ประเพณีที่ควรทราบ

วันที่ 23 มิย. พ.ศ.2560

ประเพณีที่ควรทราบ

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , ประเพณีที่ควรทราบ

     วัด เป็นที่รวมของคนหลายประเภท ซึ่งมีความแตกต่างกันมากทั้งในด้านอายุ ฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจนอุปนิสัยใจคอ ดังนั้น โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังตนอย่างยิ่งเพื่อจะได้บุญเต็มที่ ดังนั้นเมื่อเดินทางมาถึงวัดแล้วพึงปฏิบัติดังนี้

- สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อรักษากาย วาจาใจ ของเราให้เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญซึ่งจะบังเกิดขึ้น

- งดดื่มสุราสูบบุหรี่ หรือเคี้ยวหมาก เด็ดขาด

- เมื่อไปถึงศาลาหรือสถานที่ที่จัดไว้ต้อนรับ ควรนั่งให้เป็นระเบียบ ท่านชายนั่งแถบหนึ่งท่านหญิงนั่งอีกแถบหนึ่ง ไม่ปะปนกัน

- ในการประกอบศาสนพิธี เช่นสวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่งเสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อก่อให้เกิดปีติ และเป็นการแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยวาจา

- ศึกษาระเบียบต่าง ๆ ภายในวัดจากเจ้าหน้าที่ของวัด เช่น การให้ทาน จะได้ทราบว่ามีการตั้งมูลนิธิอะไรบ้าง มีการเทศน์วันใด เวลาใดบ้าง เป็นต้น

- ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบประเพณี และวันธรรมอันดีงามต่าง ๆ

- สิ่งใดที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน หิวกระหาย กิริยาอาการทีไม่เหมาะสมของบุคคลบางกลุ่ม การไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ฯลฯ ขอจงพยายามอดทนเพื่อเพิ่มขันติบารมี และแผ่เมตตาให้ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ควบคุมโทสะอย่าให้เกิดขึ้นได้

1. การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย
       พระรัตนตรัยมีพระคุณต่อสัตว์โลกมากจนสุดจะประมาณ เป็นเอกลักษณ์ของวิญูชนผู้รุ่งเรืองด้วยสติปัญญา เป็นสัมมาทิฏฐิ ผู้แสดงความเคารพพระรัตนตรัย นอกจากจะทำให้มีจิตใจแจ่มใสชุ่มชื่นเบิกบานยิ่งขึ้นแล้ว ยังมีส่วนทำให้ผู้พบเห็นพลอยปลาบปลื้มปีติตามอีกด้วยดังนั้น ทุกคนจึงควรฝึกตนให้สามารถแสดงความเคารพพระรัตนตรัยให้ถูกต้อง งดงาม ตามกาลเทศะอันควร

          การแสดงความเคารพพระรัตนตรัยสามารถทำได้หลายวิธี ตามโอกาสดังนี้

       1) การประนมมือ (อัญชลี) หมายถึง การกระพุ่มมือทั้งสองประนมหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเสมอด้วยดวงใจจัดเป็นการแสดงความเคารพทั่ว ๆ ไป ใช้ในขณะนั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ฟังเทศน์ รับพรพระสนทนากับพระภิกษุ ทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น ยกมือทั้งสองขึ้นให้ฝ่ามือประกบกัน นิ้วทุกนิ้วแนบชิด นิทกัน ปลายนิ้วชี้ขึ้นเบื้องบนกระพุ่มมือทำเป็นรูปดอกบัวตูม (แต่อย่าให้ปุ้มหรือแบนเกินไป) ตั้งกระพุ่มมือนี้ไว้หว่างอกสูงในระดับ ทำมุม 45 องศากับอกตนเอง ปลายนิ้วทุกนิ้วเหยียดตรง ศอกทั้งสองแนบชิดชายโครงไม่เกร็งข้อมือสวางท่าสบาย ๆ

      2) การไหว้ (นมัสการหรือวันทา) หมายถึง การยกกระพุ่มมือที่ประนมแล้วนั้นขึ้นจรดหน้าผาก เป็นการแสดงความเคารพที่สูงขึ้นไป คือ เคารพเสมอด้วยเศียรเกล้า ควรทำในกรณีที่พระสงฆ์นั่งบนเก้าอี้ ยืนอยู่ เดินผ่าน หรือเดินสวนทางกัน ขณะรับหรือส่งสิ่งของถวายท่าน เป็นต้น

     ให้ประนมมือขึ้นก่อนแล้วยกกระพุ่มมือนั้นสูงขึ้นเสมอหน้า โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรดไรผม พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อยพองาม แล้วลดมือลง ทำอย่างนี้เพียงครั้งเดียว เวลายกมือขึ้น และลดมือลงขณะไหว้ อย่าทำให้เร็วนัก หรือช้านัก ควรทำด้วยอาการละมุนละไมจึงจะงาม

      3) การกราบ (อภิวาท) หมายถึง การหมอบราบลงกับพื้นพร้อมทั้งกระพุ่มมือ เป็นการแสดงความเคารพสูงสุดในบรรดาการแสดงความเคารพที่ปฏิบัติกันอยู่ เป็นการรวมการประนมมือและการไหว้เข้าด้วยกัน การกราบ ใช้ในกรณีเข้าไปแสดงความเคารพต่อหน้าพระพุทธรูป พระธรรมคัมภีร์ พระสงฆ์ เมื่อลาพระสงฆ์กลับ เมื่อประเคนของพระสงฆ์เสร็จแล้ว เป็นต้น

      กราบที่ถูกวิธี ต้องให้ได้หลักซึ่งเรียกว่า เบญจางคประดิษฐ์ คือ กราบให้องค์อวัยวะห้าส่วนจรดพื้น คือเข่า 2 ฝ่ามือ 2 หน้าผาก 1 การกราบนี้มีวิธีปฏิบัติสำหรับหญิงและชายต่างกันอยู่ ดังนี้


วิธีกราบแบบชาย

ท่าเตรียม - นั่งคุกเข่าให้หัวเข่าห่างกันประมาณ 1 คืบ นั่งทับส้นเท้าตั้งฝ่าเท้าทั้งสองขึ้นให้ตรง และชิดกัน ตั้งกายตรง

จังหวะที่ 1 ยกมือทั้งสองขึ้นประนมหว่างอก (ดูท่าประนมมือ)

จังหวะที่ 2 ยกมือที่ประนมแล้วขึ้นเสมอหน้า ไม่น้อมศีรษะลงมารับให้นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว (ดูท่าไหว้) นั่งท่านี้เรียกว่า "นั่งท่าพรหม"

จังหวะที่ 3 หมอบลงกราบ (อภิวาท) โดยลดมือลง ให้มือทั้งสองเรียบลงมาตามลำดับแล้วจึงค่อยยื่นฝ่ามือไปข้างหน้า (ไม่ใช่เสือกไปข้างหน้า) พร้อมทั้งน้อมตัวลง ขณะเดียวกันนั้น

ศอก ให้วางต่อกับเข่าตรงไปข้างหน้า

หน้าผาก ให้วางลงแตะพื้นระหว่างฝ่ามือทั้งสองที่เว้นช่องไว้ กะให้คิ้วอยู่ในระดับปลายนิ้วหัวแม่มือพอดี

ฝ่ามือ ให้วางราบกับพื้น ห่างกันประมาณ 1 ฝ่ามือเพื่อเว้นช่องไว้ให้หน้าผากจรดพื้นได้นิ้วทั้งหมดแนบชิดกัน

หลัง ให้ยืดออกเล็กน้อย กระทั่งแบนราบได้ระดับเดียวกัน อย่าให้หลังโกง เมื่อยกตัวขึ้นมาให้เงยหน้าตั้งตัวตรง เริ่มจังหวะที่ 1-2-3 ใหม่ ติดต่อกันไปจนครบ 3 ครั้ง แล้วให้เงยหน้าทำจังหวะที่ 1-2 อีกครั้งหนึ่ง จึงเสร็จพิธี


วิธีกราบแบบหญิง

ท่าเตรียม - นั่งคุกเข่าราบ โดยเหยียดหลังเท้าราบกับพื้นข้างหลัง ปลายเท้าทั้งสองทับกันเล็กน้อย แล้วนั่งทับลงไปบนฝ่าเท้านั้นส่วนเข่าทั้งสองชิดกัน

จังหวะที่ 1 ยกมือทั้งสองขึ้นประนม (อัญชลี) หว่างอก

จังหวะที่ 2 ยกมือทั้งสองขึ้นเสมอหน้าก้มศีรษะลงมารับเล็กน้อยให้นิ้วหัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว (นมัสการ) นั่งท่านี้ เรียกว่า "นั่งท่าเทพธิดา"

จังหวะที่ 3 หมอบลงกราบ (อภิวาท) โดยลดมือลง ให้มือทั้ง องเรียบลงมาตามลำตัวพร้อมกับค่อย ๆ น้อมตัวลงตามขณะเดียวกันนั้น

ศอก ให้งอพับวางลงขนาบเข่าทั้งสองไว้ ไม่ใช่ต่อเข่าแบบชาย

ฝ่ามือ ให้วางราบกับพื้น ห่างกันประมาณ 1 ฝ่ามือเพื่อเว้นช่องไว้ให้หน้าผากจรดพื้นได้นิ้วทั้งหมดแนบชิดกัน

หน้าผาก ให้วางลงแตะพื้นระหว่างมือทั้งสองที่เว้นช่องไว้ ให้คิ้วอยู่ระดับหัวแม่มือพอดี

หลัง ให้ยืดออกเล็กน้อย ให้แนบราบอยู่ระดับเดียวกัน ไม่โก่งขึ้นมา เมื่อหน้าผากแตะพื้นแล้ว ให้เงยหน้าตั้งตัวให้ตรง เริ่มจังหวะที่ 123 ใหม่ ติดต่อกันไปจนกราบครบ 3 ครั้ง แล้วให้เงยหน้าทำจังหวะที่ 1 และจังหวะที่ 2 อีกครั้ง จึงเสร็จพิธี


ข้อควรจำ

- ในการกราบ อวัยวะทุกส่วนต้องสัมพันธ์กัน ทำได้ถูกจังหวะ ไม่เก้ ๆ กัง ๆ และไม่ขาดตอน จึงจะดูเป็นระเบียบและงามตา

- แต่ละจังหวะไม่เร็วนัก ไม่ช้านัก เป็นจังหวะติดต่อกันพอดี ๆ

- ต้องฝึกหัดทำจากผู้รู้ ดูจากผู้ชำนาญ แล้วฝึกฝนทำด้วยตนเอง จึงจะคล่องแคล่วไม่เคอะเขิน

- เวลากราบพร้อม ๆ กันหลาย ๆ คน ต้องคอยชำเลืองดูทำให้พร้อมกันทุกจังหวะ จึงจะดูเรียบร้อยงดงาม ก่อให้เกิดศรัทธาแก่ผู้พบเห็น


2. การแสดงความเคารพพระภิกษุสงฆ์
       พระภิกษุสงฆ์ ดำรงอยู่ในฐานะดังต่อไปนี้ คือ

- เป็นผู้รักษาและสืบทอดพระพุทธศาสนาไว้ ด้วยการศึกษาเล่าเรียน ทรงจำศาสนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้มิให้เสื่อมสูญ

- เป็นผู้นำเอาคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเทศนาอบรมสั่งสอนชาวพุทธให้ทราบว่าสิ่งใดควรละเว้นสิ่งใดดีควรกระทำสอนให้รู้จักว่าอะไรเป็นบาป อะไรเป็นบุญ ชักจูงให้ชาวพุทธเลิกละจากความไม่ดี ความบาปหยาบช้า เกิดความยินดีพอใจในการทำความดี ทำการบุญการกุศล

- เป็นทั้งผู้นำและแบบอย่างแห่งความประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     พระภิกษุสงฆ์จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นปูชนียบุคคล และเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม ที่พุทธศาสนิกชนชายหญิงทั้งหลายสมควรให้ความเคารพสักการะบูชา กราบไหว้ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ด้วยการแสดงความเคารพต่อพระภิกษุสงฆ์ ดังเช่นที่วิญูชนพึงปฏิบัติกัน ดังนี้

1) การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์
      การลุกขึ้นยืนรับพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติต่อพระสงฆ์ ดังเช่น เมื่อพระเถระผู้ใหญ่เดินมาถึงสถานที่พิธีงานนั้น ๆ คฤหัสถ์ชายหญิงที่นั่งอยู่ ณ สถานที่นั้น จะปฏิบัติดังนี้

1) ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านตรงหน้าจึงน้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงนั่งลงตามเดิม

2) ถ้าฆราวาสชายหญิงนั่งอยู่กับพื้น ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า จึงยกมือไหว้ หรือกราบ ตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น

3)สำหรับท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงาน นิยมคอยรอรับพระสงฆ์ที่นิมนต์มาประกอบพิธีในงานนั้น เมื่อพระสงฆ์มาถึงจึงนิมนต์ และนำท่านไปยังสถานที่ที่จัดไว้รับรอง


2) การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์
      การให้ที่นั่งแก่พระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพเอื้อเฟื้อแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา ดังนี้

1) เมื่อพระสงฆ์มาในงานพิธีนั้น ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ นิยมให้พระสงฆ์นั่งเก้าอี้แถวหน้า

2) คฤหัสถ์ชาย ถ้าจำเป็นจะต้องนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระสงฆ์ นิยมนั่งเก้าอี้ด้านซ้ายของพระสงฆ์

3)สำหรับสตรี ไม่ควรนั่งเก้าอี้แถวเดียว หรือนั่งอาสนะยาวผืนเดียวกับพระสงฆ์ เว้นแต่มีสุภาพบุรุษนั่งคั่นระหว่างกลาง

4) ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้น จัดให้นั่งกับพื้น นิยมจัดอา นะสงฆ์ไว้เป็นส่วนต่างหาก จากอาสนะที่คฤหัสถ์ชายหญิงนั่ง เช่น ปูพรมผืนใหญ่เต็มห้อง เป็นต้น นิยมปูลาดอา นะเล็กบนพรมผืนใหญ่อีกชั้นหนึ่งสำหรับเป็นที่นั่งของพระสงฆ์แต่ละรูป


3) การตามส่งพระสงฆ์
     การตามส่งพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์อีกประการหนึ่งซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา

     เมื่อพระเถระผู้ใหญ่ หรือพระสงฆ์ที่นิมนต์มาในงานพิธีนั้นจะกลับ คฤหัสถ์ชายหญิงพึงปฏิบัติดังนี้

1) ถ้านั่งเก้าอี้ นิยมลุกขึ้นยืนส่งท่าน เมื่อท่านเดินผ่านเฉพาะหน้า จึงน้อมตัวลงยกมือไหว้

2) ถ้านั่งอยู่กับพื้น ไม่ต้องยืนส่ง เมื่อท่านเดินผ่านเฉพาะหน้าจึงกราบหรือยกมือไหว้ตามควรแก่กรณี

3) สำหรับท่านผู้เป็นประธานพิธี หรือเจ้าภาพงาน ควรเดินตามไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงาน หรือจนกว่าท่านจะขึ้นรถออกพ้นจากบริเวณงานไปแล้ว และก่อนที่ท่านจะจากไปควรน้อมตัวลงยกมือไหว้ เป็นการแสดงความเคารพส่งท่านอีกครั้งหนึ่ง


4) การหลีกทางให้พระ
      การหลีกทางให้แก่พระสงฆ์ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพเอื้อเฟื้อแก่พระสงฆ์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งชาวพุทธนิยมปฏิบัติกันสืบมา

4.1) วิธีปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์เดินตามมาข้างหลัง
       ถ้าพระสงฆ์เดินมาข้างหลัง คฤหัสถ์ชายหญิงเดินไปข้างหน้ารู้สึกตัวว่า มีพระสงฆ์เดินตามมาข้างหลัง นิยมปฏิบัติดังนี้

1) หลีกเข้าชิดข้างทางซ้ายมือของพระสงฆ์

2) ยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานไว้ข้างหน้า หันมาทางท่าน

3) เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้

4) ถ้าท่านพูดด้วย นิยมประนมมือพูดกับท่าน

5) ถ้าท่านมิได้พูดด้วย เมื่อยกมือไหว้แล้ว มือทั้งสองห้อยประสานกันไว้ข้างหน้ามองดูท่านจนเดินเลยไปจึงค่อยเดินตามหลังท่านไป

4.2) วิธีปฏิบัติเมื่อเดินสวนทางกับพระสงฆ์
        ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิงเดินสวนทางกับพระสงฆ์ นิยมปฏิบัติดังนี้

1) หลีกเข้าชิดข้างทางด้านซ้ายมือของพระสงฆ์

2) ยืนตรง มือทั้งสองห้อยประสานไว้ข้างหน้า หันหน้ามาทางท่าน

3) เมื่อพระสงฆ์เดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ หรือนั่งกระหย่งยกมือไหว้ ตามควรแก่กาลเทศะและบุคคล

4) ถ้าท่านพูดด้วย นิยมประนมมือพูดกับท่าน

5) ถ้าท่านมิได้พูดด้วย เมื่อยกมือไหว้แล้ว ก็ลดมือลงห้อยประสานกันไว้ข้างหน้ามองดูท่านจนกว่าจะผ่านเลยไป จึงเดินไปตามปกติ


5) วิธีปฏิบัติเมื่อพบพระสงฆ์ยืนอยู่
        ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิง เดินไปพบพระสงฆ์ยืนอยู่ นิยมปฏิบัติดังนี้

1) หยุดยืนตรง
2) น้อมตัวลงยกมือไหว้
3) ถ้าท่านพูดด้วย ประนมมือพูดกับท่าน
4) เดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์


6) วิธีปฏิบัติเมื่อพบพระสงฆ์นั่งอยู่
       ถ้าคฤหัสถ์ชายหญิง เดินไปพบพระสงฆ์นั่งอยู่ นิยมปฏิบัติดังนี้

1) หยุดนั่งลง ถ้าพื้นที่นั่งสะอาด นิยมนั่งคุกเข่า หรือนั่งพับเพียบ ถ้าพื้นไม่สะอาด นิยมนั่งกระหย่ง
2) น้อมตัวลงยกมือไหว้
3) ถ้าท่านพูดด้วย ประนมมือพูดกับท่าน
4) ลุกขึ้นเดินหลีกไปทางซ้ายของพระสงฆ์
5) ถ้าพระสงฆ์อยู่ที่กลางแจ้ง มีเงาปรากฏอยู่ คฤหัสถ์ชายหญิงไม่ควรเดินเหยียบเงาของพระสงฆ์ ควรเดินหลีกไปเสียอีกทางหนึ่ง


7) วิธีเดินตามหลังพระสงฆ์
     การเดินตามหลังพระสงฆ์นี้ เป็นกิริยาอาการแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่งซึ่งชาวพุทธชายหญิงนิยมปฏิบัติกันสืบมา มีวิธีปฏิบัติ ดังนี้

1) เดินตามไปเบื้องหลังของพระสงฆ์ โดยให้เยื้องไปทางซ้ายของท่าน
2) เว้นระยะห่างจากท่านประมาณ 2-3 ก้าว
3) เดินตามท่านไปด้วยกิริยาอาการสำรวมเรียบร้อย
4) ขณะเดินตามท่านอยู่ ไม่นิยมแสดงความเคารพผู้อื่น
5) ไม่นิยมพูดคุยทักทายปราศรัยกับผู้อื่น


3. มารยาทในการเข้าพบพระภิกษุสงฆ์ที่วัด
    การพบปะพระสงฆ์นับเป็นมงคล เพราะได้มีโอกาสสนทนาธรรมอย่างใกล้ชิดกับบัณฑิตแต่ควรดูกาลและโอกาสที่เหมาะสม และควรศึกษาพระวินัยเพื่อจะได้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง ในการไปพบพระภิกษุสงฆ์ที่วัดนั้น ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย และรักษากิริยามารยาททางกาย วาจา ใจไว้อย่างดี นอกจากนั้น ตามประเพณีนิยม ควรเตรียมเครื่องสักการะบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น ใส่พานนำไปถวายเพื่อเป็นเครื่องแ ดงความเคารพบูชาท่านด้วย ถ้าไปก่อนเที่ยง ควรมีภัตตาหารเช้าหรือเพลไปถวายด้วยก็สมควร ถ้าไปหลังเที่ยง ก็ควรนำน้ำปานะหรือน้ำผลไม้ไปถวาย ในกรณีที่จะนิมนต์ท่านไปประกอบพิธีกรรมสิ่งที่ไม่ควรขาด คือ ดอกไม้ ธูป เทียน เพื่อแสดงคารวะต่อท่าน

       เมื่อไปถึงเขตวัด ก่อนเข้าพบ ควรปฏิบัติดังนี้

-ไต่ถามพระภิกษุสงฆ์สามเณร หรือ ศิษย์วัด ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงว่า ท่านอยู่ไหมมีเวลาว่างหรือไม่สมควรจะเข้าพบท่านได้หรือไม่อย่างไร ควรแจ้งความจำนงหรือขออนุญาตก่อนเข้าพบ เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเข้าไปพบท่าน

