พิธีบำเพ็ญกุศลโดยมีพระธรรมเทศนาและพระสวดรับเทศน์

วันที่ 21 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม
ระเบียบปฏิบัติการจุดเครื่องสักการบูชา

พิธีบำเพ็ญกุศลโดยมีพระธรรมเทศนาและพระสวดรับเทศน์
 

พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีกรรม , ระเบียบปฏิบัติการจุดเครื่องสักการบูชา , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , พิธีบำเพ็ญกุศลโดยมีพระธรรมเทศนาและพระสวดรับเทศน์ , สวดพระอภิธรรม , พิธีบำเพ็ญกุศล

         การบําเพ็ญกุศลงานศพ เช่น งานทําบุญสัตตมวาร (ทําบุญ ๗ วัน) งานทําบุญปัญญาสมวาร (ทำบุญ ๕๐ วัน) และงานทําบุญสตมวาร (ทำบุญ ๑๐๐ วัน) ซึ่งนิยมจัดให้มีการบำเพ็ญกุศลต่างๆ ดังนี้ คือ

๑. มีพระเทศน์และพระสวดรับเทศน์ (ในเวลาเย็น)
๒. มีพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ (ต่อจากพระเทศน์) และ
๓. มีพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม (ต่อจากพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์)

      ในวันรุ่งขึ้น มีการถวายภัตตาหารเพล และมีพระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล โดยมากนิยมมีจํานวนเท่าอายุของผู้ตาย

          ตามรายการบําเพ็ญกุศลนี้ มีวิธีปฏิบัติในการจุดเครื่องสักการบูชา ดังต่อไปนี้


วิธีการปฏิบัติเมื่อพระเทศน์
     จุดเครื่องสักการบูชาที่โต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปแล้ว นั่งคุกเข่าประณมมือกล่าวคําบูชาพระรัตนตรัย และกราบ ๓ หน

          จุดเทียนบูชาพระธรรม แล้วมอบให้พิธีกรนําไปตั้งไว้บนธรรมาสน์ เพื่อบูชาพระธรรม

          จุดเครื่องสักการบูชาศพ และจุดเครื่องทองน้อยที่ตั้งอยู่ข้างหน้าศพ แล้วหันหน้าเครื่องทองน้อยไปทางพระเทศน์ เพื่อให้ผู้ตายบูชาพระธรรมเทศนา แล้วนั่งคุกเข่าหมอบกราบศพ ๑ ครั้ง แล้วกลับไปนั้งที่เดิม

          พิธีกรกล่าวอาราธนาศีล ๕ พระเทศน์ให้ศีล รับศีลจบแล้วพิธีกรกล่าวอาราธนาพระธรรม ต่อไป

          เจ้าภาพหรือประธานพิธี จุดเครื่องทองน้อยซึ่งตั้งอยู่ข้างหน้าด้านขวามือนั้น หันหน้าเครื่องทองน้อยไปทางพระเทศน์ เพื่อบูชาพระธรรมเทศนา แล้วประณมมือฟังพระธรรมเทศนาต่อไปจนจบกัณฑ์

          เมื่อพระเทศน์จบแล้ว เจ้าภาพหรือประธานพิธีเดินไปจุดเครื่องสักการบูชาพระธรรมที่ตั้งอยู่ข้างหน้าอาสน์สงฆ์ พระสงฆ์สวดรบเทศน์ เมื่อจุดเสร็จแล้ว น้อมตัวลงยกมือไหว้พระธรรมกลับไปนั่งที่เดิม ประณมมือฟังพระสงฆ์สวดพระคาถาธรรมบรรยายต่อไป

          เมื่อพระสงฆ์สวดพระคาถาธรรมบรรยายจบแล้ว เจ้าภาพหรือประธานพิธีลุกขึ้นไปถวายเครื่องกัณฑ์เทศน์และถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์สวดรับเทศน์ แล้วกลับไปนั่งที่เดิม

          พิธีกรทอดผ้าภูษาโยง หรือทอดด้ายสายโยงที่โยงมาจากศพเพื่อเตรียมทอดผ้าบังสุกุล เจ้าภาพหรือประธานพิธีลุกขึ้นไปทอดผ้าบังสุกุล แล้วเดินกลับไปนั่งที่เดิม

          ขณะที่พระสงฆ์กล่าวคําพิจารณาผ้าบังสุกุล เจ้าภาพ หรือประธานพิธีประณมมือฟัง เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนา (ยถา-) นิยมกรวดน้ำอุทิศล่วนกุศลแก่ผู้ตาย เมื่อพระสงฆ์ขึ้น (สัพพี ติโย,..) กรวดน้ำเสร็จแล้ว ประณมมือรับพรต่อไปจนจบ


วิธีการปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์
         เมื่อพระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนามาสวดพระพุทธมนต์นั่งบนอาสน์สงฆ์เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องจุดเครื่องสักการบูชาอีก เพราะพิธีบําเพ็ญกุศลต่อเนื่องกันมาจากการมีเทศน์

         พิธีกรเริ่มกล่าวอาราธนาพระปริตรต่อไป ไม่ต้องกล่าวอาราธนาศีลอีก เพราะไต้รับศีลมาแล้วจากพระเทศน์

         เมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์จบแล้ว เจ้าภาพหรือประธานพิธีทอดผ้าบังสกุล (โดยมากนิยมใช้ผ้าไตร) เมื่อพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลแล้ว นิยมยังไม่ต้องให้พร เพราะวันพรุ่งนี้ยังจะต้องมาฉันภัตตาหารอีกครั้งหนึ่ง


วิธีการปฏิบตเมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม
         เมื่อพระสงฆ์มานั่งบนอาสน์สงฆ์สำหรับสวดพระอภิธรรมเรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพหรือประธานพิธีจุดเครื่องสักการบูชาพระธรรมที่โต๊ะหน้าอาสน์สงฆ์ พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม

         ในการสวดพระอภิธรรมนี้ บางท้องถิ่นนิยมให้พิธีกรกล่าวคําอาราธนาพระธรรมก่อนเริ่มสวด และนิยมให้เจ้าภาพ หรือประธานพิธี หรือวงต์ญาติ ผู้ใดผู้หนึ่ง ต้องจุดธูปบูชาพระธรรมก่อนสวดทุกจบ เพื่อเป็นการอาราธนาให้พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม

         เมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรม โดยมาก นิยมเพียง ๔ จบ แล้วพิธีกรก็เก็บเครื่องสักการบูชาพระธรรมและตู้พระอภิธรรม แล้วยกเครื่องไทยธรรมมาตั้งบนอาสน์สงฆ์ตรงข้างหน้าพระสงฆ์แต่ละรูป

         เจ้าภาพหรือประธานพิธีหรือวงส์ญาติช่วยกันถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสงฆ์ แล้วกลับมานั่งที่เดิม

         พิธีกรทอดผ้าภูษาโยง หรือทอดด้ายสายโยง แล้วเชิญเจ้าภาพหรือประธานพิธีให้ทอดผ้าบังสุกุล

         เมื่อพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จแล้ว เริ่มอนุโมทนา (ยถา-) เจ้าภาพหรือประธานพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นเสร็จพิธี


วิธีการปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์สวดถวายพรพระ

         ในวันรุ่งขึ้นของการบําเพ็ญกุศล เวลาใกล้เพลเมื่อพระสงฆ์มานั่งพร้อมกันบนอาสน์สงฆ์เรียบร้อยแล้ว เจ้าภาพหรือประธานพิธีจุดเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย และปฏิบัติการต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้ว

          จุดเครื่องสักการบูชาศพ และปฏิฟ้ตการด่างๆ ดังกล่าวมาแล้วพิธีกรกล่าวอาราธนาสืล ๕ พระเถระประธานสงฆ์ให้ศีลรับศีล พระสงฆ์สวดถวายพรพระจบแล้ว ถวายภัตตาหาร

          เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเพลเสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือประธานพิธีถวายเครื่องไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพหรือประธานพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแล้ว เป็นเสร็จพิธี


วิธีการปฏิบัติเมื่อพระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุล
         เมื่อพระสงฆ์ที่ได้รับอาราธนามานั่งบนอาสน์สงฆ์เรียบร้อยแล้ว ก็ตั้งพัดสวดมาติกา จบแล้ว ฝ่ายเจ้าภาพก็ช่วยกันถวายเครื่องไทยธรรม (ถ้ามี)

         พิธีกรทอดผ้าภูษาโยง หรือทอดด้ายสายโยงเดรียมทอดผ้าบังสุกุล เชิญเจ้าภาพหรือประธานพิธี พร้อมตั้งวงศาคณาญาติและท่านผู้มาร่วมพิธีบําเพ็ญคุศล ให้ช่วยกันทอดผ้าบังสุกุล

         การทอดผ้าบังสุกุลนี้ นิยมทอดตามขวางผ้าภูษาโยง หรือขวางด้ายสายโยง ถ้าอาสน์สงฆ์แคบ ก็นิยมทอดผ้าบังสุกุลไปตามยาวของภูษาโยง หรือตามยาวของด้ายสายโยง

         การทอดผ้าบังสุกุลนี้ นิยมไม่ต้องยกถวายแด่พระสงฆ์ เพราะถือว่าเป็นการวางผ้าถวายไว้ โดยทอดอาลัยไม่มีความเสียดายห่วงใยในผ้านั้น

         เมื่อทอดผ้าบังสุกุลเสร็จแล้ว จะกลับไปนั้งที่เดิมหรือจะนั้งอยู่ข้างหน้าพระสงฆ์นั้นก็ได้

         เมื่อพระสงฆ์ตั้งพัดพิจารณาผ้าบังสุกุลเสร็จแล้วอนุโมทนาเจ้าภาพหรือประธานพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตายอีกครั้งหนึ่ง

         ถ้าอาสน์สงฆ์ไม่เพียงพอสําหรับพระสงฆ์ที่อาราธนามาสวดมาติกาบังสุกุลพร้อมกันตั้งหมดได้ ก็นิยมจัดนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นบังสุกุลเป็นชุดๆ ไป จนกว่าจะครบตามจํานวนที่นิมนต์มา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0012923161188761 Mins