“ทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง นิ่งอย่างเดียว” ไม่ให้มีอะไรเหนี่ยวรั้ง ให้ใจนิ่งๆ นุ่ม ๆ เบาๆ สบาย ๆ ใจเย็น ๆ สังเกตความสุข ความบริสุทธิ์ที่เพิ่มขึ้น ใจตั้งมั่นอย่างมีความสุข ที่ยังไม่ตั้งมั่นเพราะยังเข้าไม่ถึงความสุข ยังไม่ได้ความสุขจากสมาธิ ถ้าเข้าถึงความสุข จะอยากสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้ามีความสุขจริง ๆ ใจจะไม่หลุด จะไม่มีลุ้น เร่ง เพ่ง จ้อง ที่ตั้งมั่นแล้วก็จะตั้งมั่นยิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งจับหลักตรงที่ ต้องง่าย ต้องสบาย ไม่ง่าย ไม่สบาย ไม่ใช่!! นะลูก
...อ่านต่อ
องค์กรของเรา ต่อไปจะมีชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามา เพื่อศึกษาฝึกฝนวิชชาธรรมกาย สิ่งที่เขามองเห็นได้ง่าย ก็คือเรื่องหยาบก่อน ถ้าหากว่าตัวเราเองก็ดี เสนาสนะก็ดี ความเป็นอยู่ขององค์กรความมีระบบมีระเบียบ มีความสะอาดเรียบร้อย ดูแล้วรื่นรมย์ใจเป็นสุขใจ เขาก็จะเกิดความเลื่อมใส อยากจะศึกษาสิ่งที่ละเอียดยิ่งกว่านี้ขึ้นไปเรื่อย ๆ
...อ่านต่อ
ลูกทุก ๆ คนคงจะไม่ทราบว่าเราตกเป็นเป้าสายตาของชาวโลกอยู่ตลอดเวลา ทุกอากัปกิริยาที่เราแสดงออก ไม่ว่าจะเป็นถ้อยคำก็ดี จะเป็นการกระทำก็ดี การอยู่ร่วมกันก็ดี ในทุกสถานที่ในวัดก็ดี นอกวัดก็ดี เราได้ตกเป็นเป้าสายตาของชาวโลกอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเรารู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม
...อ่านต่อ
 สมาชิกเขตในสำคัญมากที่จะต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของชาวโลกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นแบบอย่างทั้งเรื่องหยาบและเรื่องละเอียด เรื่องหยาบเป็นเรื่องที่ชาวโลกมองเห็นได้ก่อน เราจะต้องพยายามศึกษาเรื่องหยาบนี้ให้เข้าใจ และฝึกฝนให้ชำนาญจนติดเป็นอุปนิสัยที่ดีงามอย่างที่หลวงพ่อทัตตะท่านได้กรุณาอบรมสั่งสอนเรามาทุกวัน เราจะต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
...อ่านต่อ
   พยายามฝึกใจหยุดใจนิ่งเอาไว้เรื่อย ๆ ให้คุ้นเคยกับศูนย์กลางกายให้ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะมีภารกิจอะไรก็ตาม ทั้งนั่ง ทั้งนอน ทั้งยืน ทั้งเดิน หรือจะทำอะไรก็ตาม ให้ฝึกเอาไว้ให้ใจคุ้นเคยอยู่ภายในที่กลางกาย ใจของเราจะได้เชื่อมโยงกับกระแสธารแห่งบุญ ที่สอดละเอียดลงมาจากที่สุดแห่งธรรม
...อ่านต่อ
 ให้ลูกตั้งใจนั่งธรรมะกันนะ หยุดนิ่งอย่างเดียว ไม่มีอะไรจะง่ายไปกว่าการทำหยุดทำนิ่งอีกแล้ว ซึ่งก็ไม่ได้ยากเลย ยากพอสู้ถ้าสู้ก็ไม่ยาก วันเวลาที่ผ่านไปจะได้ไม่สูญเปล่า ให้ทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง นิ่งอย่างเดียว ฝึกทำซ้ำ ๆ ให้ชำนาญ
...อ่านต่อ
การปฏิบัติธรรมอย่างถูกหลักวิชชา คือ ให้ทำอย่างสบาย ๆ ดูดวง ดูองค์พระ ดูอย่างสบาย ๆ มีความสุข นิ่ง นุ่ม อย่างสบาย ๆ ถ้าฝืนไปพยายามไปเค้นภาพไม่ได้เลย ต้องสบาย ๆ ถ้าสบายจะดูดวงดูองค์พระ ดูอะไรก็ชัด จะเป็นอะไรก็ได้ให้ดูสบายๆ ดูอย่างเพลิน ๆ ง่าย ๆ อย่างมีความสุข นิ่งกับสุข เฉยกับสุข ต้องอยู่คู่กันตรงนี้สำคัญนะ ถ้ายังไม่มีความสุขแสดงว่าเฉยไม่จริง