- ถ้าไม่พบผู้ใดพอจะไต่ถามได้ ควรรอดูจังหวะที่เหมาะที่ควร เฉพาะบุรุษ ควรกระแอมหรือเคาะประตูให้เสียง ก่อนจะเข้าพบท่านขณะท่านอยู่ภายในห้อง เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงเปิดประตูเข้าไปส่วนสตรีไม่นิยมเข้าพบพระภิกษุสงฆ์ภายในห้อง

- ระหว่างรอคอย อย่าส่งเสียงเอะอะรบกวน ควรนั่งอย่างสงบสำรวม เพราะในวัดต้องการความเงียบสงบ

- เมื่อเข้าพบ คอยจนท่านนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงกราบท่านแบบเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง

- เมื่อกราบเสร็จแล้ว นิยมนั่งพับเพียบ ไม่ควรนั่งอา นะเสมอกับพระภิกษุสงฆ์ เช่นนั่งบนเสื่อ หรือพรมผืนเดียวกัน หรือนั่งเก้าอี้เสมอกันกับท่าน เป็นต้น

- กิริยาอาการนั่งพับเพียบ ต้องทำให้ถูกวิธี เช่น เก็บเท้าให้เรียบร้อย ระวังเครื่องนุ่งห่มปกปิดร่างกายให้มิดชิด เป็นต้น

- ขณะที่พระภิกษุสงฆ์อยู่ชั้นล่างกุฏิ คฤหัสถ์ทั้งชายหญิงไม่ควรขึ้นไปชั้นบนของกุฏิตลอดจนไม่เข้าไปในห้องส่วนตัวของท่านด้วย
 
- เวลาที่ดีที่สุดที่ควรพบพระภิกษุสงฆ์ คือ เวลาใกล้เพล


4. การสนทนากับพระภิกษุสงฆ์
      พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติซื่อตรง ประพฤติเพื่อออกไปจากทุกข์ ประพฤติถูกต้อง และเป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ดังนั้น ในขณะสนทนากับพระภิกษุสงฆ์ พึงปฏิบัติดังนี้

- ไม่พูดล้อเล่น ไม่พูดหยาบโลน ไม่เล่าเรื่องส่วนตัว ไม่ยกตัวตีเสมอคล้ายเพื่อน หรือยกตัวสูงกว่า

- ถ้าพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นเป็นพระเถระผู้ใหญ่ ให้ประนมมือพูดกับท่านทุกครั้งที่กราบเรียนท่าน และรับคำพูดของท่าน

- เฉพาะสตรี แม้จะเป็นญาติกับพระภิกษุสงฆ์รูปนั้นก็ตาม ไม่นิยมสนทนาอยู่กับพระภิกษุสงฆ์ องต่อ องทั้งภายในห้องและภายนอกห้อง ทั้งในที่ลับหูและลับตาเพราะผิดพระวินัยพุทธบัญญัติ

- เมื่อเสร็จกิจธุระแล้วให้รีบลากลับ ไม่ควรอยู่นานเกินควรเพราะเป็นการรบกวนเวลาของท่านกราบท่านด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง เมื่อจะลาท่านกลับ


5. การใช้คำพูดกับพระภิกษุสงฆ์ตามระดับสมณศักดิ์

1) สมเด็จพระสังฆราช
2) สมเด็จพระราชาคณะ
3) พระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (รองจากชั้นสมเด็จพระราชาคณะ)
4) พระราชาคณะชั้นธรรม
5) พระราชาคณะชั้นเทพ
6) พระราชาคณะชั้นราช
7) พระราชาคณะชั้นสามัญ
8) รองพระราชาคณะชั้นพระครู และฐานานุกรม

(1) การใช้คำทูลสมเด็จพระสังฆราช ถือหลักการใช้ราชาศัพท์ ฐานันดรศักดิ์ชั้นพระองค์เจ้า เช่น

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , ประเพณีที่ควรทราบ


(2) การใช้คำพูดกับสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะชั้นราชขึ้นไป ถือหลักการใช้คำสุภาพตามฐานานุรูป เช่น

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , ประเพณีที่ควรทราบ


(3) การใช้คำพูดกับพระราชาคณะชั้นสามัญลงมา ถือหลักการใช้คำสุภาพ

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , ประเพณีที่ควรทราบ


(4) การใช้คำพูดกับพระสามัญทั่วไป ถ้าผู้พูดไม่รู้จักกับพระภิกษุรูปนั้น ไม่ทราบว่าท่านมีสมณศักดิ์ชั้นใด นิยมใช้คำพูดสามัญเป็นกลาง ๆ ดังนี้

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , ประเพณีที่ควรทราบ


(5) ถ้อยคำพิเศษที่นิยมใช้เฉพาะแก่พระภิกษุสงฆ์ตามประเพณีนิยมบางคำ

อาตมภาพ            - ข้าพเจ้า (เป็นคำที่พระใช้แทนตัวท่านเอง)

อาราธนา             - เชิญ

อาพาธ               - ป่วย

อาหารบิณฑบาต   - อาหาร

อัฐบริขาร            - ของใช้จำเป็นของพระภิกษุ 8สิ่ง ได้แก่ สบง จีวรสังฆาฏิ ประคด บาตร มีดโกน เข็ม กระบอกกรองน้ำ

อาสนะ               -  ที่นั่ง

อังคาส               - ถวายอาหารพระ เลี้ยงพระ

จังหัน                 - อาหาร

ไทยธรรม            - ของถวาย

คิลานเภสัช          - ยารักษาโรค

เผดียง                - บอกให้รู้ บอกนิมนต์ เชิญ

นิมนต์                -  เชิญ

ฉัน                    - กิน

ประเคน               - ส่งให้ถึงมือ

จตุปัจจัย             - เครื่องยังชีพ 4 อย่างของพระภิกษุ ได้แก่ ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค

โยม                   - ญาติ

ปวารณา              -  เปิดโอกาสให้พระภิกษุสามเณรขอ หรือเรียกร้องบอกกล่าวถึงสิ่งที่ท่านต้องการ จะได้จัดหาให้ท่านหรือทำตาม

มรณภาพ             - ตาย


6. การนิมนต์พระภิกษุสงฆ์
      1) การอาราธนาพระภิกษุสงฆ์ไปประกอบพิธีบุญต่าง ๆ นิยมเรียกว่า นิมนต์ การนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ ควรกระทำเมื่อกำหนดวันประกอบพิธีบุญแน่นอนแล้ว และควรนิมนต์ก่อนวันงานไว้นานพอ มควรหรืออย่างน้อย 7 วัน หากต้องการเจาะจงนิมนต์พระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของมหาชน ควรนิมนต์ล่วงหน้าไว้ก่อนหลาย ๆ เดือนจึงจะไม่พลาดหวัง

      การนิมนต์ จะนิมนต์ด้วยวาจาก็ได้ แต่เพื่อความเหมาะ มและป้องกันการลืม ควรนิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า วางฎีกา ฎีกานั้นควรระบุข้อความโดยย่อ เพื่อกราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ได้ทราบและทั้งจะเป็นความสะดวกแก่ทั้ง 2 ฝ่ายอีกด้วย ดังนี้

