ธรรมกายในอรรถกถา

วันที่ 14 มิย. พ.ศ.2560

ธรรมกายในอรรถกถา

พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , ธรรมกายในอรรถกถา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , พระสุตตันตปิฎก

      "ธรรมกาย" ในอรรถกถา มีปรากฏอยู่ 25 อรรถกถา ดังนี้

อรรถกถาโสณสูตร1
       (พระสูตรว่าด้วยคนสะอาด ไม่ยินดีในบาป)

     "...บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเราได้ฟังมาว่า เห็นปานนี้ ๆ คือ ทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติและรูปกายสมบัติเห็นปานนี้และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้ ด้วยคำว่า "นโข เม โส ภควา สมฺมุขา ทิฏโฐ" นี้ อาจารย์ทั้งหลาย หมายเอาความเป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่า ท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแต่ภายหลังเธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงเชื้อเชิญจึงทำไว้ในใจให้มีประโยชน์ถึงพระสูตร 16 เป็นวรรค 8 วรรค เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล้วประมวลมาไว้ในใจทั้งหมดเป็นผู้รู้แจ้งอรรถและธรรม เมื่อจะกล่าวเป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม ในเวลาจบ สรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับก็เพื่อประโยชน์นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งให้เธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระองค์. ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่าเรายังไม่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์แล ดังนี้ ท่านกล่าวหมายแลเอาเฉพาะการเห็นรูปกายเท่านั้น. จริงอยู่ท่านพระโ ณะพอบวชแล้ว ก็เรียนกรรมฐานในสำนักของพระเถระ เพียรพยายามอยู่ ยังไม่ได้อุปสมบทเลย ได้เป็นพระโสดาบัน ครั้นอุปสมบทแล้วคิดว่า แม้อุบาสกทั้งหลายก็เป็นพระโสดาบัน ทั้งเราก็เป็นพระโสดาบัน ในข้อนี้จะคิดไปทำไมเล่า จึงเจริญวิปัสสนา เพื่อมรรคชั้นสูงได้อภิญญา 6 ภายในพรรษานั้นเอง แล้วปวารณาด้วยวิสูทะปวารณา ก็เพราะ เห็นอริยสัจเป็นอันชื่อว่า เธอได้ธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นก็ชื่อว่าเห็นธรรม. เพราะฉะนั้นการเห็นธรรมกายจึงสำเร็จแก่เธอก่อนทีเดียวก็แล ครั้นปวารณาแล้ว เธอได้มีความประสงค์จะเห็นรูปกาย..."


อรรถกถาสังฆาฏิสูตร2
        (พระสูตรว่าด้วยผู้ประพฤติธรรมอยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้พระองค์)
       "...บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคต ก็ชื่อว่าอยู่ไกลเธอเหมือนกัน. ด้วยคำนี้ พระองค์ทรงแสดง การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมัง จักษุก็ดีการอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้นและการรวมกันด้วยธรรมกายต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้). ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเราตถาคต. ในคำว่า ธมฺมํ น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม 9 อย่าง ชื่อว่า ธรรมก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ ด้วยจิตที่ถูกอภิชชาเป็นต้นประทุษร้ายเพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า ไม่เห็นธรรมกายสมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ว่าดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้น ก็เห็นธรรมดังนี้ และว่า เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้างเป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น..."


อรรถกถาชันตาเถรีคาถา3
       "...หิ ศัพท์ในบาทคาถาว่า ทิฏโฐ หิ เม โส ภควา มีความว่า เหตุประกอบความว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เป็นธรรมกาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ฉะนั้นร่างกายนี้จึงมีในที่สุด ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าและพระอริยอื่น ๆ ย่อมชื่อว่า ข้าพเจ้าเห็นแล้ว ด้วยการเห็นอริยธรรมไม่ใช่ด้วยเพียงรูปกาย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเราและว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว เป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น..."


อรรถกถาธนิยสูตร4
       (พระสูตรว่าด้วยคาถาโต้ตอบระหว่างนายธนิยะกับพระพุทธองค์)
      "...ในที่สุดพระคาถา คนทั้ง 4 คือ นายธนิยะ 1 ภรรยาของเขา 1 และธิดาของเขา 2 คน ได้ฟังคาถาที่แ ดงสัจ 4 ประการนี้ อย่างนี้แล้ว ก็ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล ลำดับนั้นนายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธาซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลนผู้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนสติแล้ว คิดแล้วว่า นับแต่อเวจีเป็นที่สุด จนถึงภวัคพรหม เว้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี...

