ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก

วันที่ 19 ตค. พ.ศ.2559

ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก

ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก , พระสงฆ์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์

1. ศูนย์กลางของศาสนาคืออะไร
     ศูนย์กลางของศาสนา หมายถึง องค์กร หรือ วัด ที่มีความพร้อมทั้งเรื่องสถานที่ บุคลากร และระบบบริหารจัดการเพื่อรองรับการมาประชุมกันในโอกาสต่าง ๆ ของศาสนิกในศาสนานั้น ๆ หรือบางศาสนาก็ใช้เป็นศูนย์กลางในการบริหารงานเป็นหลักเพราะสถานที่ไม่ใหญ่โตพอจะรองรับศาสนิกจำนวนมากได้ เช่น นครรัฐวาติกันของศาสนาคริสต์ เป็นต้น

     ปกติองค์กร หรือ วัด ที่จะเป็นศูนย์กลางของศาสนาต่าง ๆ ควรจะต้องมีสถานที่ที่กว้างขวางพอสมควรเพื่อให้สามารถรองรับศาสนิกจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลกได้ อีกทั้งยังต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรนั้น ๆ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางศาสนาได้อย่างสมบูรณ์

     ศูนย์กลางของศาสนามีความสำคัญในฐานะช่วยสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นแก่ศาสนิกในศาสนานั้น ๆ เป็นศูนย์แห่งการประชุม การจัดกิจกรรม ตลอดจนการติดต่อประสานงานโครงงานต่าง ๆ เป็นฐานทัพใหญ่สำหรับขับเคลื่อนงานพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า

   ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลายยังจักประชุมกันเนือง ๆ จักพร้อมเพรียงกันประชุมจักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียวหาความเสื่อมมิได้"

   พุทธดำรัสนี้ไม่ได้หมายถึงการประชุมเฉพาะพระภิกษุวัดใดวันหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการประชุมพุทธบริษัททั่วโลกอีกด้วย แต่จะทำเช่นนี้ได้จำเป็นจะต้องมีสถานที่อันเป็นศูนย์กลางทางศาสนารองรับ

     หากไม่มีศูนย์กลางของศาสนาแล้ว ศาสนิกทั่วโลกจะไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่รู้จักคุ้นเคยกันเพราะไม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ต่างคนต่างอยู่ และอาจจะนำไปสู่การขัดแย้งกันเองอันเนื่องมาจากความไม่เข้าใจกันได้ เมื่อมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้น ทั้งปัญหาโดยรวมและปัญหาของแต่ละองค์กรหรือแต่ละหน่วยงาน ก็จะไม่เกิดการร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขให้ลุล่วง ทำให้ศาสนานั้น ๆ เสื่อมสลายไปในเวลาอันรวดเร็ว


2. ศูนย์กลางของต่างศาสนาในปัจจุบัน
      มีข้อสังเกตว่าศาสนาสำคัญ ๆ ในโลกต่างก็มีศูนย์กลางทางศาสนาทั้งสิ้น เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู เป็นต้น ในที่นี้จะยกตัวอย่างเพียง 2 ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ดังนี้

2.1 นครรัฐวาติกันของศาสนาคริสต์
   นครรัฐวาติกัน (State of the Vatican City) ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นที่ประทับของพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุดแห่งศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก นครรัฐวาติกันจัดว่าเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก การปกครองเป็นแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ โดยอำนาจอยู่ที่พระสันตะปาปา จะหมดวาระก็ต่อเมื่อสิ้นพระชนม์ พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันคือ พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เข้าพิธีเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2548

     ประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1929 (พ.ศ. 2472) นครรัฐวาติกันและประเทศอิตาลีได้ลงนามสนธิสัญญายอมรับสถานะของนครรัฐวาติกันเป็นรัฐเอกราชมีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง

    นครรัฐวาติกันเป็นแหล่งศิลปวันธรรมของโลกมีหอสมุดอันเก่าแก่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 (the Apostolic library if the Vatican)

     ต่อมาในศตวรรษที่ 15 ได้มีการจัดตั้งหอจดหมายเหตุนครรัฐวาติกัน (Secret Archive of the Vatican) พิพิธภัณฑ์วาติกัน มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ และมีสำนักพิมพ์ของตนชื่อ  the Vatican Polyglos Press ซึ่งเป็นที่จัดพิมพ์ผลงานภาษาต่าง ๆ รวมทั้งออกหนังสือพิมพ์รายวัน Observatore Romano ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ ค.ศ. 1861 (พ.ศ. 2404)

     และตั้งแต่ ค.ศ. 1931 (พ.ศ. 2474) นครรัฐวาติกันได้จัดตั้ง ถานีวิทยุกระจายเสียง ถ่ายทอดเสียงเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง 30 ภาษา ปัจจุบันนครรัฐวาติกันมีสถานีวิทยุกระจายเสียง 3 ถานี ถานีโทรทัศน์ 1 สถานี

   รัฐบาล พระสันตะปาปามีอำนาจสูงสุดทั้งด้านนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ พระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันเป็นชาวเยอรมันมีพระนามเดิมว่า โจเซฟ รัตซิงเกอร์ (Joseph Ratzinger) พระชนมายุ 78 พรรษาได้รับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2548 โดย ภาที่ปรึกษาของพระสันตะปาปาซึ่งประกอบด้วย
คาร์ดินัลต่าง ๆ

   คาร์ดินัล (Cardinal)คือ นักบวชผู้เป็นที่ปรึกษาด้านการปกครองคริสตจักรของพระสันตะปาปาคาร์ดินัลนั้นเป็นตำแหน่งที่สูงรองลงมาจากพระสันตะปาปา

   การบริหารศาสนจักร การบริหารศาสนจักรเป็นหน้าที่ของ  the Roman Curia  หรือสำนักงานบริหารศาสนจักรส่วนกลาง ซึ่งมักเรียกในภาษาอังกฤษว่า Holy See หรือ Apostolic See  มีหน่วยงานหลักคือสำนักเลขาธิการแห่งรัฐ ( Secretariat of State ) รับผิดชอบการบริหารประเทศ โดยมีคาร์ดินัลผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งรัฐ ( Secretart of State ) เป็นหัวหน้า (เทียบเท่านายกรัฐมนตรี) มีหน้าที่รับผิดชอบกิจการด้านการเมืองและการทูตของนครรัฐวาติกัน

    เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2531 พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 ได้ปรับโครงสร้างของสำนักเลขาธิการแห่งรัฐ โดยแบ่งเป็น 2 หน่วยงาน คือ

    1)  The Section for General Affairs หรือ The First Section รับผิดชอบด้านการบริหารของศาสนจักร และดูแลสถานทูตต่าง ๆ ประจำนครรัฐวาติกัน

     2) The Section for Relations with States รับผิดชอบด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการแต่งตั้งบิชอพในประเทศต่าง ๆ

     บิชอพ (Bishop) แปลว่า มุขนายก หมายถึง หัวหน้าเขตการปกครอง ทำหน้าที่ปกครองคณะบาทหลวงและคริสต์ศาสนิกชนในเขตปกครองของตน

      บาทหลวง (Priest) หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก

    นอกจากนี้ยังมี Sacred Congregations ซึ่งเทียบได้กับกระทรวงต่าง ๆ รวม 9 กระทรวง มีชื่อเรียกตามลักษณะงานในความรับผิดชอบ ดังนี้

    1) The Congregations for the Doctrine of the Faith  รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมศรัทธาและจริยธรรมทั่วโลก

     2)  The Congregations for the Causes of Saints รับผิดชอบเกี่ยวกับขั้นตอนในการประกาศแต่งตั้งนักบุญ

      3)  The Congregations for the Oriental Churches รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมของศาสนจักรคาทอลิกตะวันออก

      4) The Congregations for Bishops รับผิดชอบเกี่ยวกับการตั้งบิชอพ

      5)  The Congregations for Divine Worship and the Discipline of the Sactaments รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมสักการะบูชาในคริสตศาสนา

     6) The Congregations for the Evangelization of peoples รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจกรรมแพร่ธรรมของมิชชันนารีในทวีปแอฟริกาและเอเชีย

      มิชชันนารี (missionary) หมายถึง ผู้ทำหน้าที่เผยแพร่คริสตศาสนาในต่างประเทศ

      7)  The Congregations for Institutes of Conseccrated Life and for Societies of Apostolic Life รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมและกำกับดูแลนักบวช

     8)   The Congregations for the Clergy รับผิดชอบเกี่ยวกับบาทหลวงและผู้ช่วยบาทหลวงรวมถึงกิจกรรมและวินัยของบาทหลวง

    9)  The Congregations for Catholic Education รับผิดชอบการส่งเสริมและการจัดตั้งสถานศึกษาคาทอลิก โดยเฉพาะโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

 ภูมิศาสตร์ นครรัฐวาติกันมีอาณาเขตประกอบด้วยวังวาติกัน (Vatican), วังกั เตลกันดอลโฟ (Castelgandolfo) อันเป็นที่ประทับร้อนของพระสันตปาปา, มหาวิทยาลัยเกรโกเรียน (Gregorian University)
และโบสถ์ 13 แห่งในกรุงโรม เฉพาะวังวาติกันมีเนื้อที่ 150 ไร่ หรือ 25 ตารางกิโลเมตร มีมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ พิพิธภัณฑ์ หอสมุด และที่ประทับของพระสันตะปาปา ภายในบริเวณดังกล่าวยังมีอุทยานวาติกันสถานีวิทยุ ที่ทำการไปรษณีย์สถานีรถไฟ ธนาคารวาติกัน และร้านค้าของวาติกัน

     เนื่องจากนครรัฐวาติกันมีขนาดเล็กจึงไม่เน้นใช้เป็นศูนย์รวมของศาสนิกแต่ใช้เป็นศูนย์กลางการบริหารงาน
ของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลกเป็นหลัก

 เศรษฐกิจ ศาสนจักรวาติกันมีรายได้หลักจากการสนับสนุนทางการเงินขององค์กรคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก รายได้นี้เรียกว่า " Peter s Pence " นอกจากนี้ยังมีรายได้จากการลงทุนภายใต้การบริหารของหน่วยงาน The Patrimony of the Holy See , ค่าธรรมเนียมการเข้าชมพิพิธภัณฑ์,รายได้จากการจำหน่ายหนังสือสิ่งพิมพ์ ดวงตราไปรษณียากร และของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว เป็นต้น
     ประชากร นครรัฐวาติกันมีพลเมืองประมาณ 900 คน พลเมืองประกอบด้วยองค์สันตะปาปาคาร์ดินัล เจ้าหน้าที่ประจำวาติกัน ตรีประมาณ 200 คน และทหาร วิ ซึ่งเป็นองครักษ์ของพระสันตะปาปาประมาณ 100 คน นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ทูตวาติกันที่ประจำอยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย พลเมืองเหล่านี้จะมีสัญชาติวาติกันเฉพาะในขณะดำรงตำแหน่งต่าง ๆ หรือเป็นภรรยาของพลเมืองวาติกัน หรือเป็นบุตรของพลเมืองวาติกันที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีส่วนบุตรคนใดอายุถึง 25 ปีแล้วต้องกลับคืนสัญชาติเดิม


2.2 นครเมกกะของศาสนาอิสลาม
     นครเมกกะ (MECCA) หรือที่ชาวมุสลิมเรียกว่า มักกะฺ (MAKKAH) เป็นเมืองสำคัญในศาสนาอิสลาม ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย นครเมกกะนี้เป็นบ้านเกิดของท่านนบีมุัมมัด ศาสดาในศาสนาอิสลาม

   ชาวมุสลิมไปบำเพ็ญ "ฮัจญ์" ที่เมืองนี้ปีละหลายล้านคน เพราะที่นี่มีมัสยิดใหญ่ชื่อว่า "หะรอม" จุคนที่มา "นมาซ" หรือ ละหมาด คราวเดียวได้ประมาณ 1,000,000 คน และบริเวณตรงกลางของมัสยิดนี้มี "กะอฺบะฮฺ"

   กะอฺบะฮฺ มีชื่ออย่างอื่นอีก เช่น บัยตุลลอฮฺ แปลว่า บ้านของอัลลอฺ ซึ่งอัลลอฮฺนั้นเป็นพระเจ้าของศาสนาอิสลาม

   มุสลิมถือว่ากะอฺบะฮฺไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่เป็น "กิบละฮฺ" คือจุดที่มุสลิมทุกคนผินหน้าไปทางนั้นเวลาละหมาดและเป็นจุดศูนย์กลางในการเดินเวียนของผู้ไปบำเพ็ญฮัจญ์

   ประวัติศาสตร์อิสลามระบุว่ากะอฺบะฮฺสร้างมานานแล้ว แต่รูปทรงที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้สร้างใน ฮ.ศ. 1039 (พ.ศ. 2161) สมัยรัฐบาลวงศ์อุษมานแห่งตุรกีสร้างเป็นอาคารรูปทรง สี่เหลี่ยม ไม่มีหน้าต่างมีเพียงประตูด้านเดียว อาคารสูง 15.25 เมตร ขนาดกว้าง  ยาวโดยประมาณคือ 10  12 เมตร

      อาคารกะอฺบะฮฺจะมีผ้าคลุมปิดไว้อีกทีหนึ่งเรียกผ้านี้ว่า "กิสวะฮฺ" เดิมกะอฺบะฮฺไม่มีการคลุมผ้าเพิ่งมีประเพณีนี้ครั้งแรกก่อน ฮ.ศ. 220 ป และที่สำคัญใน ฮ.ศ. 10 (พ.ศ. 1132) ท่านนบีมุัมมัด ได้นำชาวมุสลิมทั่วคาบสมุทรอาระเบียประมาณ 100,000 คน บำเพ็ญพิธีฮัจญ์ที่นี่ ในครั้งนั้นนบีมุฮัมมัด ได้คลุมกะอฺบะฮฺด้วยผ้าจากเมืองเยเมน

   ตรงมุมด้านหนึ่งภายในกะอฺบะฮฺเป็นที่ตั้งของ "หินดำ" เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นและจุดครบรอบของการเวียนรอบกะอฺบะฮฺในขณะประกอบพิธีฮัจญ์

     หินดำ แปลมาจากคำว่า "หะญัร อัสวัด" ในภาษาอาหรับ มุสลิมถือว่าหินดำนี้ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์บุคคลสำคัญในศาสนาอิสลามท่านหนึ่งชื่อ "เคาะลีฟะฮฺ อุมัร บินค็อฏฏอบ" เคยกล่าวไว้ว่า "ฉันรู้ดีว่า เธอเป็นเพียงก้อนหิน ไม่ให้โทษและไม่ให้คุณแก่ใคร..."

    ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ทำหน้าที่ดูแลกะอฺบะฺ และจัดเตรียมความสะดวกให้แก่ผู้ที่มาทำฮัจญ์ รัฐบาลได้สั่งทำผ้ากำมะหยี่ สีดำปักดิ้นทองด้วยตัวอักษรอาหรับมาคลุมกะอฺบะฮฺไว้ คนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่า กะอฺบะฮฺ คือหินศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวมุสลิมเคารพบูชา ความจริงกะอฺบะฮฺเป็นเพียงจุดศูนย์กลางในการประกอบศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกเท่านั้น

    ในแต่ละปีมุสลิมนับล้านคนต่างไปชุมนุมกันที่นครเมกกะ แม้ว่านครแห่งนี้จะคลาคล่ำไปด้วยผู้มาเยือนอยู่ตลอดเวลา แต่พิธีฮัจญ์จัดให้มีขึ้นในเดือน 12 ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมของแต่ละปี

    นอกจากนครเมกกะอันเป็นศูนย์กลางทางศาสนาแล้ว ประเทศอิสลามนานาชาติยังจัดตั้ง "องค์การการประชุมอิสลาม" ขึ้นเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพของมุสลิมทั่วโลกอีกด้วย

     องค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of the Ialamic Conference หรือ OIC) เป็นองค์การระหว่างประเทศของชาติมุสลิม มี มาชิกราว 56 ประเทศ มีประชากรรวมกันกว่า 1.2 พันล้านคนทั้งในตะวันออกกลาง แอฟริกา เอเชียกลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ อเมริกาใต้ โดยใช้ภาษากลางคือ ภาษาอาราบิก ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส มีวัตถุประสงค์โดยรวมคือ เพื่อระดมสรรพกำลังปกป้องผลประโยชน์ของชาติสมาชิก รวมถึงการพูดเป็นเสียงเดียวกันในเรื่องสำคัญ ๆ ในเวทีสากล

