บริษัท 4

วันที่ 13 ตค. พ.ศ.2558

บริษัท 4


บริษัท 4 คือใคร
บริษัท ก็คือกลุ่มคน ในอดีตพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1) กลุ่มกษัตริย์ หมายถึง กษัตริย์ผู้ปกครองเมืองต่างๆ
2) กลุ่มพราหมณ์ หมายถึง พวกพราหมณ์มหาศาล มีทรัพย์มาก มีลูกศิษย์มาก
3) คฤหบดี หมายถึง มหาเศรษฐีหรือพ่อค้า หรือผู้มีอาชีพอื่นๆ
4) สมณะ หมายถึง นักบวชในลัทธิต่างๆ ทั้งที่เป็นสัมมาทิฏฐิและมิจฉาทิฏฐิ เช่น ชฎิล ปริพาชกเดียรถีย์  อเจลกะ เป็นต้นหากเทียบกับในปัจจุบันบุคคลใน 4 กลุ่มนั้น ได้แก่


1) "กลุ่มกษัตริย์" ก็คือกลุ่มของนักปกครอง หรือผู้บริหารบ้านเมือง ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม กลุ่มนักการเมือง ได้แก่ มาชิกวุฒิภาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นักการเมืองทุกระดับ นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีเป็นต้น กับกลุ่มที่เป็นข้าราชการประจำ ได้แก่ ปลัดกระทรวง อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด ตำรวจ ทหารเป็นต้น


2) "กลุ่มพราหมณ์" ก็คือกลุ่มของผู้มีความรู้ เป็นผู้นำทางความคิด ได้แก่ นักวิชาการ ครูอาจารย์ในสถาบันการศึกษา รวมทั้งสื่อมวลชน เป็นต้น


3) "กลุ่มคฤหบดี" ก็คือกลุ่มของผู้มีฐานะ หรือผู้มีอันจะกิน ได้แก่ มหาเศรษฐี นักธุรกิจ พ่อค้าเกษตรกรที่มีฐานะความเป็นอยู่ดีพอ คือ เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ไม่เป็นภาระให้แก่สังคม เป็นต้น


4) "กลุ่มสมณะ" ก็คือกลุ่มของนักบวชในศาสนาต่างๆ เช่น พุทธ คริสต์ อิสลามสินดู เป็นต้น


ความสำคัญของบริษัท 4
             เหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับบุคคลทั้ง 4 กลุ่มนี้ เพราะว่าแต่ละกลุ่มล้วนมีผลต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก หากพิจารณาให้ดี จะพบว่าในประวัติศาสตร์ของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีบุคลทั้ง 4 กลุ่มเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเสมอ บางครั้งก็เกี่ยวข้องในด้านที่คอยสนับสนุนค้ำจุนพระศาสนา แต่บางครั้งก็มาในรูปแบบของการจ้องทำลาย นี้จึงเป็นคำตอบว่าทำไมพระภิกษุจึงต้องเอาใจใส่ต่อบุคคลทั้ง 4 กลุ่มนี้ให้มากเป็นพิเศษบุคคล 4 กลุ่มดังกล่าว เปรียบแล้วก็เหมือนกับดาบ 2 คม ถ้าเห็นดีด้วย ก็จะเป็นผลดีกับพระศาสนาแต่ถ้าไม่เห็นดีด้วย ก็อาจขัดขวางให้การเผยแผ่ทำได้ช้าลง ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ทั้ง 4 กลุ่มต่างมีขุมกำลังที่แตกต่างกันไป


กลุ่มกษัตริย์ หรือนักปกครอง จะมีขุมกำลังคืออำนาจการปกครองบริหาร
กลุ่มพราหมณ์ หรือนักวิชาการ จะมีขุมกำลังคือความรู้
กลุ่มคฤหบดี หรือผู้มีอาชีพมั่นคง จะมีขุมกำลังคืออำนาจการเงิน
กลุ่มสมณะ หรือนักบวช จะมีขุมกำลังคือความเห็นที่มีอำนาจยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนและเพราะบุคคลเหล่านั้นมีจริตอัธยาศัย ขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่มแตกต่างกันไปพระภิกษุที่จะเข้าไปเป็นกัลยาณมิตรให้ จึงต้องวางตัวให้เหมาะสมกับทุกกลุ่มคน

-------------------------------------------------------------------

SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา

กลุ่มวิชาพุทธวิธีในการพัฒนานิสัย

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.037800399462382 Mins