คุณสมบัติของลูกที่ดี

วันที่ 25 สค. พ.ศ.2560

คุณสมบัติของลูกที่ดี,วาไรตี้,บทความประจำวัน

 

    คุณสมบัติของลูกที่ดี

 

     ความมุ่งหวังของคุณพ่อคุณแม่ทุกคนก็คือ อยากให้ลูกเป็น "คนดี" ซึ่งคำว่า คนดี ที่คุณพ่อ คุณแม่ต้องการนี้ ก็อาจจะครอบคลุมไปถึงตั้งแต่อยากจะให้ลูกเป็นคนมีความรู้ดี มีความสามารถดี มีความประพฤติดี และมีคุณธรรมดี สามารถเติบโตขึ้นมายืนหยัดอยู่ บนโ]กกว้างนี้!ด้ดด้วยตัวเองอย่างสมภาคภูมิ ไม่ต้องไปขอใครกิน และให้ประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติได้

    แต่การจะเลี้ยงลูกได้เช่นนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องรู้ก่อนว่า "เลี้ยงลูกอย่างไร จึงจะได้ลูกที่ดี"

    คุณพ่อคุณแม่ที่จะเลี้ยงลูกได้ดี คือ ผู้ที่รู้ว่า
   ๑) ลูกที่ดีเป็นอย่างไร
   ๒) เลี้ยงลูกอย่างไรจึงจะเป็นคนดี

   

   เพราะเมื่อคุณพ่อคุณเฟรู้คำตอบ ๒ ข้อนี้แล้ว ก็จะมีเป้าหมายในการเลี้ยงลูก มีสิทธิหวังได้ว่า ลูกที่เลี้ยงดูมาด้วยความตั้งใจ ทุ่มเทอย่างต่อเนื่องเป็นสิบปีนั้น จะเติบโตขึ้นมาเป็นคนดีได้จริง แต่ถ้าคุณพ่อคุณ แม่ไม่รู้คำตอบสองข้อนี้ โอกาสที่จะเลี้ยงลูกแบบสะเปะสะปะ แล้วพสาดไปทำให้ลูกที่ไร้เดียงสา เติบโตมาเป็นคนไม่ดี ก็มีสิทธิเกิดขึ้นได้เช่นกัน

   ความรู้ในการเลี้ยงลูกสองข้อนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคืกษาอย่างมากที่สุด

   
  "ลูกไม่รักดี หรือ พ่อแม่สอนไม่เป็น"

   ก่อนที่จะพูดถึงสองประเด็นดังกล่าวต่อไปก็มีเรื่องของคุณแม่ท่านหนื่งที่อยากจะเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง เพื่อจะได้สองสังเกตดูว่า ตนเองได้เคยมีประสบการณ์ทำนองนี้หรือไม่ 

   เรื่องมีอยู่ว่า เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว มีเด็กวัดคนหนื่ง เดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านที่จังหวัดอ่างทอง ขณะที่กำลังเดินเลาะอยู่ริมฝั่งแม่นั้าเจ้าพระยา จนใกล้จะถึงบ้านนั้น ก็พบคุณแม่คนหนื่งอายุราว ๓๐ ปี กำลังใช้ไม้เรียวตีลูกน้อยของตัวเองอย่างรุนแรง

    เด็กที่ถูกตีร้องดิ้นอยู่นั้น ตัวนิดเดียว อายุราว ๔-๕ ขวบ ยังไม่ได้เข้าเรียนเนอนุบาล แต่แม่ก็ตีเอาๆไม่ยั้งมือ

   เด็กวัดเห็นแล้ว คิดว่า "นี่แม่ตีลูกด้วยอารมณ์ขืนปล่อยอย่างนีต่อไป คงไม่ไหว เดี๋ยวเด็กจะเคราะห์ร้าย เจ็บเปล่า แล้วจะได้นิสัย เจ้าอารมณ์ไปด้วย"

   เด็กวัดจึงตัดสินใจเข้าไปยกมือไหว้คุณแม่ของเด็ก แล้วถามว่า "คุณพี่ เด็กมันทำอะไรผิดเหรอ ถึงได้ตีกันรุนแรงอย่างนี้"