      โอไอซี (OIC) ตั้งขึ้นครั้งแรกจากการประชุมผู้นำประเทศอิสลามที่เมืองราบัต ประเทศโมร็อกโกเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2512 จากกรณีที่อิสราเอลเข้าไปยึดครองมัสยิดอัลอักซาร์ (AI-Aqsa) ในกรุงเยรูซาเลมที่ซึ่งมุสลิมทั่วโลกถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญอันดับ 3

     ต่อมาที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสมาชิกโอไอซีซึ่งประชุมที่กรุงเจดดาห์เมื่อ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2513 มีมติให้ตั้งสำนักเลขาธิการเป็นการถาวรขึ้นที่กรุงเจดดาห์ (JEDDAH) ประเทศซาอุดิอาระเบียเพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานกับประเทศสมาชิก และอนุมัติ "กฎบัตรขององค์การ" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515

     วัตถุประสงค์ของโอไอซีที่กำหนดไว้ในกฎบัตรมีอยู่ 3 ข้อ คือ
 1) เสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างรัฐสมาชิกอิสลามในด้านการเมือง เศรษฐกิจวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์สังคมและการต่อสู้ของประชาชนมุสลิมเพื่อปกป้องเกียรติภูมิ เอกราชและสิทธิแห่งความเป็นชาติ

 2) ประสานการปฏิบัติเพื่อปกป้องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาสนับสนุนการต่อสู้ของประชาชนปาเลสไตน์ ช่วยเหลือในการฟนฟูสิทธิ และการปลดปล่อยดินแดนที่ถูกยึดครอง

   3)  ทำงานเพื่อขจัดการดูถูกเหยียดหยามทางเชื้อชาติและลัทธิล่าอาณานิคมทุกรูปแบบ สร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมความร่วมมือ และความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกกับประเทศอื่น ๆ

    โอไอซีมีการประชุมในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศทุกปีส่วนการประชุมระดับผู้นำจะจัดขึ้นในทุก 3 ปี โดยหมุนเวียนเปลี่ยนสถานที่ไปตามประเทศ สมาชิก รวมถึงผลัดเปลี่ยนให้ผู้นำชาติโอไอซีขึ้นเป็นประธานที่ประชุมด้วย

    สำหรับรายละเอียดคำสอนความเป็นมาของศาสนาต่าง ๆ นักศึกษาจะได้เรียนเพิ่มเติมในวิชา 404 ศาสนศึกษา โดยเริ่มต้นศึกษาความรู้พื้นฐานทางศาสนา ความเชื่อของกลุ่มชนที่มีความล้าหลังทางวัฒนธรรม และศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีศาสนิกนับถืออยู่ในปัจจุบัน


3. ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
3.1 ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล
    ในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้กรุงสาวัตถีเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมของสงฆ์และพุทธบริษัททั้งหลาย ทั้งนี้สังเกตได้จากระยะเวลาการจำพรรษาของพระพุทธองค์ กล่าวคือ ตลอด 45 พรรษานั้นพระองค์ทรงประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีถึง 25 พรรษา โดยประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน 19 พรรษา และประทับอยู่ ณ วัดบุพพาราม 6 พรรษา2ส่วน 20 พรรษาที่เหลืออันเป็นช่วงปฐมโพธิกาลนั้นพระพุทธองค์ทรงประทับจำพรรษาที่ละ 1 พรรษาบ้าง 2 พรรษาบ้างสลับกันไป ไม่ได้ประทับที่ใดนานเหมือนกรุงสาวัตถี

    สาเหตุที่ช่วงปฐมโพธิกาลพระพุทธองค์ประทับอยู่ในที่หนึ่ง ๆ ไม่นาน อาจเป็นเพราะในช่วงต้นนั้นมีผู้คนจำนวนมากยังไม่รู้จักพระพุทธศาสนา การที่พระองค์ประทับอยู่ที่ใดนานเกินไปนั้น จะทำให้ประชาชนในเมืองอื่น ๆ ไม่มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระองค์ ทำให้พระพุทธศาสนาไม่แพร่หลาย พระองค์และพระสาวกจึงจำเป็นต้องจาริกไปหลาย ๆ ที่เพื่อประกาศให้ชาวโลกได้ทราบว่า พระพุทธศาสนาได้อุบัติขึ้นแล้ว ผู้คนที่พบเห็นและได้ฟังธรรมก็จะได้บอกต่อ ๆ กันไปในวงกว้าง ทำให้ข่าวการบังเกิดขึ้นของ
พระรัตนตรัยขจรกระจายไปรวดเร็ว

      ส่วนสาเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกกรุงสาวัตถีเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีอย่างน้อย 2 ประการ ดังนี้

    ประการแรก คือ กรุงสาวัตถีมีอุปัฏฐากสำคัญอยู่ 2 ท่าน คือ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีและมหาอุบาสิกาวิสาขา ทั้งสองท่านนี้ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากเพื่อสร้างวัดพระเชตวันและวัดบุพพาราม โดยเฉพาะวัดพระเชตวันนั้นต้องใช้เงินปูเรียงเคียงกันเต็มพื้นที่เพื่อซื้อที่ดินสร้างเป็นวัด จึงแสดงให้เห็นว่าวัดพระเชตวันนี้ต้องมีความสำคัญมาก และไม่มีปรากฏว่าเมื่อครั้งพุทธกาลมีการทุ่มทุนสร้างวัดอื่นใดมากเท่านี้