1) พิธีบุญนั้นปรารภงานอะไร

2) กำหนดการ เช่น วัน เดือน ปี ตรงกับวันขึ้นหรือแรมอะไร เวลาใด

3) สถานที่

4) จำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่จะนิมนต์

5) การจัดพาหนะรับส่ง จะจัดพาหนะมารับพระภิกษุสงฆ์หรือให้ท่านไปเอง กรณีที่จัดพาหนะมารับ ต้องระบุเวลาที่จะมารับท่านให้ชัดเจนด้วย

6) ต้องการให้พระภิกษุสงฆ์ทำอะไรบ้าง หรือจะให้ท่านนำอะไรไปด้วย เช่น บาตรด้ายสายสิญจน์ พระพุทธรูป หมายเหตุไว้ให้แจ่มชัด

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , ประเพณีที่ควรทราบ


ข้อควรปฏิบัติในการนิมนต์พระภิกษุสงฆ์

1. ถ้านิมนต์ในงานมงคล ใช้คำนิมนต์ว่า อาราธนาเจริญพระพุทธมนต์ถ้านิมนต์ในงานอวมงคล ใช้คำนิมนต์ว่า อาราธนาสวดพระพุทธมนต์

2. ไม่ระบุชื่ออาหารที่จะทำถวาย เพราะถ้าระบุชื่ออาหาร หากไม่มีสมัยที่ได้รับการยกเว้นให้ฉันได้ตามพระวินัยบัญญัติ หรือเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ พระภิกษุสงฆ์รับนิมนต์แล้วฉันอาหารชนิดนั้นผิดวินัย เกิดโทษแก่พระภิกษุสงฆ์ จึงควรใช้คำนิมนต์เป็นคำกลาง ๆ ว่า นิมนต์ฉันภัตตาหาร (หรือเพล) หรือนิมนต์รับอาหาร บิณฑบาตเช้า (หรือเพล) เท่านั้น เป็นต้น

       2) จำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่จะนิมนต์ ไม่กำหนดข้างมาก แต่นิยมกำหนดข้างน้อยไว้เป็นเกณฑ์ คือ อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 4 รูป เพราะถือว่า 4 รูปขึ้นไปครบองค์สงฆ์แล้วส่วนมากในงานมงคลนิยมนิมนต์เป็นจำนวนคี่ คือ 5-7-9 รูป ขึ้นไป ยกเว้นงานมงคลสมรส ซึ่งนิยมนิมนต์จำนวนคู่ เพื่อคู่บ่าวสาวจะได้จัดเครื่องไทยธรรมถวายได้เท่า ๆ กัน งานพิธีหลวงก็นิยมนิมนต์พระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนคู่เช่นกัน กล่าวคือ 10 รูปเป็นพื้นสำหรับงานอวมงคล เช่น งานศพ นิยมนิมนต์พระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนคู่เช่น 4-8-10 เป็นต้น


7. การประเคนของแด่พระภิกษุสงฆ์
      1) การประเคน หมายถึง การมอบให้ด้วยความเคารพ ใช้ปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น มีพระวินัยบัญญัติห้ามพระภิกษุสงฆ์รับ หรือหยิบสิ่งของมาขบฉันเอง โดยไม่มีผู้ประเคนให้ถูกต้องเสียก่อน เพื่อตัดปัญหาเรื่องการถวายแล้วหรือยังไม่ได้ถวาย จึงให้พระภิกษุสงฆ์รับของประเคนเท่านั้น ยกเว้นน้ำเปล่าที่ไม่ผสมสี เช่น น้ำฝน น้ำประปา เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าสิ่งของนั้น ๆ เป็นของจัดไว้ถวายพระภิกษุสงฆ์แน่นอน โดยมีผู้ประเคนเป็นพยานรู้เห็นด้วยผู้หนึ่ง การประเคนของจึงเป็นการสนับสนุนให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้อง

          2) การประเคนที่ถูกต้อง ตามหลักพระวินัย มีลักษณะที่กำหนดไว้ 5 ประการ ดังนี้

1)สิ่งของที่จะประเคนต้องไม่ใหญ่เกินไป ขนาดคนพอมีกำลังปานกลางยกขึ้นได้ ถ้าหนักหรือใหญ่เกินไปไม่ต้องประเคน

2) ผู้ประเคนต้องอยู่ในหัตถบา คือเอามือประสานกันแล้วยื่นไปข้างหน้า ห่างจากพระภิกษุสงฆ์ผู้รับประมาณ 1 ศอก

3) ผู้ประเคนน้อมสิ่งของนั้นส่งให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกิริยาอ่อนน้อม เป็นการเคารพ

4) การน้อมเข้ามานั้น จะส่งให้ด้วยมือก็ได้ ใช้ของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพี หรือช้อนตักอาหารใส่ในบาตรที่ท่านถือ หรือสะพายอยู่ก็ได้

5) ในกรณีผู้ประเคนเป็นชาย พระภิกษุสงฆ์ผู้รับจะรับด้วยมือ ในกรณีผู้ประเคนเป็นหญิงรับด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ผ้าทอดรับ ใช้บาตรรับ ใช้จานรับ

      เมื่อการประเคนได้ลักษณะครบทั้ง 5 ประการนี้ จึงเป็นอันประเคนถูกต้อง ถ้าไม่ได้ลักษณะนี้ เช่น ของนั้นใหญ่และหนักจนยกไม่ขึ้น ผู้ประเคนอยู่นอกหัตถบา หรือผู้ประเคนเสือกของส่งให้ เป็นต้น แม้จะได้ส่งให้พระภิกษุสงฆ์แล้วก็ตาม ก็ชื่อว่ายังไม่ได้ประเคนอยู่นั่นเอง

         3) วิธีประเคนสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์

- ถ้าเป็นชาย ให้นั่งคุกเข่าหน้าพระภิกษุสงฆ์ ห่างจากท่านประมาณ 1 ศอก ยกของที่จะประเคนส่งให้ท่านได้เลย

- ถ้าเป็นหญิง ให้วางของที่จะประเคนลงบนผ้ารับประเคนที่ท่านทอดออกมารับ แล้วปล่อยมือ เพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้หยิบของนั้น

- เมื่อประเคนเสร็จแล้ว ให้กราบ 3 ครั้ง หรือไหว้ 1 ครั้งก็ได้ ถ้าของที่จะประเคนมีมากก็ให้ประเคนของให้หมดเสียก่อน แล้วจึงกราบหรือไหว้ ไม่นิยมกราบหรือไหว้ทุกครั้งที่ประเคน

- ถ้าพระผู้รับประเคนนั่งเก้าอี้หรืออยู่บนอาสนะสูง ผู้ประเคนไม่อาจนั่งประเคนได้ ก็ให้ถอดรองเท้าเสียก่อนแล้วยืนประเคนตามวิธีที่กล่าวแล้ว

- ของที่ประเคนแล้ว ห้ามคฤหัสถ์แตะต้องอีก เป็นเรื่องของพระท่านจะหยิบส่งกันเอง หากไปแตะต้องเข้าโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ของนั้นถือว่าขาดประเคน จะต้องประเคนใหม่

- สิ่งของที่ไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน เช่น กระโถน จาน ช้อน แก้วเปล่า กระดาษ เป็นต้น ไม่นิยมประเคน

     4) สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เงิน และวัตถุที่ใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร ไม่สมควรประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์โดยตรง แต่นิยมใช้ใบปวารณาดังตัวอย่างแทนตัวเงินส่วนตัวเงินนิยมมอบไว้กับไวยาวัจกรของพระภิกษุรูปนั้น

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , ประเพณีที่ควรทราบ

       5) วัตถุอนามาส สิ่งของที่พระพุทธองค์ทรงห้ามพระภิกษุสงฆ์จับต้อง เรียกว่า "วัตถุอนามาส" ห้ามนำไปประเคนถวายพระภิกษุ เพราะผิดวินัยพุทธบัญญัติ ได้แก่

1. ผู้หญิง ทั้งที่เป็นทารกแรกเกิดและผู้ใหญ่ รวมทั้งเครื่องแต่งกาย รูปภาพ รูปปันทุกชนิดของผู้หญิง
2. รัตนะ 10 ประการ คือ ทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์เลี่ยมทอง ศิลา เช่น หยก และโมรา ฯลฯ
3. เครื่องศัสตราวุธทุกชนิด อันเป็นเครื่องทำลายชีวิต
4. เครื่องดักสัตว์ทุกชนิด
5. เครื่องดนตรีทุกชนิด
6. ข้าวเปลือก และผลไม้อันเกิดอยู่กับที่


8. การรับสิ่งของจากพระภิกษุสงฆ์
        ต้องรับด้วยความเคารพ เรียบร้อย อย่าให้กลายเป็นฉุดลาก ยื้อแย่ง หรือข่มขู่พระภิกษุ

1) การรับขณะพระภิกษุยืนอยู่ หรือนั่งบนอาสนะ

- เมื่อเข้าใกล้พอควร ยืนไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองเข้าไปรับ พร้อมกับน้อมตัวลงเล็กน้อยสำหรับท่านชายรับสิ่งของกับมือท่านสำหรับท่านหญิงแบฝ่ามือทั้งสองชิดกัน คอยรองรับสิ่งของ

- เมื่อรับแล้ว ถ้าสิ่งของนั้นเล็ก นิยมน้อมตัวลง ยกมือไหว้ พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือถ้าสิ่งของที่รับนั้นใหญ่ หรือหนัก ไม่ต้องยกมือไหว้ แล้วก้าวเท้าซ้ายถอยหลังออกไป 1 ก้าวชักเท้าขวามาชิด แล้วหันหลังกลับ เดินไปได้

2) การรับขณะพระภิกษุนั่งเก้าอี้

- เมื่อเดินเข้าไปใกล้ประมาณ 2 ก้าวแล้ว นั่งคุกเข่าซ้ายชันเข่าขวาขึ้น น้อมตัวลง ยกมือไหว้ แล้วยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าว

- เมื่อรับสิ่งของแล้ว ถ้าสิ่งของนั้นเล็ก นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ พร้อมกับสิ่งของที่อยู่ในมือถ้าสิ่งของนั้นใหญ่หรือหนัก นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างตัวด้านซ้ายมือ น้อมตัวลงยกมือไหว้ แล้วยกสิ่งของนั้นด้วยมือทั้ง อง ประคองยืนขึ้น ชักเท้าขวากลับมายืนตรง ก้าวเท้าซ้ายถอยหลังไป 1 ก้าว แล้วชักเท้าขวาชิด หันหลังกลับ เดินไปได้

3) การรับขณะพระภิกษุนั่งกับพื้น

- เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม เมื่อถึงบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้ นั่งคุกเข่าแล้วเดินเข่าเข้าไป เมื่อถึงที่ใกล้ประมาณ 1 ศอกเศษ นั่งคุกเข่า กราบ 3 ครั้ง ยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าว

- เมื่อรับสิ่งของแล้ว นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างหน้าด้านขวามือ กราบ 3 ครั้ง แล้วหยิบสิ่งของนั้นด้วยมือทั้ง องประคอง เดินเข่าถอยหลังออกไปจนสุดบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้ แล้วลุกขึ้นยืนเดินกลับไปได้

- กิริยาอาการเดินเข่านั้น นิยมตั้งตัวตรง ถ้าไม่ได้ถือสิ่งของ มือทั้ง องห้อยอยู่ข้างตัวถ้าถือสิ่งของ มือทั้งสอง ประคองสิ่งของยกขึ้นอยู่ระดับอก ศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง

- ขณะเดินเข่า ร่างกายส่วนบนไม่เคลื่อนไหว ไม่ซัดส่าย ไม่โยกโคลงไปมา ไม่เอียงซ้ายไม่เอียงขวา ร่างกายส่วนล่างเท่านั้นที่เคลื่อนไหว และขณะเดินเข่าเข้าไป หรือถอยหลังออกมานั้นนิยมให้ตรงเข้าไปแล้วตรงออกมา


9. การกรวดน้ำและรับพรพระ
      การกรวดน้ำ คือ การรินน้ำหลั่งลงให้เป็นสาย อันเป็นเครื่องหมายแห่งสายน้ำใจอันบริสุทธิ์ ตั้งใจอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ตนได้ทำมาในวันนั้นให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ถ้าผู้ล่วงลับนั้นเป็นผู้มีอาวุโสน้อยกว่า เช่น เป็นบุตร ธิดา เป็นน้อง หรือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ก็ชื่อว่าได้แผ่เมตตากรุณาธรรมของตน ไปสู่ผู้ล่วงลับเหล่านั้น ถ้าเป็นผู้อาวุโสมากกว่า เช่น เป็น บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นพี่ เป็นครูอาจารย์ เป็นต้น ก็ชื่อว่าได้แสดงความกตัญูกตเวทิตาต่อท่านเหล่านั้น

       การรับพรพระ คือ อาการที่เจ้าภาพนอบน้อมทั้งกายและใจรับความปรารถนาดี ที่พระภิกษุตั้งกัลยาณจิตสวดประสิทธิ์ประสาทให้เจ้าภาพรอดพ้นจากอันตรายภัยพิบัติทั้งหลายและเจริญด้วยอายุ วรรณะสุขะ พละ เป็นต้น


วิธีปฏิบัติในการกรวดน้ำ

-น้ำที่ใช้กรวดนั้น นิยมใช้น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน เช่น น้ำประปา น้ำฝน น้ำบ่อ เป็นต้น

- ภาชนะที่ใส่น้ำกรวด ต้องเตรียมล่วงหน้าไว้ให้พร้อม ใส่น้ำให้เต็ม และมีที่รอง หากไม่มีภาชนะสำหรับกรวดน้ำโดยเฉพาะ จะใช้ขันหรือแก้วน้ำแทนก็ได้ ในกรณีนี้ ควรหาจานหรือถาดไว้รองกันน้ำหกด้วย

- เมื่อถวายไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือประธานในพิธีนิยมนั่งกับพื้น ห่างจากพระภิกษุสงฆ์พอสมควร ประคองภาชนะที่ใส่น้ำกรวดด้วยมือทั้งสอง เตรียมกรวดน้ำ

- เมื่อพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าเริ่มอนุโมทนาว่า "ยถา วาริวหา..." พึงรินน้ำให้ไหลลงเป็นสายโดยไม่ให้สายน้ำขาดตอนเป็นหยด ๆ พร้อมทั้งตั้งใจสำรวมจิต อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยนึกในใจดังนี้

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย.

แปลว่า ขอส่วนบุญนั้นจงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุขเถิด.

