ประเภทของสาวก

วันที่ 13 มิย. พ.ศ.2560

พระสังฆคุณ
ประเภทของสาวก

พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , หลวงพ่อธัมมชโย , พระสังฆคุณ , ประเภทของสาวก   , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , อริยสาวก  , ฌาน , ปฏิโลม

พระธรรมเทศนา
     สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมมี 2 จำพวกคือ ปุถุชนสาวก 1 อริยสาวก 1

    ปุถุชนสาวกนั้น ได้แก่ ผู้ที่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย แต่ยังมิได้บรรลุธรรมวิเศษอันใด ยังเป็นปุถุชนอยู่ จึงได้ชื่อว่า ปุถุชนสาวก แต่สาวกตามความหมายในบทสังฆคุณที่ยกขึ้นกล่าวข้างต้นนี้เฉพาะแต่อริยสาวกเท่านั้น

    อริยสาวก แปลว่า สาวกผู้ประเสริฐ คือสาวกที่ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว พ้นจากฐานะปุถุชนแล้ว เรียกตามโวหารในทางศาสนาว่าเป็นชั้นอริยะสาวกชั้นอริยะหรือที่เรียกว่าอริยสาวกนั้น ท่านจัดเป็น 4 คู่ คือโสดาปัตติมรรคโสดาปัตติผลคู่ 1, กทาคามิมรรค กทาคามิผลคู่ 1, อนาคามิมรรค อนาคามิผลคู่ 1, อรหัตมรรค อรหัตผลคู่ 1 แต่ถ้าจัดเป็นรายบุคคล ท่านจัดเป็น 8 คือ โสดาปัตติมรรค 1 โสดาปัตติผล 1, สกทาคามิมรรค 1 สกทาคามิผล 1, อนาคามิมรรค 1 อนาคามิผล 1, อรหัตมรรค 1 อรหัตผล 1 จึงรวมเป็นอริยบุคคล 8 จำพวกด้วยกัน แบ่งเป็นชั้น ๆ ตามลำดับธรรมวิเศษที่ได้บรรลุ

  พระอริยบุคคลบำเพ็ญกิจถูกส่วน เพ่งที่ศูนย์กลางกายเป็นดวงใสจนแลเห็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนถึงกายธรรมเป็นชั้นที่ 5 เป็นชั้น ๆ ไป โดยนัยดังที่จะกล่าวต่อไปนี้

   คือชั้นต้น ดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ให้เป็นดวงใสแล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 2 วา หนา 1 คืบ

     ใสเหมือนกระจกเงาส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน แล้วกายธรรมนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่า กายธรรมเข้าปฐมฌาน

    แล้วเอาตาธรรมกายที่นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ เห็นเป็นดวงใสแล้วขยายส่วนเท่ากันนั้น ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ 2 นั้น แล้วฌานที่ 1 ก็หายไป ฌานที่ 2 มาแทนที่ ธรรมกายนั่งบนนั้น นี้ชื่อว่า
ธรรมกายเข้าฌานที่ 2 ทำนองเดียวกันนั้นต่อ ๆ ไปในกายรูปพรหม กายอรูปพรหม (นี่เป็นส่วนรูปฌาน)

    ต่อจากนี้ไปให้ใจธรรมกายน้อมไปว่าละเอียดกว่านี้มี ฌานที่ 4 ก็หายไปฌานที่ 5 เกิดขึ้นแทนที่เรียกว่า "อากาสานัญจายตนะ" (ใสสว่าง)

    เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนฌานที่ 5 ดังนี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปว่าละเอียดกว่านี้มีอีก ฌานที่ 6 ก็หายไป ฌานที่ 6 เข้ามาแทนที่เรียกว่า "วิญญาณัญจายตนะ" (ใสยิ่งกว่านั้น)

     ธรรมกายนั่งอยู่บนฌานที่ 6 แล้วนั้น ใจกายธรรมน้อมไปอีกว่าละเอียดกว่านั้นมี ฌานที่ 6 ก็หายไป ฌานที่ 7 มาแทนที่เรียกว่า"อกิญจัญญายตนะ" (ใสยิ่งขึ้นไปอีก) ธรรมกายนั่งอยู่บนฌานที่ 7 นั้นแล้ว ใจธรรมกายก็น้อมไปอีกว่าละเอียดกว่านี้มีอีก ฌานที่ 8 ก็บังเกิดขึ้นทันทีเรียกว่า "เนวสัญญานาสัญญายตนะ" รู้สึกละเอียดจริง ประณีตจริง

     นี้เรียกว่า เข้าฌานที่ 18 โดยอนุโลม

   แล้วย้อนกลับจับแต่ฌานที่ 8 นั้นถอยลงมาหาฌานที่ 7-6-5-4-3-2-1 เรียกว่า "ปฏิโลม" ทำดังนี้ 7 หน ธรรมกายจึงคงไปอยู่บนฌานที่ 8 ในระหว่างเข้าฌานนั้น ตั้งแต่ 1 ถึง 8 นั้น ตาธรรมกายดูทุกขสัจ เห็นชัดแล้วดูสมุทัยสัจ เห็นชัดแล้วดูนิโรธสัจ เห็นชัดแล้วดูมรรคสัจ เมื่อถูกส่วนเข้าธรรมกายตกศูนย์เป็นดวงใสวัดผ่าศูนย์กลางได้ 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั่นกลายกลับเป็นธรรมกาย หน้าตัก กว้าง 5 วาสูง 5 วา นี่เป็นพระโสดาแล้ว แล้วธรรมกายโสดานั้นเข้าฌาน แล้วพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั้น เมื่อถูกส่วนธรรมกายโสดาตกศูนย์วัดผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ไม่ช้าศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกาย หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา มีชื่อว่า "พระสกทาคามี"

    แล้วธรรมกายเข้าฌาน และพิจารณาอริยสัจในกายรูปพรหมทำนองเดียวกันนั้น เมื่อถูกส่วนธรรมกาย กทาคาตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา แล้วกลับเป็นธรรมกาย หน้าตัก 15 วาสูง 15 วา มีชื่อว่า "พระอนาคามี"

   แล้วเอาธรรมกายของพระอนาคามีเข้าฌานพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายอรูปพรหม เห็นชัดเช่นเดียวกันกับที่กล่าวมา เมื่อถูกส่วนธรรมกายพระอนาคามีตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา แวบเดียวกลับเป็นธรรมกายหน้าตักกว้าง 20 วาสูง 20 วา นี้เป็นพระอรหัตแล้ว

    ที่ว่าธรรมกายนั้นสัณฐานเป็นรูปพระพุทธปฏิมากร เกตุดอกบัวตูมสีขาวเป็นเงาใสเหมือนกระจกส่องหน้า ชั้นพระโสดาสละกิเลส ได้ 3 คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามา ที่ท่านละสักกายทิฏฐิได้ก็โดยท่านพิจารณาเห็นชัดว่าสังขารร่างกายนี้เหมือนเรือนที่อาศัยอยู่ชั่วคราว ไม่ช้าก็จะแตกจะทำลายไป จะยึดถือเอาเป็นตัวเป็นตนมิได้ เป็นสักแต่ธาตุทั้งหลายประสมส่วนกันเข้า จึงเป็นรูปเป็นนาม ย่อมแปรผันไปตามลักษณะของมันไม่ยืนยงคงที่ ถ้าไปยึดถือเป็นตัวเป็นตนก็รังแต่จะนำความทุกข์มาให้ ดังที่กล่าวมานี้ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ส่วนธรรมกายนั้นท่านเห็นว่าเป็น นิจจังสุขัง อัตตา ท่านจึงไม่แยแ ต่อกายมนุษย์ โดยเห็นว่าเป็นของไม่มีสาระดังกล่าวข้างต้นท่านจึงข้ามพ้นสักกายทิฏฐิไปได้

     ที่ท่านละวิจิกิจฉาได้ ก็ด้วยท่านเข้าถึงธรรมกายแล้ว ถอดกายทั้ง 4 ซึ่งเป็นโลกีย์ ถอดเป็นชั้นออกไปเสียได้แล้ว ท่านจึงหมดความกินแหนงสอดคล้องในพระรัตนตรัย เพราะท่านเป็นตัวพระรัตนตรัยเสียแล้ว

    ที่ท่านละสีลัพพตปรามา ได้นั้น ก็เพราะเมื่อท่านเป็นตัวพระรัตนตรัยเสียเช่นนี้แล้ว ศีลและวัตรใดอันเป็นฝ่ายมิจฉาทิฏฐินอกพระพุทธศาสนาไม่มีในท่านแล้ว จึงได้ชื่อว่าท่านพ้นแล้วจากสีลัพพตปรามา คือการยึดมั่นซึ่งศีลและวัตรนอกพระพุทธศาสนา

     ชั้นพระสกทาคา นอกจากกิเลส 3 อย่าง ดั่งที่พระโสดาละได้แล้วนั้นยังละกามราคะ พยาบาทอย่างหยาบได้อีก 2 อย่าง กามราคะได้แก่ ความกำหนัดยินดีในวัตถุกามและกิเลสกาม พยาบาทคือการผูกใจโกรธพระอนาคา ละกามราคะ พยาบาทขั้นละเอียดได้

     พระอรหัตละกิเลส ทั้ง 5 ดังกล่าวมาแล้วนั้นได้โดยสิ้นเชิง แล้วยังละสังโยชน์เบื้องบนได้อีก 5 คือ รูปราคะ ความกำหนัดยินดีในรูปฌาน อรูปราคะ ความกำหนัดยินดีในอรูปฌาน มานะ ความถือตน อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน อวิชชา ความมืด ความโง่ ไม่รู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทธรรมและอริยสัจ จึงรวมเป็น 10 ที่พระอรหัตละได้ พระอริยบุคคลทั้ง 8 ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ได้ชื่อว่า "อริยสาวก"


บทขยายความ
     ตลอดระยะเวลาประมาณ 1,500 ปีที่ผ่านมา ในโลกพระพุทธศาสนาต่างยกย่องว่าพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค และพระคัมภีร์วิมุตติมรรค เป็นสุดยอดแห่งคัมภีร์ในด้านการศึกษาค้นคว้าปฏิบัติธรรม แต่ถึงกระนั้นพระคัมภีร์ทั้งสองเล่มนี้ ก็ยังอธิบายถึงการกำจัดกิเลสอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้ละเอียดไม่เท่าที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้อธิบายไว้ในเรื่องสังฆคุณครั้งนี้ พระคัมภีร์ต่าง ๆส่วนมากก็จะบอกไว้แต่เพียงว่า พระอริยเจ้าแต่ละระดับ ตั้งแต่พระโสดาบัน จนกระทั่งพระอรหันต์สามารถละกิเลสอะไรได้บ้าง แต่ไม่เคยอธิบายไว้เลยว่า ในการละกิเลสเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติอย่างไร และเมื่อปฏิบัติอย่างนั้นแล้วทำไมจึงสามารถทำให้กิเลสในใจของท่าน ละลดหมดไปได้ ในเทศนาสังฆคุณครั้งนี้ พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ให้เหตุผลไว้ชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนอย่างละเอียดลออสามารถสรุปเป็นหลักเกณฑ์ได้ว่า

 1. ผู้ปฏิบัติจะต้องฝึกเจริญภาวนาจนกระทั่งใจหยุดนิ่งสนิทสามารถเห็นเข้าใจ ชำนาญในเรื่องกายในกายเป็นอย่างดีก่อน ตั้งแต่กายมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยเลือดเนื้อของเราจนกระทั่งกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม รวมทั้งธรรมกาย ซึ่งเป็นกายแห่งการตรัสรู้ธรรมเป็นอย่างดี

 2. การจะละกิเลสเป็นพระอริยเจ้าให้ได้นั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าถึงธรรมกายในตัวเอง และมีความชำนิชำนาญในการเข้าฌาน ซึ่งจะเป็นผลให้ทั้งกายและใจผู้ปฏิบัติกับธรรมกายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก่อน

 3. ผู้ปฏิบัติจะต้องฝึกเจริญภาวนาจนกระทั่งเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายในกายต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยธรรมกายจนชำนิชำนาญเป็นอย่างดี จะได้อาศัยดวงธรรมเหล่านั้นทั้งกรองและกลั่นกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

