แนวคิดการบําเพ็ญบารมี(2)

วันที่ 18 มค. พ.ศ.2549

 

.....พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ทรงบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่สตรี และบุรุษ ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์Œ เวลาแห่งการทำใจให้หยุดนิ่ง เป็นเวลาที่ทรงคุณค่า นับเป็นการประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง คำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นคำสอนที่นำไปสู่การปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง และนำไปสู่ความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล แม้เราได้ศึกษาคำสอนมามากมายเพียงไร แต่ถ้ายังไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ก็ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม ยังคงเป็นเพียงใบลานเปล่า คือ รู้เฉพาะภาคทฤษฎี แต่ภาคปฏิบัติเข้าไม่ถึง เพราะฉะนั้นการจะเป็นผู้ทรงธรรมที่มีชีวิต สมบูรณ์ ได้รับรสแห่งธรรม ที่เรียกว่า ชนะรสทั้งปวงนั้น ต้องเริ่ม จากการฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งนี่เอง

 

มีวาระพระบาลีใน ขุททกนิกาย เถรคาถา ว่า

 

พหูนํ วต อตฺถาย อุปฺปชฺชนฺติ ตถาคตา

อิตฺถีนํ ปุริสานญฺจ เย เต สาสนการกา

 

.....พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์สุขแก่คนหมู่มาก ทรงบำเพ็ญประโยชน์ทั้งแก่สตรี และบุรุษ ผู้ทำตามคำสอนของพระองค์Ž

 

.....ตถาคต เป็นพระนามหนึ่งของพระบรมศาสดา หมายถึง ผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ เสด็จไปที่ไหนก็เป็นมงคล จนกระทั่งเสด็จไปสู่อายตนนิพพาน นอกจากนี้พระพุทธองค์ยังทรงชี้ทางบรรเทาทุกข์ ชี้สุขเกษมศานต์ และชี้ทางพระนิพพานแก่เหล่า สาวก ให้พ้นจากทุกข์โศกโรคภัยพิบัติต่างๆ ตามพระองค์ไปด้วย พระพุทธองค์ยังทรงเป็น ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที คือ ตรัสอย่างไร ทรงทำอย่างนั้น ทรงทำอย่างไรก็ตรัสอย่างนั้น ความคิด คำพูด และการกระทำของพระพุทธองค์จะสอดคล้องกันหมด เมื่อได้ตรัสวาจาใดไปแล้ว วาจานั้นจะไม่กลายเป็นอย่างอื่น เป็นคำจริง และเป็นอมตวาจาตลอดกาล

 

.....นอกจากนี้ ที่พระพุทธองค์ได้สมัญญานามว่า ตถาคต เพราะพระองค์ทรงครอบงำสรรพสัตว์ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องล่างถึงอเวจีมหานรก เบื้องขวาในโลกธาตุ หาประมาณมิได้ ทรงครอบงำสรรพสัตว์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติ-ญาณทัสสนะ พระองค์เป็นผู้ไม่มีใครเทียบเคียงได้ ใครๆ ก็ประมาณพระทศพลญาณของพระองค์ไม่ได้ ทรงเป็นธรรมราชาที่พระราชาทรงบูชา คือ เป็นพระราชาที่ยิ่งกว่าราชา เป็นเทพที่ยิ่งกว่าเทพ เป็นพรหมที่ยิ่งกว่าพรหมทุกหมู่เหล่า

 

.....ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก และพรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์ เทวดาหรือมนุษย์ ตถาคตเป็น ผู้ยิ่งใหญ่ ใครๆ ก็ครอบงำไม่ได้ เป็นผู้รู้แจ้ง เห็นแจ้งโลกทั้งปวง ฉะนั้น จึงได้รับพระนามว่า ตถาคตŽ

 

