อานิสงส์ของการเป็นผู้ให้

วันที่ 21 กค. พ.ศ.2560

 อานิสงส์ของการเป็นผู้ให้,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 


     อานิสงส์ของการเป็นผู้ให้


    การทำทานกับการไม่ทำทาน หรือการให้กับการไม่ให้ มีผลแตกต่างกันอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านตร้สถึงเรื่องของพระราชธิดาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ตอนนั้นอายุได้ ๗ ขวบ ว้ดพระเซตวันก็สร้างเสร็จใหม่ๆ ท่านเห็นสิ่งที่เป็นอจินไตยเกิดขึ้น และเก็บไว้เป็นความล้บ ไม่ยอมบอกใครเพราะกล้วเขาจะไม่เชื่อจนวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลให้พระนางสุมนา ไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม หลังจากถวายภัตตาหารเสร็จ ก็เข้าไปใกล้ๆ พระส้มมาสัมพุทธเจ้า แล้วกราบทูลท่านว่า "หม่อมฉันเห็นสิ่งๆ หนึ่ง เป็นสิ่งอจินไตย ไม่กล้าบอกใคร เพราะกลัวไม่เชื่อ แต่ว่าวันนี้อยากจะกราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือตอน ๗ ขวบ เห็นเด็กอยู่ ๒ คนเพิ่งเกิดใหม่ คนหนึ่งอยู่ในเปลทอง อีกคนหนึ่งนอนอยู่ที่พื้น ใกล้กันทีเดียว คนที่อยู่ในเปลเป็นน้องชายของหม่อมฉัน ได้พูดกับคนที่นอนอยู่ที่พื้นซึ่งเป็นลูกของมหาอำมาตย์"

    น้องชายพูดว่า "บอกแล้วไม่เชื่อ ว่าให้ทำทานตั้งแต่ชาติที่แล้ว ถ้าทำทานก็จะได้เกิดอยู่ในอู่ทอง ได้นอนบนเปลทอง แล้วก็จะได้มีสมบัติใหญ่"

    เด็กชายที่นอนอยู่บนพื้นก็บอกว่า "จะร่ำรวยมีทรัพย์สินเงินทองแค่ไหน มันก็แค่ธาตุ ดิน นํ้า ลม ไฟเท่านั้นเอง ไม่เห็นว่ามันจะสำคัญอย่างไร จะได้นอนเปลทองหรือนอนบนพื้นมันก็เหมือนๆ กัน"

     เด็กทั้งสองคุยกันตั้งแต่เกิด จะไปเล่าให้ใครฟังเดี๋ยวเขาหาว่าบ้า เพราะคนอื่นเขาไม่เห็น อย่าว่าแต่สมัยโน้นเลยที่จะคิดว่าบ้า สมัยนี้ก็ย้งมีบางทีการที่เราไม่เห็น เราจะว่าสิ่งนั้นไม่มีก็ไม่ได้ หรือไม่เป็นเช่นนั้นก็ไม่ได้ แล้วสิ่งนั้นก็เกิดทีเดียว เพราะไม่ใช่การแสดง แต่เกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งกรรม ที่ทำเอาไว้ เหมือนที่พระนางสุมนาเล่าให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าฟัง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสว่า สิ่งที่เธอเห็นเป็นเรื่องจริง

  พระนางสุมนาก็ถามต่อว่า "แล้วที่น้องชายของหม่อมฉันพูดว่า บอกแล้วให้ทำทาน แต่เด็กลูกมหาอำมาตย์ที่นอนข้างล่างตอบว่าไม่จำเป็น แล้วผลต่างกันอย่างไร" สรุปคือพระนางสุมนาถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า "การให้กับการไม่ให้มีความแตกต่างกันอย่างไร" พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ผู้ให้ย่อมเป็นทีรัก ย่อมมีชื่อเสียง ไปที่ไหนก็องอาจเป็นต้น แต่ผู้ไม่ให้เขาอาจจะรักษาศีล เจริญภาวนา แต่เขาไม่ได้ทำทาน ตายแล้วไปเกิดบนสวรรค์ เป็นเทวดาเหมือนกัน แต่ก็แตกต่างกันโดย อายุ วรรณะ สุขะ ยศ และอธิปไตย"

  อายุ หมายถึงผู้ให้ทาน เวลาไปเกิดเป็นเทวดาแล้วอายุยืนกว่าเทวดาที่ไม่ได้ให้ อย่างเช่น สมมติตัวเลขว่าอายุยืนแค่หมื่นปี แต่เทวดาผู้ให้จะมีอายุยืนถึงเป็นแสนปี

    วรรณะ คือรัศมี ผู้ให้จะเป็นเทวดาที่มีรัศมีสว่างกว่าเทวดาที่ไม่ได้ให้ เมื่อตอนเป็นมนุษย์ มีความสุขก็มากกว่า มียศก็ใหญ่กว่า มีอธิปไตย คือมีความเป็นใหญ่ มีบริวารที่ได้รับหน้าที่การงานภารกิจที่ยิ่งใหญ่กว่า ด้งนั้นผู้ให้กับไม่ให้ตายแล้วไปอยู่บนสวรรค์จึงแตกต่างกันอย่างนี้

   ครั้นเวลาลงมาเกิดเป็นมนุษย์ก็แตกต่างกัน ด้วยธรรม ๕ ประการ นั้นเหมือนกัน คือ เกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน แต่แตกต่างกันคือ อายุ ผิวพรรณ วรรณะ ความสุข ยศ แล้วก็ความเป็นใหญ่ แม้แต่ออกบวชแล้วก็แตกต่างกันโดยธรรม ๕ ประการเช่นกัน มีพระอรหันต์องค์หนึ่ง ไม่เคยทำทานมาก่อนหน้านี้ให้ดี ส่วนการร้กษาศีลและเจริญภาวนาทำมาเรื่อยๆ มาในชาติสุดท้าย จึงอดอยาก แม้บวชเป็นบรรพชิตแล้ว ก็อดๆ อยากๆ แต่ทำความเพียร จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ ก่อนจะดับขันธปรินิพพาน ถึงจะได้ฉ้นอาหารอิ่มมื้อเดียว โดยมีบิณฑบาตที่พระสารีบุตรไปบิณฑบาตมาแล้วเอามือจับบาตรไว้ให้ คือต้องอาศัยบุญของคนอื่น ฉะนั้นแม้เป็นบรรพชิตด้วยกัน แต่ก็แตกต่างกันด้วยอายุ วรรณะ สุขะ ยศ แล้วก็อธิปไตย แต่การบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ไม่แตกต่างกัน พูดง่ายๆ ก็คือ คนที่ให้จะรวย จะสมบูรณ์ มีความสุขสบายกว่า ผู้ที่ไม่ให้ไม่ว่าจะเกิดเป็นชาวสวรรค์ เป็นมนุษย์หรีอเป็นพระ เป็นนักบวช

   เพราะฉะนั้น หลวงพ่อมีความปลื้มปีติในลูกทั้งหลายที่แย่งกันสร้างมหาทานบารมี ดูแล้วน่าอัศจรรย์ แล้วภาพนี้ถูกถ่ายทอดไปต่างประเทศด้วย เขาอัศจรรย์ทีเดียว เพราะการเขัาแถวกันสร้างมหาทานบารมีอย่างนี้ เกิดขึ้นไม่ใช่ง่ายเลย เพราะฉะนั้นสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดี ที่ลูกทุกคนได้ใช้ชีวิตในกายมนุษย่ให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างบารมีอย่างเต็มที่

   ดังนั้น ตลอดเส้นทางแห่งการเดินทางไปสู่ที่สุดแห่งธรรม ก็จะสมบูรณ์ในทุกสิ่งตลอดเวลาเรื่อยไป จนกระทั่งถึงที่สุดแห่งธรรม จะได้ที่สุดแห่งรูปสมบัติ ที่สุดแห่งทรัพย์สมบัติ และที่สุตแห่งคุณสมบ้ติ ที่สุดแห่งรูปสมบัติคือจะได้กายมหาบุรุษ แล้วก็มีสมบัติจักรพรรติตักไม่พร่อง ใช้สร้างบารมีจนอิ่มใจ เราจะมีที่สุดแห่งคุณสมบัติ คือสมบูรณ์ทั้งวิชชาและจรณะ สมบูรณ์หมดเลย ด้งนั้นให้พยายามสร้างบารมีกันให้สม่ำเสมอ อย่าให้ขาดตอนเลย สายบุญสายสมบัติจะได้ต่อเนึ่องกันไป

 

 

 

จากหนังสือ แม่บท เดินทางข้ามวัฏสงสาร

วันอาทิตย์ที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔

      

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018065174420675 Mins