บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด

วันที่ 03 กค. พ.ศ.2557

 

บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด

 


เจตนารมณ์ของหน้าที่ข้อ 3 นี้ คืออะไร


             เจตนารมณ์ของหน้าที่ประการที่ 3 ของทิศเบื้องขวา ก็คือ ครูอาจารย์ทั้งหลายต้องไม่หวงวิชา กล่าวคือ ถ้าตนมีความรู้ และประสบการณ์ในศิลปวิทยาที่กำลังสอนอยู่มากเท่าใด ก็ สมควรอย่างยิ่งที่จะถ่ายทอดให้แก่ศิษย์อย่างหมดเปลือกโดยไม่มีการเก็บกักขยักไว้ หรือ สอนในห้องเรียนแต่น้อย ขยักไว้ไปสอนนอกห้องเรียนให้มาก ศิษย์คนใดอยากได้ความรู้เพิ่มเติมอีก ก็ต้องตามไปเรียนพิเศษที่บ้านครู หรือที่โรงเรียนกวดวิชา เป็นต้น

 

            ครูอาจารย์ประเภทไหนที่ไม่หวงวิชา


            ครูอาจารย์ที่ไม่หวงวิชา คือครูอาจารย์ที่มีลักษณะนิสัยเป็น คนใจกว้าง มีความเมตตากรุณาสูงทัศนคติของครูอาจารย์ประเภทนี้ อาจกล่าว รุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้


            1. มีความรักและเมตตาศิษย์ของตนเสมือนหนึ่งเป็นลูกเป็นหลาน จึงทุ่มเทพลังกายพลังใจ
ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบัง


            2. มีความตระหนักว่าเยาวชน คือผู้มีบทบาทสำคัญในการพันาชาติบ้านเมืองต่อไป ถ้าศิษย์
มีความรู้ความสามารถสูง ย่อมสามารถนำพาและผลักดันชาติบ้านเมืองให้เจริญทัดเทียมนานาอารยะ
ประเทศได้


           3. ไม่กลัวว่าศิษย์จะเด่นดังกว่าครู แต่มีความคิดว่า ถ้าบรรดาศิษย์ของตนประสบความเจริญ
ก้าวหน้าในชีวิต มีเกียรติยศ ชื่อเสียงในสังคมสามารถทำประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองอย่างกว้างขวาง
ครูอาจารย์ก็พลอยมีความปลื้มปีติไปด้วย เฉกเช่นบุคคลที่ปลูกไม้ดอกไว้ประดับบ้าน คราใดที่เห็นไม้นั้นออกดอกสวยงาม ก็เฝ้าชื่นชมด้วยความสุขใจ


           4. มีความเห็นว่า อาชีพครูเป็นการทำ "ธรรมทาน" และ "วิทยาทาน" ซึ่งมีอานิสงส์มาก ดังนั้น
ครูอาจารย์ประเภทนี้ จึงตั้งใจทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้

 

             ครูอาจารย์ประเภทไหนที่หวงวิชา


             ครูอาจารย์ที่หวงวิชา คือ ครูอาจารย์ที่มีลักษณะนิสัยเป็นคนใจแคบคิดถึงประโยชน์ส่วนตัว
มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ทัศนคติของครูอาจารย์ประเภทนี้ อาจกล่าว รุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้


            1. ไม่เคยคิดว่า อาชีพครูเป็นการทำ "ธรรมทาน"1 หรือ "วิทยาทาน"2 ซึ่งมีอานิสงส์มาก จึง
ปฏิบัติหน้าที่ของตนแบบ "ลูกจ้าง อนหนังสือ" คือปฏิบัติหน้าที่ตามเวลา ไม่เคยคิดทุ่มเท พลังกายพลังใจเพื่อศิษย์ของตน


           2. เกรงว่าถ้าศิษย์มีความรู้ลึกเท่าครูแล้ว ต่อไปในภายภาคหน้าศิษย์อาจจะเด่นดังกว่าครู อาจ
จะวัดรอยเท้าหรือแข่งดีกับครู หรืออาจจะนำความรู้ที่ได้รับไปทำมาหากินได้ร่ำรวยกว่าครู ครูอาจารย์
ประเภทนี้จึงบอกศิลปวิทยาแก่ศิษย์ไม่ทั้งหมด


          3. เห็นช่องทางหาประโยชน์จากศิษย์ ครูอาจารย์ประเภทนี้มีความคิดว่า การถ่ายทอดความ
รู้แบบเก็บกักขยักไว้ จะเป็นช่องทางหารายได้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ เมื่อศิษย์คนใดต้องการความรู้ให้กว้างขวางขึ้น ตนก็จะจัด สอนพิเศษให้ที่บ้าน หรือบอกให้ศิษย์ไปเรียนกับตน ณ สถาบันกวดวิชาที่ตนสังกัดอยู่ เป็นต้น


            อาจกล่าวได้ว่า ครูอาจารย์ประเภทหวงวิชา เป็นบุคคลที่ขาดความจริงใจ ยังมีลักษณะนิสัย
เป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ ย่อมไม่สามารถปลูกฝังสัมมาทิฏฐิให้แก่ศิษย์ของตนได้ เยาวชนที่ได้เป็นศิษย์ของครู
อาจารย์ประเภทนี้ ก็จำเป็นต้องได้รับการพันาจิตใจในอนาคตต่อไปอีก

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0039690971374512 Mins