     ประการที่สอง คือ ถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนไป กล่าวคือ แต่เดิมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเริ่มต้นประกาศพระศาสนาที่กรุงราชคฤห์ อันมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นองค์อุปภัมภ์สำคัญ และเป็นพระราชามหาอำนาจสูงสุดในยุคนั้น แต่เมื่อพระองค์สวรรคตด้วยการทำปิตุฆาตของพระเจ้าอชาตศัตรูแล้ว ทำให้สถานะทางการเมืองของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ อ่อนแอลง จึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของพระพุทธ
ศาสนาด้วย

     ส่วนกรุงสาวัตถีนั้นมีพระเจ้าปเสนทิโกศลซึ่งถือเป็นพระราชาระดับมหาอำนาจเช่นกัน และพระองค์ก็มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างเปียมล้น ทรงมีพระชนมายุเท่ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคืออยู่ในวัยเดียวกัน และ สถานะทางการเมืองตอนนั้นมั่นคงกว่ากรุงราชคฤห์มาก จึงทำหน้าที่อุปภัมภ์พระพุทธศาสนาได้ดีกว่า แม้ภายหลังพระเจ้าอชาตศัตรูจะหันมาศรัทธาในพระพุทธศาสนา แต่เพราะความระส่ำระส่ายจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทำให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนาไม่ดีเท่าเดิม นี้จึงเป็นเหตุผลสำคัญในการใช้กรุงสาวัตถีเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาในช่วง 25 พรรษาสุดท้ายของพระพุทธองค์

   จุดประสงค์ในการมีศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาคือ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นแหล่งแห่งการประชุมรวมกันของพุทธบริษัททั้ง 4 และที่สำคัญยังช่วยให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยกรุงสาวัตถีนั้นเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดข้อมูลไปสู่ส่วนภูมิภาคพุทธวิธีนี้เป็นหัวใจสำคัญยิ่งต่อการรักษาและ สืบทอดพระธรรมวินัยมาได้จนถึงยุคปัจจุบัน

     เนื่องจากในช่วงปฐมโพธิกาลนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและคณะสงฆ์รุ่นบุกเบิกได้เผยแผ่พระธรรมคำสอนไปตามหัวเมืองต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง มีกุลบุตรศรัทธาออกบวชกันจำนวนมาก เมื่อบวชแล้วก็ถูกส่งออกไปประกาศพระศาสนายังท้องถิ่นต่าง ๆ ในระหว่างนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แสดงธรรมและบัญญัติพระวินัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งระบบการ สื่อสารยุคนั้นก็ไม่ทันสมัย ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ตไม่มีโทรศัพท์มือถืออย่างในปัจจุบัน หากไม่มีศูนย์กลางในการถ่ายทอดข้อมูลแล้ว จะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น พระภิกษุผู้ออกไปเผยแผ่จะไม่รู้ว่าพุทธบัญญัติข้อใหม่ ๆ มีอะไรบ้าง เมื่อไม่รู้ก็มีโอกาสทำผิดศีลได้ง่าย และที่สำคัญถ้าภิกษุถือศีลไม่เท่ากัน และมีทิฏฐิในธรรมะไม่ตรงกัน ก็จะสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นได้

      แต่เมื่อมีวัดที่เป็นศูนย์กลางอย่างพระเชตวันแล้ว ทำให้ปัญหาดังกล่าวลดน้อยลง กล่าวคือ ภิกษุทั้งหลายจะรู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปักหลักอยู่ที่นั่น เมื่อถึงวาระที่ต้องกลับไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็จะได้รับฟังข้อมูลเพิ่มเติมจากเพื่อนสหธรรมิกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยข้อไหนเพิ่มบ้างทรงแสดงธรรมอะไรเพิ่มบ้าง เป็นต้น ซึ่งโดยปกติพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจะกลับมาเข้าเฝ้าพระศาสดา อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งคือ ช่วงหลังออกพรรษา 'ธรรมเนียมนี้ถือเป็นประเพณีที่ภิกษุปฏิบัติกันในสมัยนั้น' และในกรณีที่วัดต่าง ๆ มีพระภิกษุไม่พอที่จะให้การอุปสมบท จึงจำเป็นต้องกลับมาขอพระจากส่วนกลางการกลับมาแต่ละครั้งก็จะได้รับทราบข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติม

      แม้ระบบการ สื่อสารในสมัยพุทธกาลจะไม่ทันสมัยอย่างในปัจจุบัน แต่อาศัยที่มีวัดพระเชตวันเป็นศูนย์กลาง และมีการบริหารจัดการสถานที่พักที่ดี จึงทำให้การ สื่อสารข้อมูลของคณะสงฆ์มีประสิทธภาพมากดังสังเกตได้จากการจัดเสนาสนะของพระทัพพมัลลบุตร เป็นต้น

     พระทัพพมัลลบุตรได้จัดเสนาสนะดังนี้ คือ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระสูตร ท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้ซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระวินัย ท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้วินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้สนทนาพระอภิธรรมกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ได้ฌาน ท่านก็จัดเสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้เจริญฌานสมาบัติกัน ภิกษุเหล่าใดชอบกล่าวดิรัจฉานกถา ท่านก็จัดเสนาสนะไว้แห่งหนึ่ง

     การจัดเสนาสนะแบบนี้ได้ช่วยเกื้อกูลต่อการ สื่อสารข้อมูล และสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นแก่สงฆ์อย่างมาก ด้วยรูปแบบการ สื่อสารนี้ และเพราะการมีศูนย์กลางพระพุทธศาสนานี้เองที่ทำให้พระธรรมวินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ตกทอดมาถึงรุ่นพวกเราในทุกวันนี้ได้ และเป็นแบบอย่างในการสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นแก่พุทธบริษัททั่วโลกด้วย

     ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ วัดอันเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นมีทุกพุทธันดร และลักษณะการซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดนั้นมีความคล้ายคลึงกันคือ

     ในสมัยพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อปุนัพพสุมิตตะให้ช่างทำ "อิฐทองคำ" ยาว 1 ศอก กว้าง 1 คืบสูง 8 นิ้ว แล้วนำมาปูบนที่ดินเพื่อซื้อที่สร้างวัด

     ในสมัยพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อสิริวัฑ์ได้ปูที่ดินด้วย "ผาลไม้เส้าทองคำ" เพื่อซื้อที่ดินสำหรับสร้างวัดถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์

    ในสมัยพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อโสตถิยะได้ให้ช่างทำ "เท้าช้างทองคำ" แล้วนำมาปูบนที่ดินเพื่อซื้อที่สร้างวัด

       ในสมัยพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่ออัจจุตะได้ปูที่ดินด้วย "อิฐทองคำ" เพื่อซื้อที่สร้างวัด

     ในสมัยพระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่ออุคคะได้ให้ช่างทำ "เต่าทองคำ" แล้วนำมาปูบนที่ดินเพื่อซื้อที่สร้างวัด

      ในสมัยพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อสุมนะได้ปูที่ดินด้วย "ทองแท่ง" เพื่อซื้อที่สร้างวัด

     เมื่อมีวัดเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระศาสนาแล้ว ยังมีบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ประชุมสาวกเพื่อแสดงโอวาทปาฏิโมกข์อันเป็นอุดมการณ์ หลักการ และวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วย เช่น การประชุมสาวกครั้งที่ 1 ในสมัยพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระภิกษุอรหันต์มาประชุมกันมากถึง "หกโกฏิแปดแสน" หรือ 60,800,000 รูป

    จะเห็นว่าเฉพาะแค่พระอรหันต์ที่ประชุมครั้งแรกในสมัยพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นมีมากถึง 60,800,000 รูป หากรวมกับพุทธบริษัททั้งหมดแล้วก็จะมีจำนวนมากมายมหาศาล ดังนั้น วัดที่สร้างเพื่อรองรับพุทธบริษัทเหล่านี้จึงต้องใหญ่โตมาก และจะเห็นว่า เป็นการสร้างเพราะความจำเป็นเนื่องจากสาวกมีมาก การสร้างวัดใหญ่ ๆ เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาจึงเป็นพุทธประเพณีที่ สืบต่อกันเรื่อยมาทุกพุทธันดร

 จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าเศรษฐีในแต่ละยุคนั้นทุ่มเทกับการสร้างวัดอันเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนามาก แม้จะต้องใช้ทองคำหรือเงินซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่าจำนวนมากนำไปปูเรียงเคียงกันเพื่อซื้อที่ดินก็ยอม เพราะเห็นว่าทองก็ดีเงินก็ดีเป็นเพียงโลกียทรัพย์ที่ยังไม่อาจยังความสุขที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้แต่ถ้าได้นำทรัพย์เหล่านี้มาสร้างวัด เพื่อเป็นศูนย์กลางของพระศาสนาแล้ว ตนเองจะได้อริยทรัพย์คือบุญติดตัวไป และวัดที่สร้างไว้นี้จะเป็นแหล่งแห่งการสั่งสมอริยทรัพย์คือบุญของมหาชนทั้งหลาย บุญนี้จะเป็นหลักประกันให้ตนและคนทั้งหลายที่ได้สั่งสมไว้ดีแล้ว เข้าถึงสันติสุขอันเที่ยงแท้คือพระรัตนตรัยภายในได้อย่างแน่นอน


3.2 ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาในสมัยปัจจุบัน
     ถามว่าเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดียไปแล้ว ในปัจจุบันประเทศใดควรจะเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา หากนักศึกษาท่านใดเป็นชาวไทยก็ขอให้ดีใจได้ว่า ชาวพุทธนานาชาติได้ยกให้ไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศา นาของโลก สืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการของผู้นำทางพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาทจาก 41 ประเทศทั่วโลก ในเทศกาลวันวิสาขบูชาระหว่างวันที่ 1820 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ณ หอประชุมพุทธมณฑล และที่ศูนย์ประชุมองค์การสหประชาชาติแห่งประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,600 รูปคน ผลของการประชุมครั้งนั้นได้มีมติเป็นข้อตกลงร่วมกัน 7 ประการ หนึ่งในนั้นคือ "ให้จัดพิธีฉลองวันวิสาขบูชาโลกในประเทศไทย โดยให้มีพุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนาของโลก"

1) พุทธมณฑลศูนย์กลางจัดงานวิสาขบูชาโลก
      พุทธมณฑลตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2525 หมู่ 6 ถนนอุทยาน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ เริ่มต้นก่อสร้างในสมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี โดยในปี พ.ศ. 2495 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ดำริจัดสร้างปูชนียสถานเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นพุทธานุสรณียสถาน เนื่องในวโรกาสมหามงคลกาลที่พุทธศักราชเวียนมาบรรจบครบรอบ 2,500 ปี ซึ่งครบในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. 2500

    เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงประกอบรัฐพิธีก่อฤกษ์พุทธมณฑล การก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

      พุทธมณฑลแบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ อาคารและสิ่งก่อสร้าง 94 ไร่, ถนนและทางเท้า 244 ไร่, สระน้ำและคลอง 600 ไร่, นามหญ้าและสวนต้นไม้ 1,562 ไร่ รวมเป็น 2,500 ไร่ โดยศาสนสถานและศาสนวัตถุที่สำคัญในพุทธมณฑลมีดังนี้

    (1) พระศรีศากยะทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เป็นพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลสร้างขึ้นบริเวณศูนย์กลางพื้นที่ มีความสูง 15.875 เมตร เริ่มสร้างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2525

      (2) หอประชุมสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประชุมทางพระพุทธศาสนาสร้างเสร็จ พ.ศ. 2529

     (3) หอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ เป็นห้องสมุดที่จุคนได้ 500 คน มีหนังสือประมาณ 500,000 เล่ม วัดปากน้ำและสมาคมศิษย์หลวงปู่วัดปากน้ำ บริจาคเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 250 ล้านบาท

   (4) มหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อน เป็นสถาปัตยกรรมไทยรูปทรงจตุรมุข มีพระเจดีย์ 9 ยอด ประดิษฐานในท่ามกลาง และเป็นที่จารึกพระไตรปิฎกหินอ่อน ขนาด 1.10  2.00 เมตร จำนวน 1,418 แผ่น มีภาพวาดพระพุทธประวัติอยู่ด้านบนโดยรอบ เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2532 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 วัดปากน้ำและ มาคมศิษย์หลวงปู่วัดปากน้ำ บริจาคเงินค่าก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 200 ล้านบาท

     นอกจากนี้ยังมีอาคารและสถานที่อื่น ๆ อีก เช่นสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ซึ่งจำลองมาจากสังเวชนียสถานในอินเดีย และยังมีสวนที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงสถานที่เมื่อครั้งพุทธกาล ได้แก่สวนเวฬุวัน คือสวนไผ่, สวนอัมพวัน คือ สวนมะม่วง และ สวนลัฏฐิวัน คือ สวนตาล ฯลฯ

   กิจกรรมที่จัดให้มีขึ้นในพุทธมณฑล ได้แก่ กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา กิจกรรมถวายสังฆทานและฟังเทศน์ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ กิจกรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนประจำปี การประชุมสัมมนาพระสังฆาธิการ กิจกรรมประทานพัดยศโดยสมเด็จพระสังฆราช และพิธีฉลองวันวิสาขบูชาโลกโดยมีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทำหน้าที่ประสานงานการจัดงาน เป็นต้น


2) วัดพระธรรมกายศูนย์รวมพุทธบริษัททั่วโลก
     การที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลกนั้นเป็นงานใหญ่ หลายองค์กรจึงต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ วัดพระธรรมกายในฐานะที่เป็นวัดที่ใหญ่และมีพระภิกษุ อุบาสกอุบาสิกามากที่สุดในประเทศไทย จึงเอื้อเฟอสถานที่สำหรับเป็นที่ประชุมสงฆ์และพุทธบริษัททั่วโลกครั้งละหลายแสนคนมาหลายครั้งแล้ว

     (1) ประวัติวัด วัดพระธรรมกายก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513 สังกัดมหานิกายแห่งคณะสงฆ์ไทย ตั้งอยู่ ณ ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ปัจจุบันมีพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส

      วัดพระธรรมกายมีเนื้อที่ประมาณ 2,500 ไร่ เท่า ๆ กับพุทธมณฑล และมีสิ่งก่อสร้างสำคัญ ๆ เพื่อรองรับการมาบำเพ็ญบุญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกนับล้านคน สถานที่สำคัญ ๆ ในวัดพระธรรมกาย ดังนี้

     สภาธรรมกายสากล ใช้เป็นสถานที่สวดมนต์ปฏิบัติธรรม และฟังพระธรรมเทศนาทุกวันอาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา จุคนได้ประมาณ 300,000 คน

    มหาธรรมกายเจดีย์ เป็นเจดีย์แห่งพระรัตนตรัยประกอบด้วย 3ส่วนคือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะและสังฆรัตนะ โดยพุทธรัตนะนั้นประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัว 1,000,000 องค์ อยู่ภายนอก 300,000 องค์ และอยู่ภายใน 700,000 องค์ องค์พระแต่ละองค์จารึกนามของผู้บริจาคไว้ที่ฐานองค์พระ ในส่วนของสังฆรัตนะเป็นที่นั่งของพระสงฆ์นับ 10,000 รูปสำหรับนั่งประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามหาธรรมกายเจดีย์นี้ออกแบบไว้ให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนนาน

    มหารัตนวิหารคด เป็นวิหารที่รายล้อมมหาธรรมกายเจดีย์ทั้ง 4 ด้าน ยาวด้านละ 1 กิโลเมตรเป็นพื้นที่นั่งประกอบพิธีกรรมของสาธุชนได้นับล้านคน มหารัตนวิหารคดนี้เป็นสถานที่รวมพุทธบริษัท 4 ทั่วโลก ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

     นอกจากนี้ยังมีอาคารสถานที่สำคัญ ๆ อีก เช่น มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี หรือหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย ภายในประดิษฐานรูปหล่อทองคำหนัก 1 ตัน, มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย, อาคารหกสิบปีพระราชภาวนาวิสุทธิ์ อันเป็นสถานที่เจริญสมถวิปัสสนาขั้นสูง เป็นต้น

     (2) สถานีโทรทัศน์ดีเอ็มซี ( DMC - Dhamma Media Channel) เป็นสถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษาศีลธรรมทางไกลผ่านดาวธรรม (ดาวเทียม) ไปทั่วโลก ออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมง มีรายการธรรมะที่ให้ความรู้เกี่ยวกับความจริงของชีวิตแก่ชาวโลก โดยไม่จำกัด อายุ เพศ เชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ เพื่อหวังให้มนุษยชาติได้ทราบความจริงของชีวิต ตั้งใจสั่งสมบุญ และปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงสันติสุขภายในอันเป็นจุดเริ่มต้นของสันติภาพโลก

      (3) กิจกรรมเผยแผ่และรวมใจพุทธบริษัททั่วโลก
     พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีความตั้งใจที่จะ สืบสาน
มโนปณิธานของหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญในอันที่จะเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก พันธกิจสำคัญที่ต้องทำเพื่อให้มโนปณิธานนี้สำเร็จคือประการแรกสร้างสถานที่และจัดกิจกรรมรวมใจของพุทธบริษัททั่วโลก

      ประการที่สอง เผยแผ่ธรรมะโดยอาศัยบุคลากรที่มีคุณภาพและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

  การสร้างบุคลากรนั้นวัดพระธรรมกายได้ทำมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่สร้างวัด จึงทำให้มีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาที่มีคุณภาพและมีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทยส่วนเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการเผยแผ่ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต แอนนิเมชั่น และการสื่อสารด้วยระบบดาวเทียม เช่น สถานีโทรทัศน์  เป็นต้น

       การสร้างสถานที่ในปัจจุบันนั้นใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้ใช้งานมาเป็นระยะ ๆ

      ส่วนกิจกรรมต่าง ๆ ก็ได้จัดให้มีขึ้นตลอดทั้งปีและเป็นประจำทุกปี โดยมีโครงการสร้าง สรรค์มากมายแต่จะยกตัวอย่างในที่นี้เพียง 4 กิจกรรมดังนี้

    - งานมหาสังฆทานทุกวัดทั่วไทย เป็นงานที่จัดให้มีขึ้นในวันคุ้มครองโลกซึ่งตรงกับวันที่ 22 เมษายน ของแต่ละปี โดยได้จัดงานมหาสังฆทาน 10,000 วัดบ้าง 20,000 วัดบ้าง 30,000 วัดบ้าง ในการจัดงานแต่ละครั้งจะมีพระภิกษุและพุทธบริษัทจากหลายประเทศทั่วโลกมาร่วมงาน 23 แสนรูปคน พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์มีความตั้งใจว่า จะจัดงานอย่างนี้ทุกปี และตั้งเป้าหมายเบื้องต้นไว้ว่า จะรวมพุทธบริษัทให้ได้อย่างน้อย 1,000,000 คน

   - โครงการตักบาตร 500,000 รูป ซึ่งจัดให้มีขึ้นในทุกจังหวัด จังหวัดละหลายครั้ง ครั้งละ 1,000 รูปบ้าง 10,000 รูปบ้าง โดยหมุนเวียนกันไปตามความพร้อมของแต่ละจังหวัด เพื่อฟื้นฟูวัฒนธรรมอันดีงามของชาวพุทธ และเพื่อส่งภัตตาหารเป็นกำลังใจไปสู่พระภิกษุ 4 จังหวัดชายแดนใต้ซึ่งกำลังถูกภัยคุกคามจาก ผู้ก่อการร้าย

    - โครงการตอบปัญหาศีลธรรมโลกซึ่งได้จัดขึ้นทุกปี มีผู้เข้าร่วมโครงการปีละไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคนทั้งพระภิกษุ ประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ตลอดจนเด็กนักเรียนทั่วประเทศ

     - โครงการเด็กดี V-Star ฟื้นฟูศีลธรรมโลก เป็นโครงการสร้างเด็กนักเรียนต้นแบบทางด้านศีลธรรมโดยมีเป้าหมายเบื้องต้น 5,000 โรงเรียนทั่วประเทศ ล่าสุดมีเด็กนักเรียนเข้าร่วมโครงการประมาณ 500,000 คน ซึ่งได้จัดกิจกรรมรวมเด็กนักเรียนเหล่านี้เพื่อมาประเมินศีลธรรม ณ วัดพระธรรมกาย 4 ครั้งแล้ว ครั้งแรก 200,000 คน ครั้งที่สอง 500,000 คน

     ครั้งที่สามได้จัดในวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการกว่า 500,000 คนส่วนครั้งที่ สี่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมีดำริให้จัดงานรวมพลเด็กดี ครั้งที่สี่ในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2552 โครงการเด็กดี  นี้จะสร้างเด็กนักเรียนให้เป็นผู้นำในการทำความดีตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเริ่มต้นที่หลักศีลธรรมพื้นฐานคือเคารพ วินัย และอดทน

     เมื่อพุทธบริษัททั้งเด็กและผู้ใหญ่จากทั่วโลกมารวมตัวกันทำความดี มาศึกษาคำ สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายเช่นนี้ ก็จะมีคนดีเกิดขึ้นมากมาย พุทธบริษัทจะสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน จะคิด พูดทำไปในทิศทางเดียวกัน ภาพดี ๆ เหล่านี้จะถูกถ่ายทอดออกไปทั่วโลก จะสร้างแรงบันดาลใจให้ชาวพุทธทั่วโลกในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาสืบต่อไป และที่สำคัญจะเป็นปัจจัยให้เกิดสันติภาพโลกอีกด้วย


 


หนังสือ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0049321174621582 Mins