ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ณ ศูนยกลางกายฐานที่ ๗

วันที่ 05 มิย. พ.ศ.2560

ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ณ ศูนยกลางกายฐานที่ ๗,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

                       ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ณ ศูนยกลางกายฐานที่ ๗
 

      วันนี้ (วันจันทร์ที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔) เปีนวันวิสาฃบูชาชาวพุทธนี้งหลายถือว่าเป็นวันสำคัญอย่างยิ่ง เป็นวันแสงสว่างของโลกจนกระทั่งสหประชาชาติให้ความสำคัญว่า วันนี้เป็นวันสำคัญของโลกวันหนึ่ง ทีเดียวทั้งๆที่เขายังไม่ค่อยเข้าใจอะไร ก็ยังให้วันนี้เป็นวันสำคัญเราชาวพุทธเป็นพุทธศาสนิกชนจะต้องให้ความสำคัญในวันนี้ให้มากๆ แต่ว่าวันวิสาขบูชาของแต่ละนิกายยังไม่ตรงกันแต่ละนิกายหมายถึง มหายาน เถรวาท และวัชรยาน ซึ่งมีความเห็นยังไม่ลงรอยกันว่าวันวิสาขบูชา ตรงกับวันไหน แต่ก็มีความเห็นที่ลงรอยกันว่า เป็นวันที่สำคัญ คือเป็นวันที่พระสัมมาส้มพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน จึงได้จ้ดพิธีวิสาขบูชาในวันที่แตกต่างกันไป ยกเว้นชาวพุทธในประเทศไทยที่ยังถือเอาวันขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๖ เป็นวันวิสาขบูชา


     วันนี้เป็นวันของพระสัมมาส้มพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นด้วยกายเนื้อ ไต้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระสัมมาส้มพุทธเจ้า แล้วก็เป็นวันที่คับขันธปรินิพพานมาตรงกันเป็นวันเดียวที่อัศจรรย์ยิ่ง ของเรายังถือกันอยู่ว่าเป็นวันสำคัญ และวันนี้เป็นวันที่เราจะต้องเจริญพุทธานุสติ คือทุกลมหายใจเขัาออกให้มีแต่เรื่องราวของพระสัมมาส้มพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ใจระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ โดยบทสวดมนต์อย่างนั้นก็ได้ หรือเท่าที่เราเขัาใจง่ายๆ ก็ไต้ว่า พระสัมมาส้มพุทธเจ้าเป็นบุคคลสำคัญของโลกของจักรวาลอย่างไร ท่านเกิดที่ไหน ตรัสรู้ที่ไหน คับขันธปรินิพพานที่ไหน และระหว่างที่วังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้ตรัสสั่งสอนเผยแผ่ธรรมะ ๔๕ พรรษา ท่านทำอย่างไร สอนเรื่องอะไรบัาง เป็นสิ่งที่ชาวพุทธทุกคนจะต้องทบทวนระลึกนึกถึงท่าน จิตที่ขุ่นม้วก็จะผ่องใส จิตที่ผ่องใสแล้วก็จะผ่องใสยิ่งขึ้น สว่างไสวไปเรื่อยๆ เป็นทางมาแห่งบุญกุศล และมรรคผลนิพพาน เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะปฏิวัติบูชาถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาส้มพุทธเจ้า บูชาท่านด้วยการปฏิบัติ ไม่ส่งใจไปที่อื่น เอาใจมาอยู่ที่พระพุทธเจ้าของเรา

      อะไรคือพระพุทธเจ้า พระองค์ท่านก็ให้นัยเอาไว้ว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ ตถาคต คือธรรมกายนั่นเอง ธรรมกาย คือพระตถาคต ท่านหมายเอาลึกส์งถึงธรรมกาย มิได้หมายถึงรูปกายของท่าน
     เพราะฉะนั้น เวลาที่เมื่อท่านตอบคำถามของพราหมณ์ ซึ่งเห็นฉ้พพรรณรังสีสว่างมาจากพระวรกาย

     พราหมณ์ถามว่า "พระองค์เป็นมนุษย์หรือเปล่า ?"
     พระพุทธองค์ตรัสว่า "ไม่ได้เป็นมนุษย์"
     พราหมณ์ก็ถามว่า "เป็นอมนุษย์หรือเปล่า ?"
     พระพุทธองค์ตรัสว่า "ไม่ได้เป็นอมนุษย์"
     พราหมณ์ก็ถามว่า "เป็นเทวดาหรือเปล่า ?"
     พระพุทธองค์ตรัสว่า "ไม่ได้เป็นเทวดา"
     พราหมณ์ก็ถามว่า "เป็นพรหมหรือเปล่า ?"
     พระพุทธองค์ตรัสว่า "ไม่ได้เป็น"
     พราหมณ์ก็ถามอีกว่า "แล้วท่านเป็นอะไร ?"