*การที่จะได้พระนามนี้มา พระองค์ต้องสั่งสมบุญบาร มีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน ประวัติการสร้างบารมีของพระองค์ยาวนานเป็นอสงไขย คือ นับกันไม่หวาดไม่ไหว พวกเราคงจะเคยได้ยินชื่อของสุเมธดาบส ผู้เป็นต้นแบบของนักสร้างบารมี ผู้มีใจสูงส่งกันมาบ้าง ถึงท่านจะเป็นมหาฤๅษีที่ได้อภิญญาสมาบัติ แต่ก็ยอมทอดร่างเป็นสะพานให้พระทีปังกรพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอรหันตสาวก ได้เดินข้ามที่ดินเฉอะแฉะ เพื่อจะเสด็จไปโปรดชาวเมืองอมราวดีนคร ท่านทำอย่างนั้นเพื่อบ่มบารมี หวังจะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต ในวันนั้นท่านได้รับการพยากรณ์ว่า อีก ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ มหากัป ท่านจะได้เป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า สมณโคดม เมื่อได้ฟัง ดังนั้น ท่านมีความปีติเบิกบานประหนึ่งว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ในวันรุ่งขึ้นทีเดียว

*มก. ทูเรนิทาน เล่ˆมที่ ๕๕ หน้‰า ๔

 

.....ท่านมีประวัติความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่มาก สมัยนั้น ท่านเกิดเป็นลูกชายคนเดียวของพราหมณ์ เรียนจบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มีชื่อเสียงของพราหมณ์ มีความชำนาญในบทกวี ชำนาญในโลกายตนศาสตร์ และมหาปุริสลักษณศาสตร์ เนื่องจากบิดามารดาได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเป็นหนุ่ม ผู้ที่จัดการกองมรดกจึงได้นำบัญชีทรัพย์สินมาให้ดู และเปิดห้องหลายห้องที่เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ มีทอง เงิน แก้วมณี แก้วมุกดามากมาย อีกทั้งชี้แจงว่า ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านี้เป็นของที่สืบทอดกันมา ๗ ชั่วอายุขัยของบรรพบุรุษ ขอให้ท่านเป็นผู้สืบทอดมรดกคนต่อไปเถิด

 

.....เมื่อท่านเห็นสมบัติเหล่านั้นแล้ว แทนที่จะตื่นเต้นดีใจที่จะได้ใช้สมบัติเหล่านั้นอย่างฟุ่มเฟือยหรืออย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเสียเวลาไปทำมาหากิน ท่านกลับตักเตือนสั่งสอนตนเองได้ นั่งพิจารณาว่า การถือปฏิสนธิในภพใหม่บ่อยๆ เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระในสถานที่เกิดแล้วเกิดเล่าเป็นทุกข์ เกิดมาก็ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เหมือนชาวโลกทั่วไป ควรแสวงหาทางที่ไม่ต้องมีการเกิดการตาย ตั้งแต่นั้นมาท่านก็คิด ที่จะแสวงหาหนทาง เพื่อความหลุดพ้นจากภพชาติให้ได้

 

.....ท่านอุปมาไว้ว่า เมื่อความเกิดมีอยู่ ความไม่เกิดก็ต้องมี เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอันระงับความร้อนยังมีได้ สถานที่ระงับกองไฟคือกิเลสก็ต้องมีแน่นอน เมื่อภพมีอยู่ ภาวะที่ไม่ใช่ภพก็น่าจะมี คนบางคนในโลกนี้ พกพาสมบัติมากมายติดตัวไป เดินทางไปกับหมู่โจร เขาจำเป็นที่จะต้องละทิ้งพวกโจรไป เพราะกลัวสูญเสียทรัพย์ และเลือกเส้นทางที่เกษมปลอดภัยฉันใด กายอันเน่าเปื่อยนี้ก็ฉันนั้น เปรียบเสมือนโจรปล้นทรัพย์ ถ้าเราจะทำความยึดมั่นถือมั่นในกายนี้ ทรัพย์คืออริยมรรค และกุศลธรรมของเราก็จักสูญเสียไป เพราะ-ฉะนั้นจึงควรที่เราจำต้องละทิ้งกายนี้ ที่เปรียบเสมือนมหาโจร แล้วเข้าไปยังมหานครคือนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจากโยคะŽ

 

