อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตอนที่ ๙ เวลามพราหมณ์

วันที่ 03 มีค. พ.ศ.2548

อนาถบิณฑิกเศรษฐี
ตอนที่ ๙ เวลามพราหมณ์


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

        ทานที่เวลามพราหมณ์ให้ เปรียบเสมือนกระแสน้ำในแม่น้ำ ที่ไหลไปไม่ขาดสายเลย ดูก่อนอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านอาจจะเข้าใจว่า เวลามพราหมณ์นั้น คงจะเป็นคนอื่น แต่ที่จริงแล้วเวลามพราหมณ์ในครั้งนั้น คือ เราตถาคตนั่นเอง ผู้แสวงหาบุคคลที่เหมาะสมที่จะรับทักษิณาทานของตนไว้ได้ เราจะเห็นว่าการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสร้างเรื่อยมาอย่างนี้ แม้จะยังไม่มีทักขิไณยบุคคลในยุคนั้น เมื่อบุญส่งผลเต็มที่ ทำให้ท่านได้ลักษณะมหาบุรุษ เพราะบุญกุศล และบุญบารมีที่ท่านสั่งสมนี้แหละ


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

       “ดูก่อนท่านเศรษฐี ส่วนท่านได้ให้ทานในกาลสมัยที่มีพระพุทธเจ้าเช่นเรา ปรากฎอยู่บนโลก ท่านจึงไม่ควรคิดน้อยใจ ก็ตอนเวลามพราหมณ์ทำบุญ ยังไม่มีทักขิไณยบุคคลเลย ไม่มีพระพุทธเจ้าอย่างเราเกิดขึ้นในโลก เพราะฉะนั้นทานที่ท่านทำอยู่ชื่อว่า ไม่ประณีตไม่มี” พวกเราทุกคนคงอยากจะถวายทานกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ท่านดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ยังเหลือแต่คำสอนเป็นตัวแทนพระองค์ ซึ่งเก็บไว้โดยพระภิกษุสามเณร ดังนั้น ถ้าถวายทานกับคณะสงฆ์ทั้งหมด ก็ชื่อว่าถวายกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะท่านยังกล่าวว่า ได้อานิสงส์มากด้วย


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

         “ดูก่อนท่านเศรษฐี  ทานที่บุคคลถวายแด่ผู้มีสัมมาทิฏฐิเพียบพร้อม คือ พระโสดาบัน แม้เพียงรูปเดียวย่อมมีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้อย่างมากมาย ทานที่บุคคลถวายแด่พระสกิทานคามี ๑ รูป มีผลมากกว่าทานที่ถวายแด่พระโสดาบัน ๑๐๐ รูป ทานที่บุคคลถวายแด่พระอนาคามี ๑ รูป มีผลมากกว่าทานที่ถวายแด่พระสกิทาคามี ๑๐๐ รูป ทานที่ถวายแด่พระอรหันต์ ๑ รูป มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายแด่พระอนาคามี ๑๐๐ รูป ทานที่บุคคลถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ รูป มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายแด่พระอรหันต์ ๑๐๐ รูป ทานที่บุคคลถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ รูป ทานที่บุคคลถวายแด่หมู่สงฆ์โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว คือ ถวายทั้งพระองค์ท่านและหมู่สงฆ์ด้วย “


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

     แต่ตอนนี้ท่านดับขันธปรินิพพานไปแล้วก็มีพุทธปฏิมากร เป็นสิ่งแทนตัวท่านและก็มีคณะสงฆ์ที่เราถวายสังฆทานกัน ก็มีอานิสงส์มากทีเดียว “การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายภัตตาหารแด่หมู่สงฆ์ โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข”


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

      “การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ มีอานิสงส์มากกว่าวิหารทาน ที่บุคคลสร้างถวายสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔“ คือถ้าเรามีจิตเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ย่อมมีอานิสงส์มากกว่าวิหารทาน ที่บุคคลสร้างถวายสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ แต่ขอให้เลื่อมใสจริงๆ คือ พอนึกถึงรัตนะทั้ง ๓ นี้ แล้วใจใสปิ๊งขึ้นมาอย่างนี้ หรือ ถ้าเข้าถึงรัตนตรัยภายในอย่างนี้แล้วก็มีอานิสงส์มาก


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

       “การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ และเข้าถึงไตรสรณคมน์ คำว่า สมาทาน คือ รับไปแล้ว เอาไปปฏิบัติ ไม่ใช่รับแล้วก็วางไว้ตรงนั้น อย่างนี้มีอานิสงส์มากกว่าการเข้าถึงไตรสรณคมน์เพียงอย่างเดียว” คือ ต้องปฏิบัติให้ครบทั้งศีลด้วย


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

      “บุคคลผู้เจริญเมตตาจิต โดยที่สุดเพียงเวลาสูดดมของหอม มีอานิสงส์มากกว่าการสมาทานศีล คือ ใจที่ตั้งมั่นดีแล้ว สว่างไสวแล้ว แผ่เมตตาจิตรักสรรพสัตว์ทั้งหลาย รักและปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลก สรรพสัตว์ทั้งปวงว่า ขอให้สัตว์ทั้งปวง เพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย จงมีแต่ความผาสุก สุขกาย สุขใจ คือ ไม่ใช่เพียงแต่เปล่งวาจาอย่างเดียว แต่ว่าเข้าถึงพระรัตนตรัย ถึงศีล ถึงธรรมในตัว จนกระทั่งชัดใสแล้วแผ่ออกไป ขยายจิตที่ประกอบไปด้วยเมตตาจะใสและสว่าง แล้วจะขยายออกไปอย่างนี้ มีอานิสงส์มากกว่าการสมาทานศีล”

    “ดูก่อนท่านเศรษฐี การที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาชั่วลัดนิ้วมือ มีอานิสงส์มากกว่าการเจริญเมตตาโดยที่สุดเพียงเวลาสูดดมของหอม” คือ พิจารณาว่า สรรพสิ่งนั้น ล้วนไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อใจจะได้ไม่ผูกพันกับคน สัตว์ สิ่งของ สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ใจจะได้โปร่ง ปลอดกังวล


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

      อุปมาบุญที่ได้ถวายทานดังกล่าวมาแล้ว สมมติว่า มีผู้สามารถทำชมพูทวีปให้เป็นพื้นเสมอกัน ชมพูทวีป คือ โลกของเราที่อยู่นี้ เสมอเช่นกับหน้ากลอง จากนั้นจึงปูลาดอาสนะ แล้วนิมนต์ให้พระอริยบุคคลนั่ง ณ ที่นั้น โดยมีพระโสดาบัน ๑๐ แถว พระสกิทาคามี ๕ แถว พระอนาคามี ๒ แถวครึ่ง พระอรหันต์ ๑ แถวครึ่ง ประปัจเจกพุทธเจ้า ๑ แถว ทานที่บุคคลถวายจำเพาะแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีอานิสงส์มากกว่าทานที่ถวายแด่พระอริยบุคคลมีประมาณเท่านี้


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

     ส่วนทานและการบำเพ็ญความดีนอกจากนี้ คือ การสร้างวิหารถวายแด่สงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ การถวายบิณฑบาต การรักษาศีล การเจริญเมตตา ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งอานิสงส์ของบุคคลผู้พิจารณาแห่งความสิ้นไป คือ การเจริญวิปัสสนา ต้องเข้าถึงธรรมกายแล้ว ถ้าไม่เข้าถึงธรรมกายแล้ว ไม่มีการเห็นอย่างวิเศษ อย่างแจ่มแจ้ง และแตกต่างจากการเห็นทั่วๆ ไป เพราะว่าดวงตาธรรมดานั้นเห็นไม่ได้รอบตัว เมื่อเห็นไม่รอบตัวก็รู้ไม่รอบตัว ไม่รอบทิศ ก็ไม่วิเศษ แล้วก็เห็นมัวๆ สลัวๆ ก็ไม่แน่ใจ แต่พอใจสว่างก็เห็นรอบทิศ


อนาถบิณฑิกเศรษฐี , เวลามพราหมณ์ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ตถาคต , พุทธกาล , ชมพูทวีป , ธรรมะ , พุทธประวัติ , เอตทัคคะ , ถวายทาน , วัดพระธรรมกาย , เทศนา , หลวงพ่อธัมมชโย , พระเทพญาณมหามุนี

      ดังนั้น การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมจึงเป็นการบูชาอันสูงสุด ภายหลังจากจบพระธรรมเทศนา ท่านอนาถ-บิณฑิกเศรษฐีก็มีจิตผ่องใส เบิกบาน มีความปีติในทานที่ตนได้ถวายแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหล่าพระอริยสงฆ์ ไม่มีความรู้สึกว่า ทานที่ตนทำนั้นไม่ประณีต

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.011413764953613 Mins