วิธีการรักษาสุขภาพด้วยดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล

วันที่ 15 พค. พ.ศ.2560

ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล
วิธีการรักษาสุขภาพด้วยดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล "

GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี , ความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , ดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , วิธีการรักษาสุขภาพด้วยดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาล , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

   กิจวัตรกิจกรรมของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้นมีหลากหลายจึงช่วยแก้ปัญหาการเจ็บป่วยอันเกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ มีทั้งการนั่งสมาธิเจริญภาวนา การบิณฑบาต การเดินจงกรม การดูแลความสะอาดวัด การทำนวกรรมหรืองานก่อสร้างและปฏิสังขรณ์อาราม การสำเร็จสีหไสยาสน์คือนอนตะแคงขวาอย่างมีสติ เป็นต้น การบิณฑบาตนั้นนอกจากเพื่อโปรดญาติโยม และเพื่อเลี้ยงชีพตามวิสัยของบรรพชิตแล้ว ยังเป็นการออกกำลังกายและเป็นการนวดเท้าอย่างดีอีกด้วย เพราะพระภิกษุต้องออกเดินด้วยเท้าเปล่าตั้งแต่เช้าตรู่เป็นระยะ 2-3 กิโลเมตรต่อวัน จึงเท่ากับได้ออกกำลังกายไปในตัว และการไม่สวมรองเท้าทำให้เท้าได้สัมผัสกับก้อนกรวด ก้อนหินโดยตรง จึงเป็นการนวดเท้าไปในตัวเช่นกัน

     ส่วนการเดินจงกรมนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในจังกมสูตรว่า "ช่วยให้อาหารที่กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มแล้วย่อยได้ง่าย และทำให้เป็นผู้มีอาพาธน้อย..." นอกจากนี้ในส่วนหนึ่งของกิจวัตรของพระภิกษุนั้นยังมีการบริหารร่างกายด้วยการ "ดัดกาย" เพื่อแก้ความเมื่อยขบและมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการ "บีบนวด" อีกด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการบีบนวดเช่นกัน ดังที่ปรากฏในชราสูตรว่า

      "สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถีสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็นแล้วประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ผิงแดดในที่มีแสงแดดส่องมาจากทิศประจิมอยู่ ครั้งนั้นพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบีบนวดพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยฝ่า

     จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่า กิจวัตรกิจกรรมของพระภิกษุนั้นสะท้อนให้เห็นถึงการดูแลรักษาสุขภาพด้วย "ดุลยภาพบำบัด" ได้เป็นอย่างดี กล่าวคือ พระพุทธองค์ทรงเน้นย้ำให้พระภิกษุรักษาสรีระในอิริยาบถต่างๆ ให้สมดุล คือ ให้ตรงอยู่เสมอ และพยายามปรับเปลี่ยนอิริยาบถให้สมดุลกันทั้งการเดิน นั่ง ยืน นอน ไม่ดำรงอยู่ในอิริยาบถใดนานเกินไปเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ยังมีการบริหารร่างกายด้วยการดัดกาย มีการออกกำลังกายด้วยการบิณฑบาตและเดินจงกรม มีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นด้วยการนวดอีกด้วย

       อย่างไรก็ตามหลักดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาลก็มีความแตกต่างกับดุลยภาพบำบัดในสมัยปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น เรื่องท่านอน กล่าวคือ ท่านอนที่ถูกต้องตามหลักดุลยภาพบำบัดปัจจุบันในทัศนะของนายแพทย์ถาวร กาสมสัน คือ "ท่านอนหงาย" แต่ท่านอนที่ถูกต้องตามทัศนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ "ท่านอนตะแคงขวา" หรือ " สีหไสยาสน์" และจากการศึกษาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า การนอนในท่าตะแคงขวาเป็นท่านอนที่ถูกหลักอนามัยที่สุด ดังที่ปรากฏในจดหมายข่าวชุมชนคนรักสุขภาพฉบับสร้างสุขของ . เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2550 ที่ผ่านมาว่า "ท่านอนตะแคงขวา เป็นท่าที่ถูกหลักอนามัยที่สุด เนื่องจากร่างกายจะไม่กดทับหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก ไม่ทำงานหนักจนเกินไป อาหารจากกระเพาะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วยแต่ว่าคนกลับนิยมท่านอนหงายกันมากที่สุด อาจเป็นเพราะสะดวกดีและเหมาะกับร่างกาย ถ้าเลือกนอนท่านี้ควรใช้หมอนต่ำเพื่อให้ต้นคออยู่แนวระนาบเดียวกับลำตัว จะได้ไม่ปวดคอ แต่ท่านี้ไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อ กะบังลมจะกดทับปอด ทำให้หายใจไม่สะดวก คนปวดหลังก็ไม่เหมาะเพราะจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นสำหรับท่าตะแคงซ้ายช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้างและพาดขาไว้ เพื่อป้องกันอาการชาส่วนท่านอนคว่ำ เป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลัง หรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานานดังนั้นถ้าจำเป็นต้องนอนท่านี้ควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอกเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ"

   แม้หลักดุลยภาพบำบัดในสมัยพุทธกาลจะมีความแตกต่างกับหลักดุลยภาพบำบัดตามทัศนะของคุณหมอถาวรอยู่บ้าง แต่โดยภาพรวมแล้วถือว่าหลักการต่างๆ สอดคล้องกันโดยมากด้วยเหตุนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า ดุลยภาพบำบัดนั้นไม่ได้เป็นศาสตร์ใหม่แต่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล 2,500 กว่าปีแล้ว และมีการพัฒนา สืบต่อกันมาตามลำดับ วงการแพทย์สมัยปัจจุบันก็ได้ให้ความสนใจในศาสตร์นี้กันมากขึ้น โดยเฉพาะนายแพทย์ถาวร กาสมสันนั้นได้ศึกษาเรื่องดุลยภาพบำบัดมากว่าสิบปี ทำให้คุณหมอมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้สามารถถ่ายทอดความรู้ที่สั่งสมมาเป็นแนวทางในการบำบัดรักษาได้อย่างละเอียด

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ GB 410 การรักษาสุขภาพตามพุทธวิธี
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0017940680185954 Mins