พระรัตนตรัย

วันที่ 13 มิย. พ.ศ.2560

พระรัตนตรัย

พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , หลวงพ่อธัมมชโย , พระรัตนตรัย , รตฺตนตฺตยํ   , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระธรรมเทศนา
     "รตฺตนตฺตยํ" นั้น แปลว่า หมวดสามแห่งรัตนะ คือ พุทธรัตนะ ธรรม รัตนะสังฆรัตนะ

    สามรัตนะนี้ประเสริฐกว่า วิญญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะที่มีในไตรภพด้วย เป็นของทำความดีให้แก่โลกทั้งสาม คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก

  กามโลก มีรัตนะที่ใช้กันอยู่ เช่น เพชรหรือแก้ว ทั้งเป็นและตายที่เป็นดังรัตนะเจ็ดของจักรพรรดิ ที่ตายดังรัตนะที่นำมาจากต่างประเทศโดยมาก

    รูปโลก ก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขา

    อรูปโลก ก็มีรัตนะสำหรับให้เกิดแสงสว่างในโลกของเขาดุจกัน

    ตั้งแต่เทวดาขึ้นไปมีรัตนะทั้งเป็นและตาย เป็นเครื่องให้เทวดา พรหม และอรูปพรหมอาศัยรัตนะเหล่านี้ และเป็นของทำความยินดีและปลื้มใจให้เกิดขึ้นแก่มนุษย์ เทวดา พรหม และอรูปพรหม ได้เท่ากำลังของรัตนะนั้น ๆ ดังนี้ เป็น รัตนะ 3 ส่วนโลก

    ที่เกิดของ รัตนะ 3ส่วนธรรม ต้องบรรยายแต่เหตุไป รัตนะทั้ง 3 นี้ เป็นรัตนะที่เป็นไม่ใช่รัตนะที่ตาย แต่ที่เกิดรัตนะ 3 นั้นทำให้มีขึ้นได้ด้วย

1) ความเพียรระวังกาย, วาจา, ใจให้บริสุทธิ์
2) เพียรละกาย, วาจา, ใจที่ไม่บริสุทธิ์เสีย
3) เพียรทำกาย, วาจา, ใจบริสุทธิ์ให้เกิดมีขึ้น
4) เพียรรักษากาย, วาจา, ใจที่บริสุทธิ์แล้ว ให้คงที่และทวีขึ้น

    ความที่มีขึ้นแล้วแห่งความบริสุทธิ์นั้น ให้รักษาไว้อย่าให้หายไปเสียนึกถึงความบริสุทธิ์นั้นแหละร่ำไป จนใจของตนบริสุทธิ์เหมือนกับความบริสุทธิ์แล้วก็จะเห็นความบริสุทธิ์ใสปรากฏอยู่ตรงกลางของกายมนุษย์ เหนือสะดือขึ้นมาราว 2 นิ้ว ตรงนั้นเรียกว่า "ศูนย์" เป็นดวงประมาณเท่าฟองไข่แดงใสบริสุทธิ์ดุจกระจกที่ส่องดูหน้าในเวลาแต่งหน้าและแต่งตัว ประมาณของดวงไม่คงที่ บางทีโตกว่า เล็กกว่าก็ได้ อย่างโตไม่เกินดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อย่างเล็กไม่เกินดวงตาดำข้างใน นี้เป็นเครื่องกำหนดของดวง

   ดวงนั้นแหละคือปฐมมรรค จำเดิมแต่เห็นดวงปฐมมรรคแล้ว ให้เอาใจของตนจรดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงนั้นเสมอในอิริยาบถทั้ง 4 จนกระทั่งใจของตนนั้นไม่ไปจรดในที่อื่น หยุดอยู่ที่กลางดวงของปฐมมรรคเสมอ เมื่อใจหยุดได้แน่นอนแล้ว ก็ขยับใจนั้นเข้าไปในศูนย์กลางของดวง ก็จะเห็นว่างประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทรที่ศูนย์กลางของดวงนั้น

    ในเมื่อส่งรู้เข้าไปในกลางว่างเต็ม ทั้งคิด ทั้งจำ ทั้งเห็นแล้ว ก็จะเห็นกายทิพย์ของตัวเองในกลางของว่างนั้น เห็นดังนี้ชื่อว่า เห็นกายในกาย คือ กายทิพย์ในกายมนุษย์ แล้วเข้าดูดวงปฐมมรรคในกายทิพย์ที่ตรงศูนย์
ของกายทิพย์อีก ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกายทิพย์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ใสเหมือนกระจกส่องเงาหน้าอีก

