ขันติ โสรัจจะ ธรรมะที่จะทำตนให้งดงาม

วันที่ 04 พค. พ.ศ.2557

ขันติ

ขันติ โสรัจจะ ธรรมะที่จะทำตนให้งดงาม

ขันติ ความอดทน
โสรัจจะ ความเสงี่ยม

     ขันติ คือ ความอดทนต่ออารมณ์ ที่ไม่เป็นที่พอใจ (อกนิฏฐารมณ์) ไว้ได้ อด คือ ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ
ทำให้อดส่วนทน คือได้ในสิ่งที่ไม่ปรารถนา จึงจำเป็นต้องทน
ความอดทน โดยประเภทมี 4 คือ

1. ทนต่อความลำบากตรากตรำ ได้แก่ ทนต่อการทำงาน ไม่หวั่นหวาดต่อความเหนื่อยยาก หนาว
ร้อน และลมแดด เป็นต้น

2. ทนต่อความเจ็บป่วยไข้ ได้แก่ อดทนต่อทุกขเวทนา อันเกิดมีเพราะความเจ็บไข้มีประการต่างๆ
แม้ที่สุดทนทุกขเวทนาแสนสาหัสก็ไม่แสดงอาการกระสับกระส่าย

3. ทนความเจ็บใจ ได้แก่ ทนต่อการหมิ่นประมาท ที่ผู้อื่นกล่าวคำเสียดสี หรือกระทบกระทั่งในขณะ
ทำงาน เป็นต้น

4. ทนต่ออำนาจกิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะที่คุกรุ่นอยู่ในใจของเรา พร้อมที่จะแสดงออกมาได้
ทุกเมื่อ

       การอดทนต่อความลำบากตรากตรำ มีผลดีทำให้การงานลุล่วงไปได้ อดทนต่อความเจ็บป่วยไข้จะทำให้เป็นผู้มี สติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ อดทนความเจ็บใจและกิเลสตัณหา จะช่วยป้องกันความผิดพลั้งอันจะเกิดขึ้นด้วยโทสะเสียได้ ผู้ที่มีความอดทนจะทำให้การทำหน้าที่กัลยาณมิตรประสบความสำเร็จ เหมือนลักษณะของแผ่นดิน แม้ต้นไม้ ภูเขาและอื่น ๆ แผ่นดินก็ยังทรงไว้ได้ อดทนจนเปลี่ยนเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี ยอมรับด้วยใบหน้าชื่นบาน เขาจะตำหนิติเตียน ด่าว่าหยาบคายเสียดสีให้เจ็บใจอย่างไรก็ทนได้ ไม่แสดงอาการโต้ตอบ

     โสรัจจะ ได้แก่ ความเสงี่ยม ความรู้จักทำใจให้แช่มชื่น ในเมื่อต้องอดทน มีความยิ้มแย้มและ
แช่มชื่นเบิกบาน ความเสงี่ยมใช้ในลักษณะที่ต้องอดทน คือไม่แสดงกิริยาเสียอกเสียใจให้ปรากฏเกินงาม

ขันติ มีอานิสงส์ 5 ประการ คือ

1. คือเป็นที่รักใคร่ของคนเป็นอันมาก

2. ไม่มากด้วยเวร

3. ไม่มากด้วยโทษ

 

4. ไม่หลงทำกาลกิริยา

5. เมื่อกายแตกดับขันธ์เบื้องหน้าแต่มรณะ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ
ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก 1 ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยเวร 1 ย่อมเป็นผู้
ไม่มากด้วยโทษ 1 ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ 1 เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายอานิสงส์ของความอดทน 5 ประการนี้แล1

     โสรัจจะ มีอานิสงส์ เช่นเดียวกับขันติแต่เป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมขันติ ให้เด่นชัดขึ้น
ขันติธรรมข้อนี้เป็นสิ่งที่กัลยาณมิตรจะต้องมุ่งมั่นที่จะพิชิตให้ได้ ต้องไม่ให้อำนาจกิเลส คือ
ความโลภ โกรธ หลงมาบีบคั้นจิตใจต้องหาโอกาสขจัดออกไปจากใจด้วยการหมั่นทำสมาธิภาวนา และรักษาอุดมการณ์ของตนเองในการที่จะสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่โลกให้ได้

 

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชา DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น

กลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010862986246745 Mins