.....ให้ทุกท่านสังเกตความคิดของบัณฑิตนักปราชญ์ ท่านคิดแต่เรื่องว่า ทำอย่างไรถึงหลุดพ้นจากทุกข์ ไม่สนใจในทรัพย์สินเงินทองของนอกตัวเลย ยิ่งมีมากหากไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ ย่อมมีแต่ทำให้เกิดความเป็นห่วงเป็นกังวล ถูกความตระหนี่เข้ามาครอบงำจิตใจ ทำให้ใจเศร้าหมองไปเสียเปล่า

 

.....เมื่อสุเมธบัณฑิตนั่งครุ่นคิดถึงอานิสงส์ของเนกขัมมะด้วยอุปมัยเช่นนี้แล้ว ยังคิดอีกว่า บิดามารดา ปู่ย่าตายายของเรา รวบรวมกองทรัพย์ใหญ่นี้ไว้ เมื่อไปปรโลก แม้แต่กหาปณะเดียวก็เอาไปไม่ได้ ส่วนเราควรเปลี่ยนทรัพย์หยาบๆ นี้ให้เป็นอริยทรัพย์ที่จะติดตามตัวเราไปข้ามภพข้ามชาติ ท่านจึงไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้าพระบาทถูกชาติชรา และมรณะรบกวนตลอดเวลา จำเป็นต้องออกบวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทรัพย์ที่มีอยู่หลายแสนโกฏินี้ ขอพระองค์ผู้สมมติเทพ โปรดทรงดำเนินการกับทรัพย์ของข้าพระองค์ด้วยเถิดŽ

 

.....พระราชาตรัสว่า เราไม่ต้องการทรัพย์ของท่านเลย ขอให้ท่านนำไปทำบุญได้ตามใจปรารถนาเถิดŽ สุเมธบัณฑิตจึงให้ตีกลองร้องป่าวไปทั่วเมืองว่า ใครอยากได้ทรัพย์สมบัติอะไร ก็ให้มาขนไปได้เลยŽ จากนั้นท่านก็เริ่มบริจาคมหาทานบารมี ใช้เวลาแจกจ่ายทรัพย์อยู่ ๗ วัน จึงได้ออกจากปราสาทไปบวชเป็นฤๅษีอยู่ตามลำพัง เนื่องจากท่านมีความตั้งใจมาก เพียง ๗ วันเท่านั้น ก็สามารถทำอภิญญาสมาบัติให้บังเกิดขึ้น สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ เป็นมหาฤๅษีที่มีตบะกล้ามาก ท่านหมั่นเจริญเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทุกหมู่เหล่า เสวยสุขอยู่ในฌานสมาบัติเป็นเวลายาวนาน

 

.....เมื่อท่านออกจากป่าและพบเห็นมหาชนกำลังสร้างถนนหนทาง เพื่อใช้เป็นที่เสด็จไปของพระทีปังกรพุทธเจ้า ท่านรู้สึกปีติยินดียิ่ง และอยากได้บุญใหญ่ในครั้งนั้นด้วย จึงขอร่วมทำถนนด้วยเรี่ยวแรงของตนเอง อีกทั้งยังเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ด้วยการนอนทอดร่างตนเองเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าได้เสด็จข้ามไปอีกด้วย นี่คือประวัติย่อๆ ของท่านสุเมธบัณฑิตโพธิสัตว์ ผู้เห็นทุกข์เห็นโทษของการเกิดและการอยู่ครองเรือนว่า เป็นการต่อสังสารวัฏให้ยาวไกลออกไปอีก จนไม่สามารถมองเห็นฝั่งแห่งพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจากกิเลสอาสวะทั้งมวล จึงออกบวช และสั่งสมบุญบารมีเรื่อยมา แม้ตัวท่านจะยังมองไม่เห็นหนทางไปสู่อายตนนิพพาน แต่ก็ตั้งใจสร้างบารมีอย่างยิ่งยวดตลอดมา เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมท่านก็สามารถรื้อสัตว์ขนสัตว์ไปสู่อายตนนิพพานมากมายนับไม่ถ้วน

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0021618644396464 Mins