   *...เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุและกลับได้สัทธาที่เป็นโลกิยสัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอที่ข้าพระองค์ได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้า..."

      หมายเหตุ (*) ข้อความตรงนี้มาจากบาลีว่า "...ยสฺมา ธนิโย สปุตฺตทาโร ภควโต อริยมคฺคปฏิเวเธน ธมฺมกายํ ทิสฺวา โลกุตฺตรจกฺขุณา รูปกายํ ทิสฺวา โลกิยจกฺขุณา สทฺธาปฏิลาภํลภิ..." ซึ่งน่าจะแปลว่า "...เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยโลกุตรจักษุ โดยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกิยจักษุจึงได้เฉพาะซึ่งศรัทธา..."


อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา5
     "...ข้าแต่พระสุคต หม่อมฉันเป็นพระมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุข อันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว พระองค์อันหม่อมฉันให้ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ ซึ่งความอยากชั่วครู่ส่วนหม่อมฉัน พระองค์ก็โปรดให้ ดูดดื่มน้ำนมคือธรรมอันสงบอย่างยิ่งแล้ว..."


อรรถกถาสิริวัฑเถรคาถา6
      (พระสูตรว่าด้วยคาถาของพระสิริวัทเถระ)
    "...บทว่า ปุตฺโต อปฺปฏิมสฺส ตาทิโน ความว่า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไม่มีที่เปรียบ คือ เว้นจากข้อเปรียบเทียบด้วยความถึงพร้อมแห่งธรรมกายมีกองแห่งศีลเป็นต้น และด้วยความถึงพร้อมแห่งรูปกาย ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยลักษณะของผู้คงที่. พึงทราบความว่า ก็ด้วยคำว่า ปุตฺต ศัพท์ในคาถานี้นั่นแล ชื่อว่าเป็นอันพระเถระพยากรณ์พระอรหัตผลแล้ว เพราะแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้เกิดตามพระบรมศาสดา..."


อรรถกถาเมตตชิเถรคาถา7
      (พระสูตรว่าด้วยคาถาของพระเมตตชิเถระ)
      "...ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะชื่นชมพระบรมศาสดา ได้กล่าวคาถาว่าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคศากยบุตร ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น พระองค์ผู้ถึงแล้วซึ่งธรรมอันสูงสุด ได้ทรงแสดงอัครธรรมนี้ไว้ด้วยดี ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ได้แก่ ทำการนอบน้อม. บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นใดทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ 30 ทัศ ทรงหักกิเลสทั้งปวง แล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณชื่อว่าเป็นศากยบุตร เพราะเป็นบุตรของพระเจ้าศากยะ ทรงเจริญแล้วด้วยบุญสมบัติอันไม่สาธารณ์ทั่วไปแก่สัตว์อื่น และชื่อว่า ผู้มีพระสิริเพราะประกอบไปด้วยสิริ คือรูปกาย และสิริคือธรรมกายอันสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศากยบุตรผู้มีพระสิริพระองค์นั้น ความว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น..."


อรรถกถาปสาทสูตร8
       (พระสูตรว่าด้วยความเลื่อมใส 3 ประการ)
    "...พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐก่อน โดยความหมายว่าไม่มีผู้เปรียบโดยความหมายว่าเป็นผู้วิเศษด้วยคุณความดี และโดยความหมายว่าไม่มีผู้เสมอเหมือน. จริงอยู่พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศโดยความหมายว่า ไม่มีผู้เปรียบ เพราะทรงทำอภินิหารมามากและการสั่งสมบารมี 10 ประการมาเป็นเบื้องต้น จึงไม่เป็นเช่นกับคนทั้งหลายที่เหลือ เพราะพระคุณคือ พระโพธิสมภารเหล่านั้น และเพราะพุทธคุณทั้งหลาย. ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ เพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แม้โดยความหมายว่า เป็นผู้วิเศษด้วยคุณความดี เพราะพระองค์มีพระคุณมีพระมหากรุณาคุณ เป็นต้น ที่วิเศษกว่าคุณทั้งหลายของสรรพสัตว์ที่เหลือ. ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ แม้โดยความหมายว่า ไม่มีผู้เสมอเหมือน เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เองเป็นผู้เสมอโดยพระคุณทางรูปกาย และพระคุณทางธรรมกาย กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนผู้ไม่เสมอเหมือนกับสรรพสัตว์..."