...อ่านต่อ
 ลูกจะรู้แจ้งแทงตลอดได้ ก็ต้องฝึกให้ใจบริสุทธิ์หลุดพ้นจากเครื่องกั้นจิต คือ นิวรณ์ ๕ ใจจึงจะหยุดนิ่ง การจะหลุดจากนิวรณ์ ๕ จนใจหยุดนิ่งได้ก็ต้อง “ทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่ง นิ่งอย่างเดียว” และการที่จะทิ้งทุกอย่าง วางทุกสิ่งได้ ก็ต้องเห็นภัยในวัฏสงสาร เมื่อเราเห็นโทษเห็นภัยในวัฏสงสาร ใจก็จะไม่ติดอะไรเลย ใจจะเกลี้ยง ๆ
...อ่านต่อ
 ถ้าถูกทิศ...ก็ถูกทาง จึงเรียกว่า “ทิศทาง” จะไปทางทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศอื่นไปยังไงก็ไม่มีทางที่จะดับทุกข์ได้ มีอยู่ทิศเดียวที่มีทาง คือ ทิศทางสายกลาง เป็นทางแห่งการดับทุกข์ และหลุดพ้นซึ่งเป็นทางเดียวเลย ส่วนทิศอื่นไม่มีทาง ต้องทิศทางสายกลางเท่านั้น
...อ่านต่อ
  นั่งธรรมะแล้วต้องหายสงสัยด้วยตัวเองนะ ให้แจ่มแจ้ง จักขุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ให้รู้แจ้งเห็นจริงให้หายสงสัยด้วยตัวของลูกเอง ถึงจะใช้ได้ ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องหยุดนิ่งให้มากที่สุด อย่าเห็นเรื่องอื่นสำคัญกว่าเรื่องของการปฏิบัติธรรม จึงจะเป็นนักรบกองทัพธรรมตัวจริงดีจริง ถ้ายังให้ความสำคัญกับเรื่องอื่นมากกว่า นั่นไม่ใช่แล้ว ไม่ใช่นักรบกองทัพธรรมตัวจริงไม่ดีจริง ให้หมั่นปัดกวาดใจให้ใส ๆ บริสุทธิ์มาก ๆ
...อ่านต่อ
 เราต้องรักษากาย วาจา ใจ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการตรึกระลึกนึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่ไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ทั้งหลับตา ลืมตา นั่ง นอน ยืน เดิน ก็ต้องให้เห็นท่านชัด ใส แจ่ม อยู่ตลอดเวลา ให้กาย วาจา ใจของเราใสสะอาดบริสุทธิ์ เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญใหญ่ที่จะเกิดขึ้น ต้องเอาบุญตรงนี้ให้เต็มที่นะ
...อ่านต่อ
 ทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่ง ใจต้องไม่ติดอะไรเลย ในคน สัตว์ สิ่งของ ให้เป็นอิสระจากทุกสิ่ง ต้องเป็นตัวของเราเองศูนย์กลาง กายห่างจากปากช่องจมูกแค่ศอกเดียว เราต้องไปครอบครองศูนย์กลางกายให้ได้ พระเดชพระคุณหลวงปู่ท่านสรุปไว้ว่า “หยุดเป็นตัวสำเร็จ” เราต้องไปครอบครองคำนี้ให้ได้ เป้าหมายของเราคือ ต้องยึดศูนย์กลางกายให้ได้นะ
...อ่านต่อ
 อย่าทิ้งคำนี้นะ ให้มีสติกับสบายควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ มีสติกับสบาย นิ่ง ๆ ค่อย ๆ ฝึกไปเรื่อย ๆ มีความมืดให้ดูก็อยู่กับความมืดนั้นด้วยใจที่เบิกบาน แช่มชื่น ไม่ทุกข์ใจ มีแสงสว่างให้ดูก็อย่าไปตื่นเต้น ดูไปเรื่อย ๆ มีอะไรให้ดูเราก็ดูไป ตรงนี้ต้องจำนะ
...อ่านต่อ
การเห็นภาพทางใจนั้น จะแตกต่างจากการเห็นภาพด้วยมังสจักขุ หรือตาเนื้อ คือไม่ใช่เห็นได้ทันทีเลย เป็นมโนภาพที่เรานึกถึง เหมือนเรานึกถึงขันล้างหน้า แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดอกบัว ดอกกุหลาบ สิ่งของที่เรารักอย่างนั้นสิ่งไหนเราคุ้นเคยมาก เราก็นึกได้ชัด สิ่งไหนเราไม่คุ้นก็นึกไม่ค่อยชัด เพราะเป็นมโนภาพทางใจ ที่เรียกว่า “บริกรรมนิมิต”
...อ่านต่อ
