พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย

วันที่ 21 เมย. พ.ศ.2560

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศไทย

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศไทย

       ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย รวมทั้งประเทศที่เป็นเกาะในทะเล ได้แก่ ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และติมอร์ตะวันออก ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธในปัจจุบันคือ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และพม่าส่วนประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน จะนับถือศาสนาอิสลาม เป็นหลัก ประเทศฟิลิปปินส์ และติมอร์ตะวันออก ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะกล่าวถึงประเทศที่สำคัญๆ 6 ประเทศ คือ ไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า และเวียดนาม ดังต่อไปนี้

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศไทย

1. ประเทศไทย
     ประเทศไทยมีชื่อเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) ปัจจุบัน(พ.ศ.2549) ปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหาร ก่อนหน้านี้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ไทยมีประชากรประมาณ 62,418,054 คน (พ.ศ.2548) โดย 95% นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท 3%นับถือศาสนาอิสลาม และอีก 2% นับถือศาสนาคริสต์

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศไทย

        พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ไทยในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชประมาณปี พ.ศ.236 โดยพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นผู้นำมาเผยแผ่ยังสุวรรณภูมิ ซึ่งในขณะนั้นอาณาจักรไทยรวมอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิด้วยสุวรรณภูมิ แปลว่า แผ่นดินทองคำ ปัจจุบันยังชี้ชัดไม่ได้ว่าสุวรรณภูมิอยู่ตรงไหน นักโบราณคดีมีทัศนะแตกต่างกัน 4 กลุ่มใหญ่ดังนี

       1. นักโบราณคดีกลุ่มอินเดีย 90 เชื่อว่าสุวรรณภูมิ คือ แหลมมลายู ประกอบด้วยดินแดนส่วนใต้สุดของพม่า ภาคใต้ของไทยทั้งหมด คาบสมุทรมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ประวัติพื้นเมืองกล่าวไว้ว่าสมัยโบราณย่านนี้มีทองคำมาก เล่นพนันกันโดยเอาทองออกประกันชนไก่ก็เอาทองเท่าตัวไก่เป็นเดิมพัน

          2. กลุ่มอินเดีย 10 เชื่อว่าสุวรรณภูมิ คือ ริมทะเลด้านตะวันออกของอินเดียใต้

          3. กลุ่มพม่าเชื่อว่าสุวรรณภูมิ ได้แก่ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศพม่า

          4. กลุ่มไทยเชื่อว่า ศูนย์กลางสุวรรณภูมิอยู่ที่จังหวัดนครปฐม

        อย่างไรก็ตามสุวรรณภูมิมีขอบเขตกว้างขวางสิริวัฒน์ คำวันสา กล่าวไว้ว่า มีชนเผ่าต่างๆ หลายเผ่าอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เช่น มอญ พม่า ละว้า มลายู และขอม เป็นต้น

    อาณาจักรทวารวดี หลักจากที่บรรพบุรุษของไทยได้รับพระพุทธศาสนาเถรวาทมาตั้งแต่ยุคของพระเจ้าอโศกมหาราชแล้ว ก็ได้รักษาสืบทอดกันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุคของอาณาจักรทวารวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-13 ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน ในยุคนี้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง พบโบราณวัตถุและโบราณสถานต่างๆ มากมาย เช่น พระพุทธรูปศิลาขาว พบที่นครปฐม 3 องค์ อยุธยา 1 องค์ และพบพุทธสถานโบราณหลายแห่งในนครปฐม โดยเฉพาะองค์พระปฐมเจดีย

        อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรที่อยู่ในช่วงเดียวกันกับทวารวดีคือ อาณาจักรศรีวิชัยประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-19 ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างครอบคลุมปลายแหลมมลายูและเกาะชวา ยังไม่พบหลักฐานระบุได้ชัดเจนว่าศูนย์กลางของอาณาจักรนี้อยู่ที่ใด ดร.เวลล์ กล่าวว่า เมืองปาเลมบัง บนเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยในขณะที่ท่านพุทธทาส มีความเห็นว่า เมืองหลวงของศรีวิชัยอยู่ที่ไชยาสุราษฎร์ธานี

       มีการค้นพบศิลาจารึกที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งบ่งบอกว่าพระเจ้ากรุงศรีวิชัยเป็นผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนามหายาน และพบหลักฐานในที่อื่นๆ อีกมากมายในปี พ.ศ.1214 สมณะอี้จิงเดินทางจากจีนมาเรียนหนังสืออยู่ที่ศรีวิชัย 6 เดือน จึงเดินทางต่อไปอินเดีย ท่านได้แนะนำเพื่อนภิกษุชาวจีนว่า ก่อนจะไปชมพูทวีปควรจะไปศึกษาเบื้องต้นที่ศรีวิชัยก่อน เพราะเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนามหายานที่สำคัญและโด่งดังเกือบจะทัดเทียมกับอินเดีย

     อาณาจักรลพบุรี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 1516 ราชวงศ์สุริยวรมันแห่งกัมพูชาเจริญรุ่งเรือง ได้แผ่อาณาจักรครอบคลุมมายังลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำมูล ได้มีชัยชนะเหนืออาณาจักรทวารวดี และตั้งราชธานีเพื่ออำนวยการปกครองขึ้นในเมืองต่างๆ เช่น เมืองลพบุรี สุโขทัย ศรีเทพ (เพชรบูรณ์) พิมาย และ สกลนคร ในเมืองต่างๆ เหล่านี้ ลพบุรีหรือละโว้เป็นเมืองสำคัญที่สุด ลพบุรีได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายานจากกัมพูชามาผสมผสานกับเถรวาทดั้งเดิมที่สืบต่อมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ในสมัยนี้มีการสร้างศาสนสถานมากมาย เช่นพระปรางค์สามยอด ปราสาทหินพิมาย และปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เป็นต้น

       อาณาจักรสุโขทัย ประมาณปี พ.ศ.1800 หัวหน้าคนไทยกลุ่มหนึ่ง คือ พ่อขุนบางกลางหาว ได้ประกาศอิสรภาพขับไล่พวกขอมหรือกัมพูชาออกไป แล้วตั้งราชธานีขึ้นที่กรุงสุโขทัยและได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ของสยามประเทศ ทางด้านศาสนานั้นยุคนี้มีทั้งศาสนาพราหมณ์ พระพุทธศาสนามหายานและเถรวาทซึ่งตกทอดมาจากอดีต แต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงเคารพนับถือนิกายเถรวาทมากที่สุด ต่อมาประมาณปี พ.ศ.1822 พ่อขุนรามคำแหงเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งกรุงสุโขทัย ยุคนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมากทั้งอาณาจักรและพุทธจักร

     พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชซึ่งไปร่ำเรียนมาจากลังกาให้มาเผยแผ่ที่กรุงสุโขทัย ซึ่งต่อมาได้รับความนิยมมาก คณะสงฆ์ มัยนั้นแบ่งเป็น 2 คณะ คือ คณะคามวาสี คือฝ่ายคันถธุระหรือศึกษาด้านปริยัติ และคณะอรัญวาสี คือ ฝ่ายวิปัสสนาธุระหรือฝ่ายที่เน้นบำเพ็ญสมาธิภาวนาชาวสุโขทัยมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ดังข้อความในศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 2 ตอนหนึ่งว่า

      "...คนในสุโขทัยนี้มักทาน มักทรงศีล มักโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยทั้งชาวแม่ ชาวเจ้า ท่วยปัวท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้หญิงผู้ชาย ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษากรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้วเมื่อกรานกฐินมีพนมเบี้ย พนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแลญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น..."

      พระพุทธศาสนายุคสุโขทัยนั้นรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระนัดดา (หลาน) ของพ่อขุนรามคำแหงคือ พระมหาธรรมราชาลิไท เสด็จขึ้นครองราชย์ประมาณปี พ.ศ.1890 ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกที่รอบรู้พระไตรปิฎกและภาษามคธ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีพระพุทธศาสนา เรื่องไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นวรรณคดีชิ้นแรกของไทยในปี พ.ศ.1888 โดยอ้างอิงจากคัมภีร์ต่างๆ ถึง 34 เรื่อง ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร)สร้างพระพุทธชินสีห์พระพุทธชินราชที่พิษณุโลก และในปี พ.ศ.1905 พระองค์เสด็จออกผนวช นอกจากนี้ศิลาจารึกหลักที่ 5 กล่าวไว้ว่าพระเจ้าลิไททรงปรารถนาพุทธภูมิด้วยดังข้อความว่า "จุงเป็นพระพุทธจุงจักเอาฝูงสัตว์ทั้งหลาย(ข้าม) สงสารทุกข์นี้" เมื่อกษัตริย์ทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเช่นนี้จึงเป็นเหตุให้ประชาชนถือเป็นแบบอย่างและเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก

      อาณาจักรล้านนา ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี พ.ศ.1840 โดยพระยามังราย ทรงเป็นพระสหายสามเส้าระหว่างพ่อขุนรามคำแหงกับพระยางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ทรงสร้างเมือง

       ขึ้นที่เชิงเขาเทวบรรพต (ดอยสุเทพ) ให้ชื่อว่า นวปุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พระพุทธศาสนาสมัยนั้นเป็นนิกายเถรวาทเป็นหลัก ซึ่งมีความแพร่หลายเป็นศาสนาประจำท้องถิ่น ต่อมาเมื่อพระเจ้าติโลกราชเสวยราชสมบัติระหว่างปี พ.ศ.19852020 ยุคนี้พระพุทธศาสนาเจริญที่สุดถือเป็นยุคทองของล้านนา ในปี พ.ศ.1985 ทรงบวชพระชาวเชียงใหม่ 500 รูป ทรงสังคายนาพระไตรปิฎกที่ล้านนา ซึ่งถือเป็นการสังคายนาครั้งที่ 8 ผลการสังคายนาครั้งนี้ทำให้ศาสนาเข้มแข็งและบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นขึ้น

     ต่อมาเมื่อพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานของพระเจ้าติโลกราชขึ้นครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.20382068 มีพิธีบวชนาคหลวงครั้งใหญ่ครั้งแรกในล้านนาถึง 1,200 กว่ารูปสมัยล้านนาพระสงฆ์แตกฉานในคัมภีร์บาลีและแต่งตำราเป็นภาษาบาลีไว้มากกว่าสมัยใดๆจำนวนคัมภีร์ที่แต่งไว้ไม่ต่ำกว่า 32 คัมภีร์ ตำราบางเล่มยังใช้เป็นหลักสูตรของคณะสงฆ์มาถึงปัจจุบัน เช่น มังคลัตถทีปนี ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นต้น แม้แต่บทสวดพาหุง ที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก็แต่งในยุคนี้ พระลังกาก็นำไปใช้สวดจนถึงปัจจุบันเช่นกัน

       อาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.1893 ซึ่งขณะนั้นอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลงและในที่สุดได้เป็นเมืองขึ้นของอยุธยาในปี พ.ศ.1921 กรุงศรีอยุธยาเจริญรุ่งเรืองยาวนานถึง 417 ปี มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาถึง 33 พระองค์ อยุธยาเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารดังคำกล่าวว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" ทั่วทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัดวาอาราม ปราสาทพระราชวัง ปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุมากมาย

       พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างวัดขึ้น 2 วัด คือ วัดพุทธไธศวรรย์ และวัดใหญ่ชัยมงคล พระพุทธศาสนาเจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่ง กรุงศรีอยุธยา ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.19912031 ทรงสร้างวัดและบูรณะวัดต่างๆ มากมาย ในปี พ.ศ.2008 พระองค์เสด็จออกผนวช มีข้าราชการและบรมวงศานุวงศ์ออกบวชตามมากถึง 2,388 คน ซึ่งเป็นประดุจดั่งการออกบวชของพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลายในอดีต

     ครั้นถึงรัชกาลพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงหล่อพระพุทธรูปสูงใหญ่ชื่อ พระศรีสรรเพชญ์ ด้วยทองคำหนัก 53,000 ชั่ง แล้วหุ้มด้วยทองคำอีก 286 ชั่ง หรือ 22,880 บาท หลังจากสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พระพุทธศาสนาก็ได้รับการอุปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์เรื่อยมาจนกระทั่งถึงรัชกาลของพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์องค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยา ครองราชย์ในปี พ.ศ.2153 ก่อนเสวยราชสมบัติพระองค์เคยออกผนวช เป็นผู้รอบรู้ในพระไตรปิฎก ต่อมาเมื่อเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้วได้เสด็จลงพระที่นั่งจอมทอง 3 หลัง เพื่อสอนพระบาลีแก่ภิกษุสามเณรทุกวัน มีภิกษุสามเณรไปเรียนกันจำนวนมาก ในสมัยของพระองค์มีการส่งพระภิกษุไปเรียนที่ลังกาด้วย

         สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.21992231 พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่กิจทางศาสนา เสด็จทรงบาตรทุกวัน ในสมัยนั้นชาติตะวันตกเข้ามาล่าอาณานิคมในแถบเอเชีย ประเทศต่างๆ ตกเป็นเมืองขึ้นโดยมาก แต่ไทยรอดพ้นมาได้ทั้งด้านอาณาจักรและศาสนจักรด้วยพระปรีชาสามารถของกษัตริย์ในแต่ละสมัย ครั้งหนึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส่งพระราชสาส์นมาถึงพระนารายณ์มหาราช มีใจความว่า พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ขอชักชวนพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาให้มาร่วมแผ่นดินเดียวกัน โดยขอให้พระองค์เปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาเดียวกับฝรั่งเศส...

      พระนารายณ์มหาราชทรงขอบพระทัยพระเจ้าฝรั่งเศสหนักหนาที่มีความสนิทเสน่หาในพระองค์ แต่ทรงประหลาดใจว่า เหตุใดพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส จึงมาก้าวก่ายกับฤทธิ์อำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เพราะการที่มีศาสนาต่างๆ ในโลกนี้ ไม่ใช่เป็นความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้าหรอกหรือ พระองค์จึงปล่อยให้มีไปดั่งนั้น มิได้บันดาลให้มีเพียงศาสนาเดียว เมื่อพระผู้เป็นเจ้ามีฤทธิ์มากในเวลานี้ พระองค์คงปรารถนาให้ตัวเรานับถือพุทธศาสนาไปก่อน เพราะฉะนั้นเราจึงจะรอคอยพระกรุณาของพระองค์ บันดาลให้เราเลื่อมใสในคริสต์ศาสนาในวันใด เราก็จะเข้ารีตในวันนั้น จึงขอฝากชะตากรรมของเราและกรุงศรีอยุธยาสุดแต่พระเจ้าจะบันดาลเถิด

       พระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้มีพระราชโองการประกาศว่า ให้คนไทยนับถือศาสนาได้ตามชอบใจ แล้วพระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์คริสตังใหม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ทูตฝรั่งเศสผิดหวังมากเกินไป มีคนไทยบางส่วนหันมานับถือคริสต์ศาสนาแต่ก็เพียงน้อยนิด แม้ผ่านมา 300 กว่าปีจนถึงปัจจุบัน คริสต์ศาสนิกชนในไทยมีเพียง 2 เท่านั้น กุศโลบายของพระนารายณ์มหาราชนี้เป็นการเสียน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่เอาไว้ แต่ถ้าพระองค์ทรงเปลี่ยนศาสนาเสียแล้วเป็นไปได้ว่าในยุคนั้นและยุคต่อมาชาวไทยโดยส่วนใหญ่จะเปลี่ยนไปนับถือคริสต์ศาสนาตามพระองค์ ปัจจุบันชาวพุทธอาจจะเป็นชนกลุ่มน้อยในท่ามกลางคริสต์ศาสนิกชนก็เป็นไปได้

       สมัยกรุงธนบุรี หลักจากที่กรุงศรีอยุธยาสูญเสียเอกราชให้แก่พม่าในปี พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ ทรงสนับสนุนปัจจัย 4 แก่พระภิกษุสามเณรที่ตั้งใจเล่าเรียนพระไตรปิฎก และทรงขอร้องให้ภิกษุตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัย หากขัดข้องสิ่งใดพระองค์จะจัดการอนุเคราะห์ ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงมีศีลคุณบริบูรณ์ในพระศาสนาแล้ว แม้จะปรารถนามังสะรุธิระของโยม โยมก็อาจจะเชือดเนื้อแลโลหิตออกมาบำเพ็ญทานได้" เพราะสมัยนั้นมีภิกษุประพฤตินอกรีตตั้งตนเป็นแม่ทัพ พระเจ้าตากสินจึงจับสึกไปจำนวนมาก

       สมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากสิ้นยุคธนบุรีแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ทรงย้ายเมืองหลวงมาที่กรุงเทพมหานคร หรือกรุงรัตนโกสินทร์ พระพุทธศาสนาในกรุงรัตนโกสินทร์นั้นมีความเจริญรุ่งเรืองไม่แพ้ยุคใดที่แล้วมา ทั้งนี้เพราะพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเป็นหลักชัยในการส่งเสริมบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี

พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย, DOU, ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พระพุทธศาสนา, ความรู้พระพุทธศาสนา, พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ประเทศไทย

     รัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325 - 2352) พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เสด็จออกทรงบาตรเวลาเช้า ตอนเพลถวายภัตตาหาร เวลาเย็นเสด็จออกท้องพระโรงเพื่อสดับพระธรรมเทศนาเป็นประจำ ทรงโปรดให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกในปลายปี พ.ศ.2331 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญ์ (วัดมหาธาตุในปัจจุบัน) โดยมีพระภิกษุ 218 รูป ราชบัณฑิต 32 คน

       พระองค์เสด็จไปที่ประชุมสังคายนาวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น เพื่อถวายภัตตาหารและน้ำปานะสังคายนาอยู่ 5 เดือนจึงเสร็จ แล้วโปรดให้คัดลอกสร้างเป็นฉบับหลวงขึ้น เรียกว่าฉบับทองใหญ่ นอกจากนี้ทรงออกกฎหมายเกี่ยวกับคณะสงฆ์เป็นครั้งแรกและออกต่อๆ กันมารวม 10 ฉบับ ฉบับที่ 1 ออกในปี พ.ศ.2325 ฉบับที่ 10 ออกในปี พ.ศ.2344 และทรงโปรดให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ในปี พ.ศ.2325 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

         รัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352 - 2367) ในสมัยของพระบาท สมเด็จพระเลิศหล้านภาลัยมีการปรับหลักสูตรการศึกษาภาษาบาลีใหม่จาก "บาเรียนตรี บาเรียนโท บาเรียนเอก" เป็นแบบ 9 ประโยค ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ในการสอบวัดผลนั้น ใช้วิธีสอบปากเปล่าคือให้แปลพระบาลีต่อหน้ากรรมการ 34 รูป และมีครูเข้าฟังเป็นพยาน 20-30 รูป ถ้านักเรียนแปลเก่งอาจจะสอบผ่าน 9 ประโยคภายในวันเดียวก็ได้

      ในปี พ.ศ.2363 มีอหิวาตกโรคระบาดผู้คนล้มตายมาก พระองค์จึงบำเพ็ญกุศลหลายอย่างเพื่อขจัดปัดเป่าภัยพิบัติ โปรดให้แปลพระปริตรเป็นภาษาไทย ให้เจ้านายและข้าราชการฝ่ายในฝึกหัดสวดพระปริตรทุกวัน โดยพระองค์เสด็จขึ้นทรงฟังสวดถวาย ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณทุกคืน ธรรมเนียมการสวดพระปริตรนี้ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่เมืองไพศาลีเกิดภัยพิบัติด้วยอหิวาตกโรคเป็นต้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสั่งให้พระอานนท์เรียนรัตนสูตรว่าด้วย "ยงฺกิญฺจิ ฯลฯ" แล้วทำพระปริตรสวดขจัดปัดเป่าภัยต่างๆ ในเมืองไพศาลีให้มลายหายไป

