เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุขในโลกนี้และโลกหน้า

วันที่ 24 พย. พ.ศ.2559

เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ
หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุขในโลกนี้และโลกหน้า

สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ , กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา , DOU , พระพุทธศาสนา , วัดพระธรรมกาย , เรียนพระพุทธศาสนา , หนังสือเรียน DOU , พระโพธิสัตว์ , ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา , มงคลชีวิต , พุทธวิธี , เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หลักการสร้างฐานะเพื่อความสุขในโลกนี้และโลกหน้า

        ปัญหาความยากจน ปัญหาความเจ็บ ปัญหาความโง่ เป็นปัญหาที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่วันแรกเกิด การจะมีความสุขอยู่ในโลกนี้ได้ในแต่ละวัน ก็ต้องเอาชนะปัญหาเหล่านี้ให้ผ่านพ้นไปให้ได้ในแต่ละวัน นั่นก็หมายความว่า เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ชีวิตจะพบความสุขขั้นต้นได้ ต้องสร้างฐานะทางเศรษฐกิจให้สำเร็จ

     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้วิธีการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจสำหรับชาวพุทธไว้แล้ว เป็นสิ่งที่พระองค์ได้จากการสั่งสมบุญสร้างบารมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน เป็นความรู้จากปัญญาบริสุทธิ์ของพระองค์ ซึ่งนอกจากไม่เป็นการสร้างบาปให้แก่ตนเองแล้ว ยังเพิ่มพูนความสุขให้ตนเองและผู้อื่นด้วย ชาวพุทธต้องศึกษาให้ดีในเรื่องดังต่อไปนี้


เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธคืออะไร 
       เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ หมายถึง ความรู้ที่ว่าด้วยหลักการและวิธีการแสวงหาทรัพย์เพื่อเลี้ยงชีพตนเองและผู้อื่นให้มีความสุขในชาตินี้และชาติหน้า โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม และยังเป็นการเพิ่มพูนศีลธรรมในตนเองและสังคมให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไปด้วย


เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์ของชาวโลกอย่างไร 
      เศรษฐศาสตร์โดยทั่วไป จะมุ่งสอนอยู่ 3 เรื่องหลัก คือ หาเป็น เก็บเป็น และใช้เป็น แต่สำหรับเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธนั้น มุ่งสอนอยู่ 4 เรื่องหลัก คือ นอกจากจะสอนเรื่องหาเป็น เก็บเป็น ใช้เป็นแล้ว ยังเน้นสอนเรื่อง "การสร้างเครือข่ายคนดีเป็น" ด้วย

       สาเหตุที่พระพุทธองค์ทรงเพิ่มเรื่องการสร้างเครือข่ายคนดีขึ้นมาก็เพราะทรงไม่ต้องการให้ชาวพุทธเป็นคนดีอยู่ตามลำพัง แต่ต้องการให้ชาวพุทธดีอย่างเป็นทีม ดีอย่างมีเครือข่ายในการทำความดี เพื่อเป็นการป้องกันอบายมุขอันเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจบาปทั้งหลาย เข้ามาทำลายความดีงามของสังคมนั่นเอง

 

3.1 เป้าหมายการสร้างตัวสร้างฐานะตามพุทธวิธี
       ขณะที่ชีวิตชาวโลกหมดเวลาส่วนมากไปกับการสร้างตัวสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงสอนให้ชาวพุทธตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ที่เฉพาะการทำมาหากินเท่านั้นแต่ทรงสอนให้ตั้งเป้าหมายชีวิตไว้ 3 ระดับ คือ

1. เป้าหมายชีวิตในชาตินี้
2. เป้าหมายชีวิตในชาติหน้า
3. เป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด

     1) เป้าหมายชีวิตในชาตินี้ หมายถึง การตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อการสร้างตัวสร้างฐานะที่มั่นคงให้สำเร็จได้ในชาตินี้ ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดศีลธรรม

     คนเรานั้นเมื่อต้องสร้างตัวสร้างฐานะต้องทำอย่างมีศักดิ์ศรี คือต้องเป็นอาชีพที่สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจ แพทย์ วิศวกร ชาวนา ชาวไร่ หรืออาชีพอื่นๆ และเมื่อตั้งเป้าหมายชีวิตว่าจะประกอบสัมมาอาชีพอะไรแล้ว ก็ต้องหมั่นฝึกฝนตนเองเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถ และความดีให้เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมายชีวิตนั้นให้ได้