 4. เมื่อผู้ปฏิบัติมีความชำนาญในการปฏิบัติทั้ง 3 ประการเบื้องต้นดีแล้ว จึงพร้อมจะเห็นอริยสัจทั้ง 4 ของกายในกายเหล่านั้นได้ไปตามลำดับ ๆ ด้วยธรรมกาย (มิใช่ด้วยกายมนุษย์หรือกายอื่น ๆ)

    จากนั้นผู้เข้าถึงธรรมกายขั้นต้น (ธรรมกายโคตรภู) จะต้องหมั่นฝึกเข้าฌานด้วยธรรมกาย ตั้งแต่ฌานที่ 1 จนกระทั่งถึงฌานที่ 8 ไปตามลำดับ ๆ คือ

     อาราธนาธรรมกายโคตรภู ดูกายมนุษย์ให้เห็นชัด แล้วดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ซึ่งเป็นดวงสว่าง โตพอประมาณฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์นั่นเอง เมื่อเห็นได้ถูกส่วน ดวงธรรมของกายมนุษย์ก็จะขยายกว้างออกไปกลายเป็นแผ่นฌาน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 วา หนา 1 คืบ ใสเหมือนกระจก แล้วธรรมกายโคตรภูก็จะประทับนั่งบนแผ่นฌานนั้น ทำได้อย่างนี้เรียกว่า "ธรรมกายเข้าปฐมฌานหรือฌานที่ 1"

     อาราธนาธรรมกายที่นั่งบนปฐมฌาน ดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ เมื่อเห็นได้ชัดเจนดีแล้วดวงธรรมของกายทิพย์ก็จะขยายส่วนออกไป กลายเป็นแผ่นฌานที่ 2 เข้ามารองรับธรรมกาย แล้วแผ่นฌานที่ 1 ก็เลือนหายไป เมื่อธรรมกายประทับนั่งบนแผ่นฌานที่ 2 นี้เรียบร้อยแล้ว เรียกว่า "ธรรมกายเข้าฌานที่ 2 หรือทุติยฌาน"

    จากนั้นอาราธนาธรรมกายให้ดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางของกายรูปพรหม และอรูปพรหมไปตามลำดับ ๆ ก็จะเห็นว่า ธรรมกายเข้าฌานที่ 3 หรือตติยฌาน และฌานที่ 4 หรือ จตุตถฌานได้

     จากนั้นใจของธรรมกายก็น้อมเข้าไปในเหตุว่างของฌานที่ 1 แล้วฌานที่ 4 ก็จะเลือนหายไปมีฌานที่ 5 เกิดขึ้นมารองรับแทนที่ เรียกว่า "อากาสานัญจายตนฌาน" แปลว่า ฌานที่กำหนดเอาช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ธรรมกายก็ประทับนิ่งบนนั้นทั้งใสและสว่างยิ่งขึ้นอีกนับเท่าไม่ถ้วน

    จากนั้นธรรมกายก็น้อมเข้าไปในเหตุว่างของฌานที่ 2 แล้วฌานที่ 5 ก็จะเลือนหายไปมีฌานที่ 6 เกิดขึ้นมารองรับแทนที่ เรียกว่า "วิญญาณัญจายตนฌาน" แปลว่า ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ ธรรมกายก็ประทับนั่งบนนั้น ทำให้ใสสว่างยิ่งขึ้นทั้งฌานทั้งกายอีกนับเท่าไม่ถ้วน

     จากนั้นธรรมกายก็น้อมเข้าไปในเหตุว่างของฌานที่ 3 แล้วฌานที่ 6 ก็จะเลือนหายไปมีฌานที่ 7 เกิดขึ้นมารองรับแทนที่ เรียกว่า "อากิญจัญญายตนฌาน" แปลว่า ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ อีกแล้ว เป็นอารมณ์ ธรรมกายก็ประทับนิ่งบนนั้น ทำให้ใสว่างยิ่งขึ้นไปอีกนับเท่าไม่ถ้วนทั้งฌานทั้งกาย

     จากนั้นธรรมกายก็น้อมเข้าไปในเหตุว่างของฌานที่ 4 แล้วฌานที่ 7 ก็จะเลือนหายไปมีฌานที่ 8 เกิดขึ้นมารองรับแทนที่ เรียกว่า "เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน" แปลว่า ฌานอันเข้าถึงภาวะแม้มีความจำก็ไม่ใช่ ไม่มีความจำก็ไม่ใช่ ธรรมกายก็ประทับนิ่งบนนั้น ทำให้ใสสว่างยิ่งขึ้นไปอีกนับเท่าไม่ถ้วน

     เมื่อเข้าฌานมาได้ตามลำดับ ๆ ทั้ง 8 ฌาน ดังนี้แล้ว นอกจากธรรมกายและฌานที่รองรับจะใสว่างยิ่งขึ้นมานับเท่าไม่ถ้วน แม้กายและใจของกายในกายต่าง ๆ ตั้งแต่กายมนุษย์กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหมก็พลอยใสว่างยิ่ง ๆ ขึ้นตามไปด้วย จึงกลายเป็นว่าการเข้าฌานก็คือการกลั่นกายและใจให้ใสะอาด ว่างยิ่ง ๆ ขึ้นไปนั่นเอง และการเข้าฌานตั้งแต่ฌานที่ 1 ถึง 8 ไปตามลำดับเช่นนี้เรียกว่า "เข้าฌานโดยอนุโลม"

     จากนั้นธรรมกายก็เข้าฌานย้อนกลับมาหาฌานที่ 7-6-5-4-3-2-1 เรียกว่า "เข้าฌานโดยปฏิโลม"

     หลังจากธรรมกายเข้าฌานโดยอนุโลมและปฏิโลมทบไปทวนมาอย่างนี้ถึง 7 ครั้งแล้วก็จะเป็นผลให้ทั้งกาย ทั้งใจ ทั้งฌาน ใสะอาดบริสุทธิ์สว่างไสวเกินกว่าจะประมาณได้ว่าสว่างเป็นกี่อสงไขยเท่าของดวงอาทิตย์ในยามเที่ยง

    เพราะความใสและสว่างเป็นอย่างยิ่งนี้เอง ตาธรรมกายจึงสามารถเห็นอริยสัจทั้ง 4 ประการ ว่านี้คือทุกขสัจ ความเดือดเนื้อร้อนใจแสนสาหั ต่าง ๆ ที่เราติดประสบมาตลอดการเวียนว่ายตายเกิด นี้คือ สมุทัยสัจ ต้นเหตุแท้จริงแห่งความทุกข์ทั้งหลาย นี้คือนิโรธสัจความดับทุกข์ได้ และนี้คือมรรคสัจ วิธีดับทุกข์ให้สิ้นไปอย่างแท้จริง ซึ่งอริยสัจทั้ง 4 ประการ

   นี้ล้วนเห็นเป็นดวงธรรมทั้งสิ้น ต่างกันแต่สีของดวงธรรมเท่านั้นว่าจะเป็น สีขาวใสบริสุทธิ์สีดำเป็นนิลแต่ไม่ใสีดำยิ่งกว่านิลและใสเป็นต้น

    ตาธรรมกายเห็นดวงธรรมแต่ละชนิด ว่ามีผลต่อความรู้สึกนึกคิด ความสุข ความทุกข์ความไม่สุขไม่ทุกข์ของบุคคลผู้นั้นอย่างชัดเจน จึงปราศจากความเคลือบแคลงสงสัยใด ๆ และเห็นชัดเจนไปเลยว่าร่างกายที่ประกอบด้วยเลือดเนื้อของคนเรานี้เป็นเสมือนเรือนที่อาศัยชั่วคราวไม่ช้าก็แตกพัง ก็ผุทำลายไป ไม่ มควรอย่างยิ่งที่จะยึดถือว่า "นี้เป็นตัวตนของเรา" เพราะที่แท้ร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็นธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ผสมประกอบกันขึ้นมาเท่านั้น หนำซ้ำยังเป็นธาตุไม่บริสุทธิ์อีกด้วย ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงแตก ลายไปตามกาลเวลาถ้ายังไปยึดถือเป็นตัวเป็นตนอยู่เหมือนเดิม ก็มีแต่จะนำความทุกข์มาให้ไม่มีที่สิ้นสุดเท่านั้น และตกอยู่ในลักษณะที่เรียกว่า "ไตรลักษณ์" คือ

