บทความ ตำนาน พญานาคสองฝั่งโขง ๑ (ตอน กำเนิดอาณาจักรพญานาค)

วันที่ 16 ตค. พ.ศ.2548

 

            "เมืองบาดาล ใต้ลำน้ำโขงซึ่งเป็นภพซ้อนภพ คือ เป็นภพละเอียด ของนาค ซ้อนอยู่ในภพหยาบของโลกมนุษย์ และครอบคลุม ดินแดนทั้งฝั่งไทยลาว"

            ย้อนอดีตไปเมื่อประมาณ ๕,๐๐๐ ปี มีอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณริม แม่น้ำโขงทั้ง ๒ ฝั่ง อาณาจักรแห่งนี้มีความ เจริญรุ่งเรืองมาก ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ประชาชนมีจิตใจงดงาม เป็นคนดี มีศีลธรรม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน มีความเคารพ กันตามลำดับอาวุโส ความดีงามเหล่านั้นก็ยัง สืบทอดมาเป็นวัฒนธรรมสองแผ่นดินไทย ลาวจนถึงในปัจจุบัน ลูกมีความกตัญญูต่อบิดา มารดา เลี้ยงดูท่านให้อยู่ดีมีสุข เกิดความ อบอุ่น ไม่ทอดทิ้งท่าน ให้อยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย ลำบากลำบน

            พระราชาปกครองบ้านเมือง ด้วยทศพิธราชธรรม ในสมัยนั้นพระพุทธศาสนายังไม่เกิดขึ้น ประชาชนนับถือคัมภีร์ไตรเพทของศาสนาพราหมณ์ ไตรเพทประกอบด้วยคัมภีร์ ๓ เล่ม คือ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท

            ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยบทสวด สรรเสริญความยิ่งใหญ่ดีงามของเทพเจ้า ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยบทสวดอ้อนวอน ในพิธีฆ่าสัตว์บูชายัญ เพื่อให้เทพเจ้าเกิดความเมตตาสงสารรักใคร่

            สามเวท เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยบทเพลงสำหรับสวดหรือร้องเป็นทำนอง ให้เทพเจ้าเพลิดเพลินเคลิบเคลิ้มในพิธีฆ่าสัตว์บูชายัญ เชื่อว่าเมื่อเทพเจ้าเพลิดเพลินเคลิบเคลิ้ม ก็จะได้ประทานพรให้โดยง่าย            

พระราชามีปุโรหิตสำคัญท่านหนึ่ง เป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีปัญญามาก ชำนาญแตกฉาน ในไตรเพท ก่อนจะมาเกิดเป็นปุโรหิต ท่านเคยสร้างบารมี โดยตั้งความปรารถนา ที่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต แต่อยู่ในระดับนึกในใจ ยังไม่เคยเปล่งวาจา หรือชักชวนใครให้ร่วมสร้างบารมีด้วย หลังจากนั้น ก็เวียนว่ายตายเกิด จนมาเป็นปุโรหิตในเมืองนี้

            ท่านปุโรหิตมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรม บวงสรวงพญานาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ฝนตกต้องตามฤดูกาล เพราะประชาชนส่วน มากมีความเชื่อว่า นาคเป็นผู้ให้น้ำ
นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ราชการของพระราชา คอยแนะนำให้พระราชา บริจาคทานให้แก่คนยากจนมิได้ขาด ตัวท่าน เองก็มักจะบริจาคทานเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่ตัดสินคดีความ ซึ่งท่านก็ปฏิบัติ หน้าที่อย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมอีกด้วย


            ท่านปุโรหิตมีใจผูกพันกับพญานาคมาก จึงตั้งใจประกอบพิธีกรรมบวงสรวงทุกปี เมื่อ หมดอายุขัย ด้วยจิตที่ผูกพัน จึงได้ไปบังเกิด เป็นพญานาค มีชื่อว่า โอฆินทรนาคราช มีกาย สีทองสวยงามมาก และได้เป็นผู้ปกครองชุมชน นาคในระดับภุมเทวา ณ เมืองบาดาล ใต้ลำน้ำ โขงซึ่งเป็นภพซ้อนภพ คือ เป็นภพละเอียด ของนาคซ้อนอยู่ในภพหยาบของโลกมนุษย์ และครอบคลุมดินแดนทั้งฝั่งไทยลาว

           

มเหสีของโอฆินทรนาคราช อดีตเป็น ราชธิดาของกษัตริย์โบราณแถบลุ่มแม่น้ำ โขงเช่นกัน เธอเป็นผู้มีจิตใจงดงาม โอบอ้อม อารี มีเมตตา ชอบช่วยเหลือคนทุกข์ยาก แต่ ในสมัยนั้นพระพุทธศาสนายังไม่บังเกิดขึ้น ประชาชนมีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าแห่งลำน้ำ จึงมักจะทำพิธีกรรมบวงสรวงเทพนาคราช เป็นประจำทุกปี ด้วยจิตใจผูกพันกับเทพเจ้า แห่งลำน้ำ เมื่อละโลกแล้ว จึงไปเกิดเป็นอัครมเหสีของเทพเจ้าแห่งลำน้ำ คือ โอฆินทรนาคราชนั่นเอง

            ขณะเกิด เธอเกิดแบบโอปปาติกะเช่น เดียวกับโอฆินทรนาคราช คือเกิดแล้วโตทันที และเกิดบนแท่นบรรทมของโอฆินทรนาคราชด้วย เป็นนางนาคมาณวิกาสาวทันที โอฆิน ทรนาคราชได้พบนางก็ทราบทันทีว่า นางคือ นางแก้วผู้มาเกิดเป็นมเหสีคู่บุญของตน จึงได้สถาปนาให้เป็นอัครมเหสี ต่างอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดมา

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0063145836194356 Mins