อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตอนที่ ๑๕ กำลังบุญ

วันที่ 21 เมย. พ.ศ.2548

อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ตอนที่ ๑๕ กำลังบุญ


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

    ชายหาฟืนกล่าวกับภรรยาแล้วก็ยังไม่กินเนื้อไก่ ยังรีรออยู่ ที่จริงมันน่าจะหมดปัญหาไปตั้งแต่ตอนนี้ รีบๆ เป็นพระราชาเสียก็หมดเรื่อง แต่ว่ามีลีลา คือ คนที่มีกำลังบุญในระดับหนึ่ง จะมีความคิดได้ในระดับหนึ่ง ถ้ากำลังบุญมากจะคิดไปอีกแบบ คิดไปตามกำลังบุญ บุญอยู่เบื้องหลังความคิด คำพูด และการกระทำ รวมทั้งผลด้วย คิด พูด ทำ และผลที่ออกมา เห็นไหม สมบัติพระราชามาอยู่ตรงหน้าแล้ว ตำแหน่งของพระราชาควรจะเกิดขึ้นแล้วและตำแหน่งของพระมเหสีควรจะเกิดขึ้นแล้ว แต่ว่ายังรีรออยู่


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

     ทั้งสองต่างคิดตรงกันว่า เราควรจะไปอาบน้ำอาบท่า ทำความสะอาดร่างกายเสียก่อน ก่อนที่จะกินเนื้อไก่ที่มีอานุภาพขนาดนี้ ปรากฎว่า แทนที่จะขัดคอกัน หรือให้ความเห็นแนะนำ แต่ปรากฎว่ามีความเห็นพ้องต้องกันเลย ตามกำลังบุญอีกเหมือนกัน บุญพอๆ กัน


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

    ทั้งสองจึงนำเนื้อไก่และข้าวสวยใส่ถาดเปิดฝาอย่างดี ไปสู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา วางเนื้อไก่และข้าวสวยไว้ที่ริมฝั่ง แล้วทั้งสองลงไปอาบน้ำในแม่น้ำ คุยกันอย่างเบิกบานทีเดียว คุยกันไปคุยกันมาหยอกล้อกันไป เราจะเห็นว่าคนบุญน้อยจะมีเหตุให้ไม่ได้กินไก่ ต่อมาไม่นานลมกรรโชกพัดมา พัดน้ำเป็นระลอกคลื่นน้อยๆ จนกระทั่งเป็นคลื่นใหญ่ ซัดเอาภาชนะที่ใส่เนื้อไก่และข้าวสวยลอยตามกระแสน้ำไป พัดสิ่งนี้ไปเพื่อจะไปให้คนที่มีกำลังบุญมากกว่า

     ส่วนสามีภรรยาก็ยังคุยหยอกล้อกันอยู่ ไม่ได้หันมามองเลย แปลกที่ว่าไม่เฉลียวใจมามองเลย มีความมั่นใจว่า ก่อนจะวางถาด และก่อนลงไปอาบน้ำได้ตรวจตราดูแถวนั้นอย่างดีแล้ว   ว่าไม่มีคนเลย เมื่อไม่มีคน ไม่มีใครอย่างนี้ก็สบาย สบายใจเราไปอาบน้ำอาบท่าอย่างสบายใจ เห็นไหมว่า คำว่า ตุริตะ ตุริตัง สีฆะสีฆัง คือ เมื่อบุญเกิดขึ้นมันต้องเร็วๆ ไวๆ เวลาบุญส่งผลจะส่งเร็วๆ ไวๆ เหมือนกัน ปุ๊บ ปั๊บ ก่อนทันทีทันใดเลย แสดงว่าคิดนาน คิดช้ามัวแต่คิดดูก่อน ไม่ได้คิดทำก่อน ดูตัวอย่างเห็นไหมลอยไปแล้ว


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

   ขณะนั้นคนฝึกช้างกำลังอาบน้ำช้างอยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำ ก็น่าแปลกเหมือนกัน คนฝึกช้างเห็นภาชนะอาหารลอยน้ำมาจึงสั่งบริวารให้หยิบขึ้นมา บริวารก็ไม่ได้คิดอะไร เมื่อเจ้านายให้หยิบก็หยิบ “เจ้าลองเปิดดูสิว่าในนั้นมีอะไร” ให้บริวารเปิดดู “นาย ไม่เห็นมีอะไรข้างใน มีแต่ข้าวสวยกับไก่” ..“งั้นปิดภาชนะ เดี๋ยวเราจะไปให้แม่บ้านที่บ้าน”


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

    ที่พระราชอุทยาน พระดาบสกำลังนั่งทำงานที่แท้จริง ตรวจสอดส่องดูด้วยทิพยจักขุ เพราะตอนนั้นยังไม่ได้ธรรมจักษุ ตรวจดูอุปัฏฐาก คือ คนฝึกช้างที่คอยทำนุบำรุงเราตลอด เมื่อไหร่เขาจะได้สมบัติใหญ่ พอตรวจดูด้วยญาณของท่านด้วยทิพยจักษุแล้ว เห็นเป็นภาพเรื่องราวที่เกิดขึ้น เห็นด้วยการปิดตาเปิดใจ ปิดแค่เปลือกตา มองผ่านความสว่างภายใน ไปเห็น อ๋อ! เรื่องราวมันเป็นอย่างนี้ มีถาดใส่อาหารลอยมา เป็นข้าวสวยข้างในมีไก่ แล้วอุปัฏฐากของเราให้ลูกน้องไปหยิบเอามาให้ ตอนนี้กำลังมาถึงตรงนี้ กำลังจะนำไปให้ภรรยาละ ท่านตรวจดู พอรู้เรื่องราวชัดเจนเลยว่า ใช่เลย ท่านออกจากสมาธิ รีบไปที่บ้านของอุปัฏฐากคนฝึกช้างคนนี้


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

    เมื่อไปถึงได้นั่งคอยก่อน คนฝึกช้างพอเข้ามาในบ้านเห็นพระดาบสจึงกล่าวว่า “พระคุณเจ้ามาคอยเมื่อไหร่ กระผมไม่ทราบ ไม่อย่างนั้นจะมาต้อนรับก่อน จะมาปัดกวาดเช็ดถูให้สะอาดเสียก่อน” เลยสั่งภรรยาของตนให้นำอาหารคือเนื้อไก่และข้าวสวยมาถวายแด่พระดาบส ยังไม่ได้รู้อานุภาพอะไรเลย แต่ว่าใจเป็นกุศลเอามาถวายพระดาบสก่อน


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

      เพราะฉะนั้น ดาบสซึ่งเป็นนักบวชไม่ใช่ผู้ด้อยโอกาส เป็นผู้ได้โอกาส ได้ปฏิบัติธรรม มาเป็นเนื้อนาบุญแล้ว แต่พระดาบสทราบเรื่องด้วยทิพยจักษุ พอเขาเอาอาหารมาถวายแล้ว รับมาก่อน แล้วแยกส่วน เอาเนื้อติดกระดูกไว้ เอาเนื้อสันให้อุปัฏฐากและภรรยา แล้วกล่าวว่า


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

      “อาตมาขอรับแต่ข้าวสุก” ท่านรู้ แต่ใจท่านกว้าง หัวใจนักบวช ส่วนเนื้อไก่พระดาบสได้แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน โดยให้เนื้อสันแก่คนฝึกช้าง ให้เนื้อข้างนอกแก่ภรรยาคนฝึกช้าง ส่วนพระดาบสเองจะฉันเนื้อติดกระดูก พอฉันเสร็จแล้ว ก่อนพระดาบสจะกลับได้กล่าวว่า “นับจากนี้ไป ๓ วัน ท่านจะได้เป็นพระราชา ขอท่านอย่าประมาท” พูดแค่นี้แล้วก็กลับไป


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

      ใน ๓ วันจากนั้น พระเจ้าสามันตราชได้ยกทัพมาล้อมเมือง พระเจ้ากรุงพาราณสีจึงให้คนฝึกช้างปลอมตัวเป็นพระราชาแล้วรับสั่งว่า ท่านจงขี่ช้างออกรบ ส่วนพระราชาเองปลอมตัวเป็นทหารปนไปกับกองทัพโดยไม่ให้ใครรู้ พระราชาหมดบุญพอดี ถูกข้าศึกยิงด้วยลูกศร เพราะเคยทำกรรมปาณาติบาตไว้ ทำให้ลูกศรมีอารมณ์พุ่งมาเลย ตายสถานเดียว


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

     คนฝึกช้างซึ่งปลอมเป็นพระราชาอยู่ที่สูงเห็นพระราชาโดนลูกศร รักษาลมหายใจไม่อยู่ สวรรคตแล้ว เราเป็นแต่เพียงคนฝึกช้าง รบไม่ค่อยเป็น กลับเมืองดีกว่า ได้แต่ฝึกช้างจึงสั่งให้บริวารไปขนสมบัติออกมาเป็นจำนวนมาก แจกทหาร ใครต้องการทรัพย์ เราจะให้ แต่ว่าเธอต้องเป็นทหารรับจ้าง กองกำลังรับจ้างจึงได้ออกรบ มีการตกรางวัลรบแล้วสามารถปลงพระชนม์พระเจ้าสามันตราชในเวลาเพียงครู่เดียวเท่านั้น แล้วพอดีเป็นกรรมของพระเจ้าสามันตราชด้วยหมดบุญพอดี ประจวบเหมาะกับกรรมในอดีตตามมาทัน


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

     หลังจากได้ชัยชนะในการรบ เหล่าอำมาตย์จึงได้ถวายพระเพลิงพระศพของพระเจ้ากรุงพาราณสี พอถวายพระเพลิงเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงหารือกันว่า เราควรจะตั้งใครเป็นพระราชา เหล่าอำมาตย์ตกลงกันว่า ควรยกราชสมบัติให้คนฝึกช้าง เพราะว่า ตอนพระราชายังทรงพระชนม์อยู่ได้มอบตำแหน่งให้กับคนฝึกช้างแล้ว และท่านได้รบชนะข้าศึกสามารถรักษาบ้านเมืองไว้ได้


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , กำลังบุญ , คนเลี้ยงช้าง , พระธรรมเทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฏก , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , ธรรมะ , พระราชา

      คนฝึกช้างจึงได้รับการอภิเษกเป็นพระราชา ภรรยาคนฝึกช้างได้เป็นอัครมเหสี แล้วได้แต่งตั้งพระดาบสนั้นให้เป็นบรรพชิตประจำตระกูลสืบมา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010741154352824 Mins