องศาที่เหมาะสมของใจ

วันที่ 26 กพ. พ.ศ.2561

องศาที่เหมาะสมของใจ

dhammakaya , Dhammakaya Temple , Meditation , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , พระผู้ปราบมาร , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , หลวงปู่สด , หลวงพ่อสด , ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกาย , ตามรอยพระมงคลเทพมุนี , วิสุทธิวาจา , ประวัติหลวงพ่อสด , ประวัติพระมงคลเทพมุนี , รวมพระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สมาธิ , วิปัสสนา , สัมมาอะระหัง , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , อานุภาพพระของขวัญวัดปากนํ้า , คำสอนหลวงปู่ สู่โลกปัจจุบัน , วิธีปฏิบัติธรรม ให้เข้าถึงพระธรรมกาย , องศาที่เหมาะสมของใจ

“...หยุดได้เวลาใด ก็เป็นมงคลเวลานั้น
ถ้าหยุดไม่ได้เวลาใด ก็เป็นอัปมงคลเวลานั้น...”


      มีคำเตือนจากนักวิชาการสาธารณสุขว่า การใช้คอมพิวเตอร์อยู่เป็นประจำอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหนักได้ เช่น มีอาการปวดข้อนิ้ว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขน หัวไหล่ หรือคอ ถ้าปล่อยไว้นานอาจถึงขั้นเส้นเอ็นอักเสบ รวมทั้งอาจมีปัญหาเรื่องสายตาอย่างหนักนักวิชาการจึงแนะนำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สนใจเรื่องเหล่านี้เอาไว้บ้าง

      องศาที่เหมาะสมของการนั่ง แนะนำให้นั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิงอยู่ในระดับ ๙๐ - ๑๒๐ องศา ความสูงของเก้าอี้อยู่ในระดับที่เท้าวางบนพื้นได้สบายพอดี

  องศาที่เหมาะสมของช่วงแขน คีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับเดียวกันหรือต่ำกว่าข้อศอกเล็กน้อย ประมาณ ๙๐ - ๑๒๐ องศา

      องศาที่เหมาะสมของของการมอง จอภาพควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อยประมาณ ๒๐ องศา ระยะในการมองควรอยู่ระหว่าง ๕๐ - ๗๐ ซม. และควรพักสายตาเป็นระยะ ๆ

        เรื่องเหล่านี้ถือเป็นความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องหากใส่ใจนำไปปฏิบัติ ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว

       ในการดำเนินชีวิตประจำวัน เราทั้งหลายก็ควรมีความรู้และศิลปะในการใช้ชีวิตเช่นกัน เพื่อหลบหลีกให้พ้นจากความทุกข์ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านให้หลักการเอาไว้ว่า ถ้าต้องการจะดับทุกข์ให้ได้ผลดีจริง เราจะต้องทำใจหยุดให้ถูกส่วนจนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย แล้วเราจะมีความสุขอย่างยิ่งทีเดียว ดังนี้

        “...ถามดูเถอะพวกมีธรรมกายนั่น เป็นอย่างไรบ้าง ทุกข์สงบไหม ภัยสงบไหม โรคสงบไหม สบายใจ เย็นใจ อิ่มใจ ปลาบปลื้ม ใจตื้นใจเต็มทีเดียว แช่มชื่นตื่นเต้น ผ่องใสทีเดียว...”

        “...พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ ไม่กระทบกระเทือนแล้ว...”

        แม้ยังไม่เข้าถึงพระธรรมกาย แต่ถ้าใครสามารถทำใจให้หยุดนิ่งในเบื้องต้นที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็มีความสุขได้ระดับหนึ่งแล้ว ดังนี้

         “...เมื่ออยู่กลางดวงนั้นแล้ว ความกำหนัดยินดีไม่มี สงบระงับเป็นสุขทีเดียว ถ้าว่าต้องการสุขละก็ไปอยู่นั่น ถ้าว่าต้องการทุกข์ละก็ออกมาเสียก็ได้รับทุกข์...”

         “...ใจหยุดเสียแล้ว วิรชํ ปราศจากความขุ่นมัว วิรชํ ปราศจากธุลี เศร้าหมองก็ไม่มีแก่ใจ เพราะใจหยุดเสียแล้ว ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัวแต่อย่างใดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว...”

       พระเดชพระคุณหลวงปู่ยังกล่าวอีกด้วยว่า ถ้าใครทำใจให้หยุดได้แล้ว บุคคลนั้นก็ถึงซึ่งมงคล ถ้าทำใจหยุดไม่ได้ก็เป็นอัปมงคล

         “...หยุดได้เวลาใดก็เป็นมงคลเวลานั้น ถ้าหยุดไม่ได้เวลาใดก็เป็นอัปมงคลเวลานั้น...”

        มงคล หมายถึง เหตุแห่งความเจริญ พอใจหยุดแล้วจะมีมงคลคือ ไม่มีความเศร้าโศก ไม่ขุ่นมัว มีแต่ความผ่องใสเบิกบาน มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง สิริมงคลทั้งหลายก็จะไหลมาเทมา และจิตที่หยุดนิ่งได้นี้จะนำไปสู่ความเจริญอันสูงสุด คือ มรรคผลนิพพานดังคำของพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่ว่า

        “...พอใจหยุดเท่านั้น เข้าถึงทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ใจหยุดนั่นแหละจะพบพระบรมศาสดา...”

      ถ้ามนุษย์เราปรับองศาของใจเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไว้ให้ดี เรื่องราวความวุ่นวายต่าง ๆ ก็จะแทรกซึมเข้ามาทำลายความสุขของเราได้ยาก เราจึงต้องวางใจของเราให้อยู่ในองศาที่เหมาะสม คือองศาที่ ๐๗๒ โดยค่อย ๆ ปรับใจอย่างเบา ๆ สบาย ๆ เมื่อปรับให้หยุดนิ่งสนิทอยู่ ณ องศาที่ ๐๗๒ หรือที่ศูนย์ (๐) กลางกายฐานที่ ๗ เหนือสะดือ ๒ นิ้วมือเราก็จะสามารถเข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะได้ในที่สุดและขณะนั้นทุกข์ โศก โรค ภัย ก็จะไม่สามารถมาทำร้ายใจของเราได้องศาที่ ๐๗๒ จึงเป็นองศาแห่งความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ทุกคนถึงพระธรรมกาย แล้วเราจะมีความสุขอย่างยิ่งทีเดียว ดังนี้

         “...ถามดูเถอะพวกมีธรรมกายนั่น เป็นอย่างไรบ้าง ทุกข์สงบไหม ภัยสงบไหม โรคสงบไหม สบายใจ เย็นใจ อิ่มใจ ปลาบปลื้ม ใจตื้นใจเต็มทีเดียว แช่มชื่นตื่นเต้น ผ่องใสทีเดียว...”

         “...พอใจหยุดเสียได้เท่านั้นแหละ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุขเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ติเตียน ทุกข์ ไม่กระทบกระเทือนแล้ว...”

        แม้ยังไม่เข้าถึงพระธรรมกาย แต่ถ้าใครสามารถทำใจให้หยุดนิ่งในเบื้องต้นที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ก็มีความสุขได้ระดับหนึ่งแล้ว ดังนี้

       “...เมื่ออยู่กลางดวงนั้นแล้ว ความกำหนัดยินดีไม่มี สงบระงับเป็นสุขทีเดียว ถ้าว่าต้องการสุขละก็ไปอยู่นั่น ถ้าว่าต้องการทุกข์ละก็ออกมาเสียก็ได้รับทุกข์...”

       “...ใจหยุดเสียแล้ว วิรชํ ปราศจากความขุ่นมัว วิรชํ ปราศจากธุลี เศร้าหมองก็ไม่มีแก่ใจ เพราะใจหยุดเสียแล้ว ไม่เศร้าหมอง ไม่ขุ่นมัวแต่อย่างใดอย่างหนึ่งเลยทีเดียว...”

       พระเดชพระคุณหลวงปู่ยังกล่าวอีกด้วยว่า ถ้าใครทำใจให้หยุดได้แล้ว บุคคลนั้นก็ถึงซึ่งมงคล ถ้าทำใจหยุดไม่ได้ก็เป็นอัปมงคล

        “...หยุดได้เวลาใดก็เป็นมงคลเวลานั้น ถ้าหยุดไม่ได้เวลาใดก็เป็นอัปมงคลเวลานั้น...”

       มงคล หมายถึง เหตุแห่งความเจริญ พอใจหยุดแล้วจะมีมงคลคือ ไม่มีความเศร้าโศก ไม่ขุ่นมัว มีแต่ความผ่องใสเบิกบาน มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง สิริมงคลทั้งหลายก็จะไหลมาเทมา และจิตที่หยุดนิ่งได้นี้จะนำไปสู่ความเจริญอันสูงสุด คือ มรรคผลนิพพานดังคำของพระเดชพระคุณหลวงปู่ที่ว่า

        “...พอใจหยุดเท่านั้น เข้าถึงทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ใจหยุดนั่นแหละจะพบพระบรมศาสดา...”

     ถ้ามนุษย์เราปรับองศาของใจเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันไว้ให้ดี เรื่องราวความวุ่นวายต่าง ๆ ก็จะแทรกซึมเข้ามาทำลายความสุขของเราได้ยาก เราจึงต้องวางใจของเราให้อยู่ในองศาที่เหมาะสม คือองศาที่ ๐๗๒ โดยค่อย ๆ ปรับใจอย่างเบา ๆ สบาย ๆ เมื่อปรับให้หยุดนิ่งสนิทอยู่ ณ องศาที่ ๐๗๒ หรือที่ศูนย์ (๐) กลางกายฐานที่ ๗ เหนือสะดือ ๒ นิ้วมือเราก็จะสามารถเข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะได้ในที่สุดและขณะนั้นทุกข์ โศก โรค ภัย ก็จะไม่สามารถมาทำร้ายใจของเราได้องศาที่ ๐๗๒ จึงเป็นองศาแห่งความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ทุกคน

 

 


จากหนังสือ คำสอนหลวงปู่ สู่โลกปัจจุบัน

หนังสือธรรมะแจกฟรี .pdf สุนทรพ่อ

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.024499682585398 Mins