   คุณแม่ของเด็กก็หันมาตอบแบบอารมณ์ฉุนๆว่า "มันไม่รักดีก็ต้อง ตีให้ตาย"

  เด็กวัดหวังจะช่วยทั้งแม่ทั้งลูก คือช่วยให้คุณแม่เจักยั้งคิดรุ้จักสอนลูกโดยไข้เหตุผล ส่วนลูกก็จะได้ไม่เจ็บฟรี จึงตั้งปัญหาถามคุณแม่ว่า

   "พี่เคยสอนไอ้หนูมันไหม ว่ารักดี ทำอย่างไร ?"
   
    คุณแม่โดนคำถามนี้เข้าไป ก็ยืนอึ้ง แล้วตอบว่า "ฉันก็ไม่เคยสอนเหมือนกัน !"

    คำถามของเด็กวัดได้ผล ไม้เรียวที่เงื้อจะตีลูกก็ค่อยๆลดลง

   เด็กวัดก็ถามรุกต่อไปอีกว่า "พี'ไม่เคยสอนแก แล้วแกจะรู้ได้ยังไงว่า รักดีทำยังไง เอาอย่างนี้ดีกว่าพี่ ผมเองก็สนใจศึกษาธรรมะอยู่บ้าง
แล้วก็เข้าวัดมาพอสมควร แต่จนบัดนี้ผมก็ยังตอบไม่ได้เลยว่า ทำดีน่ะ คือทำอย่างไร พี่ช่วยอธิบายให้ผมฟ้งทีสิ"

    คุณแม่ยืนอึ้ง ตอบกลับไปว่า "ฉันก็อธิบายไม่ได้เหมือนกัน"

    "พี่ เราก็โตๆ ด้วยกันแล้ว เรายังอธิบายไม่ค่อยได้เลย ว่ารักดีทำอย่างไร แล้วพี่จะไปเอาอะไรกับเด็กมัน"

   พูดจบแล้ว เด็กวัดก็ยกมือไหว้คุณแม่คนนั้น แล้วก็เดินต่อไป คุณแม่ก็เลิกตีลูก อุ้มลูกไปอาบนํ้าที่ริมแม่นี้าเจ้าพระยานั่นเอง

   จากเหตุการถ!นี้ คุณพ่อคุณแม่คงเห็นแล้วว่า การจะเลี้ยงลูกให้เป็นคนดีขึ้นมาสักคนจึงไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าจริงๆ
แล้ว ตัวของเด็กไม่รักดี หรีอว่าพ่อแม่เลี้ยงลูกไม่เป็น ?


       ธรรมชาติของคนเป็นพ่อแม่

      ในการเลี้ยงลูกให้เป็น ปูย่าตายายของเรา ทำนจับหลักในพระพุทธศาลนาได้ ทำนจึงแนะนำว่า สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องเริ่มต้นก็คือ ต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่า "เราจะอบรมบ่มนิสัยเด็กให้เป็นอย่างไร" เพราะถ้าไม่รู้ว่าจะเลี้ยงให้เด็กออกมาเป็นคนอย่างไรแล้ว โอกาสที่จะสอนสะเปะสะปะก็มีมาก แล้วผลเสียก็จะไปตกกับตัวเด็กโดยที่เด็กไม่รู้เรื่องรู้ราว

      โดยทั่วไปแล้ว เวลาคุณพ่อคุณแม่มีลูกขึ้น,มา ก็มีการตั้งเป้าหมายหรือตั้งความหวังไนการเลี้ยงดูลูกว่า ลูกของเรา "อย่าเลว" เลย ซึ่งคำว่า"อย่าเลว" หรือ "อย่าไม่ดี" นี้ ก็จะมีพัฒนาการของความหวังไปตามช่วงวัยที่ลูกเติบโต จนกระทั่งแม้ลูกเป็นหญ่แล้ว ก็ยังอดตั้งความหวังไม่ได้เพราะนี่คือ ธรรมชาติของคนเป็นพ่อแม่
      
   เริ่มตั้งแต่ ทันทีที่คลอดออกมาจากครรภ์ของคุณแม่ คุณพ่อกับคุณแม่ก็ตั้งเป้าหมายว่า ขอให้ลูกของเราปลอดภัยจากการคลอด

     พอโตขึ้นมาอีกหน่อย ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งถึง ๖ ขวบ ก็ตั้งความหวังอีกว่า ขออย่าให้ลูกเราพิการเลย ในช่วงนี้ แค่คุณแม่เห็นลูกควํ่าลูกคลาน ลูกเดินช้าไปหน่อย ก็กินไม่ได้นอนไม่หลับแล้ว หรือยิ่งถ้าลูกพูดช้าไปหน่อย คุณแม่แทบจะพูดแทนลูกทีเดียว

     พอโตขึ้นมาอีก คือช่วงอายุ ๖-๑๒ ขวบ คุณพ่อคุณแม่ก็ตั้งความหวังอีกว่า ตอนนี้ลูกเราอย่าดื้อ อย่าเกเรเลย การเรียนก็ขอให้มีแววว่า จะเร๊ยนได้ดี แล้วก็ขอให้แกใฝ่ดีด้วย แล้วถ้าลูกมีแววออกมาตามที่หวังนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็รู้สึกสุขใจ 

     พอโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่น คือช่วงอายุ ๑๓-๑๘ ปี ลูกก็เริ่มที่จะเป็นหนุ่มเป็นlสาวแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ตั้งความหวังว่า นอกจากให้ลูกของเราไม่ดื้อ ไม่เกเร ตั้งใจเรืยน ใฝ่ดีแล้ว ก็ขอให้สอบได้คะแนนดีๆด้วย อย่าให้ลูกเราไปติดอบายมุข ติดการพนัน ติดยาเสพติด จนถึงกับต้องเสียผู้เสียคน เสียอนาคตเลย

     พอโตขึ้นมาอีกหน่อย คือช่วงอายุ ๑๙-๒๒ ปี ลูกก็เริ่มจบการคืกษาจะต้องไปหางานหาการทำ คุณพ่อคุณแม่ก็ตั้งความหวังว่าขอให้ลูกเราเก่งๆ มีความสามารถรอบตัว ให้ได้งานได้การดีๆ เลี้ยงตัวเองได้ อย่าไปมีเรื่องมีราวกับใครเลย ถ้าลูกเป็นไปตามความหวังเช่นนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็ยิ่งรู้สืกสุขใจว่า เราเลี้ยงลูกได้ดี

   พอโตขึ้นงงาอีกหน่อย ลูกก็คิดจะมีครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ก็ตั้งความหวังว่า ครอบครัวของลูกเราอย่ามีปัญหา ถ้ามีปัญหาแม่คงอกแตกตายแน่เลย

      ธรรมชาติการตั้งความหวังของคุณพ่อคุณแม่พัฒนามาตามลำดับอย่างนี้

    ครั้นพอลูกอายุ ๓๐-๔๐ ปี ตั้งฐานะได้แล้ว ซึ่งความจริงก็ควรจะหมดภาระของคุณพ่อคุณแม่แล้ว แต่ก็อดไม่ได้อีกที่จะตั้งความหวังว่า ถ้าต่อไปลูกเราเป็นนายกฯก็คงเข้าท่าดี หรือเป็นผู้บัญชาการทหารก็คงเข้าท่าดี หรืออื่นๆ อีกสารพัดที่จะตั้งความหวัง

   ความหวังของคุณพ่อคุณแม่ก็ถูกตั้งออกมาอย่างนี้ จนไม่รู้จบ ทำให้เห็นได้ว่า ธรรมชาติของคนเป็นพ่อเป็นแม่ ก็เป็นอย่างนี้มาทุกยุคทุกสมัย