1. อนิจจัง มีความไม่เที่ยง ต้องแปรผันไปตลอดเวลา

2. ทุกขัง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ จะต้องเคลื่อนคล้อยไปทุกขณะ ใคร ๆ ก็ยั้งไว้ไม่อยู่

3. อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนเรา และไม่ใช่เป็นของเรา ไม่อาจบังคับบัญชาได้

   ในเวลาเดียวกัน ท่านเห็นชัดด้วยตาธรรมกายอีกด้วยว่า ธรรมกายนี่แหละเป็น นิจจังมีความเที่ยงตรงไม่แปรผัน ธรรมกายนี้แหละเป็นสุขัง ตั้งอยู่ใน ภาพเป็นรัตนะตลอดไปได้ธรรมกายนี่แหละเป็น อัตตา ตัวตนแท้จริง โดยเห็นได้จากการเปรียบเทียบระหว่างกายมนุษย์กับธรรมกายนั่นเอง

    นับแต่นี้เป็นต้นไป ท่านจึงไม่แยแสต่อกายมนุษย์ ข้ามพ้นสักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่ากายมนุษย์เป็นตนของท่านไปได้

     วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยซึ่งมีค้างอยู่ในใจมานานแสนนาน ก็พลันหมดไป เพราะท่านมีความชำนาญในเรื่องกายในกายสามารถถอดกายทั้ง 4 คือ กายมนุษย์กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ซึ่งถูกห่อหุ้มบีบคั้นด้วยกิเลส ออกไปเสียได้ แล้วท่านก็เป็นตัวพระรัตนตรัยเสียเอง คือ ธรรมกาย

    สีลัพพตปรามา คือความถือมั่นในศีลพรต หรือข้อปฏิบัติโดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย เคยมีอยู่มากน้อยเท่าไร ก็ละทิ้งไปได้เด็ดขาด เพราะท่านเป็นตัวพระรัตนตรัยเองเช่นนี้แล้ว ไม่ต้องไปแสวงหาความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากศีลพรตใด ๆ อีก

     เมื่อเห็นและรู้ทันกิเลส ทั้ง 3 ประการ ได้ด้วยตาธรรมกายอย่างชัดเจนเช่นนี้แล้วธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใสวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 5 วา แล้วศูนย์นั้นก็กลายเป็นธรรมกายขยายขนาดองค์ใหญ่ขึ้น หน้าตักกว้าง 5 วาสูง 5 วา เรียกว่า "ธรรมกายพระโสดา"สามารถฆ่ากิเลสทั้ง 3 ประการคือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามา ได้ขาดจากใจ บุคคลผู้ปฏิบัติได้ดังนี้ จากสมมุติสงฆ์หรือพระปุถุชนลูกชาวบ้านธรรมดา ก็กลายเป็นพระอริยสงฆ์ระดับต้น เรียกว่า "พระโสดาบัน"

    พระอริยสงฆ์ซึ่งเป็นพระโสดาบันแล้ว ย่อมมีความไม่ประมาทเป็นธรรมดา ท่านย่อมพยายามฝึกเข้าฌานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก ทั้งอนุโลมและปฏิโลม เมื่อท่านชำนาญในการเข้าฌานในระดับที่สูงขึ้นดีแล้ว จากนั้นธรรมกายพระโสดาย่อมเข้าฌานทั้งอนุโลมและปฏิโลม 7 ครั้ง แล้วพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ (ซึ่งเห็นได้ยากกว่าอริยสัจในกายมนุษย์) ตามวิธีการเดียวกับที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เมื่อถูกส่วนเข้าย่อมเห็นอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ได้ชัดเจน รวมทั้งเห็นกามราคะและพยาบาทซึ่งเป็นกิเลสหยาบอีก 2 ประการ ที่ห่อหุ้มใจของมนุษย์และทิพย์อย่างชัดเจนว่า

1. กามราคะ เป็นเหตุทำให้กำหนัดยินดีในวัตถุกามและกิเลสกาม

2. พยาบาท เป็นเหตุทำให้ผูกใจเจ็บแค้นและพยายามแก้แค้น กิเลสทั้ง 2 ประการนี้เป็นผลให้ทั้งมนุษย์และเทวดานางฟ้าทั้งหลาย ต่างหมกมุ่นอยู่ในกาม และถ้าหากไม่ได้วัตถุกามอย่างใจปรารถนาก็จะเคืองแค้น คิดติดตามจองล้างจองผลาญกัน

   เมื่อตาธรรมกายพระโสดาเห็นชัดเจนเช่นนั้นแล้ว ทั้งกามราคะและพยาบาทในใจของกายทิพย์ก็ถูกทำลายไป เหมือนกับดวงอาทิตย์ยามเที่ยงกำจัดความมืดที่ห่อหุ้มโลกให้หมดไปฉะนั้น แล้วธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ไม่ช้าศูนย์กลางนั้นก็กลับเป็นธรรมกายหน้าตัก 10 วาสูง 10 วา ชื่อว่า "พระสกทาคามี" พระภิกษุโสดาบันรูปนั้นก็เลื่อนเป็นพระอริยเจ้าในระดับสูงขึ้นมาอีก 1 ขั้น เป็นพระสกทาคามีบุคคลในพระพุทธศาสนาสามารถกำจัดสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉาสีลัพพตปรามา ได้เด็ดขาด รวมทั้งทำให้ราคะและพยาบาทเบาบางลงไปมาก

  โดยทำนองเดียวกันกับเบื้องต้น ธรรมกายพระสกทาคามีเข้าฌานโดยอนุโลมและปฏิโลม 7 ครั้ง แล้วพิจารณาอริยสัจในกายรูปพรหม เมื่อถูกส่วนเห็นชัดเจนดีแล้ว ธรรมกายพระสกทาคามีก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา แล้วกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก 15 วา สูง 15 วา มีชื่อว่า "พระอนาคามี" สามารถละกามราคะและพยาบาทขั้นละเอียดได้ รวมแล้วจึงเป็นว่า พระอนาคามีสามารถละกิเลสได้เด็ดขาด 5 ประการคือ 1.สักกายทิฏฐิ 2. วิจิกิจฉา 3.สีลัพพตปรามา 4. กามราคะ 5. ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดขัดเคืองใจต่าง ๆ)

     โดยทำนองเดียวกัน ธรรมกายพระอนาคามีเข้าฌานโดยอนุโลมและปฏิโลม 7 ครั้ง แล้วพิจารณาอริยสัจทั้ง 4 ในกายอรูปพรหม เมื่อถูกส่วนเห็นชัดเจนดีแล้ว ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา แล้วกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก 20 วาสูง 20 วา เรียกว่า "ธรรมกายอรหัต" สามารถละกิเลสละเอียด ซึ่งสัตวโลกทั้งหลาย แม้รูปพรหมและอรูปพรหม ซึ่งบางศาสนาถือว่าเป็นผู้สร้างโลกก็ยากจะเห็น ยากจะละได้อีก 5 ประการ คือ

1. รูปราคะ ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน

2. อรูปราคะ ความติดใจยินดีในอารมณ์แห่งอรูปฌาน

3. มานะ ความถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่

4. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านต่างๆ

5. อวิชชา ความมืด ความโง่ ไม่รู้จักอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสังขาร ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท คือการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันจึงเกิดมีขึ้น ไม่รู้อริยสัจธรรม

    พระอริยสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมสูงส่งให้ถึงปานนี้ จึงได้ชื่อว่า "พระอรหันต์" เป็นพระอริยสงฆ์ชั้นสูงในพระศาสนาสามารถประหารกิเลสได้เด็ดขาดเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นบรมครู

     การละกิเลสมาตามลำดับ ๆ ด้วยอำนาจแห่งการเห็นอริยสัจโดยตาธรรมกายที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าจะแจงอย่างละเอียดก็จะแยกได้ดังนี้ คือ

1. ธรรมกายโคตรภู พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายมนุษย์ได้แล้วบรรลุธรรมกายโสดาปัตติมรรค

2. ธรรมกายโสดาปัตติมรรค พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายมนุษย์ละเอียดได้แล้วบรรลุธรรมกายโสดาปัตติผล (เรียกผู้บรรลุว่า "พระโสดาบัน")

3. ธรรมกายโสดาปัตติผล พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายทิพย์ได้แล้วบรรลุธรรมกายสกทาคามิมรรค

4. ธรรมกายสกทาคามิมรรค พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายทิพย์ละเอียดได้แล้วบรรลุธรรมกายสกทาคามิผล (เรียกผู้บรรลุว่า "พระสกทาคามี")

5. ธรรมกายสกทาคามิผล พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายรูปพรหมได้แล้วบรรลุธรรมกายอนาคามิมรรค

6. ธรรมกายอนาคามิมรรค พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายรูปพรหมละเอียดได้แล้วบรรลุธรรมกายอนาคามิผล (เรียกผู้บรรลุว่า "พระอนาคามี")

7. ธรรมกายอนาคามิผล พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายอรูปพรหมได้แล้วบรรลุธรรมกายอรหัตตมรรค

8. ธรรมกายอรหัตตมรรค พิจารณาจนกระทั่งเห็นอริยสัจในกายอรูปพรหมละเอียดได้แล้ว บรรลุธรรมกายอรหัตตผล (เรียกผู้บรรลุว่า "พระอรหันต์")

  พระภิกษุทั้ง 8 ท่านนี้ มีชื่อเรียกรวมๆ กันว่า พระอริยบุคคลบ้าง พระอริยเจ้าบ้างพระอริยสงฆ์บ้าง ทักขิไณยบุคคลบ้าง (บุคคลผู้ควรรับของทำบุญที่เขานำมาถวาย)

  การบรรลุอริยธรรมเป็นอริยสงฆ์แต่ละขั้นนั้น จะเป็นไปได้ง่ายสำหรับพระภิกษุที่บำเพ็ญบารมีมาดีแล้วนับอสงไขยภพอสงไขยชาติไม่ถ้วนแล้วเท่านั้น หากเป็นพระภิกษุหรือบุคคลทั่วไปแล้ว นับว่าเป็นไปได้ยากอย่างยิ่งทุกขั้นตอนคือ

    จากพระภิกษุปุถุชน กว่าจะปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 ได้ถูกส่วน เป็นผลให้ใจหยุดนิ่งสามารถเข้าถึงดวงธรรมเบื้องต้นคือ ปฐมมรรคก็ยากยิ่งผู้เข้าถึงปฐมมรรคแล้วกว่าจะเข้าถึงกายในกายไม่ว่ากายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ก็ยากยิ่ง

      ผู้เข้าถึงกายในกายแล้ว กว่าจะเข้าถึงธรรมกายโคตรภู (ธรรมกายเบื้องต้น) ก็ยากยิ่ง

      ผู้เข้าถึงธรรมกายโคตรภูแล้ว กว่าจะเข้าฌานได้แต่ละฌาน ก็ยากยิ่ง

     ผู้เข้าฌานได้แล้ว กว่าจะเห็นอริยสัจในกายต่างๆ ก็แสนจะยากยิ่ง ความยากแสนสาหัสนี้จะมากน้อยเพียงใดก็จะเห็นได้จากชื่อที่เกิดจากอริยธรรมของท่านนั่นเอง คือ

1. พระโสดาบัน แปลว่า ผู้แรกถึงกระแสพระนิพพาน แน่นอนลงไปว่าจะสามารถปราบกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ภายในไม่เกิน 7 ชาติเบื้องหน้า (อาจจะภายในชาตินั้นก็ได้)

2. พระสกทาคามี แปลว่า ผู้กลับมาเกิดอีกในโลกนี้เพียงครั้งเดียว ก็จะสามารถปราบกิเลสให้หมดสิ้นไปได้

3. พระอนาคามี แปลว่า ผู้ไม่เวียนกลับมาเกิดในโลกนี้อีกแล้ว แต่จะเกิดเป็นรูปพรหมในชั้นสุทธาวาส และสามารถปราบกิเลสให้สิ้นไปได้ในภพนั้นแล้วปรินิพพาน

     ถ้าจะตั้งปัญหาถามว่า ทำไมท่านเหล่านี้จากพระภิกษุปุถุชนลูกชาวบ้าน จึงมาเป็นพระอริยสงฆ์ได้ ? ก็ต้องตอบว่า เพราะท่านประกอบด้วยสังฆคุณ คือความดีอย่างยิ่งยวดตามแบบฉบับของสงฆ์ ตามที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำเทศน์ไว้

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0055346687634786 Mins