- คำกรวดน้ำนี้จะใช้แบบอื่นก็ได้ หรือจะนึกคิดเป็นภาษาไทยให้มีความหมายว่า อุทิศส่วนบุญไปให้แก่ผู้นั้น โดยระบุชื่อลงไปด้วยก็ได้

- ถ้าภาชนะที่กรวดน้ำมีปากกว้าง เช่น ขัน หรือ แก้วน้ำนิยมใช้นิ้วชี้มือขวารองรับสายน้ำให้ไหลไปตามนิ้วนั้น เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลลงเปรอะเปอนพื้นหรืออา นะ ถ้าภาชนะปากแคบ เช่น คนโท หรือ ที่กรวดน้ำโดยเฉพาะ ก็ไม่ต้องรอง เพียงใช้มือทั้งสองประคองภาชนะน้ำนั้นรินลง

- เมื่อตั้งใจอุทิศเป็นการส่วนรวมแล้ว จะอุทิศส่วนบุญเฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งต่อก็ได้โดยระบุชื่อบุคคลนั้นลงไปให้ชัดเจน

- เมื่อพระภิกษุรูปที่สองรับว่า "สัพพีติโย....." แล้ว พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดจะอนุโมทนาผู้กรวดน้ำจะหยุดกรวด เทน้ำลงทั้งหมด แล้วประนมมือตั้งใจรับพรซึ่งพระภิกษุสงฆ์กำลังให้ต่อไป

- ขณะที่พระภิกษุสงฆ์กำลังสวดอนุโมทนาอยู่นั้น เจ้าภาพหรือประธานในพิธีไม่ลุกไปทำภารกิจ หรือธุรกิจอย่างอื่นกลางคัน ควรนั่งรับพรไปจนกว่าจะจบ เพราะเวลานั้นเป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์กำลังประสิทธิ์ประสาทพรแก่เจ้าภาพ

- เมื่อพระภิกษุสงฆ์อนุโมทนาจบ จึงกราบหรือไหว้พระภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่ง แล้วนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทที่พื้นดินรดต้นไม้ หรือเทที่พื้นหญ้าภายนอกตัวอาคาร บ้านเรือน เพื่อฝากไว้กับแม่พระธรณีตามคติแต่โบราณ

- การกรวดน้ำ พึงกระทำเมื่อได้บำเพ็ญกุศลหรือความดีอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เช่น ทำบุญใส่บาตร ถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ หรือให้ทานแก่คนยากจน หรือเสีย ละปัจจัยก่อสร้างสาธารณประโยชน์อย่างอื่น แม้จะไม่มีพระภิกษุสงฆ์อนุโมทนาต่อหน้า จะกรวดน้ำคนเดียวเงียบ ๆ หรือกรวดหลังสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนก็ได้

- การกล่าวคำกรวดน้ำที่เป็นภาษาบาลี พึงศึกษาความหมายให้เข้าใจก่อนเป็นดี ไม่ใช่ว่ากันมาอย่างไรก็ว่ากันไปอย่างนั้น โดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง จึงต้องถามท่านผู้รู้หรือศึกษาวิธีการก่อน ทั้งนี้ จะเป็นผลดีแก่ตัวผู้ทำเอง คือ นอกจากจะได้ชื่อว่า ทำถูก ทำเป็นแล้ว ยังจะเกิดประโยชน์ที่ต้องการด้วย

- ข้อควรจำเวลากรวดน้ำ คือ ต้องตั้งใจทำจริง ๆ ไม่ใช่ทำเล่น ๆ หรือทำเป็นเล่น หากว่าภาชนะใส่น้ำกรวดไม่มี หรือมีไม่พอกัน ก็พึงนั่งกรวดในใจนิ่ง ๆ โดยนำใจกรวดอุทิศเลยไม่ควรไปนั่งรวมกลุ่มกันแล้วจับแขน จับขา จับชายผ้า จับข้อศอกกันแล้วกรวดน้ำ มองดูชุลมุนไปหมดไม่งามตา ทั้งไม่เกิดประโยชน์ เพราะจิตใจของผู้กรวดจะไม่ งบเป็นสมาธิซ้ำบางครั้งก็หัวเราะกันคิกคักไปก็มี ต้องกรวดเป็น และตั้งใจกรวดจริง ๆ จึงจะมีผลจริง


10. การยืน เดิน นั่ง ในบริเวณและสถานที่ปฏิบัติธรรม
1) การยืน

      1. การยืนตามลำพัง ควรให้เป็นไปในลักษณะสุภาพสบาย ขาชิด สง่า ไม่หันหน้าหันหลังหรือแกว่งแขนไปมา

       2. การยืนเฉพาะหน้าพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรยืนตรงหน้าท่าน ควรยืนเฉียงไปทางใดทางหนึ่ง อาจทำได้ 2 วิธี คือ

1) ยืนตรง ขาชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้ง องแนบข้าง
2) ยืนค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มือประสาน

การประสานมือทำได้ 2 วิธี คือ

ก) คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้
ข) หงายมือทั้งสอง อดนิ้วเข้าระหว่างร่องนิ้วของแต่ละมือ


2) การเดิน
     1. เดินตามลำพัง ให้เดินอย่างสุภาพ หลังตรง ช่วงก้าวไม่ยาวหรือสั้นเกินไป ไม่เดินเหลียวหน้าเหลียวหลัง แกว่งแขนพองาม ไม่เดินลากเท้าสำรวมท่าเดินให้เรียบร้อย

    2. เดินกับพระภิกษุสงฆ์หรือผู้ใหญ่ ให้เดินเยื้องไปทางซ้ายข้างหลังท่าน เว้นระยะห่างประมาณ 2-3 ก้าว ไม่เดินเหมือนเดินตามลำพัง ให้อยู่ในลักษณะนอบน้อมสำรวม ถ้าเป็นการเดินในระยะใกล้ มือควรประสานกัน (ดูระเบียบปฏิบัติการแสดงความเคารพพระภิกษุสงฆ์ประกอบด้วย)

      3. เดินเข้าสู่ที่ชุมนุมหรือ ถานที่ปฏิบัติธรรมที่มีเก้าอี้นั่ง ให้ปฏิบัติดังนี้

1. เดินเข้าไปอย่างสุภาพ

2. เมื่อผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อน ก้มตัวเล็กน้อย ถ้าผู้นั่งเป็นผู้อาวุโ กว่า ก็ก้มตัวมาก ระวังอย่าให้เสื้อผ้า หรือส่วนของร่างกายไปถูกต้องผู้อื่น

3. ถ้าไม่มีการกำหนดที่นั่ง ก็นั่งเก้าอี้ที่สมควรแก่ฐานะโดยสุภาพ อย่าลากเก้าอี้ให้ดังหรือโยกย้ายเก้าอี้ไปจากระดับที่ตั้งไว้

4. ถ้าเป็นการนั่งที่กำหนดที่นั่งไว้ ก็นั่งตามที่ของตน


     4. เดินเข้าสู่ที่ชุมนุมหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ต้องนั่งกับพื้น ให้ปฏิบัติดังนี้

