การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย

วันที่ 27 มิย. พ.ศ.2560

การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย

พระไตรปิฎกเบื้องต้น , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , การทำสังคายนา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย

    กล่าวไว้แล้วว่า ควรจะได้กล่าวเป็นพิเศษถึงการชำระ การเขียน การพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย ให้ค่อนข้างละเอียดสักเล็กน้อยเพื่อเป็นประโยชน์ในการรู้เรื่องความเกี่ยวข้องของประเทศไทยที่มีต่อพระไตรปิฎก ซึ่งในที่นี้จะได้แบ่งเป็น 4 สมัย ดังนี้

     สมัยที่ 1 ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่สมัยพระเจ้าติโลกราชประมาณ พ.ศ. 2020

   สมัยที่ 2 ชำระและจารลงในใบลาน  กระทำที่กรุงเทพฯ  สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2331

     สมัยที่ 3 ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2431 ถึง พ.ศ. 2436

     สมัยที่ 4 ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ. 2473


1. สมัยที่ 1 พระเจ้าติโลกราช เมืองเชียงใหม่
   ความจริงสมัยนั้น เมืองเชียงใหม่เป็นอิสระและถือได้ว่าภูมิภาคแถบนั้นเป็นประเทศลานนาไทย แต่เมื่อรวมกันเป็นประเทศไทยในภายหลัง ก็ควรจะได้กล่าวถึงการชำระพระไตรปิฎก และการจารลงในใบลาน

    พระเจ้าติโลกราชผู้นี้ มีเรื่องกล่าวถึงไว้ในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์สั้น ๆ ว่าสร้างพระพุทธรูปในจุลศักราช 845 ในหนังสือสังคีติยวงศ์เล่าเรื่องสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ตรงกับหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ แต่มีเล่าเรื่องสังคายนาพระไตรปิฎกด้วย พระเจ้าติโลกราชได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูป มีพระธรรมทินเถระเป็นประธานให้ชำระอักษรพระไตรปิฎกในวัดโพธาราม 1 ปีจึงสำเร็จ เมื่อทำการฉลองสมโภชแล้ว ก็ได้ให้สร้างมณเฑียรในวัดโพธาราม เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก

   ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้น คงเป็นอักษรแบบไทยลานนา คล้ายอักษรพม่า มีผิดเพี้ยนกันบ้าง และพอเดาออกเป็นบางตัว


2. สมัยที่ 2 รัชกาลที่ 1 กรุงเทพฯ
  เรื่องสังคายนาพระไตรปิฎกโดยพิสดาร ในสมัยรัชกาลที่ 1 มีปรากฏในหนังสือพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาและคำประกาศเทวดาครั้งสังคายนาปีวอกสัมฤทธิศก พ.ศ. 2331 รัชกาลที่ 1 (หนังสือประกาศการพระราชพิธี) ซึ่งเก็บใจความได้ดังนี้

    ปี พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรง ละพระราชทรัพย์จ้างช่างจารจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน และให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาว อักษรรามัญ เป็นอักษรขอมสร้างใส่ตู้ไว้ในหอมนเทียรธรรม และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง มีผู้กราบทูลว่า ฉบับพระไตรปิฎกและอรรถกถาฎีกาที่มีอยู่ผิดเพี้ยนวิปลา เป็นอันมาก ผู้ที่รู้พระไตรปิฎกก็มีน้อยท่าน ควรจะได้หาทางชำระให้ถูกต้องจึงทรงอาราธนาพระสังฆราช พระราชาคณะ ฐานานุกรมเปรียญ 100 รูปมาฉัน ตรัสถามว่า พระไตรปิฎก ผิดพลาดมากน้อยเพียงไรสมเด็จพระสังฆราชพร้อมด้วยพระราชาคณะถวายพรให้ทรงทราบว่ามีผิดพลาดมาก แล้วเล่าประวัติการสังคายนาพระไตรปิฎก 8 ครั้งที่ล่วงมาแล้ว เมื่อทรงทราบดังนี้จึงอาราธนาให้พระสงฆ์ดำเนินการสังคายนาชำระพระไตรปิฎก ซึ่งเลือกได้พระสงฆ์ 218 รูป ราชบัณฑิตอุบา ก 32 คน (แต่ตามประกาศเทวดาว่า พระสงฆ์ 219 รูป ราชบัณฑิตอุบาสก 30 คน) กระทำ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ (คือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ในปัจจุบัน) แบ่งงานออกเป็น 4 กองสมเด็จพระสังฆราชเป็นแม่กองชำระสุตตันตปิฎก พระวันรัตเป็นแม่กอง
ชำระวินัยปิฎก พระพิมลธรรมเป็นแม่กองชำระอภิธรรมปิฎก พระพุาจารย์เป็นแม่กองชำระสัททาวิเศษ (ตำราไวยากรณ์และอธิบายศัพท์ต่าง ๆ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชาเสด็จไป ณ พระอารามทุกวัน ๆ ละ 2 ครั้ง เวลาเช้าทรงประเคนสำรับอาหาร เวลาเย็นทรงถวายน้ำอัฐบาน (น้ำผลไม้คั้น) และเทียนทุกวัน เป็นอย่างนี้สิ้นเวลา 5 เดือนจึงเสร็จ แล้วได้จ้างช่างจารจารึกลงในใบลาน ให้ปิดทองแท่งทับทั้งใบปกหน้าหลังและกรอบทั้งสิ้น เรียกว่าฉบับทองห่อด้วยผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึกและฉลากทอเป็นตัวอักษรบอกชื่อพระคัมภีร์ทุกคัมภีร์

     เมื่อพิจารณาจากการที่พระมหากษัตริย์ทรงอุตสาหะ เสด็จพระราชดำเนินไปให้กำลังใจแก่พระเถระและราชบัณฑิตผู้ชำระพระไตรปิฎกถึงวันละ 2 เวลาแล้ว ก็ควรจะถือได้ว่าเป็นพระราชจริยาอันดียิ่ง มีคุณค่าในการถนอมรักษาตำราทางพระพุทธศาสนาไว้ด้วยดี

    แต่การสังคายนาครั้งนี้ ผู้ทรงความรู้รุ่นหลังมักจะพูดล้อว่าเป็นการสังคายนาแต้มหัวตะ เช่น พระบาท มเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงไว้ในพระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพระพุทธศา นาฝ่ายหินยาน (เถรวาท) กับมหายาน หน้า 13 โดยเล็งไปถึงว่าไม่ได้ทำอะไรมาก นอกจากแก้ไขตัวหนังสือที่ผิดคำว่า แต้มหัวตะ หมายความว่า อักษร ค กับอักษร ต เมื่อเขียนด้วยอักษรขอม มีลักษณะใกล้เคียงกัน ถ้าจะให้ชัดเจนเวลาเขียนตัว ต จะต้องมีขมวดหัว การสอบทานเห็นตัวไหนไม่ชัดก็เติมขมวดหัวเสียให้ชัด

     แต่ข้าพเจ้าเองมิได้เห็นว่า การชำระพระไตรปิฎกในรัชกาลที่ 1 เป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะมิได้ติดใจถ้อยคำที่ว่าสังคายนา จะต้องเป็นเรื่องปราบเสี้ยนหนามทุกครั้งไปสังคายนาครั้งที่ 1 ก็ไม่ใช่มีเสี้ยนหนามอะไรมาก เพียงภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งพูดไม่ดีเท่านั้น ข้อสำคัญอยู่ที่การจัดระเบียบหรือถนอมรักษาพระพุทธวจนะให้ดำรงอยู่พอแล้ว ข้อปรารภของรัชกาลที่ 1 ที่ว่าพระไตรปิฎกมีอักษรผิดพลาดตกหล่นมาก จึงควรชำระให้ดี นี้เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะดำเนินงานได้ ถ้าไม่ได้พระบรมราชูปถัมภ์งานก็คงสำเร็จได้โดยยาก จะเรียกว่าสังคายนาหรือไม่ ไม่สำคัญสำคัญอยู่ที่ได้แก้ไขฉบับพระไตรปิฎกให้ดีขึ้นก็เป็นที่พอใจแล้ว เพราะแม้การสังคายนา ครั้งที่ 123 ถ้าจะถือว่ามีการสังคายนาคนเกี่ยวข้องด้วยทุกครั้ง แต่ในที่สุดก็ไม่พ้นสังคายนาพระธรรมวินัย จัดระเบียบพระพุทธวจนะ โดยเฉพาะการสังคายนาครั้งแรกเพียงปรารภถ้อยคำของสุภัททภิกษุเท่านั้น มิใช่สังคายนาคนหรือ ต้องชำระสะสางความผิดของใคร ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงขอบันทึกพระคุณของพระบาท มเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ไว้ในที่นี้ด้วยคารวะอย่างยิ่ง


3. สมัยที่ 3 รัชกาลที่ 5 กรุงเทพ ฯ
    หลักฐานเรื่องการพิมพ์พระไตรปิฎก ซึ่งเดิมเขียนเป็นตัวอักษรขอมอยู่ในคัมภีร์ใบลานให้เป็นเล่มหนังสือขึ้นนี้ มีในหนังสือชุมนุมกฎหมายในรัชกาลที่ 5 (หลวงรัตนาญัปติ์เป็นผู้รวบรวมพิมพ์) หน้า 839 ว่าด้วยลักษณะบำรุงพระพุทธศา นาในหัวข้อว่าการศาสนูปถัมภ์ คือการพิมพ์พระไตรปิฎก ประกาศการสังคายนาและพระราชดำรัสแก่พระสงฆ์โดยพระองค์ ซึ่งได้พิมพ์ไว้ส่วนหนึ่งในภาคผนวกแล้ว

 สาระสำคัญที่ได้กระทำคือคัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลานเป็นตัวไทยแล้วชำระแก้ไขและพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือรวม 39 เล่ม (เดิมกะว่าจะถึง 40 เล่ม) มีการประกาศการสังคายนาแต่เพราะเหตุที่ถือกันว่า การสังคายนาควรจะมีการชำระสะสางหรือทำลายเสี้ยนหนามพระศาสนา เพียงพิมพ์หนังสือเฉย ๆ คนจึงไม่นิยมถือว่าเป็นการสังคายนา แต่ได้กล่าวไว้แล้วว่า จะเรียกว่าสังคายนาหรือไม่ ไม่สำคัญ ขอให้ได้มีการชำระตรวจสอบ จารึกหรือจัดพิมพ์พระไตรปิฎกให้เป็นเล่มรักษาไว้เป็นหลักฐาน ก็นับว่าเป็นกิจอันควรสรรเสริญอย่างยิ่ง
เพราะเป็นการทำให้พระพุทธวจนะดำรงอยู่เป็นหลักฐานแห่งการศึกษาและปฎิบัติตลอดไป

     มีข้อน่าสังเกตในการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทย ครั้งนี้ที่ขอเสนอไว้เป็นข้อ ๆ คือ

     1. การชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2431 สำเร็จเมื่อพ.ศ. 2436 จำนวน 1,000 ชุด เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย เป็นการฉลองการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติมาครบ 25 ปี

   2. เป็นการสละพระราชทรัพย์ ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (เทียบกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในราชกาลที่ 7 ซึ่งเป็นการสละพระราชทรัพย์และทรัพย์รวมกันของพระมหากษัตริย์กับประชาชน)

    3. ในการพิมพ์ครั้งแรกนี้พิมพ์ได้ 39 เล่มชุด ยังขาดหายไปมิได้พิมพ์อีก 6 เล่ม และได้พิมพ์เพิ่มเติมในรัชกาลที่ 7 จนครบ ฉบับพิมพ์ในราชกาลที่ 7 รวม 45 เล่ม จึงนับว่าสมบูรณ์ เป็นการช่วยเพิ่มเติมเล่มที่ขาดหายไปคือ

1) เล่ม 26 วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา
2) เล่ม 27 ชาดก
3) เล่ม 28 ชาดก
4) เล่ม 32 อปทาน
5) เล่ม 33 อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก
6) เล่ม 41 อนุโลมติถปัฏฐานภาค 2 และ
7) ปัจจนียปัฏฐาน อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน

    นอกจากนี้ได้เพิ่มเติ่มท้ายเล่ม 44 ที่ขาดหายไปครึ่งหนึ่งคือ อนุโลมติกติกปัฏฐานและอนุโลมทุกทุกปัฏฐานให้สมบูรณ์ด้วย ตามจำนวนดังกล่าวนี้ เมื่อคิดเป็นเล่มจึงมีหนังสือขาดหายไป ต้องพิมพ์เพิ่มเติ่มใหม่ถึง 7 เล่ม แต่เพราะเหตุที่ฉบับพิมพ์ในครั้งรัชกาลที่ 5 แยกคัมภีร์ยมกแห่งอภิธรรมปิฎกออกเป็น 3 เล่มส่วนในการพิมพ์ครั้งหลังรวมเป็นเพียง 2 เล่ม จำนวนเล่มที่ขาดหายจึงเป็นเพียง 6 เล่ม คือฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ 5 มี 39 เล่ม ฉบับพิมพ์ในรัชกาลที่ 7 มี 45 เล่มด้วยประการฉะนี้

