พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ..กับการศึกษานอกระบบ

วันที่ 20 มีค. พ.ศ.2549

       

                                                                                     

       เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ นั้น สภาพบ้านเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยยังอยู่ในสภาพล้าหลัง ประชาชนส่วนใหญ่ยังอัตคัตขาดแคลนในทุกด้าน

เหตุที่พระองค์ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของอาณาประชาราษฎร์ จึงตัดสินพระราชหฤทัยที่จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทยากจน ห่างไกล และทุรกันดารเสียก่อน การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในระยะต้นรัชกาลระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๔–๒๔๙๖ มีลักษณะเป็นการส่วนพระองค์ โดยทรงเยี่ยมราษฎรเพื่อทรงไต่ถามถึงความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของราษฎรอย่างใกล้ชิด

ต่อมาการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนพสกนิกรทั่วทุกภาคเปรียบประดุจดั่งการสร้าง "พระคลังข้อมูลด้านการพัฒนา" ด้วยพระองค์เอง เพราะทำให้ทรงทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนนานาประการที่มวลพสกนิกรของพระองค์ประสบอยู่จนมิอาจช่วยเหลือตนเองได้

โครงการพระราชดำริที่นับได้ว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกเกิดขึ้น ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรถบูลโดเซอร์ให้หน่วยตำรวจตระเวนชายแดนค่ายนเรศวรสร้างถนนเข้าไปยังหมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ราษฎรสามารถสัญจรไปมาและนำผลผลิตออกมาจำหน่ายยังชุมชนภายนอกได้สะดวกขึ้น โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในระยะเริ่มแรกนั้นจึงเป็นโครงการที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาของราษฎรเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอยู่ดีกินดีทั้งสิ้น และโดยที่ประชาชนของพระองค์ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร จึงทรงเน้นการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทรงเริ่มศึกษาเรื่องพืช โดยการปลูกพืชบนดาดฟ้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และภายในสวนจิตรลดาพระราชวังดุสิต ซึ่งก็ยังทรงศึกษาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

สำหรับการศึกษาของประชาชนชาวไทยที่อยู่นอกระบบโรงเรียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาสำหรับประชาชนที่อยู่ในชนบทเป็นอย่างมาก ทรงริเริ่มตั้ง "ศาลารวม

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.011374652385712 Mins