    แต่ประเด็นสำคัญก็คือว่า การเลี้ยงลูกออกมาให้ได้ตามที่คุณพ่อคุณแม่ คาดหวังในแต่ละช่วงวัยของลูกนี้ จะด้องเลี้ยงให้เขามีคุณสมบัติพื้นฐานอย่างไร เพื่อใช้ในการต่อยอดความรู้ความสามารถอื่นๆในอนาคต จนสามารถบรรลุเป้าหมายการเลี้ยงลูกของคุณพ่อคุณแม่ และสามารถยืนหยัดด้วยตัวเองได้อย่างสมภาคภูมิ

    คุณสมบัติของลูกที่ดี
 ปู่ย่าตายายของเราท่านจับหลักคุณสมบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ว่า พระองค์ทรงประกอบด้วยความประเสริฐ ๓ ประการคือ
๑) พระบริสุทธิคุณ
๒) พระปัญญาธิคุณ
๓) พระมหากรุณาธิคุณ
    และท่านได้นำตรงนี้มาเป็นหลักการเลี้ยงลูกหลานให้เป็นคนดีโดย กำหนดออกมาว่า คนที่จะเป็นคนดีได้นั้น จะต้องประกอบด้วยคุณธรรมขั้นพื้นฐาน ๓ ประการ คือ

 ๑) ไม่แสบ (มาจากพระบริสุทธิคุณ)
 ๒) ไม่โง่ (มาจากพระปัญญาธิคุณ)
 ๓) ไม่แล้งนํ้าใจ (มาจากพระมหากรุณาธิคุณ)

    หากเด็กคนไหน คุณพ่อคุณแม่เพาะพื้นฐาน ๓ ประการ นี้ไว้ในตัวลูกได้ เมื่อเติบโตไปในโลกกว้าง เขาจะสามารถต่อยอดความก้าวหน้าในชีวิตและการงานให้แก่ตัวเขาได้เอง

    คุณสมบัติแต่ละข้อนั้นปูย่าตายายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้

    คุณสมบัติข้อที่ ๑ ไม่แสบ
    ไม่แสบ คือ คนที่ ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อส่วนรวมและคนในสังคม
    คำว่า ไม่แสบ มี ๒ ประเภท คือ

    ๑) ไม่แสบในทางโลก
    ๒) ไม่แสบในทางธรรม
 ไม่แสบในทางโลก คือ เป็นคนที่อยู่ในระเบียบวินัยของครอบครัว ระเบียบวินัยของสังคม และกฎหมายของบ้านเมือง

     เช่นลูกของเราตั้งแต่เล็กๆมานี่ชอบไปโรงเรียน ไม่เคยหนีโรงเรียนส่งการบ้านตามครูสั่งทุกครั้ง ไม่ชอบรังแกเพื่อน พูดจาก็สุภาพน่าฟังน่าเอ็นดู ไม่ดื้อรั้น ไม่ทำอะไรฝ่าฝืนกฎหมายของบ้านเมือง เป็นต้น

   ไม่แสบในทางธรรม คือ เป็นคนที่มีศีล ๔ เป็นอย่างน้อย ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใคร
     เช่น ลูกของเรานี่ ตั้งแต่เล็กๆมา ก็ไม่คิดผูกโกรธอาฆาต พยาบาทปองร้ายใคร ไม่ชอบไปลักขโมยของใคร ไม่ไปทำเจ้าชู้กับลูกเขาเมียใคร ไม่พูดโกหก ไม่แอบสูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า ไม่ดมกาว ไม่เสพยาเสพติดให้โทษ หรีอไปข้องแวะกับอบายบุขต่างๆเป็นต้น คนทีมีศีล ๕ ไม่ครบนั้น เปอร์เซ็นต์ความแสบจะสูง

    คุณสมบัติข้อที่ ๒ ไม่โง่
   ไม่โง่ คือ คนที่มีความรู้ ความสามารถในระดับที่พึ่งตัวเองได้ และช่วยเหลือผู้อื่นได้

   คำว่า ไม่โง่ มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
   ๑) ไม่โง่ในทางโลก
   ๒) ไม่โง่ในทางธรรม

    ไม่โง่ในทางโลก คือ เป็นคนมีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับที่
   ๑) ต้องช่วยเหลือตัวเองไดั เช่น ตั้งแต่อย่างน้อย ถ้าลูกของเราเล่าเรียนเขียนอ่าน ก็ทำได้ดี สามารถสอบผ่านด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องไปลอกใคร เป็นต้น

   ๒) ต้องรับผิดชอบหน้าที่การงานของดัวเองได้ ตั้งแต่ถ้าคุณพ่อคุณเแม่มอบหมายให้ลูกช่วยทำอะไรไม่ว่าจะกวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน ก็ทำได้โดยไม่ขาดตกบกพร่อง ไม่เป็นภาระให้คุณพ่อคุณแม่ต้องย้อน
กลับมาทำใหม่ในภายหลัง เป็นต้น

   ใครมีครบทั้งสองข้อนี้ ก็เรียกว่า ไม่โง่ในทางโลก

   ไม่โง่ในทางธรรม คือ เป็นคนมีปัญญา รู้จักแยกแยะตัดสินได้ว่า อะไรถูก-ผิด ดี-ชั่ว บุญ-บาป ควร-ไม่ควรทำ เป็นประโยชน์-เป็นโทษ แก่ตนเองและส่วนรวม

    มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญว่า ทำไมเราจึงต้อง ให้ลูกของเรามีปัญญาในทางธรรมด้วย ซึ่งก็สามารถทำแบบทดสอบ ด้วยคำถามง่ายๆว่า

    ๑) ผิด - พลาด - ชั่ว ต่างกันอย่างไร ?
    ๒) ถูก-ดี-ควรต่างกันอย่างไร?

     จะเห็นว่า คำ ถามสองข้อนี้ ถ้าไม่ได้ศึกษาปัญญาในทางธรรมแล้ว ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะตอบ แต่กลับเป็นสิ่งที่เราต้องใช้กันบ่อยกว่าความรู้ทางโลกเสียอีก

    ๑) ผิด - พลาด - ชั่ว ต่างกันอย่างไร ?
    ปัญญาในระดับทางโลกเป็นปัญญากลางๆ ว่าด้วยเรื่องการทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นหลัก จะไม่สามารถแยกแยะระดับความอ่อนแก่ของความไม่ดีให้ละเอียดลงไปได้ แต่ปัญญาทางธรรมสามารถแยกแยะได้
อย่างละเอียดลึกซึ้งด้งนี้

    "ผิด" คือ ความเสียหาย เป็นโทษ เป็นความเดีอดร้อนที่เกิดเนจาก ความโง่ รู้เท่าไม่ถึงการเพราะปัญญามันหย่อน ไม่ได้แกล้งโง่ แล้วทำลงไป

    "พลาด" คือ ความเสียหาย เป็นโทษ เป็นความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นจากความเผลอสติ คือสติมันหย่อนไป ก็เลยทำความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปโดยไม่ได้มีเจตนา แต่ในใจจริงแล้วอยากจะให้สิงที่เราทำนั้นมันดีด้วยชํ้าไป
      
    "ชั่ว" คือ การทำผิดทั้งๆที่ว่า ผิด รู้ว่าทำอย่างนั้นไม่ดี รู้ว่าจะต้องเสียหาย แต่ก็ยังฝืนไปทำเข้า เป็นพวกแกล้งโง่ ผลที่ได้ร้บก็คือ ยิ่งทำก็ยิ่งทุกข์ ยิ่งเดีอดร้อน ยิ่งมืดบอด ยิ่งได้บาป ท่านผู้รู้ทั้งหลายก็ติเตียน

   การฝึกให้ลูกมีปัญญาทางธรรมควบคู่ไปกับปัญญาทางโลกจึงสำคัญยิ่งนัก เพราะจะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของลูกได้อย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม

    ๒)ถูก-ดี-ควรต่างกันอย่างไร?
   เมื่อเรารู้ระดับของความไม่ดีกันแล้ว ก็ต้องมาดูว่า แล้วระดับของความดีนั้น ถ้าจะแยกแยะกันด้วยปัญญาทางธรรมจะได้ความแตกต่างกันอย่างไร