     2) เป้าหมายชีวิตในชาติหน้า คือ การตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อประโยชน์ในชาติหน้าพระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า ตราบใดที่มนุษย์ยังไม่หมดกิเล ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกนับภพนับชาติไม่ถ้วน และการเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เพราะมนุษย์ตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม หากทำกรรมดีไว้ในอดีต เกิดมาก็จะพบกับความสุข แต่หากพลาดพลั้งกระทำความผิด ทำบาปไว้ในอดีตมาก เกิดมาก็จะพบกับความทุกข์ และคนส่วนมาก มักเกิดมาแล้วพบกับทุกข์มากกว่าความสุขด้วยกันทั้งนั้น

    ดังนั้น เมื่อยังต้องเวียนตายเวียนเกิดอีก ต้องมีเป้าหมายชีวิตในชาติหน้าเตรียมเอาไว้ด้วย คือ ต้องรู้จักเตรียมเสบียงบุญไว้ในชาตินี้ เพื่อให้บุญตามหล่อเลี้ยงรักษา และสร้างความสุขไว้สำหรับชีวิตในชาติหน้า และเพื่อเป็นอุปการะต่อการทำเป้าหมายสูงสุด

    3) เป้าหมายชีวิตขั้นสูงสุด คือ การตั้งเป้าหมายชีวิตเพื่อการบรรลุพระนิพพานพระพุทธองค์ทรงค้นพบว่า การที่จะไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป มีทางเดียวคือต้องกำจัดกิเล ให้หมดสิ้น และ ภาพของการกำจัดกิเลสได้หมดสิ้น เรียกว่า "บรรลุพระนิพพาน"

       การจะไปให้ถึงพระนิพพาน ต้องอาศัยการฝึกฝนอบรมตนเองสร้างบุญสร้างกุศลทำความดีทุกรูปแบบข้ามภพข้ามชาติอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เรียกว่า "การบำเพ็ญบารมี 10 ประการ" จนกระทั่งบุญบารมีเต็มเปียม มีความบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาจึงจะสามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจได้สำเร็จ ความทุกข์ทั้งหลายย่อมหมดสิ้นไป ความไม่รู้อันใดย่อมสลายสิ้นไปด้วย มีแต่ความสุขล้วนๆ จากการบรรลุพระนิพพานอยู่ตลอดเวลาและไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

 

3.2 กฎเกณฑ์ประจำโลก
      เนื่องจากเราไม่ได้อยู่ในโลกนี้เพียงลำพัง ยังต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วย การสร้างตัวสร้างฐานะของเรา จึงจำเป็นต้องทราบถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ ในโลกนี้ เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ดำเนินงานผิดพลาด จนกลายเป็นความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์สินในภายหลังกฎเกณฑ์ประจำโลกนี้ มี 3 ประเภท คือ

      1) กฎแห่งกรรม เป็นกฎเกณฑ์ตามความจริงที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ค้นพบ เป็นกฎเหล็กที่ว่าด้วยหลักเหตุและผล เช่น ใครทำความดี ย่อมได้รับผลเป็นความสุข ใครทำความชั่วย่อมได้รับผลเป็นความทุกข์ กฎแห่งกรรมนี้ไม่มีใครปฏิเสธได้และใครเป็นผู้กระทำสิ่งใดไว้ ตนจะต้องเป็นผู้รับผลของการกระทำนั้นแต่ผู้เดียว ใครอื่นรับแทนไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นผลดีและผลชั่วก็ตาม

    2) กฎจารีตขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นความถือเอาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือการกระทำใดการกระทำหนึ่ง ที่คนเป็นส่วนมากในท้องถิ่นนั้นนิยมว่าดี แล้วรับเอาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต มีการ อนให้ มาชิกในท้องถิ่นได้ปฏิบัติสืบทอดกันต่อๆ ไป และหากใครทำผิดกฎจารีตขนบธรรมเนียมประเพณี ก็จะถูกลงโทษมากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันไปตามท้องถิ่นของตน

      3) กฎหมาย เป็นกฎระเบียบข้อบังคับให้ทุกคนในประเทศนั้นต้องปฏิบัติตาม หากใครกระทำผิดกฎหมาย ต้องได้รับบทลงโทษทั้งสิ้น เป็นกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาควบคุมคนในสังคมเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เมื่อใครกระทำผิด จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ทั้งสิ้น

    เพราะฉะนั้น ในการสร้างตัวสร้างฐานะให้สำเร็จ จึงจำเป็นต้องกระทำโดยไม่ผิดกฎแห่งกรรม กฎจารีตประเพณี และกฎหมายบ้านเมือง ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพของเรานั่นเอง

 

3.3 ต้นทุนในการสร้างฐานะ
     ต้นทุนสำคัญในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็คือ นิสัยที่ดี หรือเรียกว่าคุณสมบัติ นี่เองคุณสมบัติพื้นฐานของผู้ที่สร้างฐานะได้สำเร็จ มี 4 ประการ

1) สัจจะ คือ นิสัยรับผิดชอบ
2) ทมะ คือ นิสัยรักการฝึกตนเอง
3) ขันติ คือ นิสัยทรหดอดทน
4) จาคะ คือ นิสัยไม่เห็นแก่ตัว

  คนที่มีความรับผิดชอบ เมื่อลงมือทำสิ่งใดย่อมทำออกมาให้คุณภาพดีที่สุด รวดเร็วที่สุดและประหยัดงบประมาณที่สุด

       คนที่รักการพัฒนาตนเอง ย่อมมีวิสัยทัศน์มองเห็นช่องทางและโอกาสมากมายในการดำเนินธุรกิจ

      คนที่มีความทรหดอดทน ย่อมไม่มีวันพ่ายแพ้กับปัญหาและอุปสรรคใดๆ มีแต่ความสำเร็จที่รออยู่ปลายทางเพียงอย่างเดียว

      คนที่มีนิสัยไม่เห็นแก่ตัว ย่อมไม่มีวันเอาเปรียบใคร มีแต่เอื้อเฟอเผื่อแผ่ผู้อื่น ทำให้มีพรรคพวกเพื่อนฝูงมาก และสามารถสร้างเครือข่ายคนดีมาสนับสนุนการเติบโตของกิจการได้อย่างมั่นคง

     นิสัยที่ดีทั้ง 4 ประการนี้ เป็นต้นทุนสำคัญในการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายืนยันว่า ต้นทุนที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จในชีวิต ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าคุณธรรม 4 ประการนี้อีกแล้ว

 

3.4 ต้นเหตุของความรวย
      ก่อนลงมือสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ต้องทราบก่อนว่า พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน อุฏฐานสูตร ว่าสาเหตุที่ทำให้คนเราร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีนั้น เกิดจากสาเหตุ 2 ประการ คือ
          1) ความขยันให้ถูกดีถึงดีพอดีในปัจจุบัน

          2) บุญเก่าที่สั่งสมไว้ดีแล้วในอดีตตามมาส่งผล
          นั่นก็หมายความว่า ในขณะที่เรากำลังสร้างฐานะเศรษฐกิจอยู่นั้น เราก็ต้องหมั่นสร้างบุญไม่ขาดนั่นเอง

        1) ความขยันอย่างถูกดี  ถึงดี  พอดีในชาตินี้
       คนเรานั้นไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม หากจะให้ทำดีแล้วได้ผลดีตอบแทนกลับมานั้นต้องทำดีให้เป็น และคนที่ทำดีเป็น ก็คือคนที่ทำดีได้ถูกดี ถึงดี และพอดี ยิ่งเป็นเรื่องการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจด้วยแล้ว ยิ่งต้องใส่ใจในความถูกดี ถึงดี และพอดีในอาชีพของตนให้มากเพราะนั่นคือมาตรฐานความสำเร็จในอาชีพของตนเลยทีเดียว

        1.1) ขยันอย่างถูกดี คือ มีปัญญาสามารถทำให้ถูกวัตถุประสงค์ของงานนั้น
     ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นคนค้าขายเสื้อผ้า เวลาผลิตเสื้อผ้าหลากหลายชนิดออกสู่ตลาดก็ต้องรู้จักความเหมาะสมของฤดูกาล เมื่อถึงฤดูหนาวก็ผลิตเสื้อกันหนาวออกขายพอถึงฤดูร้อนก็ผลิตเสื้อที่เหมาะสมกับฤดูร้อนออกวางขาย ไม่ใช่พอหน้าหนาวกลับผลิตเสื้อผ้าใส่ในฤดูร้อน แต่พอถึงฤดูร้อนกลับผลิตเสื้อผ้าใส่ในฤดูหนาว ซึ่งเป็นการทำผิดวัตถุประสงค์ผิดกาลเวลา และความต้องการของคน เรียกว่า ทำไม่ถูกดี

       1.2) ขยันอย่างถึงดี คือ มีความพยายามที่จะทำงานนั้นให้เต็มความสามารถและได้มาตรฐานที่มีคุณภาพ
       ตัวอย่างเช่น ในการผลิตเสื้อผ้าที่ออกขายนั้น ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าประเภทใดสำหรับหน้าหนาว หรือหน้าร้อนก็ตาม ต้องผลิตอย่างมีคุณภาพ เหมาะสมกับราคา เป็นที่น่าเชื่อถือของลูกค้า ไม่ใช่ผลิตของปลอม ใช้ของไม่มีคุณภาพมาผลิต แล้วขายด้วยราคาแพง ถ้าแบบนี้เรียกว่าทำไม่ถึงดี

      1.3) ขยันอย่างพอดี คือ มีสติ ไม่ใช่ทำอย่างคึกคะนองจนเลยเถิด หรือเผื่อเหนียวมากไปจนเกิดความเสียหาย
       ตัวอย่างเช่น เมื่อจะผลิตเสื้อผ้าออกมาขายในท้องตลาดนั้น ก็ต้องสำรวจปริมาณของผู้บริโภคด้วยว่า มีจำนวนผู้บริโภคเท่าใด จะได้ไม่ผลิตเสื้อผ้าออกมาล้นตลาด จนไม่มีใครซื้อเหลือเป็นของค้าง ต็อก เมื่อหมดฤดูกาลก็ขายไม่ออก เป็นของล้าสมัยไป ถ้าทำด้วยความขาดสตินี้ เรียกว่า ทำไม่พอดี


       2) บุญเก่าที่ทำไว้ดีแล้วในอดีตตามมาส่งผล
    บุญเก่า หมายถึง ผลของการสั่งสมความดีมาแต่ภพชาติก่อนส่งผลให้เราเกิดความเจริญก้าวหน้าในชาติปัจจุบันในเรื่องการส่งผลของบุญเก่านี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ใน "สัปปุริสทานสูตร" ว่า

      1. บุคคลได้ให้ทานด้วยความศรัทธา ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง เป็นผู้มีรูปสวยน่าเลื่อมใสมีผิวพรรณงาม

      2. บุคคลได้ให้ทานโดยเคารพ ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีบุตร ภรรยา คนรับใช้เป็นผู้ที่เชื่อฟังตั้งใจปฏิบัติตาม

      3. บุคคลได้ให้ทานโดยกาลอันควร ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก ย่อมเป็นผู้ที่มีความต้องการเกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์

    4. บุคคลได้ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 สูง(ประณีต) ยิ่งขึ้นไป

      5. บุคคลได้ให้ทานโดยไม่กระทบตนและผู้อื่น ย่อมทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีโภคทรัพย์มาก ไม่มีอันตรายมาแต่ไหนๆ ไม่ว่าจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทจะไม่มาทำลายโภคทรัพย์ได้

      เพราะฉะนั้น จากสาเหตุความรวยในปัจจุบันและอดีตที่กล่าวมานี้ เมื่อต้องการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจของตนให้ร่ำรวยแล้ว จึงมีหลักสำคัญว่า ต้องขยันทำมาหากินและทำทานสร้างบุญไปพร้อมๆ กันด้วย เพราะทั้งสองอย่างนี้ย่อมเกื้อกูลกันทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

3.5 พุทธวิธีสร้างฐานะให้ร่ำรวยในชาตินี้
       วิธีสร้างฐานะทางเศรษฐกิจนี้ มีศัพท์ทางศาสนา เรียกว่า "ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์" แปลว่า ประโยชน์ในปัจจุบัน เป็นวิธีสร้างฐานะที่ถูกต้องชอบธรรม ไม่ก่อกรรมสร้างเวรให้กับใครและไม่สร้างความเดือดร้อนในภายหลังแต่อย่างใด มี 4 ประการ ดังนี้

1) อุฏฐานสัมปทา หาทรัพย์เป็น
2) อารักขสัมปทา เก็บทรัพย์เป็น
3) กัลยาณมิตตตาสร้างเครือข่ายคนดีเป็น
4) สมชีวิตา ใช้ชีวิตเป็น


3.5.1. อุฏฐานสัมปทา
       อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ความถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร
       อุฏฐานสัมปทา หมายถึง การหาทรัพย์เป็น ซึ่งต้องประกอบด้วย 2ส่วน คือ
       1. เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในการงานที่ทำ
       2. จะทำการสิ่งใดต้องประกอบด้วยปัญญาพิจารณา เพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้

     ปัญญาในที่นี้มีความหมาย 2 นัยด้วยกัน คือ ความฉลาดในการทำงานหรือในสาขาอาชีพนั้นๆ และความฉลาดในเรื่องศีลธรรม

   ความขยันที่ประกอบด้วยปัญญา เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ คนที่สร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้สำเร็จ ก็เพราะได้ฝึกฝนอบรมตนเองให้มีความขยันหมั่นเพียรเป็นนิสัยประจำตัว และมีความเพียรพยายามในการแ วงหาปัญญาอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะต้องเผชิญกับอุปสรรคขวากหนามมากมายเพียงใด ก็ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก มีความเข้มแข็งอดทน งานหนักงานเบาก็สู้กัดฟันทน แม้ต้องหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินก็ไม่ท้อถอย หรือจะอาบเหงื่อต่าวน้ำก็ไม่ถอยหนี คนแบบนี้ย่อมสร้างตัวสร้างฐานะได้สำเร็จอย่างแน่นอน

      ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากขาดนิสัยขยันหมั่นเพียรแล้ว โอกาสที่จะพลิกชีวิตจากความจน ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้ หรือคนที่เกิดมารวย แต่ไม่มีนิสัยขยันหมั่นเพียร และไม่เพิ่มพูนปัญญาแล้ว ก็มีสิทธิกลับมายากจนได้เหมือนกัน


3.5.2 อารักขสัมปทา
       อารักขสัมปทา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยการรักษา
       อารักขสัมปทา หมายถึง การเก็บเป็น

    จุดเริ่มต้นของการเก็บเป็นคือ การรู้จักการสะสม การออม รู้จักคุณค่าของเงินขั้นต่อมาคือต้องรู้จักหาทางป้องกันทรัพย์จากภัยต่างๆ ซึ่งภัยของทรัพย์ มาจาก 2 ทางหลัก คือ
       1. ภัยจากคน ทั้งจากคนใกล้ตัว และคนไกลตัว
       2. ภัยจากธรรมชาติ

     นอกจากนี้การเก็บเป็นยังรวมไปถึงการใช้ของอย่างถนอม รู้จักรักษาให้ข้าวของมีอายุการใช้งานที่ยาวนานอีกด้วย อีกทั้งของหายก็ต้องหา ของเสียก็ต้องซ่อม ไม่อย่างนั้นก็จนไปทั้งชาติ

     ความสำคัญของข้อนี้ ก็คือ การจะตั้งตัวตั้งฐานะได้หรือไม่ได้ อยู่ที่การเก็บทรัพย์เป็นไม่ได้อยู่ที่การหาทรัพย์ เพราะว่าแม้จะหาทรัพย์มาได้มากเป็นหมื่นเป็นแสนเป็นล้าน แต่หากเก็บทรัพย์ไม่เป็น ได้แต่นำออกมาใช้จ่ายอย่างเมามัน เงินหมื่นเงินแสนเงินล้านนั้นก็หมดไปได้เหมือนกัน

     การเก็บทรัพย์เป็นนั้น ต้องไม่หมิ่นเงินน้อย โดยต้องระลึกอยู่เสมอว่า "เงินหนึ่งล้านบาทก็เริ่มต้นจากเงินหนึ่งบาท" ทรัพย์ที่เก็บไปวันละเล็กละน้อย นานวันเข้าก็จะเพิ่มพูนขึ้นเองเหมือนอย่างกับปลวกก่อรัง ก็เริ่มต้นจากดินก้อนเล็กๆ ที่ปลวกช่วยกันคาบมาก่อขึ้นเป็นจอมปลวก ดังนั้น หากต้องการสร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้สำเร็จ ก็ต้องเก็บรักษาทรัพย์ไว้ให้เป็น


3.5.3 กัลยาณมิตตตา
       กัลยาณมิตตตา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้มีมิตรดี

       กัลยาณมิตตตา หมายถึง การสร้างเครือข่ายคนดีเป็น

     หากรักจะยืนหยัดอยู่ในโลกกว้างอย่างมั่นคงแล้ว ก่อนอื่นต้องสร้างธาตุแห่งความเป็นคนดีขึ้นมาในตัวก่อน แล้วจึงสร้างเครือข่ายคนดีขึ้นมา เป็นวงจรตามลำดับ การสร้างเครือข่ายคนดีมี 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

      ขั้นที่ 1 รู้จักวางตัวให้เหมาะสม เช่น พิจารณาให้ดีว่า ขณะนั้นตัวเราอยู่ในสังคมใดอยู่ในฐานะใด มีตำแหน่งหรือบทบาทหน้าที่อะไร เช่น ถ้าเป็นพ่อก็ต้องวางตัวให้สมกับที่เป็นพ่อเป็นเพื่อนก็วางตัวให้สมกับที่เป็นเพื่อน

     ขั้นที่ 2 ซึมซับเอาศีลธรรมมาจากคนดีที่อยู่รอบตัวเราในสังคมนั้นๆ โดยการหมั่นเข้าไปสนทนา ซักถาม หมั่นคอยสังเกตผู้ที่ถึงพร้อมด้วยคุณความดีเหล่านี้ เพื่อจะได้ซึมซับและถ่ายทอดเอาความรู้ ความดีจากบุคคลเหล่านั้นมาสู่ตัวเรา

