ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเเปล (เพื่อการนำไปปฎิบัติ)

วันที่ 26 เมย. พ.ศ.2564

27-4-64-4-b.jpg

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเเปล (เพื่อการนำไปปฎิบัติ)

             ข้าพเจ้าพระอานนท์ ได้ฟังธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโดยตรงจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว

ดังใจความสำคัญต่อไปนี้

            ในครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้ปรารถนาความพ้นทุกข์ จะต้องงดเว้นความประพฤติผิดสุดโต่ง ๒ ประการโดยเด็ดขาด คือ

๑.๑ กามสุขัลลิกานโยค ได้แก่ การประพฤติปฏิบัติตนหมกมุ่นอยู่ในกามสุขทั้งหลาย เพราะ

กามสุขเหล่านั้นลวนเป็นโทษ คือ

- หีโน เป็นเหตุใหโจตํ่าทราม

- คัมโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน

- โปถุชชนิโก เป็นเหตุให้ใจหมักหมมสั่งสมกิเลสหนาแน่นยิ่งขึ้น

- อนริโย เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปจากเงื้อมมือข้าคืกคือกิเลสได้

- อนัตถสัญหิโต ไม่เป็นประโยชน์อันใดเลย

๑.๒ อัตตกิลมถานุโยค ได้แก่ การทรมานตนเอง มีโทษคือ

- ทุกโข เป็นเหตุให้เป็นทุกข์แก่ตนเองโดยใช่เหตุ

- อนริโย เป็นเหตุให้ไม่สามารถไปจากเงื้อมมือข้าคึกคือกิเลสได้

- อนัตถสัญหิโต ไม่เป็นประโยชน์อันใดเลย

 

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ข้อปฏิบัติผิด สุดโต่งทั้งสองนั้น ซึ่งเราตถาคตได้อภิสัมพุทธา ตรัสรู้แล้วด้วยพระญาณอันยิ่ง เมื่อใครปฏิบัติอย่างจริงจัง แล้วย่อมทำให้ได้

๒.๑ จักขุกรณี เครื่องเห็นความจริงเป็นปกติ

๒.๒ ญาณกรณี เครื่องรู้ความจริงเป็นปกติ

๒.๓ เพราะทั้งจักขุกรณีเเละญาณกรณีที่บังเกิดขึ้นทั้งสองประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

- อุปสมายะ เพื่อความเข้าไปสงบระงับดับกิเลส

- อภิญญายะ เพื่อทำให้เกิดความรู้ยิ่ง

- สัมโพธายะ เพื่อทำให้เกิดความรู้พร้อมในอริยสัจ

- นิพพานายะ เพื่อทำให้ดับสนิท

๒.๔ ภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเป็นอย่างไร ที่เราตถาคตได้ตรัสรู้

คือ ค้นพบด้วยตนเอง ทำให้เกิดจักขุ เครื่องเห็นความจริงเป็นปกติ ๑ ทำให้เกิดญาณ เครื่องรู้ความจริงเป็น

ปกติ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับดับกิเลสด้วย เพื่อทำให้เกิดความรู้ยิ่งด้วย เพื่อทำให้เกิด

ความรู้พร้อมในอริยสัจด้วย เพื่อทำให้ดับสนิทด้วย คือ การปฏิบ้ติควบคุมทั้งกาย วาจา ใจ ให้ประกอบด้วย

องค์ ๘ ประการ ย่อมเป็นเครื่องไปจากเงื้อมมือข้าศึก คือ กิเสส ได้แก่

๑) สัมมาทิฎฐิ ปัญญาอันเห็นถูกต้อง ๕) สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง

๒) สัมมาสังกัปโป ความดำริถูกต้อง ๖) สัมมาวายาโม ความเพียรถูกต้อง

๓) สัมมาวาจา วาจาถูกต้อง             ๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง

๔) สัมมากัมมันโต การงานถูกต้อง   ๔) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจถูกต้อง

           ภิกษุทั้งหลายข้อปฏิบัติเป็นกลางทั้ง ๘ ประการนี้เองซึ่งเราตถาคตได้ตรัสรู้แล้วเองด้วยปัญญาอัน

ยิ่ง ทำให้เกิด จักขุ เครื่องเห็นความจริงเป็นปกติ ทำให้เกิด ญาณ เครื่องรู้ความจริงเป็นปกติ อันเป็นไปเพื่อ

ความเข้าไปสงบระงับกิเลส เพื่อทำให้เกิดความรู้ยิ่ง เพื่อทำให้เกิดความรู้พร้อม เพื่อความดับสนิท บรรลุ

นิพพาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ความจริงที่มีอยู่ประจำโลก ซึ่งทำให้ผู้เห็น ผู้รู้ สามารถสำเร็จ

เป็นพระอริยเจ้าผู้ประเสริฐ มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประการคือ

(๑) ทุกขอริยสัจ ความทุกข์อย่างแท้จริงของสัตวโลก

(๒) ทุกขสมุทัยอริยสัจ ต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งหลายอย่างแท้จริง

(๓) ทุกขนิโรธอริยสัจ การดับความทุกข์ได้อย่างแท้จริง

(๔) ทุกขนิโรธคามินิปฏิปทาอริยสัจ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง 

 

๓.๑ ทุกขอริยสัจ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ทุกข์ คือความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อย่างแท้จริงของ

สัตวโลก มีอยู่ด้วยกัน ดังนี้

 

๓.๑.๑ ชาติทุกข์ ความเกิดเป็นทุกข์ ทุกข์ประจำ ใครๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่พ้น
๓.๑.๒ ชราทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์
๓.๑.๓ มรณทุกข์ ความตายเป็นทุกข์

 

๓.๑.๔ โสกะ ความเศร้าความเสียใจ ทุกข์จร เป็นความทุกข์ที่ ประสบมากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่บุคคล
๓.๑.๕ ปริเทวะ  ความร่ำไรรำพัน
๓.๑.๖ ทุกขะ ความไม่สบายกาย เจ็บไข้ได้ป่วย 
๓.๑.๗ โทุมนัสสะ ความน้อยใจ
๓.๑.๘ อุปายาสะ ความคับแค้นใจ
๓.๑.๙ สัมปโยคะ ความประสบสิ่งที่เกลียดชัง
๓.๑.๑๐ วิปปโยคะ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
๓.๑.๑๑ อลาภะ ความผิดหวัง ไม่ได้ดังใจ

 

โดยสรุป อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

 

๓.๒ ทุกขสมุทัยอริยสัจ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า สมุทัย ต้นเหตุให้เกิดความทุกข์ทั้งหลายอย่างแท้จริง

แก่สัตวโลก คือ ตัณหา

 

๓.๒.๑ ตัณหามีลักษณะสำคัญ ๓ ประการ คือ

- โปโนพภวิกา  ทำให้ต้องมีภพ คือ ต้องเกิดใหม่อีกรํ่าไป ไม่ใช่ตายแล้วสูญ

- นันทิราคสหคตา  ประกอบขึ้นมาด้วยความกำหนัด เพลิดเพลินด้วยความยินดี

- ตัตระตัตราภินันทินี  หากไปเกิดในที่ใดๆ ก็ยินดีเพลิดเพลินในที่นั้นๆ

 

๓.๒.๒ ตัณหาแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทด้วยกัน คือ

- กามตัณหา ความอยากในกาม

- ภวตัณหา ความอยากในรูปภพหรือความอยากเป็น

- วิภวตัณหา ความอยากในอรูปภพหรือความอยากไม่เป็น

 

๓.๓ ทุกขนิโรธอริยสัจ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า นิโรธ การดับความทุกข์ได้อย่างแท้จริง คือ ภาวะที่

ตัณหาดับสิ้นไป ทำให้ผู้นั้นไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดให้เป็นทุกข์อีก

ลักษณะในการดับตัณหา มีอาการดังนี้

-อเสสวิราคนิโรโธ ความดับตัณหาอย่างไม่เหลือหรอ

-จาโค ความดับตัณหา โดยการสละทิ้ง

-ปฎินิสสัคโค ความดับตัณหา โดยการไม่ข้องเกี่ยวอีก

-มุตติ ความดับตัณหา โดยการปล่อยให้พ้นไป

-อนาลโย ความดับตัณหา โดยความหมดห่วง ไม่อาลัยอาวรณ์อีก

 

๓.๔ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ หรือทีเรียกย่อๆ ว่า มรรค ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

อย่างแท้จริง คือ การปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการ ดังต่อไปนี้

(๑) สัมมาทิฎฐิ ความเห็นถูกต้อง

(๒) สัมมาสังกัปโป ความดำริถูกต้อง

(๓) สัมมาวาจา วาจาถูกต้อง

(๔) สัมมากัมมันโต การงานถูกต้อง

(๕) สัมมาอาชีโว การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง

(๖) สัมมาวายาโม ความเพียรถูกต้อง

(๗) สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง

(๘) สัมมาสมาธิ ความตั้งใจถูกต้อง

 

๓.๕ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ธรรมเหล่านี้

เกิดขึ้นแก่เรา คือ

- จักขุ ดวงตาเครื่องเห็นความจริงเป็นปกติได้เกิดขึ้น

- ญาณัง ญาณเครื่องรู้ความจริงเป็นปกติได้เกิดขึ้น

- ปัญญา ความหยั่งรู้เหตุรู้ผล ถูกต้องตามความเป็นจริงได้เกิดขึ้น

- วิชชา ความรู้ที่เป็นเหตุให้กำจัดกิเลสได้เด็ดขาดได้เกิดขึ้น

- อาโลโก แสงสว่างยิ่งกว่ารัศมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ตลอดแสนโกฏิจักรวาล รวมกันได้เกิดขึ้น

 

๓.๖ ภิกษุทั้งหลายจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการ อย่างดีแลวนื้ เป็นผลให้จักขุ ญาณ

ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขอริยสัจ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยได้ฟัง

มาก่อนว่า

-ทุกข์มีจริง

- ทุกข์ เป็นสิ่งควรกำหนดรู้

- ทุกข์ เราได้กำหนดรู้แล้ว

๓.๗ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ จักขุ ญาณ

ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขสมุทัยอริยสัจ ที่เราไม่เคยได้ฟัง

มาก่อนว่า

- ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง

- ตัณหา เป็นสิ่งที่ควรละเสีย

- ตัณหา เราได้ละแล้ว

๓.๘ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ จักขุ ญาณ

ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขนิโรธ-อริยสัจ ทั้งๆ ที่ เราไม่

เคยได้ฟังมาก่อนว่า

- นิโรธ มีจริง

- นิโรธ ควรทำให้แจ้ง

- นิโรธ เราได้ทำให้แจังแล้ว

๓.๙ ภิกษุทั้งหลาย จากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ประการอย่างดีแล้วนี้ เป็นผลให้ จักขุ ญาณ

ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราทำให้เราสามารถหยั่งรู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ทั้งๆ ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า

- มรรค มีจริง

- มรรค ควรบำเพ็ญให้ครบ

- มรรค เราได้บำเพ็ญครบแล้ว

ตารางเเสดงเกณฑ์รู้ - เห็นอริยสัจ

อริยสัจญาณ ต้องรู้ถึง ๓ รอบ คือ
สัจจญาณ รู้รอบที่ ๑ ว่า กิจจญาณ รู้รอบที่ ๒ ว่า กตญาณ รู้รอบที่ ๓ ว่า
ทุกขอริยสัจ ทุกข์มีจริง ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ทุกข์ (เรา)ได้รู้เเล้ว
ทุกขสมุทัยอริยสัจ ตัณหาให้เกิดทุกข์จริง ตัณหาเป็นสิ่งควรละ ตัณหา(เรา)ได้ละเเล้ว
ทุกขนิโรธอริยสัจ นิโรธมีจริง นิโรธเป็นสิ่งควรทำให้เเจ้ง นิโรธ (เรา)ได้ทำให้เเจ้งเเล้ว
ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทาอริยสัจ มรรคมีจริง มรรคเป็นสิ่งควรบำเพ็ญให้ครบ มรรค(เรา)ได้บำเพ็ญครบเเล้ว

 

 

ผลแห่งการรู้ - เห็นอริยสัจ

              ภิกษุทั้งหลาย หากว่าญาณทัสสนะ คือ ปัญญารู้เห็นตามเป็นจริงในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของ

เรา ซึ่งพิจารณาทบทวนถึง ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว ตราบนั้นเราตถาคตก็

ไม่ปฏิญาณตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไป

ตลอดทั่วทั้งมนุษย์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลกและในหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งมนุษย์

และเทวดา

             ภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะว่าเราได้ญาณทัสสนะอันบริสุทธิ์ รู้เห็นตามความเป็นจริงใน

อริยสัจ ๔ ซึ่งพิจารณาทบทวนถึง ๓ รอบ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ เราตถาคต จึงกล้าปฏิญาณไปตลอดทั่วทั้ง

มนุษย์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลกและในหมู่สัตว์ทั้งหลาย ทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งมนุษย์และเทวดาว่า

เราได้บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

 

             ภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นจากวัฏสงสารของเรา เป็นของเที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลง ชาตินี้

เป็นชาติสุดท้ายแล้ว ภพชาติใหม่จะไม่มีแก่เราอีกโดยเด็ดขาด

 

ผลแห่งพระธรรมเทศนา

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปวัตตนสูตรจบลงแล้ว

พระโกณฑัญญะหนึ่งในปัญจวัคคีย์ไล้ดวงตาเห็นธรรมว่า

"สิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเกิดขึ้น ก็ย่อมมีการดับไปเป็นธรรมดา"

                เหล่าภุมมเทวดาทั้งหลายพากันส่งเสียงสนั่นหวั่นไหว ว่าพระผู้มีพระภาดเจ้าได้ทรง

ประกาศธรรมจักรอันเยี่ยม ซึ่งไม่มีสมณพราหมณ์ เทพยดา มาร พรหมหรือผู้ใดจะสามารถคัดค้านได้ ณ

ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสีโน้น

              เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาได้ฟังเสียงประกาศของเหล่าฦมมเทวาแล้วก็ประกาศต่อไป

จนถึงเทวดาชั้นดาวดึงส์

              เหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นยามา

              เหล่าเทวดาชั้นยามา ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นดุสิต

              เหล่าเทวดาชั้นดุสิต ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นนิมมานรดี

              เหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ก็ประกาศต่อขึ้นไป ถึงเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

              เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงนั้นก็ดังขึ้นไปตลอดพรหมโลก หมื่นโลกธาตุก็สะท้านสะเทือน

หวั่นไหว บังเกิดแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ไปทั่วทั้งโลก

 

              ท้ายที่สุด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า "อฌฺญาสิ วต โภ โกณฑญฺโญ" แปลว่า

"โกณฑัญญะรู้เห็นทั่วถึงแล้วหนอ" ด้วยเหตุนี้พระโกณฑัญญะจึงได้ชื่อใหม่ว่า "อัญญาโกณฑัญญะ" ด้วย

ประการฉะน็้แล

 

คำอธิบายเพิ่มเติม

อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ซึ่งมีความหมายมากถึง ๓ นัยยะ คือ

นัยยะที่ ๑ ความจริงทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นพระธรรมที่พระอริยเจ้าค้นพบ คนทั่วไปไม่สามารถจะค้นพบได้

นัยยะที่ ๒ ความจริงทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นกฎแห่งการปฏิบัติ ถ้าใครปฏิบัติได้สมบูรณ์ ผู้นั้นจะได้เป็นพระอริยเจ้าจึงเรียกว่าอริยสัจ

นัยยะที่ ๓ ความจริงทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นความจริงชั้นสูงสุดเหนือสามัญสัจจะ จึงเรียกว่า อริยสัจ

             

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.013569951057434 Mins