    "ถูก" คือการทำอะไรก็ตาม ทั้งที่ตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม แต่ว่าเมื่อทำลงไปแล้ว ไม่เกิดความเสียหาย ไม่เกิดโทษไม่ก่อความเดีอดเนื้อร้อนใจใดๆ ตามมาภายหลัง ทั้งแก่ตนเอง และคนอื่นๆ มีแต่ประโยชน์เกิดตามมาเป็นระลอก

   "ดี" คือ การกระทำที่รู้อยู่เต็มอกก่อนจะทำแล้วว่า สิงนื้เป็นสิงที่ถูกต้อง แล้วตั้งใจทำด้วยความระมัดระวัง เอาใจจดจ่อ ทำ ด้วยความมั่นใจ ยิ่งทำยิ่งสุขทั้งกายทั้งใจ ทำได้มากเทำไร ก็เกิดความสุขขึ้นมามากมายเท่านั้น

    "ควร" คือ ควรทำ หมายความว่า สิงที่ทำลงไป ถ้าไม่ทำก็ไม่ผิด ไม่เสียหาย แต่ถ้าเรารู้ว่า ถ้าทำแล้วมันจะดีขึ้น แล้วเราก็ทำลงไป
 คุณพ่อคุณแม่ท่านใดก็ตามที่ฝึกปัญญาของลูกให้แยกแยะความดีชั่วได้ขนาดนื้ และสามารถฝึกให้ลูกมีคุณธรรมในฝ่ายดีตามที่รู้นั้นด้วยแล้ว ลูกจะได้ชีอว่า เป็นบัณฑิตอย่างแท้จริง เพราะเป็นผู้ที่ประกอบด้วยความร้คู่คุณธรรมนั่นเอง

    คุณสมบัติข้อที่ ๓ ไม่แล้งนํ้าใจ
   ไม่แล้งนาใจ คือ การรู้จักป่วยเฬฝือ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้ รับประโยชน์ พ้นจากความทุกข์ ได้รับแต่ความสุข

    คำว่า ไม่แล้งนํ้าใจ มีอยู่ ๒ ประเภท
    ๑) ไม่แล้งนํ้าใจในทางโลก
    ๒) ไม่แล้งนํ้าใจในทางธรรม
  
    ไม่แล้งนํ้าใจทางโลก คือ เป็นคนเห็นแก่ส่วนรวมไม่เห็นแก่ส่วนตัว

     เช่นไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม นึกถึงเพื่อนร่วมงานเป็นทีมทีเดียว แล้วผลประโยชน์ที่ตามมา ก็จะให้เกิดแก่คนทั้งหมู่บ้าน ทั้งตำบล ทั้งประเทศทั้งโลก ใจกว้างเป็นมหาสมุทร ไม่นึกเห็นเฉพาะตัว

    ไม่แล้งนาใจในทางธรรม คือ ไม่ว่าจะมีฐานะดี หรือยากจนข้นแค้นอดอยากอย่างไรก็ดาม ทุกลมหายใจของเขา จะมีแต่การบุญการกุศล และการตอบแทนผู้มีพระคุณอย่างสุดความสามารถ

     ทำไมจึงต้องมีนํ้าใจ เอาแค่ไม่แสบ ไม่โง่ ไม่ได้หรือ ?
    สำหรับข้อนี้ จำเป็นต้องอธิบายเพิ่มสักหน่อย เพราะโดยทั่วไปแล้ว คนเรามักเข้าใจว่า การที่เราไม่เป็นคนแสบ ไม่เป็นคนโง่ ก็น่าจะพอแล้ว เพราะไม่ได้สร้างปัญหาให้ใครเดือดร้อน แต่จริงๆ แล้ว เพียงสองข้อนั้นยังไม่พอ เพราะเราต้องอยู่ร่วมกับคนอีกหลายคนไนสังคม