        รัชกาลที่ 3 (พ.ศ.23672394) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง มีคำกล่าวว่า ไม่ว่าพระองค์จะประทับอยู่ ณ ที่ใด ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อันใดเกิดขึ้น พระองค์จะทรงระลึกถึงการบำรุงพระศาสนาไว้ก่อน พระองค์เสด็จทรงบาตรทุกวัน ทรงอาราธนาพระมาถวายธรรมเทศนาและบอกคัมภีร์ในวังเป็นประจำ พระองค์ไม่โปรดละครในคือละครที่มีผู้หญิงแสดง แต่โปรดการทรงธรรม ในรัชกาลนี้มีการสร้างพระไตรปิฎกมากกว่ารัชกาลอื่นที่แล้วมาคือ มีถึง 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับรดน้ำเอก รดน้ำโท ทองน้อย ชุบย่อ และฉบับอักษรรามัญ ด้วยความที่พระองค์เอาใจใส่ต่อกิจการทางศาสนาเช่นนี้ จึงมีกุลบุตรออกบวชกันจำนวนมาก ตามบันทึกของชาวยุโรประบุว่า ในกรุงเทพมหานครมีภิกษุสามเณร 10,000 รูป และทั่วพระราชอาณาจักรมี 100,000 รูป

      กำเนิดธรรมยุต ในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุตขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญชื่อ ชาย พุทฺธวํโส จึงทรงอุปสมบทใหม่กับคณะสงฆ์มอญในปี พ.ศ.2372 แล้วตั้งคณะธรรมยุตขึ้นในปี พ.ศ.2376 จากนั้นเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหารซึ่งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติกนิกาย คณะสงฆ์เดิมนั้นถูกเรียกว่า มหานิกาย

      ก่อนสวรรคต พระองค์ตรัสั่งเหล่าข้าราชบริพารเรื่องกิจการบ้านเมืองและศาสนาไว้ว่า "สงครามข้างญวนข้างพม่าเห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ชาวฝรั่ง ให้ระวังให้จงดีอย่าให้เสียทีเขาการงานสิ่งใดของเขาที่คิดว่าดี ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่านับถือเลื่อมใสไปทีเดียวทุกวันนี้คิดจะ ละห่วงใยให้หมด อาลัยอยู่แต่วัดสร้างไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยบำรุง... (เงินพระคลัง 4 หมื่นชั่ง) ขอสัก 1 หมื่นชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของแผ่นดินช่วยบอกแก่เขา ขอเงินรายนี้ช่วยทะนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้นให้แล้วด้วย"

      ก่อนสวรรคต พระองค์ตรัสั่งเหล่าข้าราชบริพารเรื่องกิจการบ้านเมืองและศาสนาไว้ว่า "สงครามข้างญวนข้างพม่าเห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ชาวฝรั่ง ให้ระวังให้จงดีอย่าให้เสียทีเขาการงานสิ่งใดของเขาที่คิดว่าดี ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่านับถือเลื่อมใสไปทีเดียวทุกวันนี้คิดจะ ละห่วงใยให้หมด อาลัยอยู่แต่วัดสร้างไว้ใหญ่โตหลายวัดที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยบำรุง... (เงินพระคลัง 4 หมื่นชั่ง) ขอสัก 1 หมื่นชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าของแผ่นดินช่วยบอกแก่เขา ขอเงินรายนี้ช่วยทะนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้นให้แล้วด้วย"

       รัชกาลที่ 4 (พ.ศ.23942411) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวชอยู่ 27 พรรษา ทรงลาสิกขาแล้วขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษาใน พ.ศ. 2394 พระองค์ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่น วัดปทุมวนาราม วัดโ มนั วิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐ ถิตมหาสีมาราม และวัดราชบพิตร เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่างๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี "มาฆบูชา" ขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2394 ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปวงชนชาวไทยได้ถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบกันมาจนถึงทุกวันนี

       รัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชทรงเป็นกษัตริย์ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทรงนำพาชาติไทยไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทั้งทางกิจการบ้านเมืองและทางศาสนา ทรงเริ่มต้นการศึกษาสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยให้วัดเป็นศูนย์กลางและให้พระสงฆ์เป็นครูสอนหนังสือแก่เยาวชน ในปี พ.ศ.2427 ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม

    ในปี พ.ศ. 2432 ทรงโปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณรจากในวัดพระศรีรัตนศาสดารามออกมาเป็นบาลีวิทยาลัยชื่อ มหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ และต่อมาปี พ.ศ. 2439 ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัย เป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยซึ่งเป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร โดยทรงมุ่งหมายจะให้จัดการศึกษาแบบตะวันตก

        ทรงโปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยชุดละ 39 เล่ม จำนวน 1,000 ชุด ในปี พ.ศ.2435 ต่อมาปี พ.ศ.2436 มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย

      เพื่อให้การปกครองสงฆ์มีความรัดกุมยิ่งขึ้น พระองค์จึงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ขึ้นใน พ.ศ.2445 ตรงกับ ร.ศ.121 (รัตนโกสินทร์ศก 121) นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่น วัดวัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาวัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่นๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก

       รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.24532468) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในทางพระศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือพระพุทธศาสนาหลายเรื่องเช่น เทศนาเสือป่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ทรงอบรมสั่งสอนธรรมะข้าราชการด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ.2455 มเด็จพระมหา มณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียนเป็นครั้งแรก

     ต่อมาอีกหนึ่งปีคือใน พ.ศ.2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. และในปี พ.ศ.24622463 ทรงโปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาพระไตรปิฎก อรรถกถาชาดกและคัมภีร์อื่นๆ เช่น วิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา เป็นต้นหลักสูตรนักธรรมที่เรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี้ทรงโปรดให้จัดการศึกษาขึ้นในปี พ.ศ.2469 ก่อนหน้านั้นเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม" ซึ่งมีการ สอบครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ.2454

        รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.24682477) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ของประเทศไทยขึ้นในระหว่าง พ.ศ.2468-2473 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วทรงให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐชุดละ 45 เล่ม จำนวน 1,500 ชุด พระราชทานแก่ประเทศต่างๆ ประมาณ 450 ชุด ซึ่งนับเป็นเกียรติประวัติของประเทศสยาม เพราะประเทศพุทธศาสนาอื่นๆ ในครั้งนั้นยังไม่มีประเทศใดทำได้ ปี พ.ศ.2471 กระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบันได้จัดหลักสูตร "ธรรมศึกษา" เพื่อเปิดโอกาสให้ฆราวา เรียนพระปริยัติธรรมอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก

        รัชกาลที่ 8 (พ.ศ.24772489) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลมีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย 2 ประเภท คือ

       1. พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด 80 เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่เสร็จสมบูรณ์หลังจากสิ้นรัชกาลพระองค์ไปแล้วคือในปี พ.ศ.2500 เพื่อฉลองในโอกาส25 พุทธศตวรรษ

      2. พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ลงใบลาน แบ่งเป็น 1,250 กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อปี พ.ศ.2492

      ในปี พ.ศ.2484 รัฐบาลออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่ ถัดมาอีก 4 ปี คือในปี พ.ศ.2488 มหามกุฏราชวิทยาลัยซึ่งตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2436 ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย"

       รัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2489ปัจจุบัน) ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญระดับประถมปลาย และมัธยมศึกษาปีที่ 16 ในปี พ.ศ.2514 ต่อมาปี พ.ศ.2501 มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเปิดการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน ต่อมาได้ขยายไปทั่วประเทศ กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้วิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาภาคบังคับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 16

      ในปี พ.ศ.2508 ได้มีการจัดตั้งสำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น ณ ประเทศไทย (พ.ส.ล.) เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก นอกจากนี้ปัจจุบันมีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านวรรณกรรมมากขึ้น เพราะเข้าถึงประชาชนได้ง่ายและรวดเร็ว หากผู้แต่งเขียนได้ดีจะได้รับความนิยมจากผู้อ่านไม่แพ้นวนิยาย เช่น หนังสือ "เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน" เป็นต้น ซึ่งจัดพิมพ์ 30 กว่าครั้งแล้ว ขายดีมากเข้าถึงผู้อ่านกว่าแสนคน

       ในด้านพิธีกรรมมีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์เป็นพิธีของรัฐบาล เรียกว่า "รัฐพิธี" โดยให้กระทรวงต่างๆ เป็นผู้จัด มีการจัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาช่วงวันวิสาขบูชาของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อครั้งฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 405 ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012410998344421 Mins