สมาธิ (1)

วันที่ 20 สค. พ.ศ.2549

stop490702.jpg

     ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง ในเรื่องสมาธิซึ่งเป็นลำดับอนุสนธิมาจากศีล ศีลแสดงแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ และโดยปริยาย เบื้องสูง ส่วนสมาธิเล่าก็จักแสดงโดยปริยายเบื้องสูงดุจเดียวกันตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้น จะแปลความเป็นสยามภาษา พอเป็นเครื่องประคับประคองสนองศรัทธา ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้าเริ่มต้นแห่งพระธรรมเทศนา ในเรื่องสมาธิ เป็นลำดับต่อไป

มีคำปุจฉาวิสัชชนาดัวยพระองค์เองว่า กถญฺจ สมาศธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้วเป็นไฉน เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยนสมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง อุปริเมนปิ ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงบ้าง

กถญฺจ เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา สมาธิที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำนั้นเป็นไฉนเล่า

อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา ลภติ สมาธิ กระทำสละอารมณ์เสียแล้ว ลภติ สมาธิ ย่อมได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง เอวํ โข เหฏฐิเมน ปริยาเยน สมาธิ สมฺมทกฺขาโต ภควตา อย่างนี้แหละสมาธิที่พระผู้มีพระเจ้าทรงตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ

วิตกฺกวิจารานํ วูปสมา อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโสเอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ วิตกฺกวิจารานํ วูปสมาย สงบเสียซึ่งวิตกวิจาร ความตรึกตรองนั่นสงบเสียได้ สมฺปสาทนํ เจตโส จิตผ่องใสในภายใน เอโกทิภาวํ ถึงซึ่งความเป็นเอกอุทัย เข้าถึงที่ทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ สุขเกิดแต่วิเวก วิเวกชํ มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกดังนี้ อย่างนี้แหละเป็นฌานที่สอง

ปีติยา จ วิราคา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน สุขญฺจกาเยน ปฏิสํเวเทติ ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ ปราศจากความปีติ อุเปกฺขโก สุขวิหารีติ มีสุขหนึ่ง มีสติเป็นอุเบกขาอยู่ สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทติ เสวยความสุข ด้วยนามกาย อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก อันพระอริยะทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน ความเพ่งที่สาม มีสติเฉยเป็นอุเบกขา อุเปกฺขโก สติมา สุขวิหารีติ เสวยสุขอยู่มีสติอยู่เป็นอุเบกขา มีสติเป็นอุเบกขาอยู่ ชื่อว่าเข้าถึงซึ่งตติยฌาน เป็นความเพ่งที่สาม อย่างนี้แหละ

สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทฺธิ จตุตฺถํ ฌานํอุปสมฺปชฺช วิหรติ สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปหานา ละสุขเสียด้วยแล้ว ปุพฺเพว โสมนสฺสโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมา สงบสุขทุกข์อันมีในก่อนเสีย สงบความดีใจเสียใจอันมีในก่อนเสียได้ อทุกฺขมสุขํ อุเปกฺขาสติปาริสุทธิ เข้าถึงซึ่งจตุตถฌาน ความเพ่งที่สี่ ไม่มีสุขไม่มีทุกข์ มีสติเป็นอุเบกขาเฉยอยู่มีสติบริสุทธิ์เป็นอุเบกขาอยู่ อย่างนี้แหละ สมาธิที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสแล้ว โดยปริยายเบื้องสูง นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเพียรเท่านี้

ต่อแต่นี้จะอรรภาธิบาย ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ในสมาธิสืบต่อไปเป็นข้อที่ลึกล้ำ คัมภีรภาพนัก แต่สมาธิจะแสดงโดยปริยายเบื้องต่ำก่อน

สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำถือเอาความตามพระบาลีนี้ว่า อิธ อริยสาวโก แปลว่า อริยสาวกในพระธรรมวินัย โวสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา กระทำให้ปราศจากอารมณ์ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธรรมารมณ์ อารมณ์ทั้ง ๖ ไม่ได้เกี่ยวแก่ใจเลย เรียกว่า ปราศจากอารมณ์ ลภติ สมาธิ นั่นแหละสมาธิละ ได้สมาธิในความตั้งมั่น ลภติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ได้ซึ่งความที่แห่งจิตเป็นหนึ่ง หรือได้ความที่แห่งจิตเป็นธรรมชาติหนึ่ง ไม่มีสองต่อไป นี่ส่วนสมาธิโดยเบื้องต่ำ

สมาธิโดยปริยายเบื้องสูงบาลีว่า อิธ ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ ภิกษุผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงซึ่งปฐมฌาน ความเพ่งที่หนึ่ง เป็นไปด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา “วิตก” ความตรึกถึงฌาน “วิจาร” ความตรองในเรื่องฌานเต็มส่วนของวิจารแล้วชอบใจอิ่ม “ปีติ” ชอบอกชอบใจ ปลื้มอกปลื้มใจ เรียกว่าปีติ “สุข” มีความสบายกายสบายใจ เกิดแต่วิเวก วิเวกชมฺปิ ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ วิตก วิจาร ปีติ สุข เกิดจากวิเวก ก็เข้าเป็นองค์ ๕ ประการนี้ปฐมฌาน

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0063820640246073 Mins