เจรจาไพเราะ (ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ)

วันที่ 10 กค. พ.ศ.2557

 

 เจรจาไพเราะ (ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ)

 


              เจรจาไพเราะ หมายถึงอะไร


             เจรจาไพเราะในบริบทนี้หมายถึง การใช้คำพูดเพื่อให้เป็นคนน่ารัก เพราะฉะนั้นจึงมีขอบเขตกว้างขวางกว่าการพูดไพเราะ อ่อนหวานเท่านั้น แต่อาจจะต้องมีความหมายอยู่ในลักษณะต่อไปนี้คือ


             1) เป็นคำพูดสุภาพ ไม่หยาบคายสบายหู ไม่เพ้อเจ้อ ฟังแล้วชื่นใจทุกครั้ง


             2) เป็นคำพูดที่กล่าวด้วยเมตตาจิต ซึ่งผู้ฟังสามารถ รู้สึกได้ถึงคุณธรรมของผู้พูด


             3) เป็นคำจริง ไม่โกหก มีประโยชน์ แต่ต้องกล่าวให้ ถูกกาลเทศะ มิฉะนั้นอาจจะเกิด
โทษแก่หลายฝ่าย และตัวผู้พูดก็จะกลายเป็นคนน่ารังเกียจ แทนที่จะน่ารัก


             4) เป็นคำพูดที่แสดงความจริงใจ และความปรารถนาดีอย่างแท้จริง แต่ต้องกล่าวให้ถูก
กาลเทศะ และใช้สำนวนภาษา ที่ฟังเข้าใจง่าย มิฉะนั้นจะเกิดโทษต่อผู้พูดเอง


            5) เป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจในการทำความดี ทุกรูปแบบ เพื่อพันาตนให้เป็น
กัลยาณมิตรต่อชาวโลก


            6) ไม่เป็นคำพูดส่อเสียด ที่ทำให้คนแตกแยกกัน


            7) ไม่เป็นคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังท้อแท้ หมดกำลังใจที่จะทำความดี หมดกำลังใจที่จะสู้ชีวิต หรือแม้การมีชีวิตอยู่ต่อไป


            บุคคลใดก็ตามที่มีพฤติกรรมทางวาจาอยู่ในลักษณะ 7 ประการ ดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมถือได้ว่าเป็นผู้เจรจาไพเราะ หรือ มีปิยวาจา ย่อมเป็นคนน่ารัก น่าเข้าใกล้ส่วนบุคคลที่มีพฤติกรรมทางวาจา ที่ตรงกันข้ามกับลักษณะ 7 ประการนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เจรจาไม่ไพเราะ หรือมีอัปปิยวาจา ย่อมเป็นคนไม่น่ารัก ไม่น่าเข้าใกล้

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 
 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.017886336644491 Mins