 เราต้องทำความเข้าใจว่า พระนิพพานนั้นอยู่ภายในตัวของเรา ไม่ได้อยู่นอกตัว เพราะฉะนั้นเราก็ต้องเอาใจของเรากลับเข้ามาไว้ในตัว โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ เราจะต้องเอาใจมาหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้ให้ได้ตลอดเวลาเลย ไม่ว่าเราจะมีภารกิจอะไรก็ตาม เพราะนี่คือ “กรณียกิจ”
...อ่านต่อ
ภาพภายในนี่แหละที่จะเปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนจากโลกที่วุ่นวาย เป็นโลกแห่งสันติภาพ เพราะคนไม่รู้ว่าสิ่งใดควรทำและสิ่งใดที่ไม่ควรทำ ไม่เชื่อเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องนรกสวรรค์ เพราะความไม่เชื่อเหล่านี้เองจึงเป็นสาเหตุทำให้โลกวุ่นวาย
...อ่านต่อ
ให้ลูกตั้งใจฝึกใจให้หยุดนิ่ง แม้กระทั่งนอนหลับ ก็ให้หลับอยู่ในกลาง คือ หลับในกลางในระดับที่ไม่ฝัน อยู่ตรงนั้นตลอดมีสติอยู่แม้กระทั่งนอนหลับ
...อ่านต่อ
    “นอกรอบ” ทำได้ง่ายกว่า “ในรอบ” แสดงว่า ในรอบ เราตั้งใจเกินไป ให้เริ่มที่เราสบายก่อน การเรียนวิชชาธรรมกายไม่จำเป็น ต้องมีความรู้อะไรมาก่อน แค่หยุด นิ่ง เฉย แล้วจะเกิดแสงสว่างเกิดภาพ เกิดการเห็นแจ้งและรู้แจ้ง เห็นชัดเจน ตอบตัวเองได้ จนหายสงสัยด้วยตัวของเราเอง เป็นที่พึ่งของตัวเราได้จริง ๆ และเราจะได้ก้าวไปเรื่อย ๆ ยังมีอีกมากที่เรายังไม่รู้
...อ่านต่อ
 ให้ลูกเตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงและก็เตรียมใจให้ปลอดกังวล ปลอดโรค และก็มุ่งมั่นที่จะศึกษาวิชชาธรรมกายให้เต็มที่ เราต้องเตรียมร่างกายให้แข็งแรงเพราะว่า “การปฏิบัติธรรมนี้อาศัยร่างกายที่แข็งแรง” ถ้าไม่แข็งแรงแล้วสู้ไม่ไหว ทั้ง ๆ ที่นั่งอยู่เฉย ๆ อย่างนี้ไม่ได้ออกแรงแบกหามอะไร เราต้องแข็งแรงเพราะว่า “โรคที่จะเกิดขึ้นกับนักปฏิบัติธรรมมักจะเป็นโรคเส้นกับโรคท้องอืด” เป็นหลัก นอกนั้นก็โรคอื่น ๆ ตามมาสารพัด ร่างกายแข็งแรงจึงจะสู้กับสิ่งเหล่านี้ได้
...อ่านต่อ
ลูกต้องตั้งใจนั่งธรรมะกันนะ ยังอยู่ในวัยแข็งแรง ต้องรีบชิงช่วงในวัยนี้ ลูกมีบุญจึงได้มาอยู่ในสถานที่สัปปายะ ดังนั้นให้ทำความเพียรให้เต็มที่ เดี๋ยวก็วัน เดี๋ยวก็คืน ทานอาหารให้อิ่มไปมื้อ ๆ พอหนักท้อง ให้มีแรงทำความเพียร ให้ออกกำลังกาย เดินย่อยให้เลือดลมเดินให้ลมหยาบออกไประหว่างเดินก็อย่าเดินฟรีแปะติดภาพดวงหรือองค์พระไปด้วย ประคองใจที่ศูนย์กลางกายพอเสร็จภารกิจก็ให้มานั่งหลับตา
...อ่านต่อ
ลูกทุกคนเป็น “ความหวังของชาวโลกอย่างแท้จริง” ที่พูดเช่นนี้ยังเป็นคำพูดเพียงส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ พอที่ชาวโลกจะเข้าใจได้เพราะแค่นำให้ชาวโลกได้เข้าถึงพระธรรมกาย ก็เป็นเรื่องที่ต้องต่อสู้กันพอสมควรทีเดียว กว่าที่จะชักชวนเขาและนำเขาไปสู่ภาวะนั้น แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นยังมีอยู่อีก คือ เรื่องเกี่ยวกับการไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรม การไปให้ถึงที่สุดแห่งธรรมนั้น เราจะพบสภาวะหนึ่งที่ปราศจากอาสวะกิเลส เครื่องหมักดองใจ หรือเครื่องบังคับสัตว์โลกให้ทุกข์ทรมาน
...อ่านต่อ

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร


ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล