การพิสูจน์คำสอนในพระไตรปิฎก

วันที่ 12 พค. พ.ศ.2560

วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก
การพิสูจน์คำสอนในพระไตรปิฎก "


GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระไตรปิฎก , วิทยาศาสตร์ในพระไตรปิฎก , วิทยาศาสตร์ , การพิสูจน์คำสอนในพระไตรปิฎก

        คำสอนในพระไตรปิฎกนั้นมีอย่างน้อย 2 ประเภท คือ ความรู้ด้านหยาบ และ ความรู้ด้านละเอียด ความรู้ด้านหยาบ คือ ความรู้พื้นฐานทั่วไปที่มนุษย์ทุกคนสามารถศึกษาทดลองพิสูจน์ให้เห็นผลในเวลาอันรวดเร็ว เช่น การรักษาศีล 5 เป็นเหตุให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขกล่าวคือ ไม่ต้องกังวลว่า จะถูกจับกุมเพราะเหตุแห่งการลักขโมย เนื่องจากเราไม่เคยลักขโมยของใคร ไม่ต้องกังวลกับการตามจำเรื่องที่ได้โกหกเอาไว้ เพราะเราไม่เคยโกหกใคร ไม่ต้องกังวลว่า จะประมาทเพราะเหตุแห่งสุราเพราะเราไม่ได้ดื่มสุรา เป็นต้น คำสอนเรื่องศีล 5 นี้เป็นเรื่องที่มนุษย์ทุกคนสามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ง่ายและรวดเร็ว

       ส่วนความรู้ด้านละเอียด เช่น เรื่องนรก วรรค์ เปรต เรื่องนิพพาน โลกันต์ หรือคำสอนที่ว่า คนที่เกิดมาร่ำรวยในชาตินี้นั้นเพราะในอดีตชาติได้ให้ทานแก่เนื้อนาบุญมามากส่วนคนที่ยากจนเพราะในอดีตชาติไม่ค่อยได้ให้ทาน เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ยากแก่การพิสูจน์ ชาวโลกโดยมากจึงไม่เชื่อ และนักวิทยาศาสตร์โดยส่วนใหญ่ก็ไม่เชื่อในเรื่องนี้ โดยให้เหตุผลว่าไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

      จริงๆ แล้วทัศนะของวิทยาศาสตร์นั้นมีส่วนถูกอยู่เหมือนกัน กล่าวคือ เรื่องละเอียดจำพวก นรก สวรรค์ นิพพาน โลกันต์ เป็นต้น ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แต่ต้องพิสูจน์ด้วยวิธีการทางพุทธศาสตร์คือ "พิสูจน์ด้วยใจ"

        ในวงการวิทยาศาสตร์นั้นใช้อินทรีย์เพียง 5 ประการ ในการศึกษาทดลองและพิสูจน์ความจริงต่างๆ ในโลก คือ ตา หู จมูก ลิ้น และร่างกาย วิทยาศาสตร์กระแ หลักไม่ยอมรับอินทรีย์ที่ 6 คือ "ใจ" และมักคิดว่าใจเป็นส่วนหนึ่งของ มองอันเป็นส่วนของร่างกาย แต่พระพุทธศาสนายอมรับเรื่อง "ใจ" และถือว่าใจนี้มีความสำคัญมาก ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของสมองแต่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อิสระจากร่างกาย ดังได้กล่าวแล้วในเรื่องจิตตนิยาม

        ในการพิสูจน์ความจริงต่างๆ ในโลกนั้น จะต้องใช้อินทรีย์ที่เหมาะกับสิ่งนั้นๆ จึงจะพิสูจน์ได้ เช่น "รูป" ต้องพิสูจน์ด้วย "ตา", "เสียง" ต้องพิสูจน์ด้วย "หู", "กลิ่น" ต้องพิสูจน์ด้วย " จมูก", "รส" ต้องพิสูจน์ด้วย "ลิ้น", "สัมผัสที่นุ่มหรือแข็ง" ต้องพิสูจน์ด้วย "ร่างกาย" เป็นต้น "หู, จมูก, ลิ้น, ร่างกาย" ไม่สามารถพิสูจน์ "รูปภาพ" ได้ว่าสวยหรือไม่สวยแต่จะต้องใช้ "ดวงตา" เท่านั้นในการพิสูจน์ ในขณะเดียวกัน "หู, ตา, จมูก, ลิ้น, ร่างกาย" ก็ไม่อาจจะพิสูจน์ "เสียงเพลง" ได้ว่าไพเราะหรือไม่ แต่จะต้องใช้ "หู" เท่านั้นในการพิสูจน์ และในความเป็นจริงแล้วอินทรีย์ทั้ง 5 ประการยังต้องทำงานร่วมกับ อินทรีย์ 6 คือ ใจ อีกชั้นหนึ่งจึงจะครบวงจรดังได้กล่าวแล้วในเรื่องจิตตนิยาม

