หน้าแรกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร สื่อธรรมะ กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร

 

 

 

 

 

 






ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้

 ในอดีตกาล ณ กรุง
พาราณสี มีชายหนุ่ม
คนหนึ่งเกิดในตระกูล
เศรษฐี ได้รับการเลี้ยง
ดูอย่างดีราวกับโอรส
พระราชา
  เมื่อมีอายุเพียง ๑๖
ปีเท่านั้น ก็เป็นผู้รอบรู้
ชำนาญในศิลปศาสตร์
ทั้งปวง
  เมื่อท่านเศรษฐีผู้เป็น
บิดาสิ้นชีวิตลง ชาย
หนุ่มจึงได้รับทรัพย์
สมบัติเป็นเศรษฐีสืบ
ทอดมานับแต่บัดนั้น



เศรษฐีหนุ่มผู้เป็นบัณฑิตนี้ มีน้ำใจดีงาม มีความเมตตากรุณายิ่งนัก ปรารถนาจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ยากไร้ทั้งหลาย
จึงได้สร้างศาลาบำเพ็ญทานขึ้น ๖ แห่ง คือ ที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ที่ใจกลางเมือง และที่ประตูบ้านของท่านเอง

ท่านเศรษฐีบริจาคทานเป็นอันมากทุกๆ วัน ด้วยคิดว่าสมบัติทั้งปวงนั้น แม้เมื่อตายไปแล้วก็นำไปใช้ไม่ได้
นอกจากนั้นยังได้รักษาศีลห้า และอุโบสถศีลตามกาลอยู่เสมอ

 ในครั้งนั้นพระสัมมา
สัมพุทธเจ้ายังไม่
อุบัติขึ้น มีแต่พระ
ปัจเจกพุทธเจ้าองค์
หนึ่ง นั่งเข้านิโรธ
สมาบัติอยู่ ๗ วัน  จึงออกบิณฑบาต
โดยเหาะมาทาง
เรือนของเศรษฐี
เพราะทราบด้วย
ญาณว่าเศรษฐีผู้นี้ ปรารถนาพระโพธิ-
ญาณ หากได้ทำบุญ
กับท่าน จะได้บุญ
บารมีให้เข้าถึงพระ โพธิญาณได้ง่ายขึ้น

ท่านเศรษฐีมิได้หวั่นไหวใดๆ จึงได้จัดเตรียมภัตตาหารเพื่อจะนำไปถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยตนเอง

เมื่อกล่าวจบ ท่านเศรษฐีก็กระชับภาชนะที่ใส่อาหาร
ไว้มั่น แล้ววิ่งไปบนหลุมถ่านเพลิงทันที

ทันใดนั้นปรากฎดอกบัวใหญ่บานสะพรั่งดอกหนึ่งผุดขึ้นจากหลุม
ถ่านเพลิงนั้น เข้ารองรับเท้าทั้งสองของท่านเศรษฐีไว้

ละอองเกสรมากมายฟุ้งขจรขจายตกลงมาบนศรีษะ และลำตัวของท่านเศรษฐีดูราวกับละอองทอง

มหาชนต่างตะลึงในเหตุอัศจรรย์ ส่วนพญามารเมื่อไม่สามารถขัดขวางได้ก็ล่าถอยกลับไป

 เศรษฐีหนุ่มยืนอยู่
บนดอกบัวนั้น พร้อม
กับน้อมนำอาหารใส่
ลงในบาตรของพระ
ปัจเจกพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงรับอาหารนั้นมาฉันแล้วกระทำอนุโมทนา จากนั้นทรงโยนบาตรขึ้นไปบนอากาศ แล้วทรงเหาะกลับ ไปยังป่าหิมพานต์ ท่ามกลางความตื่นตะลึงของมหาชนที่ได้เห็นเหตุการณ์นั้น เศรษฐีจึงกล่าวให้โอวาท พรรณนาถึงการบำเพ็ญทานและรักษาศีลแก่มหาชน ณ ที่นั้น คนเหล่านั้นต่างเลื่อมใสศรัทธาและบำเพ็ญบุญไปจนตลอดชีวิต

Copyright © Dhammakaya Foundation. All rights reserved.
 
จบ
 
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ  



 
ขทิรังคารชาดก
 
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::

.....หลังจากท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างเชตวันมหาวิหารถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ยังคงเอาใจใส่บำรุงพระภิกษุสงฆ์อย่างสม่ำเสมอ ทานทั้งหลายที่ท่านบริจาคนั้นมากมายจนมิอาจประมาณค่าได้ ณ ซุ้มประตูที่ ๔ ของเรือนท่าน มีเทวดามิจฉาทิฎฐิองค์หนึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ ทุกครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพุทธสาวกเสด็จผ่านเข้าไปในเรือน เทวดาไม่พอใจเพราะต้องอุ้มลูกลงไปอยู่ที่พื้นดิน เนื่องจากมีคุณธรรมต่ำกว่า แต่เทวดาไม่กล้าจะไปบอกกับท่านเศรษฐีเอง

.....คืนหนึ่งจึงได้แผ่รัศมีปรากฏกายให้บุตรชายของท่านเศรษฐีเห็นพร้อมกับกล่าวว่า ให้เลิกทำทานเสียเถิดเพราะสมบัติอาจหมดไปได้ บุตรชายเศรษฐีโกรธที่เทวดาดูหมิ่นพระรัตนตรัยและไล่เทวดาให้ออกไป ท่านเศรษฐียังคงเลื่อมใสในคุณของพระรัตนตรัยและให้ทานอยู่เป็นนิตย์ จนกระทั่งช่วงหนึ่งท่านถึงความยากจนลงโดยลำดับ เทวดาผู้มีมิจฉาทิฎฐิจึงเข้าไปในห้องเศรษฐี แล้วยุยงให้เลิกทำทาน แต่ถูกท่านเศรษฐีไล่ให้ออกจากบ้านของตน เทวดาจึงได้คิดและสำนึกผิด ไปหาท้าวสักกเทวราชขอร้องให้ท่านพูดกับท่านเศรษฐีให้ แต่ท้าวสักกเทวราชตอบว่าไม่อาจทำได้ เพราะท่านได้กล่าวถ้อยคำอันไม่สมควร แต่แนะให้ไปตามทรัพย์สมบัติของท่านเศรษฐีที่สูญหายไปกลับคืนมายังคลังให้หมด เป็นการทำคุณไถ่โทษ ท่านอาจยกโทษให้ เทวดามิจฉาทิฏฐิรับเทวโองการแล้ว ไปตามสมบัติจนเรียบร้อยแล้วจึงไปขอให้ท่านยกโทษให้ ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ต้องให้พระบรมศาสดาอดโทษให้

..... รุ่งขึ้นจึงพาเทวดานั้นไปยังเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ เมื่อพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ ดูก่อนคฤหบดี บุคคลผู้กระทำกรรมลามกในโลกนี้ เมื่อกรรมอันเป็นบาปนั้น ยังไม่ให้ผล บุคคลผู้นั้นยังได้รับความสุข ความเจริญอยู่ ต่อเมื่อใด กรรมอันเป็นบาปนั้นให้ผล ตนจึงได้รับผลแห่งบาปนั้น ” เมื่อจบพระคาถา เทวดานั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล

.....จากนั้นพระบรมศาสดาได้ตรัสยกย่องท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย และมีความเห็นอันบริสุทธิ์ แล้วจึงตรัสเรื่อง ขทิรังคารชาดก

 
:: ข้อคิดจากชาดก ::
 

..... ๑ . มิจฉาทิฏฐิมีทั้งในเทวดาและมนุษย์ ดังนั้น สมาชิกในครอบครัวเดียวกันควรต่างเอาใจใส่ เป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน

..... ๒ . การพักอาศัยอยู่กับผู้อื่นในฐานะใดก็ตาม อย่าได้นิ่งดูดาย ควรทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อเจ้าบ้าน แม้ช่วยได้เพียงเล็กน้อยก็ควรทำ

..... ๓. ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

..... ๔. ในการทำความดี ควรมีจิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว เพราะบุญเท่านั้นที่ติดตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติ

 
 

Home  | นิทานชาดก