ข่าวประชาสัมพันธ์ : กัลยาณมิตร ธรรมะออนไลน์

107 ปี วันคล้ายวันเกิดคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

วันที่ 13 มค. พ.ศ.2559

๑๐๗ ปี วันคล้ายวันเกิด
คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง (ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย)

 

 ๑๐๗ ปี วันคล้ายวันเกิด คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง (ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย)

      ขอเรียนเชิญลูกหลานคุณยายทั่วโลก ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารพระภิกษุ - สามเณรนับพันรูป บูชาธรรมคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เนื่องในวันคล้ายวันเกิดคุณยายอาจารย์ ครบรอบ ๑๐๗ปีในวันอังคารที่ ๑๙ มกราคม  พ.ศ. ๒๕๕๙  เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ หอฉันคุณยายฯ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  เบอร์โทรศัพท์ 083-5405006 , 082-7006420 , 088-0026379


กำหนดการ

 10.20 น. คณะสงฆ์พร้อมกันที่หอฉัน
 10.30 น. คณะสงฆ์แปรแถวขึ้นอาสนะสงฆ์
               - พิธีกรนำอาราธนาศีล
               - ประธานสงฆ์ให้ศีล
               - พิธีกรอาราธนาพระปริตร
               - คณะสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
 11.00 น. เจ้าภาพกล่าวถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน
               - เจ้าภาพประเคนภัตตาหาร
               - คณะสงฆ์ฉันภัตตาหารเพล
 12.00 น. เจ้าภาพถวายเครื่องไทยธรรม
 12.10 น. คณะสงฆ์อนุโมทนา(ให้พร)
               - เสร็จพิธี

 

คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง  (ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย)

      ประวัติชีวิตของท่านบริสุทธิ์ งดงาม ควรค่าต่อการนำมาเป็นแบบอย่าง และเทิดทูนไว้ในฐานะปูชนียบุคคลของโลกอย่างแท้จริง

     คุณยายอาจารย์ มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ท่านมีประวัติชีวิตที่งดงาม สามารถนำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่างได้ทั้งชีวิต บนผืนแผ่นดิน 196 ไร่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี คือ จุดเริ่มต้นของวัดพระธรรมกาย หากย้อนอดีตกลับไป ในวันขุดดินก้อนแรกเพื่อสร้างวัด ภาพแจ่มชัดในอดีตคือ ภาพของแม่ชีท่านหนึ่ง รูปร่างผอมบาง อายุราว 60 ปี แววตาของท่านสุกสว่าง เป็นแววตาของผู้ทรงภูมิธรรมลึกซึ้ง มีความเด็ดเดี่ยว หากแต่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา ในขณะนั้นท่านคือ ผู้นำในการสร้างวัดพระธรรมกาย
 
     คุณยายอาจารย์ เกิดในครอบครัวชาวนา ที่อำเภอนครไชยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นลูกคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้อง 9 คน ของพ่อพลอย และแม่พัน คุณยายเป็นคนขยันและอดทน ช่วยพ่อแม่ดูแลงานบ้านและเป็นเรี่ยวแรงหลักในการทำนา       เมื่อคุณยายอายุได้ 26 ปี (พ.ศ. 2478) ท่านตัดสินใจออกจากบ้าน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาฝึกสมาธิที่วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) จนได้พบและฝึกสมาธิกับคุณยายทองสุก สำแดงปั้น ซึ่งเป็นครูสอนสมาธิ จากวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) จนได้เข้าถึงพระธรรมกาย แล้วใช้วิชชาธรรมกายตามหาพ่อ ได้ขอขมาและช่วยพ่อขึ้นจากนรกได้
  
     จากนั้นคุณยายทองสุกได้พาคุณยาย ซึ่งตอนนั้นอายุได้ 29 ปี (พ.ศ. 2481) ไปกราบหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) เมื่อหลวงพ่อพบคุณยายครั้งแรก ท่านก็รับคุณยายเป็นศิษย์ และให้เข้าศึกษาวิชชาธรรมกายชั้นสูงในโรงงานทำวิชชาทันที
 
     ด้วยความวิริยะอุตสาหะ และความเป็นคนทำอะไรทำจริงของคุณยาย ทำให้ท่านศึกษาวิชชาธรรมกายได้อย่างรวดเร็วและเชี่ยวชาญยิ่ง จนได้รับความไว้วางใจให้เป็นหัวหน้าเวรในการทำวิชชา และได้รับคำชมจากหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญว่า “ลูกจันทร์นี่ หนึ่งไม่มีสอง”
 
      เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำใกล้มรณภาพ ท่านมีคำสั่งให้ศิษย์ทุกคนช่วยกันเผยแผ่วิชชาธรรมกายของพระพุทธองค์ไปให้ ทั่วโลก คุณยายจึงตั้งใจอบรมสั่งสอนธรรมปฏิบัติวิชชาธรรมกายแก่ศิษย์อย่างเต็มที่ ตลอดมา ด้วยความเคารพในคำสั่งของครูบาอาจารย์
 
      ปลายปี พ.ศ. 2506 พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ซึ่งในขณะนั้นจบการศึกษาจาก ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อที่ ม.เกษตรศาสตร์ ได้มาฝึกธรรมปฏิบัติกับคุณยายอย่างต่อเนื่อง ด้วยความตั้งใจจริง รักการปฏิบัติธรรมมาก และได้ผลการปฏิบัติธรรมที่ดีเยี่ยม คุณยายจึงถ่ายทอดวิชชาธรรมกายที่ศึกษามาจากหลวงพ่อวัดปากน้ำให้แก่ท่านอย่างเต็มที่
 
      จากนั้นหลวงพ่อธัมมชโยจึงได้ชักชวนเพื่อนๆ รุ่นพี่รุ่นน้องในมหาวิทยาลัยเดียวกันมาร่วมปฏิบัติธรรมกับคุณยายที่บ้านธรรมประสิทธิ์ มากขึ้นจนบ้านหลังเล็กในวัดปากน้ำไม่สามารถรองรับได้ พ.ศ. 2513 หลวงพ่อธัมมชโยบวช คุณยายจึงได้รวบรวมคณะศิษย์มา สร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งใหม่ โดยได้รับบริจาคพื้นที่จากคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี และตั้งชื่อว่า “ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดพระธรรมกาย”

     คุณยายท่านทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังสติปัญญา ในการสร้างวัดเป็นอย่างมาก เป็นทั้งที่ปรึกษา และเป็นศูนย์รวมใจให้แก่หมู่คณะผู้บุกเบิกให้ทำงานสร้างบารมีร่วมกันอย่างมี ความสุข ท่านยังวางกฎระเบียบ และแนวปฏิบัติต่างๆ ภายในวัดอย่างรัดกุมตั้งแต่ต้น ทั้งยังคอยช่วยดูแลเรื่องความเป็นอยู่ และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของงานทุกอย่าง และเมื่อต้องขยายพื้นที่ออกมาอีก 2,000 ไร่ เพื่อรองรับงานพระศาสนาใช้อบรมศีลธรรมเยาวชนและบุคคลทั่วไป กฎระเบียบต่างๆ ที่คุณยายได้ตั้งไว้ยังเป็นหลักในการสร้างงานพระศาสนามาจนถึงปัจจุบัน

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล