ข่าวประชาสัมพันธ์ : กัลยาณมิตร ธรรมะออนไลน์

โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย

วันที่ 29 มิย. พ.ศ.2555



                
โครงการอุปสมบทหมู่รุ่นเข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย               



ขอเชิญชายแท้ทุกท่าน ร่วมบวช ในโครงการอุปสมบทหมู่ รุ่นเข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย
อบรม วันที่ 8 กรกฎาคม - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ

บวชฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. 02-831-1234  หรือ www.dmycenter.com

 

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *  *

"ถ้าลูกไม่บวช... แล้วใครจะบวชให้แม่"

อย่ารอให้ท่านจากไป บวชให้คนที่คุณรัก ขณะที่ท่านยังมีชีวติอยุ่ เพราะอาจเป็นสิ่งเดียวที่ท่านรอคอยจากคุณ

เข้าพรรษานี้ บวชทดแทนคุณ เอาบุญให้พ่อแม่ 1 พรรษา



* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

 

หลักการและเหตุผล ของโครงการบวชพระเข้าพรรษา 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย

แผ่นดินไทยได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินธรรม ที่พระพุทธศาสนาปักหลักอย่างมั่นคงมายาวนานนับพันปี กระแสธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ซึมแทรกไปในทุกจังหวะชีวิตของชาวไทย เกิดเป็นประเพณี วัฒนธรรมชาวพุทธอันงดงาม จนได้รับการกล่าวขานเป็น “สยามเมืองยิ้ม” ดินแดนแห่งความสุขบนมนุษยโลก

คำตอบของการดำรงความรุ่งเรืองและความสุขของประชาชาติไทยก็คือ การดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงคู่ผืนแผ่นดินไทย ซึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนา คือศาสนทายาทที่มั่นคงในพุทธธรรม ดังนั้นการสืบทอดรักษาประเพณีการบวชของชายไทย จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการธำรงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นภาระรับผิดชอบของพุทธบริษัทไทยทุกคน

จากโครงการบวชครั้งประวัติศาสตร์ คือโครงการอุปสมบทหมู่ ๗,๐๐๐ รูป ๗,๐๐๐ ตำบล, โครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย, โครงการอุปสมบทหมู่เข้าพรรษา ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ และ ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม คณะสงฆ์ สาธุชนและองค์กรภาคีที่ร่วมโครงการ ต่างปลื้มปีติเป็นล้นพ้นและเห็นพ้องต้องกันว่า ถึงเวลาแล้วที่จะช่วยกันฟื้นฟูประเพณีการบวช ให้กลับมาเป็นค่านิยมกระแสหลักของชายไทย ดังเช่นบรรพกาล

คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภา ผู้แทนราษฎร วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัด “โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ภาคเข้าพรรษา ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย” ขึ้น ระหว่าง วันที่ ๘ กรกฎาคม ถึงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้พุทธบริษัทไทยได้สร้างบุญใหญ่อีกวาระหนึ่ง และจะเป็นก้าวสำคัญที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นดินแดนแห่งสันติสุขอย่างยั่งยืนสืบต่อไป

   
 

วัตถุประสงค์ โครงการบวชพระ ภาคฤดูร้อน 100,000 รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย
  
๑.เพื่อให้กระแสธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่ปกคลุมทั่วผืนแผ่นดินไทยให้ดับร้อน ฝ่าภัยวิกฤติไปสู่ความเข้มแข็งและเจริญรุ่งเรืองต่อไป
๒.เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่บ้านทั่วประเทศได้ร่วมสั่งสมบุญบารมีในโครงการอุปสมบทหมู่ และเป็นแบบอย่างอันดีให้เกิดโครงการเช่นนี้ขึ้นทั่วประเทศไทย
๓.เพื่อให้ผู้อุปสมบทได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องสืบไป


คุณสมบัติผู้เข้าอุปสมบท มีดังนี้

๑. เป็นชายแท้อายุ ๒๐ – ๕๐ ปี
๒. จบการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ ๓ ขึ้นไป
๓. สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ โรคจิตประสาท หรือโรคประจำตัวร้ายแรงอื่นๆ
และไม่ติดยาเสพติด
๔. ร่างกายไม่พิการ เช่น ตาบอด หูหนวก แขนขาขาด เป็นต้น
๕. ไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือสักเป็นรูปไม่เหมาะสม อยู่นอกร่มผ้าเมื่อครองจีวร
๖. มีคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้บวชตามกฎมหาเถรสมาคม


กำหนดการ

เปิดรับสมัคร                                 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ระยะเวลาอบรมและอุปสมบทรวม    ๑๒๐ วัน
                                                   ตั้งแต่วันที่ ๘ กรกฎาคม – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
เริ่มอบรม                                      วันอาทิตย์ที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ วัดอบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ
บรรพชา                                       วันเสาร์ที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ วัดพระธรรมกาย
อุปสมบท                                     วันที่ ๓๐ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ณ วัดต่างๆ ทั่วประเทศ
รับประกาศนียบัตร – ปิดการอบรม   วันอาทิตย์ที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕
สถานที่อบรม                                วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ

 

ที่ปรึกษาโครงการ

ประธานที่ปรึกษา 
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

กรรมการที่ปรึกษา

๑. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.๙) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
๒. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
๓. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙ ) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร
๔. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
๕. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.๓) วัดยานนาวา
๖. พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร ป.ธ.๖) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
๗. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
๘. พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.๗) วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง
๙. พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร ป.ธ.๖) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
๑๐. พระธรรมวโรดม (สมเกียรติ กิตฺติวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดทินกรนิมิต
๑๑. พระพรหมเมธี (จำนงค์ ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร
๑๒. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดสามพระยาวรวิหาร
๑๓. พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.๙) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
๑๔. พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) วัดสระเกศราชวรวิหาร
๑๕. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙) วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
๑๖. พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.๖) วัดพระแก้ว จ.เชียงราย
๑๗. พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.๙) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
๑๘. พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.๙) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
๑๙. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.๙) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
๒๐. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.๙) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
๒๑. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙) วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
๒๒. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.๙) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
๒๓. พระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดชลประทานรังสฤษฎ์
๒๔. พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.๙) วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
๒๕. พระธรรมวงศาจารย์ (นิมิต ทนฺตจิตฺโต ป.ธ.๔) วัดโคกสมานคุณ จ.สงขลา
๒๖. พระเทพสุธี (สงคราม อสิญาโณ ป.ธ.๙) วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฏร์ธานี
๒๗. พระเทพรัตนสุธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.๕) วัดเขียนเขต เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
๒๘. พระราชวิสุทธิเวที (สายชล ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.๙) วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
๒๙. เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

๑. คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
๒. คณะกรรมาธิการ การศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
๓. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๔. วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
๕. สหพันธ์รวมใจไทยทั้งชาติ
๖. องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
๗. ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์


ผู้อุปถัมภ์โครงการ 

พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย


ผู้ร่วมสนับสนุนโครงการ

๑. สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ๒๑. สมาคมรวมใจไทยร่มเย็น
๒. สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย ๒๒. สมาคมเพื่อนแพทย์ไร้พรมแดน
๓. มูลนิธิรัตนคีรี ๒๓. สมาคมบัณฑิตรัตน์
๔. มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสตร์ ๒๔. สมาคมพุทธศาสตร์สัมพันธ์
๕. มูลนิธิศานติโลกา ๒๕. สมาคมเศรษฐีธรรม
๖. องค์กรอาสาสมัครเพื่อสันติภาพโลก ๒๖. สมาคมพุทธรักษา
๗. สมาคมวัฒนธรรมเพื่อความดีสากล ๒๗. สมาคมพุทธศาสตร์ล้านนา
๘. สมาคมสร้างสรรค์สังคมไทย ๒๘. สมาคมวิทยุและโทรทัศน์กล้าตะวัน
๙. สมาคมส่งเสริมความดีสากล ๒๙. สมาคมคนรักษ์พุทธศาสน์
๑๐. สมาคมพุทธบุตร ๖๐ ๓๐. สมาคมครอบครัวสดใส
๑๑. สมาคมสมาธิเพื่อการพัฒนาศีลธรรมโลก ๓๑. สมาคมบัณฑิตสดใส
๑๒. สมาคมสื่อสร้างสรรค์เยาวชน ๓๒. สมาคมพัฒนาชาติร่มเย็น
๑๓. สมาคมเรียนรู้คู่รอยยิ้ม ๓๓.สมาคมผู้บริโภคสื่อสีขาว
๑๔. สมาคมพัฒนาการเรียนรู้ ๓๔. สมาคมคนรักบ้าน
๑๕. สมาคมรัตตัญญู ๓๕. สมาคมสร้างสรรค์สันติภาพ
๑๖. สมาคมแสงระวี ๓๖. ชมรมบ้านแก้ว
๑๗. สมาคมส่งเสริมสร้างความดี ๓๗. ชมรมครอบครัวอบอุ่น
๑๘. สมาคมพัฒนาชุมชนสดใส ๓๘. ชมรมดุสิตร่วมใจ
๑๙. สมาคมรวมใจไทยปทุม ๓๙. ชมรมพ่อค้าแม่ค้าประตูน้ำ
๒๐. สมาคมส่งเสริมศีลธรรมและความดีสากล ๔๐. ชมรมอุบาสิกาแก้วทั่วไทย ทั่วโลก




 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล