ธรรมกายในฎีกา

วันที่ 14 มิย. พ.ศ.2560

ธรรมกายในฎีกา

     ในฎีกาพระวินัยที่ชื่อว่าสารัตถทีปนี ได้มีการกล่าวถึง "ธรรมกาย" ปรากฏอยู่ในฉบับภาษาบาลีอยู่ประมาณ 6 แห่งด้วยกัน ซึ่งในฉบับภาษาไทยมีผู้แปลพิมพ์เผยแพร่ออกมาแล้วคืออาจารย์สิริ เพ็ชรไชย แต่จนถึงเมษายน 2542 ยังพิมพ์เผยแพร่ไม่ครบทั้งหมด จึงนำมาอ้างอิงในที่นี้ได้ 5 แห่งคือ

พรรณาตติยสังคีติกถา1
   "...ได้ยินว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อทรงมองดูทางสีหบัญชรตามลำดับที่จะกล่าวถึงต่อไป ได้ทอดพระเนตรเห็นนิโครธสามเณร ผู้ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถดึงดูดนัยน์ตาของชาวเมืองมองดูชั่วแอกทรงเลื่อมใสทรงเกิดความรัก มีความนับถือมาก รับสั่งให้นิมนต์มา แล้วนิมนต์ให้นั่งบนพระกาญจนสิงหาสน์ภายใต้เศวตฉัตร อาราธนาให้ฉัน ทรงเห็นพระธรรมกายของพระทศพลอันปรากฏอยู่ในแว่น คือถ้อยคำของสามเณร ทรงเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ทรงตั้งอยู่ในสรณะและศีลพร้อมด้วยราชบริษัท ตั้งแต่นั้นมา ทรงมีพระราชศรัทธาเพิ่มพูนขึ้น..."


พรรณาเวรัญชกัณฑ์2
     "...บทว่า ตทตฺถปรินิปฺผาทน แปลว่า การที่พระองค์ทรงยังประโยชน์แก่โลกให้สำเร็จอธิบายว่า ทรงยังพุทธกิจให้ถึงพร้อม คำว่าครั้งแรกที่ลุมพินีวัน ครั้งที่ องที่โพธิมณฑล มีความว่า ประสูติด้วยพระรูปกายที่ลุมพินีวัน ประสูติด้วยพระธรรมกายที่โพธิมณฑล ด้วยอาทิศัพท์ว่าเอวมาทินา ท่านอาจารย์ย่อมสงเคราะห์คำมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านพระอุบาลีแสดงการอนุเคราะห์พระรูปกายด้วยคำระบุว่า เวรัญชาแสดงการอนุเคราะห์พระธรรมกายโดยคำระบุว่า นเฬรุปุจิมันทมูละ..."


กถาว่าด้วยพุทธคุณ3
       "...รูปกายสมบัติ ย่อมชื่อว่าเป็นอันแสดงแล้ว เพราะความเป็นมูลและความเป็นที่ตั้งแห่งผลสัมปทา นอกนี้คำว่าย่อมเป็นอันแสดงแล้วนี้พึงประกอบแม้ในธรรมกายสมบัติเป็นต้นในข้อนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ธรรมกายสมบัติชื่อว่า ย่อมเป็นอันแสดงแล้ว เพราะความที่สัมปทาทั้งหลาย มีญาณสัมปทาเป็นต้น เป็นสัมปทาที่มีปหานสัมปทาเป็นเบื้องต้น..."

     "...ความที่พระองค์เป็นผู้อันคฤหัสถ์และบรรพชิตพึงเข้าเฝ้า ก็ความที่พระองค์เป็นผู้ทรงสามารถในอันบำบัดทุกข์ทางกายและทางจิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้เข้าเฝ้าแล้วเหล่านั้นก็เพราะทรงมีอุปการะด้วยอามิ ทานและธรรมทาน บัณฑิตพึงทราบว่า โดยที่ทุกข์ทั้งสองระงับไปได้ เพราะเห็นรูปกายของพระองค์ด้วยปสาทจักษุ เพราะเห็นธรรมกายด้วยปัญญาจักษุ

     พระผู้มีพระภาคย่อมประทานอามิ ทานแก่ผู้ที่เข้าเฝ้าแล้วด้วยความที่ทรงมีภาคยะย่อมประทานธรรมทานด้วยความที่ทรงหักโทสะได้แล้ว..."

      "...และคำว่า พุทธคุณ โดยความหมายก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง เพราะมีพระบาลีว่า ดูกรวาเสฏฐะ คำว่า แม้ธรรมกาย ก็เป็นชื่อของตถาคตแล ดังนี้..."

 

 


1 สารัตถทีปนี ฎีกาพระวินัย ภาค 1. (หน้า 188)  หจก. ทิพยวิสุทธิ์ กรุงเทพ ฯ, 2542.
2 เล่มเดียวกัน หน้า 313.
3 เล่มเดียวกัน หน้า 463, 464 และ 530.


 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014081994692485 Mins