หน้าแรกกัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร สื่อธรรมะ กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร
กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร กัลยาณมิตร

 

 

 

 

 

 






ภาพ  ป๋องแป๋ง
ลงสี  ปูเป้

ครั้งหนึ่งในอดีตกาล
ณ เมืองพาราณสี มี
กษัตริย์พระองค์หนึ่ง
ทรงพระนามว่า
พระเจ้าพรหมทัต

ปกครองบ้านเมือง
ให้สงบร่มเย็นตลอดมา ต่อมาพระองค์ทรงมี
พระราชโอรส ซึ่งกำเนิด
จากอัครมเหสี ทรงมี
พระนามว่า พรมหทัต เช่นเดียวกับพระองค์

พระราชกุมารพรหมทัต ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาด เมื่อเจริญพระชันษาได้เพียง ๑๖ พรรษา ก็ทรงศึกษา ศิลปศาสตร์ชั้นสูง สำเร็จหมดทั้ง ๑๘ แขนง และทรงเจนจบไตรเพทอีกด้วย ประชาชนชาวเมืองมีความภาคภูมิใจ ในความเป็นอัจฉริยะของพระกุมาร ในเวลาต่อมา พระราชบิดาได้พระราชทานตำแหน่ง มหาอุปราช ให้แก่พรหมทัต กุมาร เพื่อจะทรงช่วยบริหารราชการแผ่นดินและใกล้ชิดประชาชนยิ่งขึ้น

เมื่อพรหมทัตกุมาร
ทรงดำรงตำแหน่ง
มหาอุปราช
แล้วก็มิได้
นิ่งนอนพระทัยหรือหา
ความสุขส่วนพระองค์
แต่ทรงโปรดที่จะเสด็จ
เยี่ยมเยียนชาวบ้าน
อีกทั้งคอยบำบัดทุกข์
บำรุงสุข ทำให้ชาวบ้าน
อุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง
โจรผู้ร้ายก็ถูกปราบ
จนราบคาบ

  ในระหว่างที่ออกเยี่ยมเยียนชาวบ้านอยู่นั้น มหาอุปราชเห็นชาวบ้านต่างพากันล้อมวงบนบานต่อต้นไทรในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

ในขณะที่พระองค์
ทรงนั่งรถม้าผ่านไป
ก็เห็นชาวบ้านต่างนำ
หัวหมู หัวแพะ มา
บูชายัญจำนวนมาก
ทำให้ทรงสังเวชใจ เพราะสัตว์เหล่านั้น
ต้องมาจบชีวิตลง
เพราะความเชื่ออัน งมงายของชาวบ้าน

 พรหมทัต มหาอุปราช ได้นำเรื่องที่ชาวบ้านนำสัตว์ต่างๆ มาเป็นเครื่องบูชายัญ มาคิดที่จะหาทางแก้ไขปัญหา ถ้าขืนปล่อยไปย่อมจะก่อปัญหาให้กับบ้านเมืองอย่างแน่นอน

ถึงแม้พระองค์จะใช้
ตำแหน่งมหาอุปราช
ห้ามไม่ให้นำสัตว์
มาบูชายัญ แต่ก็คง
ห้ามได้แค่ชั่วคราว
ประชาชนคงแอบ
ไปทำที่อื่น ดีไม่ดี
จะลุกลามกลายเป็น
ปัญหาใหญ่ตามมา
ได้ เพราะความเชื่อ อย่างงมงายนั้น
แก้ได้ยากมาก

ในวันหนึ่งขณะนั่งรถม้า มหาอุปราชเห็นชาวบ้านมาบนบานต่อต้นไทรต้นหนึ่งเป็นจำนวนมาก
ในที่สุด พรหมทัต มหาอุปราช ก็ทรงคิดกุศโลบายที่จะให้ชาวบ้านเลิกบนบานและนำชีวิตสัตว์มาเป็นเครื่องพลีกรรม
ได้สำเร็จ พระองค์ทรงให้สารถีหยุดรถม้า

ได้รับสั่งให้สารถีนำ
เครื่องพลีกรรมเพื่อ
ที่จะทำการบนบาน
ต่อต้นไทร
เมื่อประชาชนที่มา
บนบานต้นไทรเห็น
พรหมทัตมหาอุปราช
มาบนบานต่างพากัน
ดีอกดีใจ

 สายตาของชาวบ้านทุกคู่ต่างมองไปยังที่พรหมทัตมหาอุปราช ด้วยความชื่นชมขณะนำเครื่องพลีกรรมไปบนบานต้นไทร
ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตกษัตริย์แห่งเมืองพราณสี ได้เสด็จสวรรคต พรหมทัต มหาอุปราช ทรงขึ้นครองราชสมบัติ สืบต่อจากพระราชบิดา พระองค์ทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาราษฎร์อยู่เย็นเป็นสุขมาตลอด

 อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้า
พรหมทัต มีรับสั่งให้
เสนาบดี อำมาตย์และ
นายทหารชั้นผู้ใหญ่
เข้าเฝ้าเพื่อที่จะให้ ดำเนินตามกุศโลบาย ที่เคยวางเอาไว้ใน สมัยที่ยังเป็นมหา อุปราช

พระองค์ยังได้พูด
ท่ามกลางเสนาบดี
อำมาตย์และนาย
ทหารชั้นผู้ใหญ่
ว่าการที่ทำให้
พระองค์ได้เป็น
กษัตริย์นั้นก็มา
จากการบนบาน
ต่อต้นไทร
 เหล่าเสนาอำมาตย์ และทหารชั้นผู้ใหญ่ได้ยินเช่นนั้น ต่างพากันตกใจและเลิกการเอาชีวิตสัตว์เป็นเครื่องพลีกรรม
นอกจากนี้ยังป่าวประกาศ ให้ประชาชนรับทราบถึงเรื่องที่พระองค์จะทรงทำพลีกรรมด้วย
เมื่อชาวบ้านได้ยินเช่นนั้น ต่างพากันหวาดกลัว และเลิกฆ่าสัตว์ไปบูชายัญที่ต้นไทร ต่างพากันถือศีล ๕ เป็นประจำ เพราะกลัวจะถูกจับไปเป็นเครื่องพลีกรรม
 ต่อมาไม่นานชาวบ้านต่างพากันถือศีล ๕ ตลอดชีวิต ทุกวันพระก็เข้าวัดฟังธรรม ทำบุญตักบาตรกันเป็นประจำ
บ้านเมืองสงบร่มเย็นไม่มีการฆ่าสัตว์เพื่อบูชายัญอีก เมื่อทุกคนเลิกงมงายต่างก็พากันขยันทำมาหากิน บ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรือง ชาวบ้านต่างก็มีความสุข
Copyright © Dhammakaya Foundation. All rights reserved.
 
จบ
 
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระภาวนาวิริยคุณ  


 
ทุมเมธชาดก
 
:: สาเหตุที่ตรัสชาดก ::

.....นับตั้งแต่วันตรัสรู้เป็นต้นมา พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงออกประกาศพระศาสนา ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะเสด็จไปโปรดสัตว์ โดยไม่เลือกฐานะ หนทางทุรกันดารเพียงใด พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้นี้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้ดื่มรสพระธรรมคำสั่งสอน ได้พบความสุขอันแท้จริงโดยทั่วหน้า

.....ในสมัยพุทธกาล ขณะที่พุทธบริษัทกำลังประชุมสรรเสริญพระพุทธคุณ พระพุทธองค์ก็ทรงปรารภถึงการบำเพ็ญประโยชน์ของพระองค์ สมัยเมื่อครั้งยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อให้เขาเหล่านั้นเกิดกำลังใจที่จะประพฤติธรรมตามพระองค์ แล้วทรงตรัสเล่า ทุมเมธชาดก ดังนี้


 
:: ข้อคิดจากชาดก ::
 

.....๑ . บางครั้งเพื่อความสำเร็จของงาน เราจำเป็นต้องใช้นโยบายโอนอ่อนผ่อนตามในการปกครองไปสักระยะหนึ่งก่อน แต่ต้องตีวงจำกัดให้ดีว่า จะโอนอ่อนผ่อนตามในกรณีใดบ้าง และในช่วงระยะเวลายาวนานแค่ไหน ถ้าเป็นการปกครองบ้านเมือง ก็อาจใช้หลักที่ว่า “ การทูตนำหน้า การทหารตามหลัง ”
อย่างไรก็ตาม ต้องระวังอย่าให้ โอนอ่อน กลายเป็นอ่อนแอ แต่ก่อนจะดำเนินนโยบายใดๆ ก็ตาม ผู้นำเองจะต้องฝึกหัดอบรมตนเองให้เป็นคนดี มีสัมมาทิฐิ มีความประพฤติดีงามเป็นที่รักที่เชื่อใจ และเกรงใจของประชาชนโดยส่วนรวมเสียก่อน เมื่อประชาชนไว้ใจให้สนับสนุนแล้ว จึงจะทำงานได้ผล

.....๒ . เมื่อมีอำนาจแล้ว ต้องใช้อำนาจไปในทางสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ ถ้าใครมีอำนาจแล้วไม่ใช้ หรือใช้ไม่เป็นจะยิ่งทำให้บ้านเมืองสับสนวุ่นวายไปหมด

 
 

Home  | นิทานชาดก