         ในขณะเดียวกันอินทรีย์ที่ 6 คือ "ใจ" นี้ยังใช้ตัวมันเองพิสูจน์ความจริงของโลกได้อีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องละเอียดจำพวก นรก สวรรค์ นิพพาน โลกันต์ เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ต้องใช้ใจพิสูจน์เท่านั้น ไม่อาจจะใช้ ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกายของกายมนุษย์พิสูจน์ได้ เปรียบเสมือนกับที่กล่าวแล้วว่า หู พิสูจน์ไม่ได้ว่า รูปภาพ วยหรือไม่ ต้องใช้ ตา เท่านั้นจึงจะพิสูจน์ได้ เป็นต้น หากชาวโลกยอมรับเรื่องใจ และทดลองพิสูจน์ด้วยการฝึกใจให้ละเอียดด้วยการทำสมาธิจนถึงระดับที่สามารถเห็นภพภูมิละเอียดเหล่านี้ได้ ก็จะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงตามที่บันทึกไว้ใน พระไตรปิฎก

       ถ้าเราไม่ยอมรับอินทรีย์ที่ 6 เราจะขาดความรู้ต่อประสบการณ์ไปมากมาย เพราะประสบการณ์พื้นฐานทั่วไปที่เกิดขึ้นในใจนั้นมีมาก เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ซึ่งไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยอินทรีย์อื่น เวลาเรามีความรัก เราก็รู้แก่ใจของเราเอง อันนี้พิสูจน์ได้ง่าย เวลามีความกลัว มีความรู้สึกโกรธ มันก็รู้สึกได้โดยตรง ตลอดจนความสุขสบาย ความปลาบปลื้มอิ่มใจผ่อนคลายใจ พิสูจน์ได้ทั้งนั้น แต่วงการวิทยาศาสตร์มักเข้าใจไปว่าสิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองไม่ได้เกิดจากใจ เมื่อไม่ยอมรับเรื่องใจก็เลยจะต้องหาทางพิสูจน์อารมณ์ต่างๆ ที่เกิดกับใจด้วยการใช้เครื่องมือเครื่องวัดที่แสดงผลออกมาเป็นประสบการณ์ที่รับรู้ได้ด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 เช่น เมื่อต้องการจะรู้ความคิดในใจ ก็พยายามประดิษฐ์เครื่องวัดคลื่น มอง ซึ่งไม่สามารถรับรู้ความคิดของใจที่แท้จริงได้ อย่างมากที่สุดก็บอกได้เพียงรูปแบบคลื่นสมองหลากชนิด ซึ่งให้ความเข้าใจความคิดในใจอย่างพร่าเลือนเท่านั้น

        การพยายามพิสูจน์ความคิดที่เกิดกับใจด้วยอินทรีย์ 5 ของนักวิทยาศาสตร์ ตรงกับที่นักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อ เอดดิงตัน เคยบอกว่า "วิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำมนุษย์เข้าถึงตัวความจริงหรือสัจจภาวะได้โดยตรง จะเข้าถึงได้ก็เพียงโลกแห่งสัญลักษณ์ที่เป็นเพียงเงา" กล่าวคือเป็นเพียง "shadow" คือเงาของความจริง ไม่ใช่ตัวความจริง เป็นเครื่องแสดงว่า ความจริงทางวิทยาศาสตร์มีความบกพร่อง และวิธีการหาความจริงของวิทยาศาตร์ก็บกพร่อง เพราะทำผิดหลักการพิสูจน์ความจริง คือ พิสูจน์ประสบการณ์ของอินทรีย์หนึ่งด้วยอินทรีย์อื่น ผิดอินทรีย์กัน ถ้าอยู่ในลักษณะนี้ วิทยาศาสตร์ก็จะพิสูจน์เงาของความจริงเรื่อยไป

      เหมือนกับว่าเราเรียนรู้ก้อนหินจากเสียง "ป๋อม" ในน้ำ หรือจากคลื่นที่เกิดในน้ำ เพราะก้อนหินกระทบ พอนักวิทยาศาสตร์ได้ยินก็ไปวัดระยะและคำนวณกันว่าเมื่อ ได้ยินเสียง "ป๋อม"ครั้งนี้ เสียงขนาดนี้ ก้อนหินขนาดเท่านี้ ต่อไป "ป๋อม" เสียงขนาดนั้น ก้อนหินก็ต้องขนาดเท่านั้น ก็บอกด้วยสูตรคณิตศาสตร์ทำเป็นสมการคณิตศาสตร์ออกมา หรือไม่อย่างนั้นก็ไปวัดเอาคลื่น ที่เกิดมาจากการตกลงน้ำของก้อนหิน เพื่อจะได้รู้ขนาดของมวลสาร

     ในการเรียนรู้ความจริงของธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์มันเป็นอย่างนี้คือ เราไม่ได้จับต้องเห็นก้อนหินตัวจริงสักที เพราะฉะนั้น อาจจะเป็นได้ว่า วิทยาศาสตร์อาจจะต้องมาทดลองการสังเกตในแบบอื่นดูบ้าง เช่นอย่างในทางพระพุทธศาสนาที่ถือว่า การสังเกตทดลองจากประสบการณ์ตรงในทางใจก็ถือว่า เป็นการสังเกตทดลองหาความจริงของกฎธรรมชาติเช่นเดียวกัน เป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ทางใจ ที่เมื่อปฎิบัติฝึกฝนไปตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว ก็จะสามารถเข้าถึงและพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง และมีผู้เข้าถึงพิสูจน์ได้ และเป็นพยานยืนยันความถูกต้องของหลักวิทยาศาสตร์ทางใจของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายนับล้านคน ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน

      วงการวิทยาศาสตร์มักกล่าวว่าคำสอนต่างๆ ในศาสนา เช่น พระพุทธศาสนา เป็นต้น เป็นเรื่องของความเชื่อ ไม่ใช่ความรู้ หรือ ความจริง เพราะยังพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ ในประเด็นนี้จริงๆ แล้วความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสำหรับชาวโลกทั่วไปแล้ว เป็นเรื่องของความเชื่อเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะเป็นเรื่องยากแก่การพิสูจน์บ้าง หรือไม่ก็ไม่สนใจจะพิสูจน์บ้าง ชาวโลกเชื่อว่าเชื้อโรคเป็นเหตุแห่งการเจ็บป่วยเพราะเชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยมีใครคิดจะหากล้องจุลทรรศน์มาพิสูจน์เรื่องนี้กันหรอก นักวิทยาศาสตร์บอกว่า น้ำประกอบด้วย 2 คือ ก๊าซไโดรเจน 2 และ ก๊าซออกซิเจน 1 เด็กนักเรียนระดับมัธยมท่องจำกันได้ทุกคนและเชื่อตามทั้งที่โดยส่วนใหญ่แล้วไม่เคยเห็นเลยว่า 2 นั้นมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร นอกจากนี้การพิสูจน์ความจริงของวิทยาศาสตร์กลายเป็นเรื่องของผู้เชี่ยวชาญพิเศษคนธรรมดาสามัญไม่สามารถเข้าถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะพิสูจน์ได้ เช่น ไม่สามารถเข้าถึงคณิตศาสตร์ชั้นสูง เป็นต้น แม้แต่ไอน์สไตน์เองก็ยังเหนื่อยกับการศึกษาคณิตศาสตร์ชั้นสูงเพื่อนำมาอธิบายทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขา จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้เมื่อครั้งที่เขาประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพออกมาไม่นานว่า ทั่วทั้งโลกมีคนเพียง 12 คนเท่านั้นที่เข้าใจทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขา

      ด้วยเหตุนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เรื่องเชื้อโรคก็ดี น้ำประกอบด้วย 2 ก็ดี อิเล็กตรอนก็ดี และ ทฤษฎีสัมพัทธภาพก็ดี จึงอยู่ในฐานะเดียวกับเรื่องนรก สวรรค์ในพระพุทธศาสนา คือ แม้จะเป็นความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ แต่มีคนส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้ทดลองพิสูจน์ด้วยวิธีการที่ถูกต้องจนประจักษ์ด้วยตนเองว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริง

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 406 สรรพศาสตร์ในพระไตรปิฎก
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.016479901472727 Mins