูปร่างองอาจล่ำสัน มีพละกำลัง

เป็นเลิศกว่าม้าทั้งปวง มีฝีเท้า

เร็วประหนึ่งสายฟ้า

*สินธพ = ม้าพันธุ์ดีตระกูลหนึ่งแถบลุ่มแม่น้ำสินธุ , อาชาไนย = ฝึกมาแล้วอย่างดี

..... กล่าวได้ว่า แม้เมื่อพระราชา

ขี่ม้าโภชาชานียะเข้าสู่สนามรบแล้ว

ต่อให้ข้าศึกมาพร้อมกันทั้งสิบทิศ

ก็ยังเอาชนะได้


..... แม้เพียงเสียงร้อง

ก็ทำให้ม้า ของข้าศึก

หวาดผวา เสียแล้ว

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

พระเจ้าพรหมทัตจึงทรงโปรดปรานยิ่งนักถือเป็นม้ามิ่งมงคลคู่พระบารมี
สั่งให้ดูแลจัดที่อยู่อย่างดีและอาหารรสเลิศให้เสมือนจัดให้สำหรับบุคคลผู้สูงศักดิ์

พระนครพาราณสีนั้นมั่งคั่ง

อุดมสมบูรณ์ กษัตริย์เมือง

ต่างๆ ล้วนอยากครอบครอง

แต่ด้วยมีทหารกล้า และมี

พระราชาที่สามารถ ทั้งยังมีม้า

อาชาไนยเช่นนี้จึงเป็นที่

ครั่นคร้ามยำเกรง

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

....ครั้นต่อมา
เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ชราลง
มีพระราชาจากนครต่างๆ ถึงเจ็ด
พระนครได้ร่วมมือกันบุกเข้าล้อม
กรุงพาราณสีไว้ แล้วแต่งทูต
มาเจรจาขอให้พระเจ้าพรหมทัต
ยอมศิโรราบ มิฉะนั้นจะยกทัพ
เข้าชิงเมือง

  พระเจ้าพรหมทัตจึงทรงเรียก
ประชุมอำมาตย์ราชมนตรี
ที่ประชุมมีมติให้แม่ทัพม้า
ที่มีความสามารถเยี่ยมผู้หนึ่ง
เป็นผู้ออกไปรับศึกครั้งนี้
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร  
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร


แม่ทัพขี่ม้าสินธพโภชาชานียะ

นำไพร่พลบุกเข้าทลายค่าย

ชั้นที่หนึ่งโดยไม่ชักช้ากองทัพ

ข้าศึกแทบจะแยกออกเป็นทาง

แม้ว่ากองทัพของข้าศึกจะหนาแน่น

เพียงไรก็ไม่อาจต้านทานการบุก

ที่หนักหน่วงและรวดเร็วได้

ฝ่ายกองทหารที่ติดตามมาก็ตีโอบ

ไล่เข้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

กองทัพของฝ่ายข้าศึกถอยร่น ไม่เป็นขบวนจนแม่ทัพสามารถ บุกเข้าไปประชิดตัวพระราชาองค์ที่หนึ่ง

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร   นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

เพลงทวนของแม่ทัพนั้นทั้งรวดเร็ว

หนักแน่นและแม่นยำ เพียงไม่กี่เพลง

ม้าของข้าศึกก็อ่อนกำลังเสียหลัก

พระราชาองค์ที่หนึ่งไม่อาจต้านทาน

เพลงทวนของแม่ทัพได้ถึงกับตกจาก

หลังม้าถูกจับเป็นเชลยกลางสมรภูมิ

เมื่อจับพระราชาองค์ที่หนึ่งได้

จึงนำตัวเข้าสู่พระนคร จากนั้น

แม่ทัพก็นำทัพ บุกเข้าตีค่ายอื่นๆ

จนสามารถ จับตัวพระราชา

ได้ห้าพระองค์

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

..... ในระหว่าง การรบกับพระราชาองค์ที่หกนั้น โภชาชานียะถูกธนูยิง ได้รับบาดเจ็บสาหัส จนไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ี้

หลังจากที่จับพระราชา
องค์ที่หกได้แล้ว แม่ทัพจึงนำ
ม้าโภชาชานียะมาที่
พระทวารหลวงแก้เกราะ
ให้หย่อนเพื่อให้โภชาชานียะ
สบายตัวขึ้น

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

ท่านแม่ทัพรู้สึกตื้นตันใจจนไม่อาจกล่าวคำพูดใดๆได้ ได้แต่พยุงม้าโภชาชานียะ
ให้ลุกขึ้น พันบาดแผลให้แน่นสวมเกราะพร้อมที่จะเข้าสู่สมรภูมิอีกครั้ง

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

ม้าศึกโภชาชานียะข่มความเจ็บปวด
พาแม่ทัพบุกตะลุยเข้าทำลาย
ค่ายที่เจ็ดจนในที่สุดสามารถ
จับพระราชาองค์สุดท้ายได้

หลังจากนั้นม้าโภชาชานียะก็
สิ้นแรงล้มลงทหารทั้งหลาย
จึงช่วยกันพามาที่พระทวาร
หลวง พระเจ้าพรหมทัตรีบ
เสด็จมาดูอาการของโภชาชานียะ
ด้วยความห่วงใยยิ่งนัก

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร

กล่าวจบม้าโภชาชานียะก็สิ้นใจ พระเจ้าพรหมทัตโปรดให้ทำพิธีศพม้าสินธพโภชาชานียะ
อย่างสมเกียรติเช่นนักรบผู้กล้าหาญ และทรงปฏิบัติตามคำทูลขอของโภชาชานียะทุกประการ

นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
นิทานชาดก_อาชาใจเพชร นิทานชาดก_อาชาใจเพชร
Copyright © Dhammakaya Foundation. All rights reserved.
 
จบ
 
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ  

 
โภชาชานียชาดก
 
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::

.....ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมีความตั้งใจปฏิบัติธรรมเป็นอย่างดี แต่ครั้นวันเวลาผ่านไปนานปีเข้าก็ยังไม่เห็นผลของการปฏิบัติธรรม จึงเกิดความเบื่อหน่ายคลายความเพียรลง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงหวังจะอนุเคราะห์ภิกษุรูปนั้น จึงเรียกภิกษุรูปนั้นมา แล้วทรงตรัสเล่าชาดก ดังนี้



 
:: ข้อคิดจากชาดก ::
 

.....๑. ควรฝึกตนให้มีความเพียร เมื่อตั้งใจทำสิ่งใดในทางที่ดีงามแล้ว ต้องทำให้สำเร็จ
ถ้ายังไม่สำเร็จจะไม่ล้มเลิกเป็นอันขาด แม้งานนั้นจะยากลำบากหรือมีอุปสรรคเพียงใดก็ตาม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นแบบอย่างอันดีในการบำเพ็ญ วิริยบารมี มาตั้งแต่
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ แม้ในพระชาติสุดท้าย พระองค์ยังปรารภความเพียรที่ประกอบด้วย
องค์ ๔ ก่อนตรัสรู้ว่าแม้เลือดและเนื้อในร่างกายของเราจะเหือดแห้งหายไป เหลือแต่หนัง
เอ็น และกระดูกก็ตามที ถ้าหากยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ปราบกิเลสให้หมดไป
เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เราจะไม่ยอมลุกจากที่เป็นอันขาด

.....๒. คุณธรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงเน้นตลอดภพชาติอันยาวนานก็คือ
ไม่ผูกพยาบาทจองเวรผู้ใด แม้จะถูกทำร้าย จนถึงแก่ชีวิตก็ตาม

 
 

 

Home  | นิทานชาดก