ธรรมกายในจารึกลานทอง

วันที่ 14 มิย. พ.ศ.2560

ธรรมกายในจารึกลานทอง1

พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , ธรรมกายในจารึกลานทอง , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ในปี พ.ศ. 2531 กรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท มเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ

    ขณะที่บูรณะปฏิสังขรณ์ พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณประจำรัชกาลที่ 1 และพระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขารประจำรัชกาลที่ 3 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2531 เวลาประมาณ 08.15 น. ช่างที่กำลัง กัดผิวกระเบื้องเคลือบชั้นนอกขององค์พระมหาเจดีย์ทั้งสองพบว่า บริเวณใกล้หอระฆังด้านทิศเหนือ มีโพรงลึกเข้าไปในองค์พระมหาเจดีย์ ซึ่งภายในนั้น มีห้องกรุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โบราณวัตถุล้ำค่าต่าง ๆ พระพุทธรูป และจารึกลานทองเกี่ยวกับพระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา

    จารึกลานทองนี้ จารึกด้วยอักษรขอมเป็นภาษาบาลีและภาษาไทย หนึ่งในนั้นมีเรื่อง "พระธรรมกาย" อยู่ด้วย โดยคำแปลซึ่งนายเทิม มีเต็ม เป็นผู้จำลองอักษรจารึก อ่านถ่ายทอดอักษร และนายเกษียร มะปะโม เป็นผู้เรียงคำจารึกใหม่ แปลและอธิบายศัพท์มีรายละเอียดดังนี้

     "ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระรัตนตรัย

   เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงเกิดมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอายตนะ 6 เพราะอายตนะ 6 เป็นปัจจัยจึงเกิดมีผัสะ เพราะผัสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงเกิดมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสะ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั้น เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยดังกล่าว

   อีกส่วนหนึ่งเพราะอวิชชาดับ นิทไม่เหลือ ปราศจากราคะ คือ ความกำหนัดสังขารจึงดับ เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับอายตนะ 6 จึงดับ เพราะอายตนะ 6 ดับผัสะจึงดับ เพราะผัสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับอุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสะจึงดับ เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลล้วนดับตามเหตุปัจจัยดังกล่าว

    เราเที่ยวแสวงหานายช่างทำบ้านเรือน (ตัณหา) เมื่อไม่พบ จึงต้องท่องเที่ยวไปในสงสารหลายชาติไม่น้อย ชาติ (ความเกิด) บ่อย ๆ นำทุกข์มาให้ นายช่างเอ๋ย (บัดนี้) เราได้พบท่านแล้ว ท่านจักสร้างบ้านเรือนต่อไปอีกไม่ได้ เพราะเราได้หักทำลายรื้อโครงและยอดบ้านเรือนของท่านกระจัดกระจายหมดสิ้นแล้ว จิตของเราหมดกิเล เครื่องปรุงแต่งแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว

   **พระเศียร หมายถึง พระสัพพัญุตญาณ พระเกศา หมายถึง อารมณ์พระนิพพานพระลลาตหรือพระนลาฏ หมายถึง จตุตถฌาณ พระอุณาโลม หมายถึงสมาบัติ ญาณเพชร พระภมู (พระขนง) ทั้งสอง หมายถึง นีลกสิณ พระจักษุทั้งสอง หมายถึง ทิพพจักษุ ปัญญา จักษุ มันตจักษุ พุทธจักษุ และธรรมจักษุ พระโ ตทั้งสอง หมายถึง ทิพพโสตญาณ พระฆานะ หมายถึงโคตรภูญาณ พระปรางทั้งสอง หมายถึง มรรคญาณผล ญาณ และวิมุตติญาณ พระโอษฐ์ (ริมพระโอษฐ์) ทั้งสอง หมายถึง โลกิยฌานและโลกุตรฌาน พระทนต์ หมายถึง โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ พระเขี้ยวแก้วทั้ง 4 หมายถึง มรรคญาณ 4 พระศอ หมายถึงสัจจญาณ 4 การเอี้ยว พระศอทอดพระเนตรดู หมายถึง พระไตรลักษณญาณ พระพาหาทั้ง 2 หมายถึง เวสารัชชญาณ 4 พระองคุลีทั้ง 8 หมายถึง อนุ ติญาณ 10 พระอุระ หมายถึงสัมโพชฌงค์ 7 พระถันทั้ง 2 หมายถึงอา ยานุสยญาณ พระอวัยวะส่วนกลาง หมายถึง พลญาณ 10 พระนาภี หมายถึง ปฏิจจ มุปบาท พระชฆนะ หมายถึง อินทรีย์ 5 พละ 5 พระอุรุทั้ง 2 หมายถึงสัมมัปปธาน 4 พระชงฆ์ทั้ง 2 หมายถึง กุศลกรรมบถ 10 พระบาททั้ง 2 หมายถึง อิทธิบาท 4สังฆาฏิ (ผ้าสำหรับห่มซ้อน) หมายถึง ศีลและสมาธิ จีวรสำหรับห่มปกปิดกล่าวคือ ผ้าบังสุกุล หมายถึง หิริและโอตตัปปะ ผ้าอันตรวาสก (ผ้าสำหรับนุ่ง) หมายถึงมรรค 8 ประคตเอว หมายถึง ติปัฏฐาน 4

    เพราะสาเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระอวัยวะทุกส่วนสูงสุด ประกอบด้วยสัพพัญุตญาณ ที่รู้กันว่าพระธรรมกาย ไม่มีใครจะเป็นผู้นำชาวโลกได้เท่า ทรงรุ่งโรจน์กว่าเทวดาและมนุษย์เหล่าอื่น (ดังนั้น) พระโยคาวจรผู้มีญาณแก่กล้าเมื่อปรารถนาจะเป็นพระสัพพัญูพุทธเจ้า พึงระลึกถึงบ่อย ๆ ซึ่งพุทธลักษณะคือ พระธรรมกายว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระองค์ใด) ทรงมีพระวรกายสูง 12 ศอก มีพระมงกุฎ (เครื่องประดับศีรษะ) ที่มีแสงสว่างดุจเปลวไฟพุ่งสูงขึ้นไปตลอดกาลเป็นนิจถึง 6 ศอก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นจึงชื่อว่าสูงได้ 18 ศอก"

   จะเห็นได้ว่า ในจารึกเรื่องพระธรรมกายนี้ส่วนหนึ่งมีข้อความคล้ายคลึงกับในศิลาจารึกเรื่องพระธรรมกาย สมัยกรุงสุโขทัย ดังที่นำเสนอไปแล้ว และข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งคือท่านได้กล่าวถึง "ส่วนสูงของพระธรรมกาย" แสดงว่าคำสอนของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำและเหล่าศิษย์เกี่ยวกับ "การวัดมิติของพระธรรมกาย" นั้น ไม่ใช่สิ่งที่นอกเหนือจากตำราอย่างที่หลายท่านเข้าใจ และมีความเข้ากันได้กับหลักฐานทางเถรวาท อันเป็นเรื่องที่ไม่ควรดูหมิ่นนักปฏิบัติธรรม เพราะอาจหมายถึงดูหมิ่นสติปัญญาของตนเอง ทางที่ดีแล้วควรศึกษาค้นคว้าทั้งทางปริยัติและปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปมากกว่า

  สำหรับต้นฉบับจารึกลานทองนี้ ปัจจุบันจัดตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

 


1 รัตนวลี (นามแฝง). "จารึกลานทองพระธรรมกาย ในพระมหาเจดีย์ ประจำรัชกาลที่ 1."
วารสารกัลยาณมิตร ปีที่ 14 ฉบับที่ 160 เมษายน 2542 หน้า 19-26.

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011866529782613 Mins