ชาดก 500ชาติ

สัมภวชาดก ว่าด้วยคนผู้รุ่งโรจน์ได้เพราะปัญญา

สัมภวชาดก

ว่าด้วยคนผู้รุ่งโรจน์ได้เพราะปัญญา

 

 

                 ในเช้าวันหนึ่ง ณ โรงธรรมสภา มีกลุ่มภิกษุกำลังนั่งจับกลุ่มสรรเสริญ พระปัญญาบารมีของพระตถาคตว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระตถาคตเป็นผู้มีพระปัญญาใหญ่ มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาร่าเริง ลึกซึ้งดุจแผ่นดิน  มีปัญญาว่องไว  ขณะเดียวกัน พระศาสดาเสด็จผ่านมาพอดี จึงเอ่ยถามขึ้นว่า

 

366771759_882527306927526_9194959012489375863_n.png

 

                "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนาถึงเรื่องอะไร" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า "มิใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้นที่ตถาคตมีปัญญา แม้ในอดีตกาล เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ยังบำเพ็ญบุรพจรยาเพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณอยู่ ก็เป็นผู้มีปัญญาเหมือนกัน" จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้

 

                ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ธนัญชยโกรัพยะ เสวยราชสมบัติในอินทปัตนคร แคว้นกุรุ พระองค์ทรงครองราชสมบัติโดยทศพิธราชธรรม

 

405568541_6754245554611385_6063196839375361511_n.png

 

               จนกระทั่งวันหนึ่ง ทรงสงสัยเรื่องธัมมยาคะ จึงเชิญสุจีรตพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ มาเอ่ยถามว่า "เรานั้นได้เป็นกษัตริย์ครอง แคว้นกุรุแล้ว ซึ่งรัฐที่เราปกครองอยู่นั้น  มีขนาดกว้างขวาง แต่มีอย่างหนึ่งที่กวนใจข้ามาก คือ โลกคล้อยตามพระราชา เมื่อพระราชามีธรรมชาวโลกทั้งหมดก็เป็นผู้มีธรรม แปลว่า ธรรมนั้นเป็นสิ่งที่พระราชาควรยึดถือใช่หรือไม่ ท่านอาจารย์ช่วยบอกข้าได้ไหม" 

 

               ท่านอาจารย์ได้ยินปัญหาของพระราชาแล้วครุ่นคิดอยู่ชั่วครู่ ก่อนจะตอบว่า "ขอเดชะ ปัญหานี้ หม่อมฉันไม่อาจตอบคำถามพระองค์ได้ แต่มีอยู่คนหนึ่งที่คิดว่าน่าจะแก้ปัญหาได้ คือท่านปุโรหิตของพระเจ้าพาราณสี มีชื่อว่าวิธุรพราหมณ์ " "ถ้าอย่างนั้น ท่านอาจารย์ช่วยไปยังสำนักของวิธุรพราหมณ์ พร้อมทองคำพันแท่ง เพื่อรับคำตอบ ให้ข้าได้ไหม" 

 

               สุจีรตพราหมณ์รับคำสั่ง ของบรรณาการทุกอย่างถูกจัดเรียบร้อยแล้ว รถม้าเทียมเกวียนขนาดกลาง และผู้ติดตามได้ออกเดินทางจากพระราชวัง แต่พราหมณ์ไม่ได้ตรงไปยังพาราณสีทันที หยุดยังสำนักและสถานที่มักจะมีเหล่าบัณฑิตรวมตัวกัน เพื่อถามคำถาม แต่ไม่ว่าจะไปยังสำนักใด ยังไม่เจอผู้ใดที่สามารถตอบคำถามได้แม้แต่คนเดียว คณะเดินทางไปทั่วชมพูทวีปจนกระทั่งมาหยุดตรง พระนครพาราณสี

 

                ในเวลาเช้าตรู่ พราหมณ์ตรงไปยังเรือนของวิธุรพราหมณ์ทันที พร้อมด้วยคนใช้เพื่อบอกเล่าธุระที่ตนมาให้ทราบ อสุจีรตะเข้าไปในที่พักแล้ว วิธุรพราหมณ์กำลังรับประทานอาหารอยู่ในเรือนของตน

 

                ครั้นที่ทั้งสองพบหน้ากัน รอยยิ้มก็ปรากฎบนใบหน้าทั้งสอง "ว่าไงเพื่อนรัก เราไม่ได้เจอกันนานเลยนะ" "นั่นดิ มากินข้าวก่อน ส่วนธุระค่อยคุยกันทีหลัง" "ได้เลยเพื่อน" ก่อนนั่งลง ระหว่างทานอาหารทั้งสอง ก็พุดคุยเรื่องสมัยวัยเด็กช่วงสมัยเรียนในสำนักเดียวกัน 

 

405896465_1060317395096741_5292282504377173331_n.png

 

              เมื่อรับประทานเสร็จเเล้ว  วิธุระเอ่ยถามขึ้น "พระเจ้าโกรัพยราชส่งให้มาถาม ถึงปัญหาชื่อธัมมยาคะ" "อย่างนั้นหรือ" วิธุรพราหมณ์เอ่ย "เรื่องนี้ยากเลยนะ ข้านั้นไม่สามารถบอกท่านได้ เอาอย่างนี้แล้วกันลองไปถามบุตรชายของเราดีกว่า เขานั้นมีปัญญาปราดเปรื่องกว่าเรา เขาพยากรณ์ได้ ท่านไปสำนักของเขาเถิด"

 

401060605_617393140426222_8243466546478358375_n.png

 

               สุจีรตพราหมณ์ฟังดังนั้น  ไปยังเรือนของภัทรการ เมื่อไปถึงกล่าวแนะนำตัวทันที ภัทรการมาณพเธอจงบอกอรรถและธรรมนั้นแก่เราด้วย ภัทรการมาณพจึงกล่าวว่า  "จิตของข้าพเจ้ามัวหมองไม่สามารถให้คำตอบท่านได้ ท่านลองไปหาน้องข้าพเจ้าเถิด เขานั้นแก้ปัญหาของท่านได้"

 

405529873_1301076817273880_6356648563801273961_n.png

 

                สุจีรตพราหมณ์จึงไปยังเรือนสัญชยกุมาร จึงแจ้งให้ทราบ  สัญชยกุมารตอบกลับพราหมณ์ว่า "ข้าพเจ้านั้นทำผิดศีลข้อสาม จิตของข้าพเจ้าขุ่นมัว ไม่สามารถบอกอรรถธรรมแก่ท่านได้ แต่ข้าพเจ้ามีน้องชายอยู่คนหนึ่งมี่อายุเจ็ดปี มีญาณความรู้ เหนือข้าพเจ้า ตั้งร้อยเท่า พันเท่า แสนเท่า เธอจักบอกแก่ท่านได้ เชิญท่าน ไปถามดูเถิด"

 

          "เราถามมาจนทั่วแล้วไม่ว่าจะตามสำบัณฑิตทั้งหลาย แถมยังถามพ่อของท่าน พี่ชาย จนกระทั่งมาถึงท่าน ยังไม่มีใครตอบได้เลย แล้วเด็กเจ็ดขวบจะไปรู้ได้ยังไง" 

 

          "ท่านอาจจะเห็นว่าเขานั้นเป็นเด็ก แต่ความจริงแล้วน้องข้าพเจ้านั้น สติปัญญาเฉียบแหลม เกินกว่าวัยของเขามาก นอกจากนั้นปัญญาของน้องข้านั้นมากกว่าใครในตระกลูนี้แล้ว อีกอย่างท่านเดินทางไปทั่ว ลองอีกสักครั้งก็คงไม่เป็นไรหรอก" 

 

               สุจีรตพราหมณ์นิ่งไปชั่วครู่เหมือนกำลังคิดอะไรอยู่ ก่อนจะเอ่ยขึ้นว่า "ข้าเห็นด้วย"  จากนั้นสัญชยะ เปิดหน้าต่างชี้มือบอกสุจีรตพราหมณ์ว่า "นั่นสัมภวกุมาร คนที่มีผิวพรรณผ่องใสคล้ายทองคำ กำลังเล่นอยู่กับเพื่อนเด็ก ๆ ระหว่างถนนริมประตูปราสาท นี้คือน้องชายของข้าพเจ้า เชิญท่านไปหาแล้วไต่ถามเขาดู"

 

               สุจีรตพราหมณ์ ฟังคำของสัญชยกุมารแล้ว ลงจากปราสาท ไปยังที่สัมภวกุมารซึ่งขณะนั้นสัมภวกุมาร ยืนเปลื้องผ้า เอาผ้านุ่งพาดไว้ที่ตอไม้ มือทั้งสองโกยดินเล่น ด้านพระมหาสัตว์เจ้า เห็นพราหมณ์มายืนอยู่ข้างหน้า จึงถามว่าท่านต้องการสิ่งใด จากนั้นหยุดเล่น ดึงผ้าที่พาดไว้มานุ่ง แล้วกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจะแก้ปัญหาแก่ท่านเอง" 

 

              สัมภวกุมารยืนแสดงธรรมอยู่ระหว่างถนนด้วยเสียงอันไพเราะ เสียงกึกก้องไปทั่วพระนครพาราณสี ประมาณ ๑๒ โยชน์ ลำดับนั้น พระราชาและอุปราชทั้งหมดมาประชุมกันแล้ว พระมหาสัตว์เจ้าจึงเริ่ม แสดงธรรมเทศนาในท่ามกลางมหาชน

 

               "ข้าแต่ท่านสุจีรตะ ถ้าหากพระราชาของท่านตรัสแก่ผู้ใดว่า วันนี้เราจะให้ทาน รักษาศีล  แล้วผู้นั้นกราบทูลว่า  วันนี้พวกกระหม่อมจะฆ่าสัตว์ จะบริโภคกาม จะดื่มสุราก่อน แล้วพรุ่งนี้ค่อยทำ  พระราชาของท่านทรงกระทำตามคำของอำมาตย์ผู้นั้นแล้ว  อย่าทรงกระทำตามคำของเขา รักษากุศลจิตที่เกิดขึ้นแล้วอย่าให้เสื่อม จงทรงบำเพ็ญกรรมอันปฏิสังยุตด้วยกุศลอย่างเดียว ท่านควรกราบทูลคำนี้แด่พระราชา ของท่าน"

 

              "ท่านสุจีรตะ เมื่อพระราชาดำรัสถามท่านว่า สัมภวบัณฑิตกล่าวแก้ธัมมยาคปัญหาอย่างไร? ท่านพึงกราบทูลอัชฌัตธรรมอย่างเดียวแด่พระราชา คือ พึงกราบทูลถึงเบญจขันธ์อันเป็นนิยกัชฌัตธรรมว่า เป็นของไม่เที่ยงโดยความเป็นของไม่มี"

 

               ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระมหาสัตว์เจ้า ทรงแสดงอนิจจตาธรรมแจ่มแจ้ง ด้วยคาถาอย่างนี้ ความว่า "เมื่อใดบัณฑิตพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็น ธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความเข้าไประงับ สังขารเหล่านั้นเสียได้เป็นสุข"

 

               "ข้าแต่ท่านพราหมณ์ อันธพาลปุถุชน คนงมงายไม่มีความคิด ย่อมซ่องเสพทางผิดคือ ทิฏฐิ ๖๒ ประการฉันใด พระราชาของท่านไม่ควรซ่องเสพทางผิดฉันนั้น จงซ่องเสพเฉพาะกุศลกรรมบถ ๑๐ อันเป็นนิยยานิกธรรม ท่านควรกราบทูลพระองค์อย่างนี้"

 

               "กษัตริย์ไม่ควรละเลยกรรมอันนำพาไปสู่สุคติ กรรมคือการกระทำอันใดที่ทำให้ชนทั้งหลายละเลยกุศลสมบัติ ๓ ประการในกามภพ แล้วบังเกิดในอบาย กษัตริย์ไม่ควรทำกรรมนั้น"

 

399816578_3569157313298179_1245240281070928994_n.png

 

                 เมื่อธรรมนั้นจบลง มหาชน ต่างบันลือโห่ร้องตบมือ  จากนั้นต่างโยนทรัพย์สินให้กับสัมภวกุมาร นับได้ถึงโกฏิ แม้พระราชาก็ทรงโปรดปรานพระราชทานยศใหญ่แก่สัมภวกุมารนั้น ฝ่ายสุจีรตพราหมณ์ ทำการบูชาด้วยทองคำพันลิ่ม แล้วจารึกคำวิสัชนาปัญหาลงในแผ่นทองคำด้วยชาดกับหรดาล แล้วเดินทาง ไปยังอินทปัตตนครกราบทูลธัมมยาคปัญหาแด่พระราชา พระราชาทรงประ พฤติในธรรมนั้น แล้วยังเมืองสวรรค์ให้แน่นบริบูรณ์

 

                พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่าดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในปางก่อน ตถาคตก็มี ปัญญามากเหมือนกัน

 

                                                                      ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

พระเจ้าธนัญชยโกรัพยราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอานนท์

สุจีรตพราหมณ์ ได้มาเป็นพระอนุรุทธะ

วิธุรพราหมณ์ ได้มาเป็นพระอริยกัสสป

ภัทรการกุมารได้มาเป็น พระโมคคัลลานะ

สัญชยมาณพ ได้มาเป็นพระสารีบุตร

สัมภวบัณฑิต ได้มาเป็นเราผู้ตถาคต ฉะนี้แล

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล