บทสวดระลึกถึงพระธรรมกาย ธมฺมกายานุสฺสติกถา

วันที่ 28 มิย. พ.ศ.2560

บทสวดระลึกถึงพระธรรมกาย ธมฺมกายานุสฺสติกถา

ธัมมกายานุสสติกถา , บทสวดระลึกถึงพระธรรมกาย ธมฺมกายานุสฺสติกถา , ธมฺมกายานุสฺสติกถา , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , วัดธรรมกาย , สวดมนต์ , สวดมนต์พระ  , บทสวดพระ

ธัมมกายานุสสติกถา

ธัมมกายพุทธลักขณัง
       อันว่าพระพุทธญาณต่างๆ อันพระพุทธองค์เปรียบเทียบด้วยพระพุทธลักษณะแล้ว แลตรัสเทศนาโดยนามบัญญัติ ชื่อว่าพระธรรมกาย

สัพพัญณุตญาณปวรสีลัง
       มีพระเศียรอันประเสริฐ คือพระสัพพัญญุตญาณ

นิพพานารัมมณปวรวิลสิตเกสัง
       มีพระเกศางามประเสริฐ คือพระนิพพาน อันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ

จตุตลัชฌานปวรลลาฏัง
       มีพระนลาฏอันประเสริฐ คือ จลุตถฌาน

วชิรสมาปัตติญาณปวรอุณณาภาลัง
       มีพระอุณาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญา ในมหาวชิรสมาบัติ

นีลกสิณโสภาติกกันตปวรภมุยุคลัง
       มีคู่แห่งพระขนงอันประเสริฐล่วงโลก คือพระปัญญา อันประพฤติเป็นไปในนีลกสิณ

ทิพพจักขุ ปัญญาจักขุ สมันตจักขุ พุทธจักขุ ธัมมจักขุ ปวรจักขุทวยัง
       มีคู่แห่งพระเนตรอันประเสริฐ คือจักขุญาณ ๕ ประการคือทิพจักขุญาณ ๑ ทศพลญาณ ๑ สัพพัญญุตญาณ ๑ พระปัญญาแจ้งในพุทธ-ประเพณี ๑ พระปัญญาแจ้งในพระสัทธรรมไม่มีที่เหลือ ๑ เป็นจักขุญาณ ๕ ประการด้วยอัน แลพระธรรมกายนั้น

ทิพพโสตญาณปวรโสตทวยัง
       มีดู่แห่งพระโสตอันประเสริฐ คือทิพพโสตญาณ

โคตรภูญาณปวรอุตุงคฆานัง
       มีพระนาสิกประเสริฐสูง คือ โคตรภูญาณ

มัคคผลวิมุตติผลณาณปวรคัณฑทวยัง
       มีดู่แห่งพระปรางสันประเสริฐ คือพระญาณอันประพฤติเปีนไปในผลแห่งอริยมรรค และผลแห่งวิมุตติธรรม

สัตตตึงสปวรโพธิปักขิยฌาณปวรสุภทันตา
       มีพระทนต์สันงามประเสริฐ คือพระโพธิปักขิอธรรม สันประเสริฐ ๓๗ ประการ

โลกิยโลกุตตรณาณปวรโอฏฐทวยัง
       มีสองริมพระโอษฐ์เบื้องบน และเบื้องตํ่า งามประเสริฐ คือพระปัญญา อันเป็นโลกีย์ แลโลกุตตร

จตุมัคคญาณปวรจตุทารา
       มีพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ อันประเสริฐ คือ พระจตุมรรคญาณ

จตุสัจจณาณปวรชิวหา
       มีพระชิวหาอันงามประเสริฐ คือพระปัญญาอันเห็นแจ้งในพระจตุราริยสัจจะ

อัปปฏิหตณาณปวรหนุกัง
       มีพระหนุประเทศอันงามประเสริฐ คือพระญาณอันตรัสรู้ตลอดไป ไม่มีที่จะขัดจะจ้อง

อนุตตรวิโมกขาธิคมนณาณปวรกัณฐัง
       มีปล้องพระศออันประเสริฐ คือพระญาณ อันตรัสวิโมกขธรรม อันเป็นพระโลกุตตร

ติลักขณฌาณปวรวิลสิตคีววิราชิตัง
       มีลําพระศออันรุ่งเรืองงามประเสริฐ คือ พระไตรลักษณญาณ

จตุเวสารัชชณาณปวรพาทุทวยัง
       มีพระพาหาทั้งสองอันประเสริฐ คือพระจสุเวสารัชชญาณ

ทสานุสสติณาณปวรวัตตังคุลิโสภา
       มีนิ้วพระหัตถ์อันกลมงามประเสริฐ คือพระปัญญา อันตรัสรู้พระอนุสสติกรรมฐาน ๑๐ ประการ

สัตตสัมโพชฌังคปวรปีณอุรตลัง
       มีพื้นพระสุระอันเต็มงามประเสริฐ คือพระญาณอันตรัสรู้พระสัตตโพชฌงค์

อาสยานุสยฌาณปวรถนยุคลัง
       มีดู่แห่งพระถันอันประเสริฐ คือปัญญา อันรู้อัชฌาสัยแห่งสัตว์ทั้งปวง

ทสพลณาณปวรมัชฌิมังคัง
       มีท่ามกลางพระองค์อันประเสริฐ คือทศพลญาณ

ปฏิจจสมุปปาทฌาณปวรนาภี
       มีพระนาภีอันประเสริฐ คือพระปัญญาอันตรัสรู้พระปฏิจจสบุปปาทธรรม

ปัญจินทริยปัญฺจพลปวรชฆนัง
       มีบั้นพระองค์ คือพระชฆนะประเทศสะเอวอันประเสริฐ คือพระปีญญาอันตรัสเพระสัทธาทิอินทรีย์ ๕ แลพระสัทธาทิพละ ๕

จตุสัมมัปปธานปวรอูรุทวยัง
       มีลู่แห่งพระเพลาอันประเสริฐ คือพระญาณอันประพฤติเป็นไปในสัมมัปปธานวิริยะ ๔ ประการ

ทสกุสลกัมมปถปวรชังฆทวยัง
       มีดู่แห่งพระชงฆ์อันประเสริฐ คือพระปัญญาอันตรัสรู้ในคลองแห่งทศกุศลกรรมบถ

จตุริทธิปาทปวรปาททวยัง
       มีคู่แห่งพระบาทอันประเสริฐ คือพระญาณอันประพฤติเป็นไปในพระอิทธิบาท ทั้ง ๔ ประการ แลพระธรรมกายนั้น

สีลสมาธิปัญญาปวรสังฆาฏิ
       ทรงซึ่งผ้าสังฆาฏิ คือ ศีล สมาธิ แลปัญญา

หิโรตตัปปญาณปวรปังสุกุลจีวรัง
       ทรงซึ่งมหาปังสุกุลจีวร คือพระปัญญา อันประพฤติเป็นไป พร้อมด้วยหิริ แลโอตตัปปะ

อัฏฐังคิกมัคคณาณปวรอันตรวาสกัง
       ทรงซึ่งสบงอันประเสริฐ คือพระญาณ อันประพฤติเป็นไปในอัฎฐังคิกมรรค

จตุสติปัฏฐานปวรกายพันธนัง
       ทรงซึ่งรัดประคดอันประเสริฐ คือพระญาณ อันประพฤติ พร้อมในพระสติปัฎฐาน ทั้ง ๔ ประการ

พุทโธ
       อันว่าพระทุทธเจ้า

อัญเญสัง เทวมนุสสานัง อติวิโรจติ
       รุ่งเรืองยิ่งกว่าเทพยดา แลมนุษย์ทั้งหลายอื่น

ธัมมกาเยนะ
       ด้วยพระธรรมกาย

ตนุตตมังคาทิญานัง
       อันว่าพระญาณที่จัดเป็นพระเศียรเป็นต้นนั้น

สืพพัญญุตาทิกัง
       คือมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นอาทิ

ธัมมกายมตัง
       อันพระทุทธองค์ตรัสเรียกว่า พระธรรมกาย

ยัสสะ พุทธัสสะ
       แห่งพระทุทธเจ้าพระองค์ใด

อหํ นเม
       ข้าพเจ้า (ขอนอบน้อม)ไหว้

ตัง ทุทธัง
       ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โลกนายกัง
       ผู้เป็นโลกนายก

อิมัง ธัมมกายพุทธลักขณัง
       อันว่าพระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกายนี้

ติกขณาเณนะ โยคาวจรกุลปุตเตนะ
       อันโยคาวจรกุลบุตร ผู้มีญาณอันกล้า

สัพพัญญูพุทธภาวัง ปัตเถนเตนะ
       เมื่อปรารถนา ซึ่งภาวะแห่งตนเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า

ปุนัปปุนัง อนุสสริตัพพัง
       พึงระลึกเนืองๆ

พุทโธ
       อันว่าพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทวาทสหัตโถ
       สูง ๑๒ ศอก

ฉหัตโถ อุณหีโส
       อันว่าพระอุณหิษอันสูงขึ้น เปรียบประลุจมหามงกุฏ ๖ ศอก

หัจอัง อัคคิสิขูปโม
       ประกอบด้วยพระรัศมีประดุจเปลวเพลิง เป็นนิจ

โส พุทโธ
       อันว่าพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

อัฏฐารสโก สห อุณหีเสน ภเว
       สูง ๑๘ ศอก กับด้วยพระอุณหิษ พึงมี

ทุทธรังสิโย
       อันว่าพระพุทธรัศมีทั้งหลาย

ฉัพพิธา นิกขันตา
       มีประการ ๖ พุ่งออก

เอกเมกายะ โลมายะ อาวฏา มัณฑลา
       แต่พระโลมาแต่ละเสันๆ เวียนไปเป็นปริมณฑล

ทีฆา รัสสา มัณฑสกาปิ จะ
       มีช่ออันยาวบ้าง สั้นบ้าง กลมบ้าง

อาธาวันติ จะ วิธาวันติ จะ
       พุ่งไปเบื้องพระพักตร์บ้าง พุ่งไปข้างพระองค์บ้าง

พุทธรังสิโย
       อันว่าพระพุทธรัศมีทงหลาย

ฉัพพิธา
       มีประการ ๖

รลา
       คือ พระรัศมีเขียว

อตา
       คือ พระรัศมีเหลือง

โอทาตา
       คือ พระรัศมีขาว

มัญเชฏฐา
       คือ พระรัศมีแดงสำลาน

ปภัสสรา
       คือ พระรัศมีเลื่อมๆ พรายๆ

โลหิตาปิ จะ วัณณาภา
       คือ พระรัศมีมีพรรณอันแดง

ปมุญจันติ
       เปล่งออก

วินายโก
        อันว่าพระบรมนายกโลกนาถ

มเหสี
        แสวงหาศีลาธิคุณอันประเสริฐ

สัพพโลกัคโค
        ลํ้าเลิศกว่าสรรพสัตว์

เทวเทโว
        ประเสริฐกว่าเทพยดา อินทร์ พรหม

นรุตตโม
        ประเสริฐกว่ามบุษย์

อุตติณโณ โลกสันตาโร
        ข้ามถึงฝั่งคือพระนิพพานด้วยพระองค์ ยังสัตว์โลกให้ข้ามถึงฝึง คือพระนิพพาน

ชิโน
        ชํานะแก่ปัญจพิธมาร

อัปปฏิปุคคโล
        หาบุคคลจะเปรียบเทียบมิได้

นิรุปปโม
        หาที่จะอุปมามิได้

ตัสสะ ภควโต รังสี
        อันว่าพระรัศมี แห่งพระผู้มีพระภาคนั้น

สัพพาภรณภูสิตา
        ประดุจเครื่องสรรพอาภรณ์ ประดับพระองค์

การณัง
        อันว่าอัจฉริยะเหตุ

อัญเญสัง เทวมนุสสานัง
        แห่งเทพยดา แลมนุษย์ทั้งหลายอื่น

มัญเญ การณัง
        จะเหมือนด้วยอัจฉริยะเหตุ

ทุทธัสสะ เอวะ
        แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมทุทธเจ้าพระองค์เดียว

นะ โหติ
        หา บ มิได้

 

 


จากหนังสิอสวดมนต์แปล ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ ร.ศ.๑๒๘ และ หลักศิลาจารึก หลักที่ ๕๔
แปลโดย ศาศตราจารย์ ฉ่ำ ทองคําวรรณ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.03470706542333 Mins