    แล้วเอาเห็น, จำ, คิด, รู้ จรดลงที่ศูนย์กลางของดวง ทำแบบเดียวกับทำมาแล้ว ก็จะเห็นกายรูปพรหมในกลางของดวงนั้น กายนั้นเหมือนกายของตนเองจึงใช้ได้ ถ้าไม่เหมือนกายของตนเอง ทำใหม่จนเห็นเหมือนกายของตนเองจริงๆ แล้ว ชื่อว่า เห็นกายในกาย คือกายรูปพรหมในกายทิพย์แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นเป็นดวงใสในกลางกายรูปพรหมดุจที่เห็นมาแล้ว

    เอาเห็น, จำ, คิด, รู้ จรดลงที่ศูนย์กลางดวงก็จะเห็นกายอรูปพรหมในกลางดวงนั้น รูปเหมือนตนเองจึงใช้ได้ ถ้าไม่เหมือนทำใหม่จนเหมือนแต่พอเหมือนแล้วใช้ได้ เรียกว่า "เห็นกายในกาย" คือ เห็นกายอรูปพรหม
ในกายรูปพรหม แล้วเข้าไปดูดวงปฐมมรรคในกายอรูปพรหมต่อไป ก็จะเห็นดวงใสในกลางกายอรูปพรหมดุจเห็นมาแล้ว

    เอาเห็น, จำ, คิด, รู้ จรดลงที่ศูนย์กลางดวง ก็จะเห็นกายธรรมในกลางดวงนั้น รูปร่างเหมือนตนเอง แต่ใสเหมือนดังแก้ว เกตุดอกบัวตูมแล้วเห็น, จำ, คิด, รู้ เข้าหยุดที่ศูนย์กลางของกายธรรม ที่ตรงนั้นเป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงไก่ โตได้ เล็กได้ ใสดุจเพชร ชื่อว่า "ธรรมสำหรับทำให้เป็นธรรมกาย"

    ธรรมสิ่งนี้แหละสำหรับรักษา เห็น, จำ, คิด, รู้ ให้บริสุทธิ์และให้หยุดด้วยต้องให้หยุดให้มากที่สุดเท่าที่บังคับให้หยุดได้ หยุดให้มากที่สุดก็เจริญที่สุด

    หยุดต้องมีกลเม็ด หยุดดับหยาบไปหาละเอียดร่ำไป ไม่ใช่หยุดแล้วไม่ทำอะไร ทำหยุด ในหยุดนั้นและหนักขึ้นทุกที ไม่มีเวลาหย่อนจึงจะเจริญถึงที่สุดเร็ว

   ธรรมกายเป็นกายที่ 5 นั้น เป็นกายสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาผู้ใดทำกายนี้ให้เป็นขึ้นได้ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นพระพุทธเจ้า ชื่อว่า อนุพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า ตามเสด็จพระพุทธเจ้า

     คำว่าพระพุทธเจ้ามีหลายจำพวก เป็นสัพพัญูพุทธเจ้าบ้าง ปัจเจกพุทธเจ้าบ้างสาวกพุทธเจ้าบ้างสุตพุทธเจ้าบ้าง พหุสุตพุทธเจ้าบ้าง อนุพุทธเจ้าบ้าง ดังนี้ตรงกับกระแสพุทธฎีกาว่า เราตถาคตกล่าวว่า "ท่านผู้สดับมากนั้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ชื่อว่า พหุสุตพุทธเจ้า"

    เมื่อเป็นธรรมกาย คือเป็นพระพุทธเจ้าต้องเรียนวิชชาของพระพุทธเจ้าต่อไป ถ้าจะเรียนต่อไป ต้องรู้จักธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้น ๆ คือธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมดังแสดงมาแล้วข้างต้น ธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้น ๆ มีรูปพรรณสัณฐานสีสัน วรรณะ ละม้ายคล้ายคลึงกันต่างกันแต่ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายโตมากกว่า แต่ส่วนเนื้อที่ละเอียด และความใสนั้นก็ละม้ายกันทั้ง 4 กาย แต่กายธรรมละเอียดและใสกว่าทั้ง 4 ส่วนที่ตั้งของธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้น ๆ คือตรงกลางตัว ตัดขาดแค่สะดือ บังเวียนเข้าไปที่ศูนย์กลางพอดี ไม่เหลื่อมซ้าย ขวา หน้า หลัง

   สำหรับสัตว์ที่จะไปเกิดมาเกิด ต้องอาศัยศูนย์กลางนั้นด้วยกันทั้งหมดจึงได้ชื่อว่า "ที่สิบ" เทวดา, พรหม, อรูปพรหม, ตลอดพระนิพพาน ใช้เป็นแบบเดียวกันทั้งสิ้น

    ตรงที่สิบนั้นว่างประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร เป็นอากาศว่างเรียกว่า "กำเนิดเดิมก็ถูก"

   ที่กำเนิดเดิมนั้น มีธรรมดวงหนึ่งเท่าฟองไข่แดงของไก่สัณฐานกลม เนื้อละเอียดสีขาวใสหุ้มกำเนิดเดิมนั้นโดยรอบ กำเนิดเดิมนั้นอยู่ที่ศูนย์กลางข้างในพอดี

   ธรรมดวงนั้นแหละชื่อว่า "มนุษยธรรม" มนุษยธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์อยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันทุกกายทั้งสุดหยาบสุดละเอียด มีชื่อตามกายนั้นๆ เช่น ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถ้าธรรมนี้ดับไปกายก็ต้องแตกจากกัน ตั้งอยู่ไม่ได้เพราะหมดธรรมที่รักษา เหมือนเครื่องยนต์ที่ปลดเอาหม้อไฟออกเสีย เครื่องก็ต้องดับทันทีฉันนั้น

   ถ้าธรรมกายจะทำวิชชาต่อไป ต้องเอา เห็น, จำ, คิด, รู้ของธรรมกายจรดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น แต่พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นก็ขยายส่วนออกไปประมาณวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก กลมโดยรอบ 6 วา หนาคืบหนึ่ง ใสเหมือนกระจกเงาส่องหน้าธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น เหมือนนั่งอยู่บนแผ่นกระจกเป็นบัลลังก์จะไปไหนก็คล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี้เป็นฌานที่ 1

    ถ้าจะทำต่อไป ธรรมกายต้องส่อง เห็น, จำ, คิด, รู้ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั้น แต่พอถูกส่วนเข้า ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์นั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ 1 วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก ปริมณฑลโดยรอบ 6 วา หนาคืบหนึ่ง ใสเหมือนกระจกเป็นบัลลังก์ ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้นเหมือนนั่งอยู่บนแผ่นกระจก จะไปไหนคล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี่เป็นฌานที่ 2

   ถ้าจะทำต่อไปธรรมกายต้องส่อง เห็น, จำ, คิด, รู้ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมนั้น แต่พอถูกส่วนเข้า ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ 1 หรือที่ 2 แล้วธรรมกายขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้นจะไปไหนคล่องแคล่วเหมือนใจนึก นี้เป็นฌานที่ 3 ถ้าจะทำต่อไป ธรรมกายต้องส่อง เห็น, จำ, คิด, รู้ไปจรดเข้าที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั้น แต่พอถูกส่วนเข้า ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ก็ขยายส่วนออกไปเท่าฌานที่ 1 หรือที่ 2 ที่ 3 ธรรมกายก็ขึ้นนั่งอยู่บนฌานนั้น จะไปทางไหนได้ตามใจนึก จบรูปฌาน ทำอรูปฌานต่อไป

    ธรรมกายที่นั่งอยู่บนจตุตถฌานนั้น ต้องส่อง เห็น, จำ, คิด, รู้ไปจรดลงที่ตรงศูนย์ว่างกลางปฐมฌาน แต่พอถูกส่วนเข้าศูนย์ว่างกลางปฐมฌานนั้นก็จะขยายส่วนออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 ศอก โดยรอบ 6 วา หนาหนึ่งคืบ ใส กายธรรมก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนศูนย์กลางของอรูปฌานแบบเดียวกันกับรูปฌาน
นี่เรียกว่า "อากาสานัญจายตนะ"

    ทำต่อไป ธรรมกายต้องส่อง เห็น, จำ, คิด, รู้ไปจรดเข้าที่รู้ในว่างของศูนย์กลางทุติยฌาน แต่พอถูกส่วนเข้า รู้ในศูนย์ว่างของทุติยฌานนั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่ากับอากาสานัญจายตนฌานนั้น ธรรมกายก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนกลางของวิญญาณัญจายตนฌานนั้น

   ทำต่อไป ธรรมกายที่นั่งอยู่บนฌานนั้น ต้องเอาเห็น, จำ, คิด, รู้เข้าไปจรดที่รู้อันละเอียด ในที่ว่างศูนย์กลางของตติยฌาน แต่พอถูกส่วนเข้า รู้อันละเอียดในตติยฌานนั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่ากันกับวิญญาณัญจายตนฌานนั้นธรรมกายก็ขึ้นไปนั่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น