       พระพุทธองค์ตรัสว่า "เป็นธรรมกาย ธรรมกายไม่ใช่ทั้งมนุษย์ไม่ใช่อมนุษย์ ไม่ใช่เทวดา พรหม หรือ อรูปพรหม ธรรมกายก็คือธรรมกาย เป็นกายแห่งความบริสุทธที่หลุดห้นจากกิเลสอาสวะ เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ธาตุล้วนๆ ธรรมล้วนๆ ไม่มีกิเลสเจือปนเลย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่นผู้เบิกบานแล้ว ผู้พ้นแล้ว ผู้ชนะแล้วจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย"

      ท่านบอกว่าท่านคือธรรมกาย เพราะฉะนั้นท่านเป็นธรรมกายจริงๆเป็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่เป็นๆ ถอนๆ เมื่อหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ส้งโยชน์เบี้องต่ำเบื้องสูงแล้ว หลุดไปทีเดียว ไปเป็นอ้นหนึ่งอ้นเดียว ไปเป็นกายธรรม อรหันตสัมมาส้มพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้นตลอด ไม่มีหลุด ไม่มีถอนถอย ติดอย่างนั้นตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ท่านก็ยืนยันกับพราหมณ์ว่าเป็นอย่างนั้น

     ว้นนี้เราจะนึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ใหั!ด้สมบูรณ์ ก็จะต้องทำใจหยุดนิ่งใหัเข้าถึงธรรมกายให้ได้แล้วจะเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งเลยว่า ทำ ไมพระบรมศาสดาถึงไต้ตรัสว่า พระตถาคตคือธรรมกาย หรือพูดง่ายๆว่า เราคือธรรมกาย ธรรมกายคือเรา เราจะเข้าใจแจ่มแจ้งต้วยตัวของเราเอง เมื่อเราเข้าถึงธรรมกาย หลุดพ้นได้ เราก็เป็นอนุพุทธะ คือ เข้าถึงธรรมกายตามคำแนะนำสั่งสอนของพระองค์ท่าน

     ในการปฏิบัติธรรม ถ้าพูดถึงพระส้มมาส้มพุทธเจ้าในภายนอกที่เข้าใจกันนั้น เราเคยได้ยินได้ฟังว่าท่านประสูติที่หนึ่ง ตรัสรู้ก็อีกที่หนึ่งดับขันธปรินิพพานอีกที่หนึ่ง คนละที่กัน แต่ในแง่ของการปฏิบัติ อัศจรรย์อย่างยิ่ง ประสูติ ตรัสรู้ ดับขันธปรินิพพานที่เดียวกัน คือตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

     คือเวลาเมื่อท่านไต้ถูกอัญเชิญมาจากสวรรค์'ชั้นดสิต กายทิพย์ก็เข้าสู่พระราชบิดาทางปากช่องจมูก แล้วก็เลื่อนเรื่อยไปเลย ไปที่หัวตา ไปที่กลางกั๊กศีรษะ ไปที่เพดานปาก ไปที่ช่องปากที่อาหารสำสัก ไปที่กึ่งกลางกายระดับเดียวกับสะดือ แล้วก็ถอยหลังขื้นมาสองนิ้วมือ ตรงฐานที่ ๗ ของพระราชบิดา เกิดเป็นกายหยาบ แล้วกายทิพย์ก็เคลื่อนจากพระราชบิดาเข้าสู่พระพุทธมารดาทางปากช่องจมูกตามลำดับในท่านองเดียวกัน แล้วก็ไปหยุดนิ่งๆ อยู่ตรงฐานที่ ๗ จนกระทั่งก่อเกิดเป็นก้อนกายมหาบุรุษ ท่านเกิดที่ฐานที่ ๗ ตรงนั้นแหละ

     เวลาตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายหล้งจากที่เอาชนะพญามารกับเสนามารได้ ท่านก็หยุดนิ่งอยู่ภายใน ใจหยุดใจนิ่งตรงฐานที่ ๗ ในต้วของท่านหยุดไปเรื่อยๆ ก็เข้าถึงแผนผังชีวิตภายใน เห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม แล้วก็ได้บรรลุธรรมกายอรหัต บรรลุธรรมกายอรหัตเป็นพระอรหันตสัมมาล้มพุทธเจ้าในยามรุ่งอรุณ และแสงเงินแสงทองจับท้องฟ้าท่านก็เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นตรงฐานที่ ๗ ขจัดกิเลสอาสวะจนกระทั่งสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ คือกิเลสอาสวะที่อยู่ในต้ว ที่จะบังคับบัญชาพระองค์ได้ก็หมดสิ้นไป จิตก็หลุดพ้นจากการบ้งคับบัญชาของพญามาร เป็นตัวเป็นตนตัวจริงแท้ๆ ของท่าน เป็นอิสระ มีแต่สุขล้วนๆ เป็นนิรันดร์บังเกิดขึ้น

      หล้งจากที่ได้เผยแผ่คำสอนของพระองค์จนกระทั่งพระศาสนาตั้งหล้กได้ มีพระรัตนตรัยบังเกิดขึ้น พุทธบริษัทบังเกิดขึ้น มั่นคงเข้มแข็งในการที่จะสอนตัวเองและแนะนำผู้อื่นได้  ก็ถึงคราวที่ท่านจะตัองดับขันธปรินิพพาน

    ดับขันธปรินิพพานก็คือ การถอดข้นธ์ต่างๆ ออกหมด ข้นธ์ ๕ ในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ถอดหมด เหลือแต่กายธรรมอรหันตสัมมาสมพุทธเจ้า และก็เข้านิโรธสมาบัติ ไม่ซ้ำสมาบัติด้วยกายธรรมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗

    นิโรธะ แปลว่า หยุด ท่านก็หยุดของท่านไปเรื่อยๆ ถอดข้นธ์ออกเป็นชั้นๆ แล้วหลุดไปเข้าไปสู่กายในกาย กายในกาย ธรรมกายในธรรมกายละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ เข้าตั้งแต่กายนิพพานเป็นในตัวของท่าน ที่เรียกว่า
สอุปาทิเสสนิพพานเข้าไปเรื่อย

    เพราะฉะนั้น ที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน อยู่ตรงที่เดียวกัน คือที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เป็นเรื่องที่ศจรรย์ทีเดียว เป็นเรื่องที่จะตัองศึกษาใหัได้ด้วยวิชชาธรรมกาย ใครเข้าถึงก็ศึกษาได้ก็จะเห็นกันไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้น
พระบรมศาสดาของเรา ท่านเป็นเลิศจริงๆ ในการที่สามารถสั่งสอนอบรมพัฒนาจิตใจของมวลมนุษยชาติ โดยไม่ตัองบังคับใหันับถือพระองค์ท่าน แต่ใหัเชื่อถือกันด้วยเหตุด้วยผล ด้วยการปฎิบัติตนจนกระทั่งเข้าถึง แล้วจึงจะเชื่อถือกันไป จะแตกต่างจากความเชื่ออื่นๆ ที่ต้องใช้กำลังบังคับ ต้องผูกเวรกัน ต้องจองเวรกัน

     พระพุทธเจ้าท่านจะตรัสเกี่ยวกับเรื่องเหตุเรื่องผลอยู่ดลอดเวลา ถ้าเหตุดับผลก็ดับ เหตุอยู่ที่กิเลสอาสวะบังคับบัญชาเอาไว้ ถ้าไปดับที่เหตุได้จนสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ ผลแห่งความทุกข์ทรมานที่เริ่มตันจากการเกิด ก็มีแก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ทรมาน สารพัดที่ตามมาก็จะดับสลายไป เป็นคำสอนที่อัศจรรย์

     สิ่งแรกที่สอนก็คือ ให้รู้จักว่าชีวิตที่อยู่ในโลกนี้เป็นทุกข์ บางคนอยู่เสียจนชิน ไม่ไดัคิดว่าทุกข์หรือไม่ทุกข์ แต่ท่านชี้ว่านี่ทุกข์ ต้องกำหนตรู้เอาไว้ ต้องให้เข้าใจทา1ห้แจ่มแจังว่าชีวิตเป็นทุกข์ แล้วก็ต้องให้รู้สาเหตุด้วย มาจากความอยาก ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ที่ประกอบด้วยความไม่รู้ ความเพลินทำให้เป็นเหตุให้เวียนว่าฃตายเกิด มีความทุกข์ทรมาน ต้องขจัดให้หมด นี่เหตุที่จะทำให้เกิดทุกข์หรือความทะยานอยาก อยากด้วยความไม่รู้ คือดวงปัญญาไม่สมบูรณ์ ถูกอวิชชาบังคับไว้ทำให้เป้าหมายชีวิตเบี่ยงเบน ไปแสวงหาสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ท่านให้ลด ให้ละ ให้เลิกไปด้วยวิธีการหยุดนั่นเอง คือ นิโรธ

      นิโรธะ แปลว่า หยุด หยุดจากความอยากทั้งปวง เอาใจที่อยากกล้บมาสู่ที่ตั้งดั้งเดิมของใจ ที่เตลิดเปิดเปิงไปในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์เอากลับมาสู่ที่ตั้งตั้งเดิม ทำหยุดทำนิ่ง ให้หยุดในหยุด หยุดในหยุดเรื่อยไปเลยหยุดนิ่งถูกส่วน มรรคก็เกิด คือเห็นเป็นดวงสว่าง และเห็นไสักลางที่จะทำให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะที่บังคับบัญชาได้ มรรคก็เกิดขึ้นเป็นดวงใสๆ ดวงแรก เขาเรียกว่าปฐมมรรค เป็นทางเบื้องต้น จุดเริ่มต้นที่ถูกต้องที่จะต้องเดินทางเข้าไปสู่ภายใน มรรคเกิดขึ้นเรื่อยไป ตั้งแต่ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญาเรื่อยไปเลยเรียงไปตามลำคับ จนกระทั้งในที่สุดก็เข้าถึงอรห้ตตมรรคขจัดกิเลสขั้นลุดท้ายให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ

      กิเลสมีทั้งหยาบและละเอียด บังคับบัญชาเป็นขั้นๆ บังคับกายมนุษย์กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมโคตรภู กายธรรมพระโสดาบันกายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามีบังคับไว้หมด แต่ว่าละเอียดไปตามลำคับ กายละเอียดกิเลสที่ละเอียดก็ต้องบังคับไว้ ก็ต้องอาศัยความละเอียดด้วยกันจึงจะมองเห็น และเมื่ออรห้ตตมรรคขจัดสิ้นหมดก็เป็นอรหัตตผลอรหัตดผลพ้นแล้วเป็นผลที่สมบูรณ์ ที่ไม่ต้องย้อนกล้บกลับคืนไปสู่ดั้งเดิมเหมือนข้าวเปลือกกลับกลายมาเป็นข้าวสารที่งอกไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้น ต้องสอนมาตามลำดับเลย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคให้รู้ว่าชีวิตเป็นทุกข์ พี้นฐานชีวิตเป็นทุกข์จริงๆ ทุกข์เกิดจากอะไร อะไรเป็นสาเหตุ และจะหลุดไดัด้วยวิธีการหยุดกับนิ่งคือนิโรธะ พอถูกส่วนก็เป็นมรรค

      มรรคมีองค์ ๘ ประชมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน พอดำเนินจิตไปก็จะเห็นศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในนั้นเรื่อยไปเลย ด้วยวิธีหยุดวิธีนิ่งอย่างนี้แหละ อย่างที่เรากำล้งเรียนรู้กันอยู่ กำลังปฏิบัติให้เข้าถึง นี่เป็นสิ่งสำคัญทีเดียวที่เราจะต้องทำให้ดี ให้เป็น ให้เกิดขึ้นได้ ในวันนี้ การปฏิบัติของเราในวันนี้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธบูชาอย่างสมบูรณ์อย่างแท้จริง คือให้เห็นเรียงไปตามลำดับ ตั้งแต่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ดังกล่าวแลัวนั่นแหละ กระทั่งเห็นมรรคเป็นดวงใสๆ ติตอยู่ในกลางกาย แลัวก็ดำเนินจิตหยุดในหยุด หยุดในหยุด เรื่อยไปเลย ไปตามลำดับอย่างนี้...

 

 

 

วันจันทร์ที่ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔

จากหนังสือ แม่บท เดินทางข้ามวัฏสงสาร


        

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.013355898857117 Mins