ดรรชนีธรรม ฉบับผลของบุญและบาป

วันที่ 11 มค. พ.ศ.2547

kampee470111.jpg

โดย พระไพบูลย์ ธัมมวิปุโล และคณะ

 

.....หนังสือดรรชนีธรรม ฉบับผลของบุญและบาปนี้ ท่านผู้เรียบเรียงพร้อมทั้งคณะ ได้ประมวลรวบรวมเรื่องราวของผลบุญจากการประกอบเหตุตามหลัก บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือเหตุที่ทำให้เกิดบุญ หรือทางทำความดีทั้ง ๑๐ หนทางสู่สวรรค์ ได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล การเจริญสมาธิภาวนา ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ขวนขวายในกิจที่ชอบ อุทิศส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น อนุโมทนาส่วนบุญของผู้อื่น ฟังธรรม แสดงธรรม และการปรับความเห็นให้ถูกต้อง และเกี่ยวกับผลของบาปมาจากการประกอบเหตุตามหลัก อุกศกรรมบถ ๑๐ คือผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเหตุให้ตายแล้วไปอบาย เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ได้แก่ เป็นผู้ฆ่า ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ส่อเสียด คำหยาบ เพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย และมีความเห็นผิด

.....ธรรมเหล่านี้ ที่มีอยู่แล้วในพระไตรปิฏก ประสงค์เพื่อให้ผู้สนใจทุกท่านได้ใช้เป็นเครื่องมือศึกษาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และช่วยกันเผยแผ่คำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบ อีกทั้งเพื่อเป็นหลักเอาไว้เพื่อประกันความปลอดภัยในชีวิตของตนเองและชาวโลก ไม่ให้พลัดไปสู่อบาย นรกขุมต่าง ๆ ในระหว่างทางที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดท่องเที่ยวไปในวัฎสงสารนี้ ซึ่งเรื่องของผลของบุญและบาปเรียกรวม ๆ เป็นที่รู้จักว่า เป็นเรื่องของกฎแห่งกรรม อันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เป็นหลักคำสอนที่สำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่ประกอบด้วยเหตุด้วยผล พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องกฎแห่งกรรมไว้อย่างเป็นระบบ ทรงสอนกันตั้งแต่ที่ว่าอะไรเป็นต้นเหตุของการประกอบกรรมดีและกรรมชั่ว และเมื่อกระทำลงไปแล้วประกอบกรรมดีและกรรมชั่วแล้วจะต้องประสพกับผลอย่างไรบ้าง ทรงจำแนกไว้อย่างละเอียดชัดเจน และด้วยเหตุปัจจัยของช่วงเวลาอายุมนุษย์ที่อาจสั้นเกินไปกว่าที่จะเห็นผลของการกระทำได้โดยตลอด จึงทำให้อาจเกิดความเคลือบแคลงได้ในผู้ไม่ได้ศึกษาพระพุทธศาสนา ที่ยากจะทำความเข้าใจ

.....ดรรชนีธรรม เรียบเรียงจากพระไตรปิฎกและหนังสือธรรมอื่น ๆ อีกมาก วัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำหรับให้ผู้ใฝ่รู้ใคร่ศึกษาได้ทำความเข้าใจ จนเข้าถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้จากการค้นคว้าด้วยตนเองนี้ได้ ที่เป็นเนื้อหาสาระช่วยให้น่าสนใจ ด้วยการแยกแยะรายละเอียดตลอดจนถึงหัวข้อย่อย ไว้ชัดเจนอย่างตรงตามหลักพระพุทธศาสนา เพื่อให้จับประเด็น ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับผู้สนใจทั้งใหม่และผู้ติดตามมาตลอดจากทั้ง ๒ เล่มที่แล้วก็ตาม สำหรับหนังสือดี ๆ อีกเล่ม ที่ทรงคุณค่าสำหรับบ่มปัญญา และไว้ใช้เป็นคู่มือในการดำรงชีวิตที่ช่วยประกันความสุข ความปลอดภัยได้อย่างจริงแท้ในที่สุด ติดต่อเพิ่มเติมที่ ศูนย์ประสานงานสัมมนาพระสังฆาธิการ โทร. ๐–๗๐๓๐–๓๘๐๕,๐-๒๘๓๑–๑๘๑๑ ค่ะ



 

สุ. พูนพิพัฒน์.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.034574834505717 Mins