กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา

วันที่ 13 ตค. พ.ศ.2559

กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา

กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา   , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

      วิบากแห่งกรรมเป็นเรื่องอจินไตย ระดับการให้ผลของกรรมสัตว์โลกแตกต่างกันเพราะกรรม ตัวอย่างผลของกรรมในปัจจุบันและกฎแห่งกรรมกับหลักวิทยาศาสตร์

1. วิบากแห่งกรรมเป็นเรื่องอจินไตย
         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในอจินติตสูตรว่า "วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า" การรู้แจ้งในวิบากกรรมนั้นเป็นวิสัยของผู้เข้าถึงพระธรรมกายในตัวด้วยการเจริญสมาธิภาวนา แล้วใช้จักษุและญาณทั นะของพระธรรมกายตรวจดูความเป็นไปแห่งเหตุและผลของกรรมและวิบากต่าง ๆ บุคคลทั่วไปที่ไม่เข้าถึงพระธรรมกายไม่อาจจะรู้แจ้งได้เปรียบเสมือนเด็กอนุบาลไม่อาจจะเข้าใจความรู้ในขั้นสูงอย่างฟิสิกส์และแคลคูลัสได้

          แม้บางเรื่องอาจจะพอตรองดูได้ เช่น เด็กที่ทำกรรมคือขยันเรียนหนังสือ ย่อมได้วิบากคือเรียนหนังสือได้ดีขึ้น อันนี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่พอตรองได้ แต่บางกรณีเกินวิสัยของชาวโลกทั่วไป ได้แก่ วิบากกรรมจากอดีตชาติ เป็นต้น ไม่ว่าจะคิดอย่างไรก็ไม่อาจจะทราบชัดว่า กรรมใดบ้างที่ส่งผลให้เรามีสภาพชีวิตอย่างนี้ในปัจจุบัน ถึงแม้พอจะเทียบเคียงกับกรรมและวิบากบางอย่างในพระไตรปิฎกก็ยังไม่ชัดแจ้งอยู่ดี เพราะกรรมที่มนุษย์แต่ละคนประกอบไว้ในอดีตชาติมีแตกต่างหลากหลาย และวิบากอย่างเดียวกันอาจมีสาเหตุหลายประการ จึงไม่อาจรู้ได้อย่างแน่ชัดว่า กรรมใดเป็นต้นเหตุแห่งวิบากนั้น ๆ อุปมาเหมือนเวลาเรารับประทานอาหาร จะมีกับข้าวหลายอย่าง อาหารเหล่านั้นก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นเลือดเป็นเนื้อ เราไม่อาจจะระบุได้ว่า เนื้อส่วนไหนมาจากอาหารชนิดใด แต่รู้โดยรวม ๆ ว่ามาจากอาหารที่เรากินแต่ละมื้อ


2. ระดับการให้ผลของกรรม
        ระดับของวิบากหรือผลของกรรมนั้นกล่าวไว้ 2 ระดับ ได้แก่ ระดับแรก คือ การเกิดขึ้นของบุญและบาปหลังจากได้ประกอบกุศลกรรมและอกุศลกรรม ระดับที่สอง คือ ผลของบุญและบาปนั้นจะส่งผลให้ผู้เป็นเจ้าของมีวิถีชีวิตไปตามกรรมต่าง ๆ ที่ทำเอาไว้สำหรับในหัวข้อนี้จะขยายความระดับของวิบากกรรมออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับจิตใจ ระดับบุคลิกภาพ ระดับวิถีชีวิต และ ระดับปรโลก ดังนี้

        1) ระดับจิตใจ ถ้าเป็นบุญก็จะทำให้สุขภาพใจดีขึ้นคือ เป็นสุขใจ มีใจเยือกเย็น ตั้งมั่น และสมรรถภาพของใจก็จะดีขึ้นด้วย คือ ใจจะสะอาดผ่องใสใช้คิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้รวดเร็ว ว่องไว ลึกซึ้ง กว้าง ไกล รอบคอบ เป็นระเบียบ และตัดสินใจได้ฉับพลันถูกต้องไม่ลังเล ผลดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นเมื่อได้ทำกุศลกรรมได้แก่ ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาอย่างต่อเนื่อง

         นักวิจัยของมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ร่วมกับโรงเรียนธุรกิจาวาร์ดได้ทำการทดลองเรื่องความสุขจากการให้ทานจากชาวอเมริกันไม่ต่ำกว่า 630 คน พบว่า พวกเขารู้สึกเป็นสุขอย่างวัดได้มากขึ้นเมื่อได้แจกเงินให้กับคนอื่น ศาสตราจารย์เอลิ เบธ ดันน์ กล่าวว่า "มันไม่สำคัญว่า คนเราหาเงินได้มากเท่าไรหากแต่คนที่มีโอกาสให้เงินช่วยเหลือคนอื่น ต่างบอกว่ารู้สึกเป็นสุขมากขึ้น โดยที่คนที่เอาไปใช้จ่ายของตนเองก็ไม่เกิดความรู้สึกเช่นนี้"

          หากเป็นบาปก็จะส่งผลในทางตรงกันข้ามคือสุขภาพและ มรรถภาพของใจจะแย่ลงไปเรื่อย ๆ ได้แก่ เป็นทุกข์ใจ วิตกกังวล ระแวง เช่น คนที่ลักขโมย ก็จะหวาดระแวงอยู่เสมอว่าอาจจะถูกจับขังคุกได้ คนที่เคยฆ่าคนตาย ก็ต้องอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทั้งกลัวถูกแก้แค้นและกลัวกฎหมายบ้านเมือง เป็นต้น บุคคลที่ทำอกุศลกรรมจะมีใจที่ขุ่นมัวอยู่เป็นประจำ จึงทำให้ความคิด ไม่แจ่มใสจิตใจไม่เบิกบานส่งผลให้การงานต่าง ๆ ที่ทำด้อยคุณภาพ

       2) ระดับบุคลิกภาพ คนที่ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้มีใจที่สงบแช่มชื่น เบิกบาน ชุ่มเย็น นอนหลับสบาย ไม่มีความกังวลหม่นหมองส่งผลให้มีหน้าตาผิวพรรณผ่องใสมีความมั่นใจในตัวเอง มีความองอาจสง่างาม ไปถึงไหนก็สามารถวางตัว ได้พอเหมาะพอดี บุคลิกภาพจะดีขึ้นเป็นลำดับ

      ส่วนบุคลิกภาพของคนที่ทำอกุศลกรรมจะมีลักษณะตรงข้าม ได้แก่ ก้าวร้าว ไม่องอาจ ใจลอยขาดความมั่นใจในตัวเอง ฯลฯ เช่น คนที่ฆ่าสัตว์อยู่เป็นประจำจะบ่มเพาะความโหดเหี้ยมไว้ในใจ และจะส่งผลสู่บุคลิกภายนอก ทำให้ดูน่ากลัว ไม่น่าเข้าใกล้ คนที่มักโกรธจะทำให้แก่เร็ว เพราะเวลาโกรธไฟโทสะจะเผาลนจิตใจและร่างกายให้ร้อน จึงทำให้ผิวหนังเหี่ยวแห้งเร็วกว่าปกติ คนที่โกหกมักจะไม่กล้าสบตา ทำให้สังเกตได้ว่ามีอะไรซ่อนอยู่ในใจ นี้เป็นตัวอย่างบุคลิกภาพอันเกิดจากบาป

       3) ระดับวิถีชีวิต หลักการส่งผลของบุญและบาปในระดับวิถีชีวิตคือ บุญและบาปในอดีตชาติจะส่งผลก่อนและส่งผลอย่างเต็มที่ เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ซึ่งปลูกไว้นานแล้ว จึงมีความพร้อมในการผลิดอกออกผลส่วนต้นไม้ที่เพิ่งปลูกก็เปรียบเสมือนบุญและบาปใหม่ จึงต้องรอเวลาให้มันเจริญเติบโตสักระยะหนึ่งจึงจะให้ผล ดังนั้นวิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละคนในชาตินี้หรือในทุก ๆ ชาติที่เกิดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญและบาปที่ได้ทำไว้ในอดีตชาติเป็นหลักคือ ประมาณ 70-80 % ส่วนบุญและบาปใหม่เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้นคือส่งผลในชาตินี้เพียงประมาณ 20-30 % แต่จะส่งผลอย่างเต็มที่ในภพชาติหน้า

      บางคนเข้าใจผิดคิดว่าทำดีแล้วไม่ได้ดี เพราะบางครั้งขณะที่เราตั้งใจทำความดีอยู่ กลับถูกใส่ร้ายป้ายสี หรือประสบเคราะห์กรรม ทำให้หมดกำลังใจในการทำความดี แท้จริงแล้ว ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในขณะนั้นผลบาปที่เราเคยทำในอดีตกำลังส่งผลอยู่ แต่บุญที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันย่อมไม่ไร้ผล เมื่อเราตั้งใจทำบุญไปโดยไม่ย่อท้อ บุญย่อมจะค่อย ๆส่งผลให้เคราะห์กรรมนั้นหมดสิ้นไป และได้รับความสุขความสำเร็จได้ในที่สุด

       4) ระดับปรโลก คำว่า ปรโลก แปลว่า โลกหน้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในวัตถูปสูตรว่า "จิตฺเต สงฺกิลิฏเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา ฯ จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐสุคติ ปาฏิกงฺขา ฯ" แปลว่า เมื่อจิตเศร้าหมองทุคติเป็นที่ไป เมื่อจิตไม่เศร้าหมองคือผ่องใสุคติเป็นที่ไปทุคติ แปลว่า คติชั่ว คือ อบายภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดียรัจฉาน ส่วนสุคติ แปลว่า สุคติดี ได้แก่ การมาเกิดเป็นมนุษย์สวรรค์ หรือ พรหมโลก สาเหตุที่ทำให้จิตเศร้าหมองหรือผ่องใสคือบาปและบุญนั้นเอง โดยบาปจะทำให้จิตเศร้าหมอง แต่บุญจะชำระล้างจิตให้ผ่องใส

        พระเจ้ามิลินท์เคยถามพระนาคเสนในเรื่องนี้ว่า

     "ข้าแต่พระนาคเสน คำว่าผู้ไม่ได้ทำบุญตั้ง 100 ปี แต่ในเวลาจะตายได้สติ นึกถึงพระพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียว ก็ได้ไปเกิดในหมู่เทพเจ้า ดังนี้ คำนี้โยมไม่เชื่อ อีกคำหนึ่งว่า ทำปาณาติบาตเพียงครั้งเดียวก็ไปเกิดในนรกได้ คำนี้ โยมก็ไม่เชื่อฯ"

        พระนาคเสนย้อนถามว่า "ก้อนหินเล็ก ๆ ทิ้งลงไปในน้ำ จะลอยขึ้นบนน้ำได้ไหม"

        พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า "ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้าฯ"

       พระนาคเสนถามว่า "หากนำก้อนหิน 100 เล่มเกวียน ขนใส่ไว้ในเรือลำใหญ่ ๆ เรือลำนั้นจะลอยอยู่บนน้ำได้ไหม"

         พระเจ้ามิลินท์ตรัสว่า "ได้ พระผู้เป็นเจ้าฯ"

        พระนาคเสนตอบว่า "ขอถวายพระพร กุศลกรรมเปรียบเหมือนเรือฯ แต่ถ้าเรือบรรทุกของหนักเกินไป ก็จมลงในน้ำได้ฉันใด นรชนทำบาปทีละน้อย ๆ จนบาปมากขึ้น ก็จมลงไปในนรกได้ฉันนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่วิดน้ำในเรือ ทำให้เรือเบา ก็จะข้ามฟากไปถึงท่า คือ นิพพานได้ฉันนั้น ฯ


3. สัตว์โลกแตกต่างกันเพราะกรรม
      กรรมนั้นเป็นทั้งช่างผู้ปันแต่งรูปร่างหน้าตาของเรา เป็นบรรพบุรุษผู้มอบมรดกให้แก่เรา เป็นองค์รักษ์พิทักษ์ความปลอดภัย รวมทั้งเป็นอะไรต่ออะไรให้เราอีกมากมาย และที่สำคัญกรรมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนและสัตว์ทั้งหลายมีความแตกต่างกัน

         ขอทานที่นั่งนับเศษเงินตั้งแต่เกิดมีอยู่มากมาย เราเห็นพวกเขาเสมอกันหมด แต่เชื่อหรือไม่พวกเขารู้สึกได้ถึงความแตกต่างระหว่างกัน ขอทานบางคนได้เศษเงินมากมายเป็นกอบเป็นกำ ในขณะที่ขอทานบางคนมีรายได้น้อย และต้องร่อนเร่หาที่ปักหลักใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทำนองเดียวกัน แม้มีศัพท์อย่างเป็นทางการ เช่น เศรษฐี เอาไว้ใช้ยังไม่พอ ต้องมีการขยายเป็น มหาเศรษฐี และ อภิมหาเศรษฐี เข้าไปอีก

       คนจนก็ย่อมเปรียบเทียบและเห็นความต่างระหว่างคนจนด้วยกันง่าย คนรวยก็เช่นกัน ย่อมเปรียบเทียบและเห็นความแตกต่างระหว่างคนรวยด้วยกันไม่ยากนัก และไม่ใช่น้อยเลยที่ไม่ได้เป็นเศรษฐีชั่วชีวิต คือ รวยเดี๋ยวเดียวก็ประสบหายนะในรูปแบบต่าง ๆ ถูกโกงบ้าง ถูกปล้นเอาซึ่ง ๆ หน้าบ้างหรือถูกภัยจากน้ำและไฟทำลายเอาบ้าง

         และคนรวยก็มีความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งติดตัวอยู่ระหว่าง เกิดมารวย กับ ขยันทำงานจนรวยทางด้านสติปัญญาก็เช่นกัน เศรษฐีบางคนไม่ค่อยทันคน ไม่ทันเกมคนอื่น แต่กลับทำเรื่องตกตะลึงให้กับคู่แข่งอยู่เสมอ เอาชนะนักทำงานที่เต็มไปด้วยสติปัญญาสามารถอย่างไม่น่าเชื่อตำรามหาวิทยาลัยธุรกิจจำต้องกัดฟันใส่คำว่า เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเฮงด้วย คำว่าเฮงเพียงคำเดียวอาจล้มล้างทฤษฎีต่าง ๆ ทั้งหมดประกันความสำเร็จได้สูงสุด

         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเรื่องความแตกต่างเพราะกรรมไว้ในจูฬกัมมวิภังคสูตรซึ่งสามารถสรุปผลของกรรมต่าง ๆ ได้ 7 ประการ ทั้ง 7 ข้อนี้ไม่ได้เป็นความแตกต่างกันทั้งหมดของมนุษย์ เป็นเพียงตัวอย่างสำคัญ ๆ ที่พบเห็นได้ทั่วไปเท่านั้น
 

กฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนา   , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , เส้นทางการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์

4. ตัวอย่างผลของกรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน
           จากตารางที่กล่าวมาข้างต้น นักศึกษาอาจจะสงสัยอยู่หลายประการว่าเหตุใดกรรมนั้นๆ จึงส่งผลอย่างนั้น ๆ ความสงสัยนี้เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ยังไม่รู้แจ้ง และกล่าวแล้วว่าเรื่องวิบากกรรมนั้นไม่อาจจะเข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งได้ด้วยการคิด ยิ่งคิดมากก็อาจจะเป็นบ้าได้ เพราะไม่อาจจะหาคำตอบที่ชัดเจนได้

            ในหัวข้อนี้จะขยายความบางกรณีที่พอจะอธิบายได้ด้วยเหตุการณ์ที่พบเห็นในปัจจุบัน นั่นคือ ประเด็นที่ว่าบุคคลให้ทานแล้วทำให้มีโภคทรัพย์มาก เรื่องนี้จะกล่าวถึงอุปนิสัยการให้ทานของมหาเศรษฐีโลกในปัจจุบัน

           "อุปนิสัย" หมายถึง ความประพฤติที่เคยชินเป็นพื้นมาในสันดาน หรือติดตัวมาข้ามชาติ ใครที่เคยมีนิสัยอย่างไร หากไม่ได้ปรับเปลี่ยนก็จะติดตัวไปตลอดชีวิตและจะติดตัวข้ามชาติด้วย

           จากเรื่องอุปนิสัยอันติดตัวข้ามชาติดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับอุปนิสัยการให้ทานของมหาเศรษฐีโลกในปัจจุบันพบว่าสอดคล้องกันมาก บุญจากการให้ทานแก่เนื้อนาบุญในอดีตชาติเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนมีฐานะร่ำรวย และอุปนิสัยการให้ทานนี้ก็จะติดตัวข้ามชาติ แม้การจะรู้เรื่องในอดีตชาติของมหาเศรษฐีต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก แต่ฐานะและอุปนิสัยการให้ทานในปัจจุบันก็สะท้อนให้เห็นภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน

        บิลล์ เกตส์อภิมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 13 ปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2550 ได้ออกมาประกาศว่า จะยกสินทรัพย์ถึง 95 % ที่มีอยู่ทั้งหมดให้มูลนิธิของเขาเพื่อใช้ในกิจกรรมการกุศล โดยเหลือไวให้ลูกทั้ง 3 คนเพียง 5 เท่านั้น1 ปัจจุบัน (พ.ศ. 2551) บิลล์ เกตส์มีสินทรัพย์ทั้งหมดประมาณ 58,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.8 ล้านล้านบาท) เท่ากับว่าเขาจะยกสินทรัพย์ให้มูลนิธิเพื่อการกุศลถึง 55,100 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท

          มีคนเคยถามบิลล์ เกตส์ว่าทำไมถึงไม่ยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้กับลูกทั้ง 3 คน เกตส์ตอบว่า เงินจำนวนมหาศาลขนาดนี้ หากยกให้ลูกจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและกับลูกทั้งสาม เพราะปรัชญาในการดำรงชีวิตของเขาก็คือ นำทรัพย์สมบัติที่มีคืนให้กับสังคม

         มหาเศรษฐีโลกผู้ใจบุญอีกท่านหนึ่งคือวอร์เร็น บัฟเฟ็ทท์ เขาออกมาประกาศในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2549 ว่า จะบริจาคเงินประมาณ 37,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.158 ล้านล้านบาท) ซึ่งคิดเป็น 85 % ของสินทรัพย์ที่มีอยู่ตอนนั้นให้แก่มูลนิธิการกุศล 5 แห่ง และไม่นานมานี้เขาก็ได้บริจาคเงิน 31,000 ล้านดอลลาร์ให้กับมูลนิธิของบิลเกตส์ไปแล้ว

         นอกจากนี้ใน หรัฐอเมริกายังมีมหาเศรษฐีผู้ใจบุญอีกมากมาย เช่น กอร์ดอน มัวร์ และเบตตี้ มัวร์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล, เอลิ และเอดิธ บรอด ผู้ก่อตั้งบริษัทซันอเมริกา, เจมส์ และเวอร์จิเนียร์ โตเวอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทอเมริกาเซนจูรี่, ไมเคิล และซูซาน เดลล์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเดลล์ คอมพิวเตอร์, ครอบครัววอลล์ตัน แห่งศูนย์การค้าวอลล์มาร์ต, เท็ด เทอร์เนอร์ ผู้ก่อตั้งสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น, เจฟฟรี กอลล์ ผู้ก่อตั้งตัวกลางในการซื้อขายทางอินเทอร์เน็ต ชื่อ อีเบย์ (eBay) ,จอห์น อาร์ อาล์ม ประธานบริษัทโคคาโคลา เอ็นเตอร์ไพรส์ เป็นต้น

      นอกจากใน หรัฐอเมริกาแล้วปัจจุบันมหาเศรษฐีทั่วโลกได้ทยอยตั้งมูลนิธิการกุศลของตนเองขึ้นมาซึ่งกำลังผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดไปทั่วโลก เช่น ในเยอรมนี ปัจจุบันมูลนิธิของเอกชนในเยอรมนีได้เพิ่มขึ้นจาก 4,000 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 เป็น 13,000 แห่งในปี พ.ศ. 2549 และจากข้อมูลของธนาคารชั้นนำแห่งหนึ่งในสวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่าลูกค้าระดับมหาเศรษฐีประมาณ 1 ใน 4 แ ดงความจำนงที่จะบริจาคเงินส่วนหนึ่งเพื่อการกุศล ขณะที่ 40 กำลังพิจารณาในเรื่องนี้ และ 15 เริ่มนำเรื่องบริจาคมาพูดถึงแล้ว3

          นิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ ฉบับวันที่ 25 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ได้ตั้งข้อสังเกตถึงสาเหตุหลักของการให้ของมหาเศรษฐีเหล่านี้ว่า คนรวยมักต้องการตอบแทนต่อบางสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ เช่น บริจาคเงินแก่โรงเรียนที่ตนเคยเรียน บางคนให้การสนับสนุนโรงพยาบาลหรือการวิจัยยารักษาโรคซึ่งเคยทำร้ายคนใกล้ชิดของพวกเขา หรือบางคนก็ช่วยเหลือประเทศยากจนซึ่งพวกเขาเคยไปเยือนส่วนสาเหตุรองของการให้ อาจมาจากมาตรการจูงใจทางภาษี เพราะบางประเทศเงินบริจาคสามารถนำไปหักภาษีเงินได้

          สาเหตุการให้ทานที่กล่าวมานี้เป็นเพียงสาเหตุที่พบและวิเคราะห์ได้ในปัจจุบันชาติเท่านั้นส่วนสาเหตุสำคัญที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นคือ อุปนิสัยรักการให้ทานที่ติดตัวมาข้ามชาติส่งผลให้มหาเศรษฐีเหล่านี้ดำเนินชีวิตเช่นเดิมอีกในชาตินี้ แม้ในชาตินี้พวกเขาจะไม่ค่อยได้ให้ทานแก่เนื้อนาบุญ เพราะเกิดในประเทศที่มีความเชื่อต่างไปจากคำ อนในพระพุทธศาสนา แต่ประเด็นที่กล่าวมานี้ต้องการชี้ให้เห็นอุปนิสัยที่ติดตัวข้ามชาติเป็นหลัก


5. กฎแห่งกรรมกับหลักวิทยาศาสตร์
          ความสอดคล้องกันของกฎแห่งกรรมกับวิทยาศาสตร์คือเรื่อง "เหตุและผล" ทั้งเหตุผลคือกฎที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ และเหตุผลที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายสร้างขึ้นซึ่งในที่นี้คือ "กรรม" หมายถึง การกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ เมื่อประกอบเหตุคือทำกรรมอย่างนี้ย่อมได้รับผลอย่างนี้ เมื่อประกอบเหตุคือทำกรรมอย่างนั้น ย่อมได้รับผลอย่างนั้น ดังข้อความที่ว่า "บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้นคนทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วก็ย่อมได้ชั่ว"

         เรื่องของกรรมในพระไตรปิฎกนั้นมีอยู่ 2 ส่วนคือ กรรมในปัจจุบันชาติ และกรรมในอดีตชาติสำหรับกรรมในปัจจุบันชาตินั้นวงการทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างจะยอบรับ เพราะพบเห็นกันได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น ลูกจ้างที่ขยันทำงานและซื่อสัตย์สุจริต จะได้รับความเมตตาและความไว้วางใจจากนายจ้าง คนที่ฆ่าคนอื่นตายจะถูกตำรวจตามจับขังคุกเพราะกรรมนั้น ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้รับ เป็นต้น

      ส่วนกรรมในอดีตชาติที่มาส่งผลในปัจจุบันนั้นวงการวิทยาศาสตร์ไม่ค่อยยอมรับเพราะคิดว่าพิสูจน์ไม่ได้บ้าง แต่จะพยายามค้นหาสาเหตุในปัจจุบันเพื่ออธิบายผลที่เกิดขึ้นนั้น เช่น พระพุทธศาสนาอธิบายว่า ไอน์สไตน์ฉลาดเพราะบุญด้านปัญญาบารมีที่เขาได้สั่งสมสมจากอดีตชาติเป็นหลัก บุญด้านปัญญานี้จะกลั่นตัวเป็นดวงปัญญาที่สว่างไสวอยู่ ณ ศูนย์กลางกายของไอน์สไตน์เอง ซึ่งจะเห็นได้ด้วยการทำใจให้ละเอียดด้วยการฝึกสัมมาสมาธิ เมื่อไอน์สไตน์ละโลกไปแล้วดวงปัญญานี้ก็ตามติดกายละเอียดของเขาไปสู่ปรโลกด้วย ไม่ได้หลงเหลืออะไรไว้เลยนอกจากซากร่างกายที่เปื่อยเน่า

       แต่ในวงการวิทยาศาสตร์ไม่เชื่ออย่างนั้น นักวิทยาศาสตร์โดยมากเชื่อว่าความฉลาดของไอน์สไตน์อยู่ที่ มอง จึงผ่าตัดนำ มองของเขามาศึกษาเปรียบเทียบกับ มองของคนทั่วไปเพื่อหาความแตกต่างอันจะนำไปสู่ข้อสรุปถึงสาเหตุแห่งความฉลาดของไอน์สไตน์ เมื่อได้ข้อสรุปแล้วก็หาวิธีการทำให้มองของคนทั่วไปเป็นเหมือนอย่าง มองของไอน์สไตน์ หากทำได้คนทั่วไปก็มีโอกาสฉลาดเหมือนอย่างอัจฉริยะผู้นี้หรือจะกล่าวว่าเป็นการโคลนนิ่งไอน์ ไตน์ออกเป็นร้อยเป็นพันคน ซึ่งในความเป็นจริง ๆ ไม่อาจจะทำได้ เพราะว่าปัจจัยหลักของความฉลาดไม่ได้อยู่ที่ มอง

      หากมีเด็กเกิดมาพิการนักชีววิทยาก็จะค้นหาสาเหตุในปัจจุบันว่าทำไมเขาจึงพิการ เช่นการพิการเกิดจากการผิดพลาดบางประการของสารพันธุกรรม แต่สิ่งหนึ่งที่วิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้คือ ทำไมเด็กคนนี้จึงสมควรเป็นคนพิการ ทั้ง ๆ ที่มีเด็กอีกมากมายเกิดมามีร่างกาย สมบูรณ์ พระเจ้าหรือไม่ที่กำหนดให้เด็กคนนี้สมควรเป็นคนพิการ

      วิทยาศาสตร์อธิบายตรงนี้ไม่ได้ เพราะไม่อาจไปถึงต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหา อย่างมากก็ตอบได้เพียงปลายเหตุที่ศึกษาวิจัยได้ในปัจจุบันชาติเท่านั้น อุปมาเหมือนกับว่าเด็กคนหนึ่งเห็นนาย ก.อยู่ในคุก จึงถามผู้ใหญ่ว่า ทำไมนาย ก.จึงไปอยู่ในคุก ผู้ใหญ่คนหนึ่งตอบแต่เพียงว่า นาย ก.ไปอยู่ในคุกเพราะถูกตำรวจจับไปขังไว้ โดยไม่ได้อธิบายว่า ทำไมนาย ก.จึงสมควรถูกจับไปขังไว้อย่างนั้น เขาทำความผิดอะไรมาจึงสมควรถูกจับขัง

       คำอธิบายของนักวิทยาศาสตร์ก็ทำนองเดียวกันคือ ไม่ได้อธิบายว่าทำไมเด็กบางคนจึงสมควรเป็นคนพิการ เนื่องจากไม่อาจจะอธิบายได้ แต่พระพุทธศา นาอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า เด็กคนดังกล่าวเป็นคนพิการเพราะบาปกรรมที่เขาทำไว้ในอดีตชาติมาส่งผลส่วนเด็กคนอื่นไม่ได้พิการเพราะเขาไม่ได้ทำบาปกรรมไว


 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012351473172506 Mins