   ทำต่อไป ธรรมกายที่นั่งอยู่บนฌานนั้น ต้องเอา เห็น, จำ, คิด, รู้ ไปจรดเข้าที่เหตุว่าง กลางของจตุตถฌาน จรดเข้าที่ตรงรู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ แต่พอถูกส่วนเข้า รู้ละเอียดและประณีตนั้นก็ขยายส่วนออกไปเท่ากันกับอากิญจัญญายตนฌานนั้น ธรรมกายก็ขึ้นนั่งบนเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น

   เมื่อเข้าอนุโลมเป็นอย่างไร เมื่อจะปฏิโลมถอยกลับก็ต้องให้ตรงกับอนุโลม อย่าให้คลาดเคลื่อน ต้องให้ตรงเป็นแบบเดียวกันให้จงได้ จึงจะเป็นอันถูกต้องตามแบบธรรมกายนั้นแหละ ชื่อว่า "โคตรภูบุคคล"

    ถ้าจะให้เป็นอริยบุคคลต่อไป ธรรมกายต้องเข้า มาบัติ 8 ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ตาธรรมกายต้องดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิดของมนุษย์ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์ สมุทัย, นิโรธ, มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริงต้องดูไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมกายตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น 5 วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก 5 วา เป็นพระโสดา

  ทำต่อไป ธรรมกายของพระโสดานั้น เข้าสมาบัติ 8 ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้นต้องเอาตาธรรมกายของพระโสดาดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิดของเทวกาย เหตุให้เกิดและความดับ เหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริงต้องดูต่อไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมกายของพระโ ดาตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น 10 วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก 10 วา เป็นพระสกทาคา

   ทำต่อไป ธรรมกายของพระสกทาคานั้น เข้าสมาบัติ 8 ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ต้องเอาตาธรรมกายของพระสกทาคาดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิดของพรหมกาย เหตุให้เกิดและความดับ และเหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริง ต้องดูต่อไปอีกแต่พอเห็นถูกส่วนเข้าเท่านั้น ธรรมกายของพระสกทาคาก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น 15 วา แล้วศูนย์นั้นกลับเป็นธรรมกายหน้าตัก 15 วา เป็นพระอนาคา

    ทำต่อไป ธรรมกายของพระอนาคานั้น เข้าสมาบัติ 8 ในระหว่างเข้าสมาบัตินั้น ต้องเอาตาธรรมกายของพระอนาคา ดูตาย, ดูเจ็บ, ดูแก่, ดูเกิดของอรูปพรหมกาย ทั้งเหตุให้เกิดและความดับ ทั้งเหตุให้ดับ ให้เห็นตามความเป็นจริงของทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค ถ้ายังไม่เห็นตามความเป็นจริง ต้องดูไปอีก แต่พอเห็นถูกส่วนเข้า ธรรมกายของพระอนาคาก็ตกศูนย์ วัดเส้นผ่าศูนย์กลางของศูนย์นั้น 20 วา แล้วศูนย์นั้นหายวับกลับเป็นธรรมกาย หน้าตัก 20 วา เป็นพระอรหันต์

   พระอรหันต์นี้แล ถ้าค้นคว้าหาให้เป็นขึ้นได้ด้วยตนเอง ไม่มีผู้ใดแนะนำสั่งสอนอย่างพระสิทธัตถะราชกุมารนั้น นั่นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในศาสนาของท่าน เป็นพระอรหันต์มากน้อยเท่าไร เป็นสาวกทั้งสิ้นตั้งแต่ธรรมกายซึ่งเป็นกายที่ 5 ตลอดจนถึงพระอรหันต์เป็นที่สุดนี่แหละเป็นตัวพระรัตนตรัย

     กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่ใช่รัตนตรัย

     จำเพาะแต่ธรรมกายอย่างเดียวเป็นตัวพระรัตนตรัย

   ในองค์ธรรมกายนั้นที่ตรงศูนย์กลางกายของธรรมกายนั้นมีธรรมดวงหนึ่ง คือธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ธรรมดวงนี้เป็นที่ตั้ง ที่หยุดของเห็น, จำ, คิด, รู้ ของธรรมกาย เห็น, จำ, คิด, รู้ ของธรรมกายไม่เผลอ หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเสมอ ไม่เผลอเลยนั้น เป็นอรหันต์

   ตรงศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น เป็นศูนย์ว่างเท่าเมล็ดโพธิ์หรือเมล็ดไทร ตรงนั้นเป็นที่ตั้งที่อยู่ของเห็น, จำ, คิด, รู้ หยุดที่อื่นไม่ถูก ผิดศูนย์และไม่ถูกความจริง ซึ่งเป็นทางไปของพระอริยะทั้งหลาย

    ธรรมกายนั้นมีเห็น, จำ, คิด, รู้ เหมือนกันทุกกาย เห็น, จำ, คิด, รู้ ก็ต้องมีดวงเป็นที่ตั้งเห็น, จำ, คิด, รู้ ดวงเป็นที่ตั้งของเห็นอยู่นอก ดวงเป็นที่ตั้งของจำอยู่ใน ดวงเป็นที่ตั้งของจำอยู่นอก ดวงเป็นที่ตั้งของคิดอยู่ใน ดวงเป็นที่ตั้งของคิดอยู่นอก ดวงเป็นที่ตั้งของรู้อยู่ใน ตัวพระรัตนตรัยและการเข้าถึงพระรัตนตรัย


ตัวพระรัตนตรัยและการเข้าถึงพระรัตนตรัย
    ที่พรรณนามาข้างต้นนั้น ว่าด้วยเรื่องคุณพระรัตนตรัยตามบาลีที่ขึ้นต้นด้วย "อิติปิโส ภควา" และจบลงด้วยคำว่า "โลกัสสาติ" ต่อไปนี้จักแสดงสรุปให้สั้นถึงตัวพระรัตนตรัยโดยตรงว่า มีอะไรแน่ ที่เรียกว่า "พระรัตนตรัย" และการเข้าถึงพระรัตนตรัยนั้นจะเข้าถึงได้อย่างไร

    รัตนะ แปลว่า แก้ว ในที่นี้หมายเอาแก้วอย่างประเสริฐ เช่น แก้วมณีโชติซึ่งนับถือกันว่าเป็นแก้วมีคุณวิเศษสูงสุด ใครมีไว้ย่อมชื่นชมโสมนัส อิ่มอกอิ่มใจยิ่งกว่าทรัพย์สินอย่างอื่นทั้งหมดในโลก แก้วคือพระรัตนตรัยนี้เหมือนกันผู้ใดเข้าถึงก็ย่อมอิ่มใจ ชื่นใจเช่นเดียวกัน

    ร่างกายพระสิทธัตถะ ไม่ใช่พุทธรัตนะ พระสิทธัตถะทรงกระทำความเพียรอยู่ถึง 6 พรรษา จึงพบรัตนะอันนี้ ลี้ลับซับซ้อนอยู่ในพระองค์ คือกายธรรม มีสัณฐานเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม มีสีใสเหมือนกระจกปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกาย ที่ว่านี้ มีหลักฐานในอัคคัญญสูตร ที่พระองค์ตรัสแก่ วาเสฏฐสามเณรว่า "ตถาคตสฺ เหตํ วาเสฏฐาธิวจน ธมฺมกาโย อห อิติปิฯ" ในสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ยืนยันความว่า "ดูกร วาเสฏฐสามเณรคำว่า ธรรมกาย ๆ นี้เป็นชื่อตถาคตโดยแท้"

   เรื่องพระวักกลิ ดังที่ยกขึ้นมากล่าวข้างต้นนั้น เมื่อระลึกถึงความในอัคคัญญสูตรนี้ประกอบแล้ว ย่อมส่องความให้เห็นว่า ที่พระองค์ตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา" นั้น หมายความว่า "ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นเรา คือ ตถาคตนั่นเอง" มิใช่อื่นไกล หรือพูดให้

    เข้าใจง่ายกว่านี้ก็ว่า ผู้ใดเห็นดวงธรรมที่ว่านี้ ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า หรืออีกอย่างหนึ่งว่า "ผู้ใดเห็นธรรมกาย ผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า"

  ทำไมจึงหมายความเช่นนั้น ก็เพราะว่าขณะนั้นพระวักกลิก็อยู่ใกล้ ๆ กับพระองค์ หากจะแลดูด้วยลูกตาธรรมดา ทำไมจะไม่เห็นพระองค์ เพราะไม่ปรากฏว่าพระวักกลินั้นตาพิการ เมื่อเช่นนี้ไฉนพระองค์จะตรัสเช่นนั้นเล่าที่ตรัสเช่นนั้นจึงตีความหมายได้ว่า ที่แลเห็นด้วยตาธรรมดานั้น เป็นแต่เปลือกของพระองค์ คือ กายพระสิทธัตถะที่ออกบวช ซึ่งมิได้อยู่ในความหมายแห่งคำว่า "เรา" และยังตรัสว่าเป็นกายที่เปอยเน่าด้วย นั่นคือกายพระสิทธัตถะที่ออกบวชซึ่งเป็นกายภายนอกนั่นเอง

     คำว่า "เรา" ในที่นี้จึงสันนิษฐานได้ว่า หมายถึงกายภายใน ซึ่งไม่ใช่กายเปื่อยเน่า

     กายภายในคืออะไรเล่า ก็คือ "ธรรมกาย" นั่นเอง

    จะเห็นได้อย่างไร ข้อนี้ตอบไม่ยาก เมื่อได้บำเพ็ญกิจถูกส่วนแล้ว ท่านจะเห็นด้วยตาของท่านเอง คือเห็นด้วยตาธรรมกาย ไม่ใช่ตาธรรมดาพระดำรัสของพระองค์ดังยกขึ้นกล่าวมานั้น เป็นปัญหาธรรมมีนัยลึกซึ้งอยู่อันผู้ที่มิได้ปฏิบัติธรรมแล้วเข้าใจได้ยาก แต่ถ้าผู้ที่ปฏิบัติได้แล้ว จะตอบปัญหานี้ได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดายไม่ต้องไปถามใคร

     ธรรมกาย มีสีใสเหมือนแก้วจริง ๆ จึงได้ชื่อว่า "พุทธรัตนะ"

ธรรมทั้งหลายที่กลั่นออกจากหัวใจธรรมกาย จึงได้ชื่อว่า "ธรรมรัตนะ" ธรรมรัตนะคือหัวใจธรรมกายนั้นเอง

     ดวงจิตของธรรมกายนั้นได้ชื่อว่า "สังฆรัตนะ"

     นี่แหละที่ว่า พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะสังฆรัตนะ ทั้ง 3 ประการนี้ เกี่ยวเนื่องเป็นอันเดียวนั้น เกี่ยวกันอย่างนี้ จะพรากจากกันไม่ได้ ผู้ใดเข้าถึงพุทธรัตนะ ก็ได้ชื่อว่า เข้าถึงธรรมรัตนะสังฆรัตนะด้วย

    การเข้าถึงรัตนะ 3 ดังกล่าวมานี้ จะเข้าถึงได้อย่างไร เพียงแต่เลื่อมใสนับถือ ยังไม่เรียกว่า "เข้าถึง" แม้จะท่องบ่นน้อมใจระลึกถึงก็ยังไม่เรียกว่า

     "เข้าถึง" แม้จะปฏิญาณตนว่ายอมเป็นข้า ก็ยังไม่เรียกว่า "เข้าถึง" อย่างมากจะเรียกได้ก็เพียง "ขอถึง"

    การที่จะเข้าถึงนั้น จำเป็นจะต้องบำเพ็ญเพียรปฏิบัติ เจริญรอยตามปฏิปทาของพระบรมศาสดาจนบรรลุกายธรรม คือ รู้จริงเห็นแจ้งด้วยตัวของตัวเองจึงจะได้ชื่อว่า เข้าถึงพระรัตนตรัยโดยแท้ และการปฏิบัติเช่นนี้ ไม่เป็นการพ้นวิสัยของมนุษย์ เพราะในปัจจุบันนี้ มีผู้ที่ได้บำเพ็ญบรรลุธรรมกายก็มีอยู่มากหลาย ผู้ที่ได้ธรรมกายแล้วเขามีความอิ่มเอิบและสุขกายสุขใจเพียงไหนถามเขาดูได้ เพื่อได้ทราบว่าการเข้าถึงพระรัตนตรัยมีผลอย่างไร ผิดกว่าที่ยังมิได้เข้าถึงอย่างไร ทั้งจะได้รู้ด้วยว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหลักคำสอนของพระบรมศาสดามีความจริงแค่ไหน

   ศีลเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิสมาธิเป็นปัจจัย ให้เกิดปัญญานั้นอย่างไรก็จะรู้ความจริงได้ในเมื่อตนบำเพ็ญสำเร็จ หรือถ้าอยากรู้เพียงเงา ๆ ก็ลองถามเขาดูได้


เพียรเถิดจะเกิดผล
    ในการบำเพ็ญภาวนา ความเพียรเป็นข้อสำคัญยิ่ง ต้องทำเสมอ ทำเนือง ๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่านั่ง นอน เดิน ยืน และทำเรื่อยไป อย่าหยุด อย่าละ อย่าทอดทิ้งอย่าท้อแท้ มุ่งรุดหน้าเรื่อยไป ผลจะเกิดวันหนึ่ง ไม่ต้องสงสัย ผลเกิดอย่างไรท่านรู้ได้ด้วยตัวของท่านเอง


ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
    นี่หมายความว่ากระไร อะไรเป็นตน ตนคืออะไร "นามรูป อนตฺตา" ก็แปลกันว่า "นามและรูป ไม่ใช่ตน" ถ้ากระนั้นอะไรเล่าจะเป็นตน ซึ่งจะได้ทำให้เป็นที่พึ่งแก่ตน

    "รูป เวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณ" เรียกว่า "ขันธ์ 5" เมื่อย่อเข้า เรียกอย่างสั้นก็เรียกว่า "นามรูป" โดยเอากองรูปคงไว้ส่วนกองเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ รวมกัน 4 กองนี้ เรียกว่า "นาม" ฉะนั้น ที่ว่านามรูปก็คือ ขันธ์ 5 นั่นเอง

   เมื่อขันธ์ 5 ไม่ใช่ตน จึงต้องถามว่าอะไรเล่าเป็นตน ถ้าค้นหาตนไม่พบก็ไม่รู้ที่ว่าจะทำอะไรให้เป็นที่พึ่งแก่อะไร พระพุทธวจนะที่มีอยู่ว่า "อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ" ซึ่งแปลว่า "ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน" จะมิได้มีทางออกหรือ
ย่อมเป็นไปไม่ได้

   ได้เคยกล่าวมาข้างต้นบ้างแล้วว่า พระองค์ทรงสอน "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" ก็ด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพเพื่อให้คิดค้น "พระองค์เน้นสอนทางอนัตตา ก็เพื่อให้เห็นอัตตาเอาเอง"สมในคำ "สนฺทิฏฐิโก" ซึ่งแปลว่า ธรรมของพระองค์นั้นผู้ที่ปฏิบัติย่อมเห็นเอง "อกฺขาตาโร" พระองค์เป็นแต่ผู้ทรงบอกแนวทางให้เท่านั้น

    ฉะนั้นเมื่อมีเรื่อง "อนัตตา" กับ "อัตตา" ยันกันอยู่ จึงต้องคิดค้นต่อไป ธรรมของพระองค์จะขัดกันเองไม่ได้

    เพื่อที่จะไม่ให้ขัดแย้งกัน จึงต้องแบ่งอัตตา ออกเป็น 2 อย่าง คือ "อัตตา มมุติ" กับ "อัตตาแท้"

   อัตตาสมมุติ ได้แก่ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูป พรหม เพราะกายเหล่านี้ ยังมีเกิด มีตาย เป็นกายส่วนโลกีย์

    ยังมีกายอีกกายหนึ่งซึ่งเป็นกายโลกุตระ คือ ธรรมกาย

    ธรรมกายนี้แหละเป็นอัตตาแท้หรือตนแท้

    ที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแก่ตนนั้น ก็คือเพ่งยึดอาศัยกัน ดำเนินเข้าไปเป็นชั้น ๆ คือ เพ่งกายมนุษย์ส่งให้ถึงกายทิพย์ เพ่งกายทิพย์ส่งให้ถึงกายรูปพรหมเพ่งกายรูปพรหมส่งให้ถึงกายอรูปพรหม เพ่งกายอรูปพรหมส่งให้ถึงธรรมกาย

    กายคือตน อาศัยพึ่งกันเป็นชั้น ๆ เข้าไปเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า "ตนเป็นที่พึ่งแก่ตนในด้านภาวนา" ตามนัยที่กล่าวไว้แล้วโดยละเอียดข้างต้นนั้น

    ยังมีคำว่า "กาเย กายานุปสฺสี" ในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นหลักฐานสนับสนุนอีก

    กายานุปสฺสี แปลว่า เห็นตามหรือตามเห็นซึ่งกาย

   กาเย แปลว่า ในกาย รูปศัพท์มีวิภัตติตรึงอยู่ชัดเช่นนั้น แปลตรงตามศัพท์ และย่นคำให้สั้นก็ว่า "ตามเห็นกายในกาย" คือตามเห็นเรื่อยเข้าไปเป็นชั้น ๆ

  เห็นกายมนุษย์ แล้วตามเข้าไปเห็นกายทิพย์ ตามเข้าเห็นกายรูปพรหมตามเข้าไปเห็นกายอรูปพรหม ตามเข้าไปเห็นกายธรรม ดังนี้เป็นหลักฐานรับสมกันอยู่

   กายมนุษย์รูปร่างหน้าตาอย่างไร กายมนุษย์ รูปร่างหน้าตาก็เป็นมนุษย์ใช่อื่นไกล คือกายเรานี้เอง กายทิพย์ก็เป็นรูปเป็นร่างเช่นกันแต่ วยกว่ากายรูปพรหมสวยกว่างามกว่านั้นอีก กายอรูปพรหมสวยงามยิ่งกว่ารูปพรหมขึ้นไปอีก ธรรมกายนั้นมีสีใสเหมือนแก้วสัณฐานดังรูปพระพุทธปฏิมากรนั่งสมาธิเกตุเป็นดอกบัวตูม ดังได้กล่าวมาแล้ว


การรักษาไตรทวาร
    ไตรทวาร แปลว่า ประตูทั้ง 3 คือ กาย วาจา ใจ ที่เรียก "ทวาร" ก็เพราะความชั่วและความดีจะลอดเข้าไปถึงจิตนั้น เข้าทางนี้

     ความชั่ว เรียกว่า "ทุจริต"

     ความดี เรียกว่า "สุจริต"

     วิธีที่จะเข้าไป มีอาการไหวก่อน ซึ่งเขาเรียกว่า "วิญญัติไหว"

     ทางกาย เรียกว่า "กายวิญญัติ"

     ทางวาจา เรียกว่า "วจีวิญญัติ"

     ทางใจ เรียกว่า "มโนวิญญัติ"

   อะไรทำให้เกิดอาการไหวหรือบังคับให้ไหว ไม่ใช่อื่นไกลสังขารนั่นเองบังคับให้ไหว บังคับทางกาย ได้แก่ กายสังขาร ทางวาจา ได้แก่ วจีสังขาร ทางใจได้แก่ จิตตสังขาร

    สังขาร คือ ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง และมีทางเกิดเป็น 2 ฝ่าย

    ฝ่ายทุจริต เกิดจากอวิชชาและอาสวะ

    ฝ่ายสุจริต เกิดจากวิชชาและอนาสวะ

    ฝ่ายเหตุทุจริตเป็นดวงดำมืดมน

    ฝ่ายเหตุสุจริตเป็นดวงขาวใสซ้อนอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นคู่ปราบกันอยู่

    ฝ่ายชั่วเป็นภาคมาร

    ฝ่ายดี เป็นภาคพระ

   ต่างมีเจ้าของด้วยกัน ฝ่ายชั่วอำนวยการให้มืด ฝ่ายดีอำนวยการให้สว่างคล้ายโรงงานทำหมอกควันพวกหนึ่ง โรงงานทำไฟฟ้าพวกหนึ่ง เมื่อเราไม่คอยระวัง ฝ่ายชั่วสอดเข้าไปได้ ย่อมเป็นเหตุให้เราตกไปทางชั่ว คือจะทำอะไรก็ทำในทางชั่ว จะพูดอะไรออกมาก็เป็นทางชั่ว จะคิดทำอะไรก็เป็นไปในทางชั่วหมด

   ถ้าเราคอยระวังรักษาไว้ให้ดี บำเพ็ญสมาธิให้ดวงขาวใสปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกายเสมอ เราจะทำอะไรก็เป็นไปในทางดี พูดอะไรก็พูดไปทางดีคิดอะไรก็คิดไปทางดี เพราะฉะนั้น จึงควรบำเพ็ญตนให้เป็นฝ่ายขาวเสมอ

      เวลาจะตาย ถ้าปล่อยให้ไปตกอยู่ฝ่ายดำ เรียกว่า "หลงตาย" จะไปสู่ทุคติ

     ถ้าอยู่ในฝ่ายขาวเรียกว่า " ไม่หลงตาย" จะไปสู่สุคติแน่แท้ จึงเป็นการจำเป็นยิ่งที่จะระวังให้อยู่ฝ่ายขาว

     "วรฺญ รณ นตฺถิ" สิ่งอื่นจะเป็นที่พึ่งของเราได้ไม่มี

     พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้ง 3 รัตนะนี้เท่านั้น เป็นที่พึ่งอันประเสริฐสูงสุดของเรา

     ด้วยสัจจวาจาภาษิตนี้ ขอให้ความสุข วั ดีจงมีแด่สาธุชนทั้งหลายทั่วกันฯ

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 003 พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
หนังสือเรียน DOU หลักสูตร Pre-Degree

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0026180148124695 Mins