การรับประทานอาหารระหว่างเดินทาง

วันที่ 13 พค. พ.ศ.2560

การดูแลเรื่องอาหาร
การรับประทานอาหารระหว่างเดินทาง "

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , การดูแลเรื่องอาหาร , การรับประทานอาหารระหว่างเดินทาง

     ในระหว่างเดินทาง ไม่ว่าเดินทางโดยเครื่องบินหรือทางใดก็ตามสิ่งที่ควรยึดถือเป็นข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ

1. อย่ารับประทานอาหารจนอิ่ม
      ขณะเดินทางแต่ละครั้ง ควรรับประทานอาหารเพียงครึ่ง หรือค่อนท้องเท่านั้น อย่าให้อิ่มทั้งนี้ขอให้นึกถึงนักวิ่ง ถ้านักวิ่งรับประทานอาหารจนอิ่มแปล้ แล้วออกวิ่งก็จะจุกวิ่งไม่ไหวหลวงพ่อเล่าว่าสมัยเป็นนักศึกษา บางครั้งท่านต้องทำหน้าที่ขนย้ายวัว ควาย ม้า หมู เป็นประจำ ขนย้ายจากกรุงเทพฯ ไปเชียงใหม่บ้าง จากเชียงใหม่ลงไปถึงภาคใต้บ้างสังเกตพบว่าครั้งใดที่ให้อาหารสัตว์อิ่มเต็มที่ก่อนขึ้นรถ พอถึงที่หมายปลายทางสัตว์มักจะป่วยเกินกว่าครึ่ง เดินลงจากรถแทบไม่ไหว เพราะมันถูกรถเขย่าตลอดทาง จึงเกิดอาการจุกแน่นแล้วก็ป่วย บางตัวถึงตาย ต่อมาจึงได้แก้ปัญหานี้ด้วยการให้สัตว์แต่ละตัวกินอาหารเพียงครึ่งท้องเท่านั้น ระหว่างทางมีแต่น้ำให้กิน พอถึงปลายทางพวกมันจะลงจากรถอย่างกระฉับกระเฉงและวิ่งกันอย่างคึกคัก เพราะว่ามันไม่จุกแต่มันหิวเต็มที

      ในทำนองเดียวกัน การเดินทางไกล เราต้องอยู่ในอิริยาบถ นั่งหรือนอน เป็นเวลานานหลายชั่วโมง การบรรจุอาหารไว้ในท้องเต็มอัตรา จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องอาหารไม่ย่อย หรือย่อยช้า ย่อยไม่หมด เพราะถูกเขย่าตลอดทางจนกระทั่งจุกแน่นบ้าง อาเจียนบ้าง เบาะๆ ก็ท้องอืด ซึ่งจะมีปัญหาต่อสุขภาพอีกหลายๆ อย่างตามมา


2. ขอให้ดื่มน้ำมากพอและควรเป็นน้ำอุ่น
       ร่างกายสามารถดูดซึมน้ำอุ่นได้ดี ดื่มในปริมาณน้อย แต่บ่อยๆ ก็จะทำให้เซลล์ชุ่มชื่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ไม่เพลีย แต่อาจจะต้องเข้าห้องน้ำบ่อยบ้างก็ไม่เป็นไรประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น ร่างกายของเราจึงคุ้นกับความชื้นมาตลอดชีวิต เมื่อต้องเดินทางไปประเทศที่อากาศแห้ง ร่างกายก็จะเกิดปัญหาขาดน้ำโดยง่าย แม้เราจะดื่มน้ำในระหว่างทางมากเพียงใดก็ตาม อาการขาดน้ำหรือขาดความชื้นอย่างกะทันหันที่พบบ่อยๆ คือ เมื่อหลับไปสักครู่ จะมีการอาการหนาวเยือกๆ มีอาการแห้งๆ ในอก หรือตื่นขึ้นมาคอแห้งปากแห้งหมด บางทีมีเลือดกำเดาไหล เป็นต้น

      กรณีเช่นนี้ ย่อมทำให้ผู้เดินทางอยู่ในสภาพอ่อนระโหยโรยแรงได้ง่าย วิธีแก้ไขที่ชะงัด คือเปิดฝักบัวปล่อยให้น้ำไหลแรง แล้วก็เปิดประตูห้องน้ำทิ้งเอาไว้สักครู่หนึ่ง ความชื้นจากห้องน้ำจะกระจายเข้ามาในห้องนอน อาการแห้งอกแห้งใจ คอแห้ง แม้แต่ตาแห้ง จะหมดไปภายในไม่เกิน 10 นาที

   วิธีป้องกัน คือ เมื่อถึงเวลานอนก็เปิดน้ำใส่ไว้ในอ่างล้างหน้าให้เต็ม จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่มาดูดความชื้นจากตัวเรา แต่ดูดความชื้นจากน้ำในอ่างนั้น ตื่นขึ้นมาจะไม่รู้สึกโหย ไม่เพลีย แต่ถ้าอ่างน้ำนั้นรั่ว ก็ให้เปิดฝักบัวน้ำอุ่นไว้ตลอดคืน โดยไม่ให้น้ำไหลแรงนัก เนื่องจากไอน้ำจากน้ำอุ่นจะแผ่ตัวกระจายออกเร็ว จึงทำให้ความชื้นในห้องนอนเกิดความสมดุลกับอุณหภูมิในร่างกาย หลับก็เต็มอิ่ม ตื่นขึ้นมาก็สดชื่น

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010948499043783 Mins