      ยกตัวอย่างเช่น ลูกบางคน คุณพ่อคุณแม่ไปทำงานมาเหนื่อยๆ กสับมาถึงบ้าน ลูกยังไม่รู้จักตักน้ำมาให้แม่กินอย่างนี้
     ถามว่า แสบไหม ? ไม่แสบ เพราะไม่ได้ทำผิดศีสอะไร
     ถามว่า โง่ไหม ? ไม่โง่ เพราะไม่ได้มีออกข้อสอบที่โรงเรียน
  แต่ถามว่า ดีไหม ?ไม่ดี เพราะว่าแล้งนํ้าไจเกินไป ถ้าปล่อยไปอย่างนี้ เมื่อลูกโตขึ้นจะรู้จักไห้คนอื่นได้อย่างไรแสะนอกจากไห้คนอื่นไม่เป็นแล้ว บางทีจะกลับมาเอาเปรียบพิ่น้องอีกด้วย

     มีเรื่องเล่าว่า เจ้าของสวนมะม่วง ปลูกต้นมะม่วงไว้หลายแปลง ก็หวังจะกินผลให้มันชื่นใจ หวังจะเก็บผลไปขายให้ได้กำไรงาม อุตส่าห์ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ไห้แร่ธาตุไปก็มากมายหลายปี หมดเงินหมดทองไปก็มาก ต้นมะม่วงอื่นๆเขาก็ให้ผลตามปกติ แต่มีต้นมะม่วงอยู่ต้นหนื่ง ให้นั้า ให้ปุ๋ยมาเป็นสิบปีแล้ว แต่มันก็ยังเฉย มีแต่ใบหนาดก ไม่เคยออกผลให้กินเลย ดีแต่กินนํ้ากินปุ๋ยอย่างเดียว ในที่สุด เจ้าของสวนก็ต้องโค่นมะม่วงต้นนั้นทิ้ง

    ต้นมะม่วงที่ไม่เคยให้ผลนั้น ก็เปรียบเหมือนกับคนที่แม้ไม่มีพิษมีภัยกับใคร แต่ว่าไม่เคยให้อะไรแก่ใครนั่นเอง

    การไม่แล้งนํ้าใจจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่สอนให้ลูกรู้จักมีนั้าใจเอื้อเฟือให้คนอื่นก่อน ก็จะไม่มีใครมีนํ้าใจให้แก่ลูกของเราก่อนเช่นกัน วันหนึ่งเมื่อโตขึ้น เขาเกิดไปผิดพลาดอะไรสักอย่าง ทำให้เดือดร้อนทั้งตัวเอง และครอบครัวขึ้นมา ก็เห็นทีจะหันหน้า ไปขอความช่วยเหลือจากใครได้ยากเต็มที เพราะไม่เคยมีนํ้าใจแก่ใครไว้ก่อนนั่นเอง

   เพราะฉะนั้น วันหนึ่ง ถ้าลูกโตขึ้นมาแล้งนํ้าใจ เขาก็จะโดนโค่นทิ้ง เหมือนกับที่เจ้าของสวนโค่นต้นมะม่วงที่ไม่เคยออกลูกนั่นแหละ

    ดังนั้นนอกจากคุณพ่อคุณเฝจะต้องฝึกลูกให้ไม่แสบไม่โง่แล้ว ยังต้องฝึกให้!ม่แล้งนํ้าใจอีกด้วย
 
    โดยสรุป เป็นอันว่า ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากจะเลี้ยงลูกให้ดีจริงๆ ก็ต้องตั้งเป้าหมายก่อนว่า จะต้องฝึกให้ลูกมีคุณสมบัติไม่แสบ ไม่โง่ ไม่แล้งนํ้าใจ เป็นพื้นฐานไว้ก่อน เมื่อเขาโตขึ้น ก็จะสามารถไปต่อยอดวิชาความรู้และคุณธรรมอื่นๆได้โดยง่าย และยืนหยัดอยู่ในสังคมโลกนี้ได้ อย่างสมภาคภูมิดั่งที่คุณพ่อคุณแม่ตั้งความหวังไว้ทุกประการ


     

 

จากหนังสือ    
เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เมืองไทยได้เยาวชนดี

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018576820691427 Mins