เวรัญชกัณฑวรรณา9
     "...ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงมีพระกายสมส่วน.ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว..."


อรรถกถามงคลสูตร10
   "...ทรงหักราคะ หักโทสะ หักโมหะ ไม่มีอาสวะ ทรงหักบาปธรรมได้แล้ว ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า "ภควา". ก็แลความถึงพร้อมแห่งพระรูปกายของพระองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญลักษณะนับร้อยเป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงมีภาคยะคือบุญ ความถึงพร้อมแห่งพระธรรมกาย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงหักโทสะได้แล้ว..."


อรรถกถาติสสเมตเตยยสุตตนิทเทส11
   "...อนึ่งสมบัติแห่งรูปกายของพระองค์ผู้ทรงบุญลักษณะตั้งร้อยเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงมีภาคยะสมบัติแห่งธรรมกายของพระองค์ เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะเสียได้..."


อรรถกถาพาหิยสูตร12
       (พระสูตรว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดทุกข์)
     "...บทว่า ปาสาทิกํ ความว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้านแก่ชนผู้ขวนขวาย ในการเห็นพระรูปกาย เพราะความสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งสรีระของพระองค์ อันนำความเลื่อมใสมารอบด้าน อันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 อนุพยัญชนะ 80 พระรัศมีด้านละวา และพระเกตุมาลารัศมีที่เปล่งเหนือพระเศียร. บทว่า ปสาทนีย ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสเหมาะที่จะควรเลื่อมใสหรือควรแก่ความเลื่อมใสของผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ เพราะธรรมกายสมบัติอันประกอบด้วยจำนวนพระคุณอันหาประมาณมิได้ มีทศพลญาณ 10 เวสารัชชญาณ 4 อสาธารณญาณ 6 อาเวนิยพุทธธรรม 18 เป็นต้น...

     ...ก็ด้วยบทว่า ปสาทิกํ นี้ ในอธิการนี้ ท่านแสดงถึงความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรูปกาย. ด้วยบทว่า ปสาทนีย แสดงถึงความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมกาย..."


อรรถกถารัชชุมาลาวิมาน13
      (พระสูตรว่าด้วยรัชชุมาลาวิมาน)
      "...บทว่า ปาสาทิก แปลว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใส. อธิบายว่า เป็นผู้ทำความเลื่อมใสให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะความถึงพร้อมด้วยความงามแห่งสรีระของพระองค์อันประดับประดาด้วยพระมหาปุริสลักษณะ 32 พระอนุพยัญชนะ 80 พระรัศมีข้างละวา และพระเกตุมาลาที่ก่อให้เกิดความเลื่อมใสทั่วไป เป็นของให้สำเร็จประโยชน์สำหรับชนผู้ขวนขวายจะดูพระรูปกาย.บทว่า ปาสาทนิย คือทรงประกอบด้วยพระธรรมกายสมบัติอันพรั่งพร้อมด้วยพระคุณอันหาประมาณมิได้ คือทศพลญาณ จตุเวสารัชชญาณ อสาธารณญาณ 6 และเป็นแดนเกิดแห่งพระพุทธธรรมอันประเสริฐ 18 ประการ ที่ชนผู้เห็นสมจะพึงเลื่อมใส..."


