เจ้าหญิงโรหิณี

วันที่ 13 เมย. พ.ศ.2560

 

เจ้าหญิงโรหิณี, ล.๔๒, น.๔๒๖, มมร.

 

           สถานที่ตรัส นิโครธาราม

 

          เล่ากันว่าสมัยหนึ่ง พระอนุรุทธผู้มีอายุได้ไปเมือง กบิลพัสดุ์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐

รูป.

        พวกพระญาติของท่าน ทรงสดับว่า ‘พระเถระมา’ จึ งได้ ไปสู่สำนักพระเถระ เว้นแต่

พระน้องนางของพระเถระ ชื่อ ‘โรหิณี’

 

       พระเถระถามพวกพระญาติว่า “พระนางโรหิณีอยู่ ที่ไหน ?”

       พวกพระญาติ. “อยู่ในตำหนัก เจ้าข้า.”

       พระเถระ. “เหตุไร ? จึงไม่เสด็จมา.”

       พวกพระญาติ.“พระนางไม่เสด็จมาเพราะทรงละอายว่า ‘โรคผิวหนังเกิดที่สรีระของเขา’

พระเจ้าข้า.”

 

      พระเถระกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย จงเชิญพระนาง เสด็จมาเถิด” ให้ไปเชิญพระนางเสด็จ

มาแล้ว จึงกล่าว อย่างนี้ กับพระนางผู้ทรงฉลองพระองค์เสด็จมาแล้วว่า “โรหิณี เหตุไร

เธอจึงไม่เสด็จมา?.”

    พระนางโรหิณี. “ท่านผู้เจริญ โรคผิวหนังเกิดขึ้นที่สรีระของหม่อมฉัน; เหตุนั้น หม่อมฉันจึง

มิได้ มาด้วยความละอา

     พระเถระ. “ก็เธอควรทรงทำบุญไม่ดีหรือ?

     พระนางโรหิณี. “จะทำอะไรดี? เจ้าข้า.”

     พระเถระ. “จงให้สร้างโรงฉัน.”

     พระนางโรหิณี. “หม่อมฉันจะเอาอะไรไปทำ?”

     พระเถระ. “ก็เครื่องประดับของเธอไม่มีหรือ?

     พระนางโรหิณี. “มีอยู่ เจ้าข้า.

     พระเถระ. “ราคาเท่าไร?”

     พระนางโรหิณี. “จะมีราคาหนึ่งหมื่น.”

     พระเถระ. “ถ้าอย่างนั้น จงขายเครื่องประดับนั้น ให้สร้างโรงฉันเถิด”

     พระนางโรหิณี. “ผู้ใดเล่า? จะทำให้หม่อมฉัน เจ้าข้า พระเถระ แลดูพระญาติซึ่งยืน

     อยู่ในที่ใกล้แล้วกล่าวว่า “ขอจงเป็นภาระของพวกท่านทั้งหลาย.”                        

    พวกพระญาติ. “ก็พระคุณเจ้าจะทำอะไรหรือ? เจ้าข้า.”

    พระเถระ. “แม้อาตมภาพก็จะอยู่ในที่นี้เหมือนกัน, ถ้ากระนั้น พวกท่านจง

    นำทัพพสัมภาระ๓ มาเพื่อโรงฉันนี่.”  พวกพระญาตินั้น รับว่า “ดีละ เจ้าข้า” จึงนำ

    มาแล้ว.

 

       พระเถระเมื่อจะจัดโรงฉัน จึงกล่าวกับพระนางโรหิณี ว่า “เธอจงให้ทำโรงฉันเป็น

๒ชั้น เมื่อพื้นชั้นบนเรียบร้อย แล้ว จงกวาดพื้นล่าง แล้วให้ปูอาสนะไว้เสมอ ๆ, จงให้ตั้ง

หม้อน้ำดื่มไว้เสมอ ๆ.”

 

      พระนางรับคำว่า “ดีละ เจ้าข้า” แล้วจำหน่ายเครื่อง ประดับ ให้ทำโรงฉัน ๒ชั้น

เมื่อพื้นชั้นบนเรียบร้อยแล้ว ได้ทรงทำกิจ มีการกวาดพื้นล่างเป็นต้นเนือง ๆ. พวกภิกษุ

ก็นั่งเสมอๆ.

 

     เมื่อพระนางกวาดโรงฉันอยู่นั่นแล. โรคผิวหนัง ก็ราบไปแล้ว เมื่อโรงฉันเสร็จ พระนาง

นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วได้ถวายขาทนียะ๔ และ โภชนียะที่ประณีต

แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งนั่งเต็มโรงฉัน.

 

      พระศาสดา ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสถามว่า “นี่เป็นทานของใคร?

      พระอนุรุทธ. “ของโรหิณีพระน้องนางของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า”

      พระศาสดา. “ก็นางไปอยู่ที่ไหน?”

      พระอนุรุทธ. “อยู่ในตำหนัก พระเจ้าข้า.”

      พระศาสดา. “พวกท่านจงไปเรียกนางมา.”

 

       พระนางไม่ประสงค์จะเสด็จมา. ทีนั้น พระศาสดา รับสั่งให้เรียกพระนางแม้ไม่

ปรารถนาจะมาจนได้, ก็แล พระศาสดาตรัสกับพระนางผู้เสด็จมาถวายบังคม ประทับนั่ง

แล้วว่า “โรหิณี เหตุไรเธอจึงไม่มา?”

      พระนางโรหิณี. “โรคผิวหนังมีที่สรีระของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า.หม่อมฉันละอายด้วย

                             โรคนั้น  จึงมิได้มา.”

      พระศาสดา. “ก็เธอรู้ไหมว่า ‘โรคนั้นอาศัยกรรมอะไร ของเธอ จึงเกิดขึ้น?’ ”

      พระนางโรหิณี. “หม่อมฉันไม่ทราบ พระเจ้าข้า.”

      พระศาสดา. “โรคนั้นอาศัยความโกรธของเธอ จึง เกิดขึ้นแล้ว.”

      พระนางโรหิณี. “ก็หม่อมฉันทำกรรมอะไรไว้? พระเจ้าข้า.”

 

         ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสแก่ พระนางว่า

         ในอดีตกาล พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ผูกอาฆาตในหญิงนักฟ้อนของพระ

ราชาองค์หนึ่ง ทรง ดำริว่า ‘เราจะให้ทุกข์เกิดแก่หญิงนั้น’ แล้วให้เขานำลูกเต่าร้างใหญ่มา

รับสั่งให้เรียกหญิง นักฟ้อนนั้นมายังสำนักของตนแล้ว. ให้ใส่ผงเต่าร้างบนที่นอน ที่ผ้าห่ม

และที่ระหว่างเครื่องใช้ มีผ้าปูที่นอนเป็นต้นของหญิง นักฟ้อนนั้น โดยประการที่นางไม่

ทันรู้ตัว. โปรยลงแม้ที่ตัวของนาง ราวกระทำความเย้ยหยัน๕ เล่น ทันใดนั้นเอง สรีระของ

หญิงนั้นได้พุพองขึ้นเป็นตุ่มน้อยตุ่มใหญ่. นางเกา อยู่ไปนอนบนที่นอน. เมื่อนางถูกผง

เต่าร้างกัด แม้บน ที่นอนนั้น เวทนากล้ายิ่งนักเกิดขึ้นแล้ว. พระอัครมเหสี ในกาลนั้นได้

เป็นพระนางโรหิณี.

 

      พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า “โรหิณี ก็กรรมนั่นที่เธอทำแล้วใน

อดีตกาลนั้น, ก็ความโกรธ ก็ดี ความริษยาก็ดี แม้มีประมาณเล็กน้อย ย่อมไม่ควรทำเลย”

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

 

                        “บุคคลพึงละความโกรธ, สละความถือตัว,

                       ล่วงสังโยชน์ทั้งสิ้นได้ ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกต้อง

                     บุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล.”

 

          เมื่อจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

         แม้พระนางโรหิณี ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สรีระของพระนางได้มีวรรณะดุจทอง

คำ ในขณะนั้นเอง

         พระนางละจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในระหว่างเขตแดน ของเทพบุตร ๔ องค์ ในภพ

ดาวดึงส์  ได้เป็นผู้น่าดู น่าเลื่อมใส ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศ

 

        เทพบุตรทั้ง ๔ องค์เห็นนางแล้วเป็นผู้เกิดความสิเนหา วิวาทกันว่า “นางเกิดภายใน

แดนของเรา, นางเกิดภายใน แดนของเรา,” ไปสู่สำนักของท้าวสักกเทวราช กราบทูลว่า“

ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ทั้งสี่เกิดคดีขึ้น เพราะอาศัย เทพธิดานี้, ขอพระองค์ทรงวินิจฉัยคดีนั้น.”

 

    แม้ท้าวสักกะ ครั้นพอได้ทรงเห็นพระนางก็เป็นผู้เกิดสิเนหา ตรัสอย่างนี้ว่า “เมื่อเวลาที่พวก

ท่านเห็นเทพธิดานี้แล้ว จิตเกิดขึ้นอย่างไร?”

 

     เทพบุตรองค์หนึ่งกราบทูลว่า “จิตของข้าพระองค์ เกิดขึ้นดุจกลองในคราวสงครามก่อน

ไม่อาจจะสงบลง ได้เลย.”

    องค์ที่ ๒ “จิตของข้าพระองค์ เกิดขึ้นเหมือนแม่น้ำตกจากภูเขาย่อมเป็นไปเร็วพลันทีเดียว.”

    องค์ที่ ๓ “ตั้งแต่ที่ข้าพระองค์เห็นนางนี้แล้ว ตาทั้งสอง ถลนออกแล้ว ดุจตาของปู.”

    องค์ที่ ๔ “จิตของข้าพระองค์ประดุจธงที่เขายกขึ้น บนเจดีย์ ไม่สามารถจะดำรงนิ่งอยู่ได้.”

 

   ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสกับเทพบุตรทั้งสี่นั้นว่า “พ่อเจ้า ทั้งหลาย จิตของพวกท่านยังพอ

ข่มได้ก่อน ส่วนเราเมื่อ ได้เห็นเทพธิดานี้ จึงจะเป็นอยู่, เมื่อเราไม่ได้ จะต้องตาย.”

 

    พวกเทพบุตรจึงทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พวกข้า พระองค์ไม่มีความต้องการด้วยความ

ตายของพระองค์” แล้วต่างสละเทพธิดานั้นถวายท้าวสักกะแล้วหลีกไป.

 

    เทพธิดานั้นได้เป็นที่รักที่พอพระหฤทัยของท้าวสักกะ เมื่อนางกราบทูลว่า “หม่อมฉัน

จะไปสู่สนามเล่นชื่อโน้น” ท้าวสักกะก็ไม่สามารถจะทรงขัดคำของนางได้เลย ดังนี้แล.

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014874617258708 Mins