   อย่างไรก็ดี การพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือนี้ แม้ในขั้นแรกจะไม่สมบูรณ์ แต่ก็เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาสะดวกยิ่งขึ้น เป็นการวางรากฐานอย่างสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทย เป็นพระราชกรณียกิจอันควรสรรเสริญยิ่งแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


4. สมัยที่ 4 รัชกาลที่ 7 กรุงเทพฯ
    หลักฐานเรื่องนี้ในหนังสือรายงานการสร้างพระไตรปิฎกสยามรัฐ พิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แสดงรายละเอียดการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกระหว่าง พ.ศ. 2468 ถึง พ.ศ. 2473

     มีข้อที่พึงกล่าวเกี่ยวกับการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ คือ

1.ได้ใช้เครื่องหมายและอักขรวิธีตามแบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรร ซึ่งทรงคิดขึ้นใหม่ แม้การจัดพิมพ์จะกระทำในสมัยที่พระองค์ท่านสิ้นพระชนม์แล้ว

2. พิมพ์ 1,500 จบ พระราชทานในราชอาณาจักร 200 จบ พระราชทานในนานาประเทศ 450 จบ เหลืออีก 850 จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก

3. การพิมพ์พระไตรปิฎกในครั้งนี้ นับว่าได้เพิ่มเติมส่วนที่ขาดอยู่ให้สมบูรณ์โดยใช้ฉบับลานของหลวง (เข้าใจว่าฉบับนี้สืบเนื่องมาจากรัชกาลที่ 1) คัดลอกแล้วพิมพ์เพิ่มเติมจากส่วนที่ยังขาดอยู่

4. ผลของการที่ส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อสามารถอ่านพระไตรปิฎกฉบับไทยได้ และได้มีผู้บันทึกสดุดีไว้ เช่น พระนยานติโลกเถระ ชาวเยอรมัน ผู้อุปสมบทประจำอยู่ ณ ประเทศลังกา ได้ชมเชยไว้ในหนังสือ Guide throuth the Abhidhamma Pitaka ว่า ฉบับพระไตรปิฎกของไทยlมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมันของlมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษเป็นอันมาก

5. ในการพิมพ์ครั้งนี้ได้ทำอนุกรมต่าง ๆ ไว้ท้ายเล่มเพื่อสะดวกในการค้นแม้จะไม่สมบูรณ์แต่ก็มีประโยชน์มาก เป็นแนวทางให้ชำระเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ต่อไป


การแปลและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ครั้งที่ 1
  โดยเหตุที่พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาจำเป็นต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้งจึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้จะมีผู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่เสมอ แต่ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ปรากฏว่ามีใครแปลตลอดเรื่อง ถ้าสามารถดำเนินการแปลจนครบบริบูรณ์ก็จะเป็นอุปการคุณแก่พุทธบริษัทอย่างใหญ่หลวง

     เมื่อ พ.ศ. 2483 สมัยรัชกาลที่ 8 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทว) วัดสุทัศนเทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นที่ประมวลพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งจัดเป็นพระรัตนดวงหนึ่งในสามรัตนะ เรียกว่า "ธรรมรัตนะ" พระไตรปิฎกนี้ของเดิมเป็นภาษาบาลี พระสาวกในปางก่อนได้ท่องจำสืบมาโดยมุขปาฐะตราบจนได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ภายหลังเมื่อมีเหตุวิบัติได้เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาพระมหากษัตริย์ในฐานะที่ทรงเป็นพุทธมามกะ ได้ทรงอุปถัมภ์ให้พระเถรานุเถระเป็นผู้
บริหารตลอดมา จัดการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยเฉพาะ มัยกรุงรัตนโกสินทร์กระทำถึง 3 ครั้ง คือในรัชกาลที่ 1 ที่ 5 และที่ 7 ในต่างประเทศหลายประเทศได้แปลบาลีพระไตรปิฎกออกเป็นภาษาของเขามาช้านานแล้ว จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะจัดแปลพระไตรปิฎกฉบับบาลีเป็นภาษาไทยไห้ตลอดสมบูรณ์ จะเป็นการเฉลิมพระเกียรติแห่งกษัตริย์ไทยและได้เชิดชูเกียรติแห่งรัฐบาลในระบบประชาธิปไตยให้ปรากฏไพศาลไปตลอดถึงนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยงานนี้เป็นงานใหญ่ไม่เป็นวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะพึงจัดทำให้สำเร็จเรียบร้อยได้สมเด็จพระสังฆราชจึงมีบัญชาให้แจ้งไปยังกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน)
เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์

    กระทรวงธรรมการได้รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีนำกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วยตามพระปรารภอันดียิ่งของสมเด็จพระสังฆราช จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้พระราชทานพระบรมราชานุมัติให้ทรงแต่งตั้งพระเถรานุเถระเป็นกรรมการจัดแปลได้ตามสมควร คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา จนถึงพ.ศ. 2492 จึงแปลเสร็จเรียบร้อย หากยังค้างอยู่แต่การตรวจสำนวนคำแปล ซึ่งกรรมการแผนกตรวจสำนวนคำแปลมีอยู่จำนวนน้อย บางท่านก็พ้นหน้าที่ไปแล้ว ต้องปรับปรุงคณะกรรมการเพิ่มเติมใหม่ เพื่อเร่งรัดตรวจสำนวนให้เสร็จเรียบร้อยลงในเวลาอันสมควร ต่อมาถึงพ.ศ. 2495 รัฐบาลได้จัดตั้งงบประมาณขึ้นอุปถัมภ์เพื่อสร้างพระไตรปิฎกให้ทันพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษในปี 2500 และเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยเป็นรูปเล่ม เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นจำนวน 2,500 จบ จบละ 80 เล่ม


การจัดพิมพ์ครั้งที่ 2
   เนื่องจากการจัดพิมพ์ครั้งแรกได้จำหน่ายจ่ายแจกไปยังสถานศึกษา ห้องสมุดและพระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักรสถานทูต กับสถาบันการศึกษาที่เนื่องด้วยพระพุทธศาสนาในนานาประเทศ ตามความประสงค์ของรัฐบาล ในการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษนั้นแล้วปรากฏว่าพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับนี้ เป็นที่ต้องการของผู้ใคร่ศึกษา และเป็นที่นิยมของประชาชนผู้ประสงค์บุญด้วยการบริจาคทุนสร้างให้เป็นสมบัติของวัดทั่วไป ด้วยคณะกรรมการอำนวยการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยในครั้งนั้น จึงอนุมัติให้กรมการศาสนาจัดพิมพ์เพิ่มเติมขึ้นอีก และมอบหมายให้กรมการศาสนาเป็นภาระในการจัดจำหน่ายจ่ายแจกพระไตรปิฎกสืบต่อมา

    เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฎกภาษาไทยที่จัดพิมพ์ครั้งแรกจำหน่ายจ่ายแจกหมดสิ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 ไปแล้ว แต่ยังมีผู้ศรัทธาปรารถนาสร้างไว้เป็นสมบัติในพระศาสนาไม่ขาดสายกรมการศาสนาจึงพิจารณาเห็นสมควรจัดพิมพ์ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 นำโครงการเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคม ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการได้ในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งนับเป็นมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติบรรจบครบ 25 ปี ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2514 พอดี ซึ่งในโอกาสนี้ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษกถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ คณะกรรมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ จึงเห็นสมควรทูลเกล้าฯ ถวายการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยครั้งนี้เฉลิมพระเกียรติในปีรัชดาภิเษกนี้ด้วย โดยให้ชื่อพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ครั้งนี้ว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง และประกาศการพิมพ์ครั้งนี้ว่า พิมพ์ในปีฉลองรัชดาภิเษกพระบาท มเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 9 พุทธศักราช 2514

     มีข้อควรบันทึกเรื่องการทำงานของคณะกรรมการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ไว้ให้ปรากฏ คือ คณะกรรมการจัดพิมพ์ทั้งฝ่ายวิชาการและฝ่ายธุรการพยายามรักษาข้อความตามฉบับที่พิมพ์ครั้งแรกทั้งหมด นอกจากที่ปรากฏว่าผิดพลาดจึงแก้ไข นอกจากนี้คณะกรรมการเห็นว่าจำนวนเล่มฉบับภาษาไทยที่พิมพ์ในครั้งแรก แยกกระจายจากฉบับบาลีไว้เป็น 80 เล่ม ปรากฏว่า บางเล่มทำให้เรื่องแยกกัณฑ์แยกหมวดแยกวรรคกระจายมากเกินไปและในการอ้างอิงในฉบับภาษาไทยก็ไม่ตรงกับเล่มที่ในฉบับภาษาบาลีซึ่งมีอยู่ 45 เล่ม ทำให้เกิดความไขว้เขวแก่นักศึกษาซึ่งศึกษาทั้ง 2 ฉบับ จึงได้ปรับปรุงรูปเล่มจัดพิมพ์ฉบับภาษาไทยให้เท่ากับ ฉบับภาษาบาลีเป็นเล่มต่อเล่ม รวมแล้ว 1 จบ 45 เล่ม จัดพิมพ์จำนวน 2,000 จบ


การจัดพิมพ์ครั้งที่ 3
    เมื่อพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ที่จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2514 จำนวน 2,000 จบ มีผู้สนใจสร้างทั้งในและต่างประเทศ จำหน่ายหมดในปี 2520

    กรมการศาสนาจึงนำโครงการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ครั้งที่ 3 ขึ้น เสนอมหาเถรสมาคม ในการประชุมครั้งที่ 32520 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2520 ที่ประชุมพิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย กรมการศา นาจึงได้เสนอแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการจัดพิมพ์โดยได้ดำเนินการตรวจทานแก้ไขเพิ่มเติมต้นฉบับพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 และจัดพิมพ์ขึ้นอีกจำนวน 2,000 จบ จบละ 45 เล่ม หลังจากการพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้จำหน่ายจ่ายแจกจนหมดสิ้นลงในปีพ.ศ. 2523 แต่ก็ยังไม่พอกับความต้องการของมหาชน


การจัดพิมพ์ครั้งที่ 4
  เนื่องในโอกาสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ปีพุทธศักราช 2525 ทางคณะสงฆ์ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ที่ได้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาตลอดมา จึงเห็นสมควรจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงนี้ขึ้นเฉลิมพระเกียรติแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

    กรมการศาสนาในฐานะผู้สนองงานคณะสงฆ์ ได้นำเรื่องเสนอมหาเถรสมาคมในการประชุมครั้งที่ 22524 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2524 ที่ประชุมมหาเถรสมาคมลงมติเห็นชอบในหลักการ ให้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 4 จำนวน 3,000 จบ เพื่อให้การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยทันการ มเด็จพระสังฆราชทรงมีพระบัญชาให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุิทั้งบรรพชิตและคฤหั ถ์ขึ้นดำเนินการ รวม 2 คณะ คือ คณะ
กรรมการอำนวยการจัดพิมพ์และจำหน่ายพระไตรปิฎก โดยมีสมเด็จพระญาณสังวรวัดบวรนิเวศวิหาร และ มเด็จพุทธโฆษาจารย์เป็นที่ปรึกษา อธิบดีกรมการศาสนาเป็นประธานคณะกรรมการตรวจทานพระไตรปิฎกฯ มีพระเทพสิทธิมุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.9) เป็นประธาน

   การจัดพิมพ์ครั้งนี้ได้ปรับปรุงรูปเล่มและขนาดแตกต่างไปจากเดิม โดยพิมพ์เป็นหนังสือขนาดแปดหน้ายกพิเศษเพื่อให้ได้มาตรฐานสากลนิยมสันปกพิมพ์หมายเลขเล่มที่ของพระไตรปิฎกไว้ตอนบน พิมพ์หมายเลขเล่มที่ของแต่ละปิฎกไว้ตอนล่าง เพื่อสะดวกในการค้นคว้าและอ้างอิง ในการจัดพิมพ์ได้เสร็จสิ้นด้วยความเรียบร้อย ตามความประสงค์ของผู้สร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2525 เป็นการเฉลิมชาติ ดำรงพระศาสนา และเฉลิมพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุปถัมภ์พระศาสนาตลอดมา ให้ดำรงมั่นคงอยู่ในแผ่นดินสืบไป

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010612010955811 Mins