อรรถกถากังขาเรวตเถรคาถา14
       (พระสูตรว่าด้วยคาถาของพระกังขาเรวตเถระ)
      "...อีกนัยหนึ่ง ไฟที่รุ่งเรือง คือ มีแสงสว่างจ้า ลุกโชติช่วง ในยามพลบค่ำ คือ ยามราตรีย่อมกำจัดความมืด ให้แสงสว่าง มองเห็นที่เสมอและไม่เสมอได้ชัดเจน แก่ผู้ที่อยู่บนที่สูงแต่สำหรับผู้ที่อยู่ในที่ต่ำ เมื่อกระทำแสงสว่างนั้นให้ปรากฏดีแล้ว ชื่อว่า ย่อมให้ซึ่งดวงตาเพราะกระทำกิจ คือการเห็นฉันใด พระตถาคตเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อทรงกำจัดความมืดคือโมหะ แก่ผู้ที่ตั้งอยู่ในที่ไกลจากธรรมกายของพระองค์ คือผู้ที่มีอธิการยังไม่ได้กระทำไว้ ด้วยแสงสว่าง คือ ปัญญา แล้วทรงยังความเสมอและไม่เสมอ ความเสมอทางกาย และความไม่เสมอทางกาย เป็นต้น ให้แจ่มแจ้ง ชื่อว่า ย่อมให้แสงสว่าง. แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในที่ใกล้เมื่อมอบธรรมจักษุให้แก่ผู้มีอธิการอันกระทำแล้ว ชื่อว่าย่อมให้ซึ่งดวงตา


อรรถกถาอัคคัญญสูตร15
       (พระสูตรเรื่อง วาเสฏฐะภารทวาชะ)
    "...คำว่า ธมฺกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึงได้รับขนานนามว่าธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกด้วยพระหทัยแล้ว ทรงนำออกแสดงด้วยพระวาจา. ด้วยเหตุนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคจึงจัดเป็นธรรมแท้ เพราะสำเร็จด้วยธรรม. พระธรรมเป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้นดังพรรณนามานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่าเป็นธรรมกาย. ชื่อว่าพรหมกายเพราะมีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริงพระธรรมท่านเรียกพรหมกายเพราะเป็นของประเสริฐ. บทว่า ธมฺมภูโต ได้แก่ ภาวะธรรม. ชื่อว่าพรหมภูตเพราะเป็นผู้เกิดจากพระธรรมนั่นเอง..."


อรรถกถาวักกลิสูตร16
       (พระสูตรว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า)
      "...ในบทว่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ นี้ พึงทราบอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมกายที่ตรัสไว้ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธรรมกายแลคือพระตถาคต ความจริงโลกุตรธรรม 9 อย่าง (มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1) ชื่อว่า พระกายของพระตถาคต..." ความตอนนี้มีเชิงอรรถตอนท้ายว่า "ยังสงสัยจะเป็น พระนาคเสนกล่าวหรือเปล่า "


อรรถกถาโลภสูตร17
       (พระสูตรว่าด้วยละโลภะได้เป็นพระอนาคามี)
    "...อนึ่ง ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ด้วยบทว่า ภควตา นี้ ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อันไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 และพระเกตุมาลามีรัศมีแผ่ไปได้ประมาณ 1 วา ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ชื่อว่า ทรงบุญลักษณะไว้ตั้ง 100 เพราะทรงมีบุญสมภารที่ทรงสั่งสมไว้หลายอสงไขยกัป ด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงคายภาคยธรรมได้แล้ว. ด้วยบทว่า อรหตา นี้ ท่านแสดงถึง ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกายที่เป็นอจินไตย อาทิ พลญาณ 10 เวสารัชชญาณ 4 อสาธารณญาณ 6 และอาเวณิกพุทธธรรม (ธรรมเฉพาะพระพุทธเจ้า) 18 เพราะแสดงการบรรลุสัพพัญุตญาณมีการสิ้นอาสวะเป็นปทัฏฐาน โดยการแสดงการละกิเลสที่ไม่มีส่วนเหลือ..."


อรรถกถานาคิตเถรคาถา18
      (พระสูตรว่าด้วยคาถาของพระนาคิตเถระ)
     "...เรานั่งอยู่ในโรงอันกว้างใหญ่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระผู้เป็นนายกของโลก ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้บรรลุพลธรรม แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ภิกษุสงฆ์ประมาณหนึ่งแสน ผู้บรรลุวิชชา 3 ได้อภิญญา 6 มีฤทธิ์มาก แวดล้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใครเล่าเห็นแล้วจะไม่เลื่อมใสในมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลก ไม่มีอะไรเปรียบ ในพระญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด ใครได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณไม่สิ้นสุดแล้ว จะไม่เลื่อมใสเล่า ชนทั้งหลายไม่สามารถเพื่อกำจัด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ทรงแสดงธรรมกาย และผู้เป็นบ่อเกิดแห่งพระรัตนตรัยอย่างเดียวได้ ใครเล่าเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้วจะไม่เลื่อมใส..."


อรรถกถาเสนกเถรคาถา19
      (พระสูตรว่าด้วยคาถาของพระเสนกเถระ)
     "...ชื่อว่า ผู้ทรงมีการเห็นหาผู้เปรียบปานมิได้ มีผู้พระรูปกายอันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะอันประเสริฐ 32 และอนุพยัญชนะ 80 เป็นต้น และเพราะมีพระธรรมกายอันประดับด้วยคุณ มีทศพลญาณและจตุเวสารัชชญาณ เป็นต้น และมีทัสสนะอันชาวโลกทั้งสิ้นจะพึงประมาณมิได้ และเพราะมีทัสสนะหาผู้เสมอเหมือนมิได้..."


อรรถกถาสรภังคเถรคาถา20
      (พระสูตรว่าด้วยคาถาของพระสรภังคเถระ)
     "...บทว่า ธมฺมภูเตหิ ได้แก่ มีธรรมเป็นสภาวะ เพราะเป็นธรรมกาย คือเกิดจาก โลกุตรธรรม 9 หรือบรรลุธรรม...

     ...บทว่า นิวตฺตเต มีวาจาประกอบความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีธรรมกายทรงแสดงธรรมนี้ว่า เมื่ออริยมรรคภาวนามีอยู่ ทุกข์มีชาติ เป็นต้น อันหาที่สุดมิได้ คือไม่มีที่สุดย่อมไม่เป็นไปในสงสารนี้ คือ ย่อมขาดสูญ ความที่ทุกข์ขาดสูญนั้น เป็นนิโรธ..."


อรรถกถาปัจเจกพุทธาปทาน21
      (พระสูตรว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า)
      "...ถามว่า ท่านเป็นอย่างไร ตอบว่า ท่านเป็นผู้มีธรรมยิ่งใหญ่ คือ มีบุญสมภารใหญ่อันได้บำเพ็ญมาแล้ว มีธรรมกายมาก คือมี ภาวธรรมไม่ใช่น้อยเป็นร่างกาย..."


อรรถกถาพุทธวงศ์ อัพภันตรนิทาน พรรณารัตนจังกมนกัณฑ์22
    "...บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติคือรูปกายและธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ว่า

     พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระรูป ในศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติทรงเสมอกับพระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรมจักร..."


อรรถกถาพรหมชาลสูตร23
     "...ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงธรรมตามที่ได้ ดับมา ชื่อว่า ย่อมกระทำพระธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์. ด้วยคำนั้นท่านย่อมยังประชาชนผู้กระวนกระวาย เพราะไม่ได้เห็นพระศาสดาให้เบาใจว่า ปาพจน์ คือ พระธรรมวินัยนี้ มีพระศาสดาล่วงไปแล้ว หามิได้พระธรรมกายนี้ เป็นพระศาสดาของท่านทั้งหลาย ดังนี้..."


อรรถกถาจวมานสูตร24
      (พระสูตรว่าด้วยเทวดาจุติมีนิมิต 5 ประการ)

      "...บทว่า ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺเมวินเย ความว่า ในคำสอนที่สงเคราะห์ด้วยสิกขา 3 ที่พระตถาคต คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.

      เพราะว่า คำสอนนั้น ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะชื่อว่า ธรรม เหตุที่ไม่ปราศไปจากธรรม และชื่อว่า วินัย เพราะฝึกเวไนยสัตว์ ตามสมควรแก่กิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่าธรรมวินัย เพราะแนะนำผู้มีกำเนิดแห่งบุคคล ผู้มีนัยน์ตามีธุลีน้อย ที่ชื่อว่า เป็นธรรม เพราะไม่ปราศไปจากธรรม เหตุที่ มบูรณ์ไปด้วยอุปนิสัย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะฝึกด้วยธรรมอย่างเดียว ไม่ใช่ฝึกด้วยท่อนไม้และศาสตรา. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะการฝึกนั้นประกอบด้วยธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะนำเข้าไปหาธรรม เพื่อมรรคผล และนิพพานตามลำดับ อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะเป็นเครื่องแนะนำที่เป็นไปแล้ว โดยธรรม มีมหากรุณาและพระสัพพัญุตญาณ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะพระธรรม เป็นเครื่องนำเข้าไปหาธรรม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นองค์ธรรม เป็นธรรมกาย เป็นธรรมสวามี ไม่ใช่นำเข้าไปหา ธรรมของนักตรรกวิทยาทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะเป็นเครื่องแนะนำที่เป็นไปแล้วโดยธรรมคือ มรรคผลหรือในธรรม อันเป็นวินัย ที่จะพึงให้สำเร็จ ในพระธรรมวินัยนั้น..."