1. เดินเข้าไปอย่างสุภาพ

2. เมื่อผ่านผู้ที่นั่งอยู่ก่อน ให้ก้มตัวมากหรือน้อยสุดแต่ระยะใกล้ไกล หรือผู้นั่งอาวุโสมากหรือน้อย ระวังอย่าให้เสื้อผ้าหรือส่วนของร่างกายไปถูกต้องผู้อื่น

3. ผ่านแล้วเดินตามธรรมดา

4. ถ้าระยะใกล้มาก ใช้เดินเข่า

     การเดินเข่า คือ การใช้เข่าทั้งสองข้างยันลงพื้นโดยงอขาพับไปทางด้านหลัง ใช้เข่าก้าวไปข้างหน้าหรือถอยหลัง ดุจใช้เท้าเดิน แต่การก้าวเข้าหรือเดินเข้านั้น ช่วงก้าวจะก้าวเพียงสั้น ๆ ไม่ใช้การก้าวยาว เพราะนอกจากจะทำให้เดินเข่าไม่ถนัดแล้ว การพยุงตัวจะไม่เพียงพอวิธีเดินเข่าปฏิบัติดังนี้

1. นั่งคุกเข่า ตัวตรง มืออยู่ข้าง ๆ ลำตัว

2. ยกเข่าขวาซ้าย ไปข้างหน้าทีละข้าง ลับกัน ปลายเท้าตั้งช่วงก้าวพองาม ไม่กระชั้นเกินไป

3. มือห้อยลงข้างตัว แกว่งได้เล็กน้อยเช่นเดียวกับการเดิน

      การเดินในหมู่คนมาก ๆ ควรรักษาแนวให้ตรงกับคนหน้า ไม่ควรแซงขึ้นหน้า ทำให้ขาดระเบียบวินัย การยืนกันมาก ๆ ควรยืนให้ตรงคนหน้า ให้ถือแนวศีรษะให้ตรงกัน

      ในพิธีกรรม ขณะประกอบพิธีควรรักษาความเงียบ งบ ในระหว่างประกอบพิธีกรรมอยู่หากเกิดความผิดปกติในเรื่องดินฟ้าอากาศก็ดี หรือสิ่งอันไม่คาดคิดก็ดี ควรรักษาความเป็นระเบียบวินัยไว้ก่อน คอยฟังคำสั่งของประธานในพิธีว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไรบ้าง ควบคุมสติให้ดีไม่ควรตื่นตระหนกและชุลมุนวุ่นวาย เพราะจะทำให้ขาดระเบียบวินัย และอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้เนื่องจากการกระทำของหมู่ชนที่ขาดสติสัมปชัญญะ เช่น มีการผลักดันกันบ้าง เกิดโกลาหล ทำให้กระทบกระทั่งได้ เป็นต้น


3) การนั่ง
      1. นั่งเก้าอี้ ให้นั่งตัวตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ เท้าชิด เข่าชิด มือวางบนหน้าขา ถ้าเป็นเก้าอี้มีเท้าแขน เมื่อนั่งตามลำพังจะเอาแขนพาดที่เท้าแขนก็ได้ ไม่ควรนั่งโดยเอาปลายเท้าหรือขาไขว้กันอย่างไขว่ห้าง ควรนั่งเต็มเก้าอี้ อย่านั่งโดยโยกเก้าอี้ให้โยกหน้าหรือเอนหลัง ถ้าเป็นหญิงต้องระมัดระวังเครื่องแต่งกายอย่าให้ประเจิดประเจ้อ

     2. นั่งกับพื้น นิยมนั่งพับเพียบ การนั่งพับเพียบหมายถึงการนั่งตัวตรง พับขาทั้งสองข้างไปทางขวา หรือทางซ้ายก็ได้ตามถนัด ในหมู่ชาวพุทธ ถือว่าเป็นท่านั่งที่สุภาพเรียบร้อยมากที่สุด ควรทำในกรณีที่ต้องนั่งกับพื้นต่อหน้าพระพุทธรูป พระสงฆ์ หรือขณะที่นั่งฟังเทศน์ เป็นต้น

      3. นั่งตามลำพัง ให้นั่งพับเพียบในลักษณะสุภาพ ยืดตัว ไม่ต้องเก็บปลายเท้า แต่อย่าเหยียดเท้า มือวางไว้บนตักก็ได้ ผู้หญิงจะนั่งเท้าแขนก็ได้ การเท้าแขนอย่าเอาท้องแขนไว้ข้างหน้าผู้ชายไม่ควรนั่งเท้าแขน นั่งปล่อยแขนได้

     4. นั่งต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ หรือผู้ใหญ่ ให้นั่งพับเพียบเช่นเดียวกับนั่งตามลำพัง แต่น้อมตัวเล็กน้อย ต้องเก็บปลายเท้า มือประสานกัน


วิธีนั่งพับเพียบแบบชาย
      ให้นั่งพับขาทั้งสองราบลงกับพื้น หันปลายเท้าไปทางด้านหลัง จะพับขาทั้งสองไปทางซ้ายหรือขวาก็ได้ตามถนัด หัวเข่าแยกห่างจากกัน จนกระทั่งฝ่าเท้าข้างหนึ่งจรดกับหัวเข่าอีกข้างหนึ่งอย่าให้ขาทับฝ่าเท้า มือทั้งสองประสานกันวางไว้ที่หน้าตัก ไม่เท้าแขน กายตั้งตรง เป็นท่านั่งที่สง่ามาก (แต่ถ้านั่งต่อหน้าผู้ใหญ่ นิยมลดความสง่าลง โดยแยกเข่าห่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและวางขาทับบนฝ่าเท้า)

วิธีนั่งพับเพียบแบบหญิง
      ให้นั่งพับขาทั้งสองราบกับพื้น หันปลายเท้าไปทางด้านหลัง จะพับขาทั้งสองไปทางขวาหรือซ้ายก็ได้ แต่หัวเข่าทั้ง องแนบชิดกัน ไม่นิยมแยกเข่า ถ้านั่งพับไปทางขวาก็วางขาขวาทับฝ่าเท้าซ้าย ปลายเท้าขวาพับไปทางด้านหลัง ถ้านั่งพับไปทางซ้าย ก็วางขาซ้ายไว้บนฝ่าเท้าขวาปลายเท้าซ้ายหันไปทางด้านหลัง นั่งกายตั้งตรง ไม่โอนเอนไปมา ฝ่ามือประสานกันวางไว้บนหน้าตัก ไม่เท้าแขนเป็นอันขาด ยกเว้นคนป่วยกับคนชรา

วิธีเปลี่ยนท่านั่งพับเพียบ
     เมื่อนั่งพับเพียบอยู่ข้างเดียวเป็นเวลานาน ๆ ถ้าเมื่อยมากต้องการเปลี่ยนอิริยาบถไปพับเพียบอีกข้างหนึ่ง ให้ใช้มือทั้งสองยันที่หัวเข่าทั้งสอง หรือยันที่พื้นข้างหน้า แล้วกระโหย่งตัวขึ้นพร้อมกับพลิกเปลี่ยนเท้าพับไปอีกข้างหนึ่ง โดยพลิกเท้าผลัดเปลี่ยนอยู่ด้านหลังไม่นิยมยกเท้ามาผลัดเปลี่ยนกันข้างหน้า เพราะไม่สุภาพ

 

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.015972963968913 Mins