       ขั้นที่ 3 ถ่ายทอดความรู้และความดีของเราไปสู่ผู้อื่นที่อยู่แวดล้อมรอบด้าน

      เมื่อเรากำลังสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ต้องรู้จักเลือกทำงานกับคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริตเท่านั้น เพราะมิตรดีเท่านั้น จึงจะช่วยกันสร้างความเจริญให้แก่กันและกันได้อย่างยั่งยืนและที่สำคัญต้องขยายเครือข่ายความเป็นกัลยาณมิตรออกไปให้กว้างขวางมากที่สุด เพราะมิตรยิ่งมากเท่าใด โอกาสที่จะสร้างตัวให้ร่ำรวยก็มากขึ้นเท่านั้น

    แต่ถ้าหากไม่เลือกมิตรที่จะสร้างฐานะแล้ว โอกาสที่จะถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกโกง ถูกทำให้เสียหายก็เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ทรัพย์สินเงินทองที่หามาได้ก็ต้องหมดไปเพราะความไม่ระมัดระวัง มีความประมาท พลาดเพียงครั้งเดียวก็อาจทำให้สิ้นเนื้อประดาตัว เพียงเพราะคบมิตรเลวก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่บ่อยๆ


3.5.4 สมชีวิตา
       สมชีวิตา แปลว่า ถึงพร้อมด้วยความเป็นอยู่ที่เหมาะสมสมชีวิตา หมายถึง การใช้ทรัพย์เป็น

     คนที่ใช้ทรัพย์เป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่องทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ เพื่อจะได้หาทางทำทรัพย์ที่มีอยู่ให้เจริญงอกเงยเพิ่มขึ้น และทางใดที่จะทำให้ทรัพย์ที่มีอยู่เสื่อมไป ก็จะได้วางแผนป้องกันไว้ล่วงหน้า รวมไปถึงการรู้จักเลี้ยงชีพอย่างพอเหมาะพอสม ไม่ให้ฟุ่มเฟอยสุรุ่ยสุร่าย และไม่ให้ขัดสนฝดเคือง

       ทางเสื่อมของทรัพย์ 4 ประการ ได้แก่

1. เป็นนักเลงหญิง
2. เป็นนักเลงสุรา
3. เป็นนักเลงการพนัน
4. เป็นผู้มีมิตรชั่วสหายชั่ว มีเพื่อนชั่ว

     ในบรรดา 4 ข้อนี้สิ่งที่นำมาซึ่งความเสื่อมมากที่สุดคือ การคบคนชั่วเป็นมิตร เพราะจะทำให้ความเสื่อมทุกๆ อย่างตามมา


     ทางเจริญของทรัพย์ 4 ประการ ได้แก่

1. ไม่เป็นนักเลงหญิง
2. ไม่เป็นนักเลงสุรา
3. ไม่เป็นนักเลงการพนัน
4. เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี

       นอกจากไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขแล้ว ยังต้องไม่ใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟอยอีกด้วย คือต้องรู้จักวางแผนการใช้จ่ายให้เหมาะสมตามความจำเป็น ไม่ใช้จ่ายเพราะความอยากได้ อยากมีอยากเป็น จนกลายเป็นสาเหตุให้ใช้จ่ายเกินตัว การใช้ชีวิตเช่นนี้ย่อมไม่มีความสุข เพราะตนเองขาดความพอดีในการดำเนินชีวิต

     วิธีการสร้างฐานะให้ร่ำรวยตามแบบอย่างของพุทธองค์ เป็นการสร้างฐานะความร่ำรวยให้กับทุกคนอย่างแท้จริง หากได้ลองพิจารณาดูบุคคลที่ร่ำรวยในอดีตและปัจจุบันแล้วจะพบว่าบุคคลเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่ได้กระทำตามวิธีการทั้ง 4 ประการ ใน"ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์" มาแล้วทั้งสิ้น

 

3.6 พุทธวิธีสร้างฐานะให้ร่ำรวยในชาติหน้า
       พุทธวิธีในการสร้างฐานะให้ร่ำรวยในชาติหน้า คือ หลักธรรมที่เรียกว่าสัมปรายิกัตถประโยชน์ 4 ประการ ซึ่งเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่ภพหน้า เพื่อความสุขในชาติหน้า ประกอบด้วย

1) ศรัทธาสัมปทา
2) ศีลสัมปทา
3) จาคสัมปทา
4) ปัญญาสัมปทา


3.6.1 ศรัทธา
        ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ

    ในที่นี้ ศรัทธา คือ ความเชื่อในปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าถูกต้องจริง ดีจริง เป็นประโยชน์จริง เพราะพระองค์ท่านฝึกตัวเองมานับภพนับชาติไม่ถ้วนจนกระทั่งตรัสรู้ได้ด้วยตัวท่านเอง

      ทำไมพระองค์ท่านจึงตรัสรู้ได้เอง ก็เพราะท่านฝึกตัวมานับโกฏินับกัปไม่ถ้วนสะสมความรู้ข้ามภพข้ามชาติมามาก จากพื้นความรู้ที่ได้จากการตรัสรู้นั้น ทำให้พระองค์เจาะลึกเข้าไปรู้ถึงความจริงของสรรพสิ่งทั้งหลายได้ โดยไม่มีอะไรเคลือบแคลงสงสัย แล้วท่านยังเมตตานำความรู้นั้นมาสอนให้ทั้งมนุษย์และเทวดาสรุปเป็นคำสอนหลักในพระพุทธศาสนาว่าละชั่ว ทำความดี และกลั่นจิตกลั่นใจให้ผ่องใส

      ถ้าจะไปสวรรค์ให้ได้ เราต้องมีหลักใจ อย่างน้อยก็ต้องศึกษาเรื่องกรรม เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม เมื่อศึกษาแล้วก็ต้องเลือกละกรรมชั่ว ทำแต่กรรมดี แล้วก็ทำใจให้ใสศรัทธาที่แท้จริงจะต้องมีหลักใจอย่างนี้

      ศรัทธามีความสำคัญ คือสามารถทำให้พ้นทุกข์ได้ เพราะเมื่อมีความมั่นใจ ความไว้วางใจในพระพุทธองค์และคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว ก็จะพร้อมจะปฏิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไข และตั้งใจปฏิบัติตามอย่างเต็มที่

      ศรัทธาในข้อนี้ต้องเป็นศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ศรัทธาอย่างงมงาย เชื่อโดยไม่คิดพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นความหลงงมงายไป

      เมื่อมีศรัทธาแล้วก็มีความเลื่อมใสหมดความสงสัยในคำสอน พร้อมจะปฏิบัติตาม เมื่อพระพุทธองค์สอนให้ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใสเพื่อกลั่นกาย วาจา ใจให้บริสุทธิ์ ก็ตั้งหน้าตั้งใจกระทำอย่างเต็มกำลังความสามารถ เชื่อในคำ สอนว่านรก สวรรค์มีจริง บุญ บาปมีจริง เป็นความเชื่อมั่น ในสัมมาทิฏฐินั่นเอง แล้วมุ่งมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาอย่างเต็มที่ไปพร้อมกับการดำเนินชีวิต จนกระทั่งปิดนรก เปิดสวรรค์ และพ้นทุกข์ได้ในที่สุด


3.6.2 ศีล
        ศีล แปลว่า ปกติ
     ศีล หมายถึง การควบคุมตัวเองทั้งทางกายและวาจา เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เจ้าชู้ พูดโกหก พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ และเสพของมึนเมาอันได้แก่ สุราและเมรัย เป็นต้น

     การที่เราจะสามารถควบคุมตัวเองด้วยศีลได้นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่เรามีหลักใจที่ถูกต้องเป็นเบื้องต้น นั่นคือการเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม

     คนมีศีลย่อมเป็นคนที่มีความประพฤติดี เป็นผู้ที่ละเว้นจากความทุจริตทั้งหลาย จึงเป็นบุคคลที่น่าคบหา เป็นที่น่าไว้วางใจ คบแล้วก็สบายใจว่าจะไม่สร้างความเดือดร้อนให้ในภายหลัง และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ศีลจึงเป็นปกติของคนดี

      โดยเฉพาะสำหรับคนทำการค้าสร้างตัวสร้างฐานะ ต้องหาความร่วมมือจากคนมีศีลจึงจะไม่เดือดร้อน เพราะคนไม่มีศีล ไม่มีศรัทธาแล้วย่อมจะไม่เชื่อในเรื่องของบุญบาป ความดีความชั่ว ดังนั้น เพื่อผลประโยชน์แล้ว โกงได้ก็โกง เอาเปรียบได้ก็เอาเปรียบ ทุจริตได้ก็ทุจริตผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรมก็ทำได้หมด อย่างไม่มีความละอาย

      อีกประการหนึ่งต้องหมั่นเข้าหาคนที่มีศีลมีคุณธรรมเพื่อขอรับการถ่ายทอดความรู้คุณธรรมจากท่าน เพื่อเป็นการพันาตนเองแล้วนำความรู้คุณธรรมที่ตนได้ประพฤติปฏิบัติตามได้ ไปถ่ายทอดกับญาติมิตร พวกพ้อง บริวาร เป็นการสร้างเครือข่ายคนดีไปในตัวเท่ากับเป็นการใช้ทรัพย์สินเงินทองไปในการสร้างคนดีให้กับสังคม


3.6.3 จาคะ
        จาคะ แปลว่า ละออก
        จาคะ หมายถึง การรู้จักสละทรัพย์ของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น

       จาคะมีความสำคัญ คือ เป็นการรักษาทรัพย์ข้ามชาติ คนที่จะเข้าใจได้เช่นนี้ ต้องเป็นผู้ที่มีศรัทธา มีศีลมาก่อน แล้วได้ใช้ปัญญาของตนตรองคำ อนของพระพุทธองค์ ก็ได้ปัญญารู้ว่าการเก็บทรัพย์ที่ดีที่สุด โดยที่ภัยใดๆ ก็มาทำลายไม่ได้ โจรก็ลักขโมยไม่ได้ พระราชาก็ริบไปไม่ได้ ไฟไหม้ไม่ได้ น้ำท่วมก็ไม่ได้ ลูกหลานเกเรก็มาแย่งเอาไปไม่ได้ มีเพียงวิธีเดียวคือ การเปลี่ยนโลกียทรัพย์ ทรัพย์หยาบ ให้เป็นอริยทรัพย์ ทรัพย์ละเอียด ด้วยการทำให้เป็นบุญติดตัวข้ามภพข้ามชาติ

     อีกประการหนึ่ง จาคะยังเป็นการให้ความช่วยเหลือคนให้กลับมามีโอกาสร้างตัวสร้างฐานะได้ เป็นการสร้างนิสัยของการแบ่งปัน เอื้อเฟอเผื่อแผ่สังคมแห่งความดี

     คนที่มีจาคะจึงเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์มองการไกล ข้ามภพข้ามชาติ รู้จักเตรียมความพร้อมสำหรับชีวิต เพราะมีความเข้าใจในเรื่องกฎแห่งกรรม ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว รู้ว่าเมื่อยังไม่หมดกิเลส ก็ต้องกลับมาเกิดอีก จึงได้เตรียมเสบียงชีวิตไว้ล่วงหน้า เมื่อมาเกิดอีกจึงมีความพร้อมมากกว่าคนที่ไม่มีจาคะ ไม่ได้สั่งสมบุญ


3.6.4 ปัญญา
      ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้

    ปัญญา หมายถึง การมองเห็นความจริงของโลกและชีวิตอย่างถูกต้องเป็นจริงว่า ชีวิตเป็นทุกข์ มีความไม่เที่ยง และไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ต้องกำจัดกิเลสให้หมดไปจึงจะพ้นทุกข์ได้

  ปัญญาเป็นเครื่องมือกำจัดกิเลสในใจตนและทำให้ทวนกระแสกิเลสของคนทั้งโลกได้เป็นความรู้ชัดว่าความทุกข์ที่ตนเองมีอยู่นั้น เกิดจากอำนาจของกิเลสที่ห่อหุ้ม เอิบอาบ ซึมซาบอดแทรกอยู่ในใจตลอดเวลา กิเลสเป็นตัวการคอยบังคับให้คนไปกระทำความผิด ความชั่ว

    สิ่งที่เป็นบาปอกุศล และเมื่อทำแล้วมีผล เป็นความทุกข์ ความยากลำบากตลอดชีวิต ปัญญาจึงเปรียบเสมือนความสว่างของดวงอาทิตย์ที่มาขจัดความมืดบอดออกไปจากจิตใจ

       บุคคลที่มีปัญญาแท้จริงย่อมสามารถจะเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้ ทั้งความจนความเจ็บ ความโง่ ได้ เป็นบุคคลที่สามารถพึงตนเองได้ ด้วยปัญญาของตน ซึ่งเป็นคุณธรรมที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญว่า ไม่มีคุณธรรมใดจะยอดเยี่ยมไปกว่า การมีปัญญา

      สัมปรายิกัตถประโยชน์ 4 ประการดังที่กล่าวมานี้ ย่อมเกื้อกูลให้มีความสุขในภพชาติหน้าแก่บุคคลผู้ที่ขยันหมั่นเพียรในการงาน รู้วิธีหาเลี้ยงชีวิตให้พอเหมาะ มีความไม่ประมาทรู้จักเก็บรักษาทรัพย์ รู้จักการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม เป็นมีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ปราศจากความตระหนี่ รู้จักชำระทางแห่งประโยชน์ที่มีในภพชาติเบื้องหน้าอยู่เป็นนิจ คือทำเป็นปกติสม่ำเสมอ ความเจริญย่อมมีแก่บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเช่นนี้เอง

 


GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาองค์กรและเศรษฐกิจ
กลุ่มวิชาความรู้ทั่วไปทางพระพุทธศาสนา

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010864019393921 Mins