ปกิณกกถา25
      "...อีกอย่างหนึ่ง บารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ. หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส. หรือบารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจรู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษ คือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีล เป็นต้น อื่นไว้ในสันดานของตนอย่างยิ่ง.หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจากธรรมกายอันเป็นอัตตา. หรือหมู่โจรคือกิเล อันทำความพินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปรมะ.สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะ ดังกล่าวมานี้สัตว์นั้นชื่อว่า มหาสัตว์ คำเป็นต้นว่า ปรมสฺส อยํ ดังนี้ ก็พึงประกอบตามนัย ที่กล่าวมาแล้ว หรือบารมีย่อมขัดเกลาคือย่อมบริสุทธิ์ในฝังคือพระนิพพาน และยังสัตว์ทั้งหลายให้หมดจด หรือบารมีย่อมผูกย่อมประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมไป ย่อมถึงย่อมบรรลุถึงพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมตักตวงซัดสัตว์ไว้ในพระนิพพานนั้น. หรือบารมีย่อมกำจัดข้าศึกคือกิเลสของสัตว์ทั้งหลายไว้ในพระนิพพานนั้น..."

 

 


1  พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย อุทาน เล่มที่ 1 ภาคที่3.(หน้า 557558)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2526.

2 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ 1 ภาคที่่ 4.(หน้า 583)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

3 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 4.(หน้า 4849)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

4 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายสุตตนิบาต เล่มที่ 1 ภาคที่่ 5 และอรรถกถา.(หน้า 8485)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2528.

5 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 4.(หน้า 248249)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

6 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 3.ตอนที่ 1 (หน้า 237)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

7 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 3.ตอนที่ 1 (หน้า 441)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

8 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ 1 ภาคที่่ 4.(หน้า 559)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

9 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 1 ภาคที่่ 1 มหาวิภังค์ ปฐมภาค และ อรรถกถา.(หน้า 209)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2527.

10 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่มที่ 1.(หน้า 149)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

11 พระพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิเทศ เล่มที่ 5 ภาคที่่ 1.(หน้า 701)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2528.

12 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย อุทาน เล่มที่ 1 ภาคที่่ 3.(หน้า 142-143)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2526.

13 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่มที่ 1 ภาคที่่ 1.(หน้า 412)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

14 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 3.ตอนที่ 1.(หน้า 70)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

15 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่มที่ 3 ภาคที่่ 1.(หน้า 176)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

16 พระสูตร และ อรรถกถา แปลสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่มที่ 3 ภาคที่่ 1. (หน้า 263)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

17 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ 1 ภาคที่่ 4.(หน้า 22)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

18 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 3.ตอนที่ 1.(หน้า 403)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

19 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 3.ตอนที่ 3.(หน้า 33-34)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2527.

20 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่มที่ 2 ภาคที่่ 3.ตอนที่ 3.(274-275)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2527.

21 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย อปาทาน เล่มที่ 8 ภาคที่่ 1.(หน้า 393)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2528.

22 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เถรีคาถา เล่มที่ 9 ภาคที่ 2.(หน้า 122)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2527.

23 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ทีฆนิกายสีลขันธวรรค เล่มที่ 1 ภาคที่่ 1.(หน้า 127)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

24 พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เล่มที่ 1 ภาคที่่ 4.(หน้า 507-508)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

25  พระสูตร และ อรรถกถา แปล ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่มที่ 9 ภาคที่3.(หน้า 571)  มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมป, 2525.

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.013459785779317 Mins