การเตรียมตัวก่อนไปวัด

วันที่ 23 มิย. พ.ศ.2560

การเตรียมตัวก่อนไปวัด

คู่มือพุทธมามกะ , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พุทธมามกะ , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , นิพพาน , การเตรียมตัวก่อนไปวัด , วัด

         วัด เป็นสถานที่สำคัญในการปลูกฝังพระธรรม คือ ทาน ศีล ภาวนา ให้แก่ประชาชนสำหรับไว้ต่อสู้ทำลายล้างกิเล โดยมีพระภิกษุเป็นผู้แนะ ได้แก่ อบรมสั่งสอนชี้ทางถูก และผู้นำได้แก่ ประพฤติดีประพฤติชอบให้ดูเป็นตัวอย่าง

            วัด นอกจากเป็นแหล่งอบรมปลูกฝังพระธรรมแล้ว ยังเป็นจุดรวมให้ประชาชนเข้ามาวัดคือสอบตนเอง ว่า การให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนาของตนมีอยู่และถูกต้องหรือไม่วัดกิริยามารยาท คุณสมบัติของผู้ดี คุณธรรมต่าง ๆ ฯลฯ ของแต่ละคนว่าจะมีหรือไม่ และมีมากหรือน้อยกว่ากันอย่างไร จะได้แก้ไขปรับปรุงให้มีและดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

      วัด เมื่อเป็นสถานที่ปลูกฝังพระธรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของชีวิต จึงนับว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เมื่ออยู่วัดทุกคนต้องระมัดระวังตนให้คิด พูด ทำ แต่ในสิ่งที่สมควรเสมอ คือช่วยกันรักษาความสงบ ความสะอาด ความเรียบร้อย ทั้งของตนเองและของวัดให้ดี ถ้าคนใดประพฤติปฏิบัติตนไม่เหมาะสมภายในบริเวณวัด ก็จะเป็นความเสื่อมอย่างยิ่งทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น และพระพุทธศาสนา


1. การเตรียมใจ
ความมุ่งหมายสำคัญของการไปวัด
         เราไปวัดเพื่อศึกษาและฝึกฝนอบรมตนเอง ให้สามารถกำจัดกิเลสออกให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่เนื่องจากกิเล ต่าง ๆ ได้หมักดองใจมาเป็นเวลาช้านาน ทำให้ขัดเกลาออกยากหรือแม้ว่าออกแล้วหากไม่ระมัดระวังให้ดี ก็อาจกลับเกิดขึ้นใหม่ได้อีกอย่างรวดเร็ว งานกำจัดกิเลสจึงเป็นงานที่ต้องใช้ ติปัญญาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องอาศัยกำลังใจอย่างมหาศาล

          ดังนั้นการเตรียมใจให้พร้อมก่อนไปวัดจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งมีวิธีปฏิบัติง่าย ๆ ดังนี้

      - จัดภารกิจที่จำเป็นให้เสร็จเรียบร้อย ถ้ายังไม่เรียบร้อย ควรมอบหมายให้ผู้ที่วางใจได้ทำแทน ขณะประกอบการบุญใจจะได้ไม่เป็นกังวล

      - สำรวมใจน้อมระลึกถึงบุญกุศลที่เคยทำมาแล้วตลอดชีวิต  เพื่อยังจิตใจให้เกิดปีติเบิกบาน แช่มชื่น ผ่องใสมีกำลังใจที่จะทำความดีเพิ่มขึ้น

       - ก่อนเข้านอน กราบบูชาพระรัตนตรัยหน้าที่บูชาพระสวดมนต์ทำวัตรเย็น  จะสวดในใจหรือสวดดัง ๆ พร้อมกันทั้งครอบครัวได้ก็ยิ่งดี เป็นการเตรียมใจให้สะอาด เหมาะจะเป็นภาชนะรองรับบุญกุศลในวันรุ่งขึ้นได้เต็มที่

        เช้ารุ่งขึ้น ก่อนออกจากบ้าน วางภารกิจอื่น ๆ ทั้งหมดลงเสียชั่วคราว ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไปวัดวันนี้เพื่อเก็บเกี่ยวบุญกุศลให้เต็มที่ด้วยการ

1. ให้ทาน เพื่อฆ่ากิเลสประเภท โลภะ
2. รักษาศีลและแผ่เมตตา เพื่อฆ่ากิเลสประเภท โทสะ
3. เจริญภาวนา ให้เกิดปัญญา เพื่อฆ่ากิเลสประเภท โมหะ

          จิตจะได้เหนี่ยวนำไปอยู่ในกุศลธรรม ชุ่มชื่น แจ่มใสในบุญกุศลตลอดวัน

         ขณะเดินทางไปวัด ไม่ควร นทนากันในเรื่องที่จะทำให้ใจขุ่นมัว เช่น เรื่องโจรผู้ร้ายของแพง ไฟไหม้ น้ำท่วม ชู้สาว การเมือง ฯลฯ แต่ควรกำหนดใจระลึกถึงเรื่องบุญกุศล เช่น ผลของการแผ่เมตตา ผลของการเจริญภาวนาว่ามีอย่างไรบ้าง และตนได้สร้างบุญกุศลเหล่านี้มามากน้อยเพียงใดแล้ว ฯลฯ

 

2. การแต่งกาย
       ปกติการแต่งกายออกนอกบ้านของสุภาพชน ย่อมคำนึงถึงเหตุผล 3 ประการต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและส่วนรวมคือ

ความสะอาด
ความสุภาพ
ความเหมาะสมกับงานและสถานที่ที่จะไป

เมื่อจะไปวัดควรแต่งกายดังนี้

1) เสื้อผ้า ควรเป็นสีขาวทั้งชุด หรืออย่างน้อยก็เสื้อ สีขาวยกเว้นเครื่องแบบของข้าราชการ

2) เนื้อผ้า ไม่ควรโปร่งบาง ประณีตมากหรือหรูหรา ราคาแพงเกินไป

3) การตัดเย็บควรให้หลวมพอสมควร ไม่รัดรูป เพื่อสะดวกในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ ผู้หญิงไม่ควรนุ่งกระโปรงสั้น หรือชะเวิกชะวากผ่าหน้าผ่าหลัง ควรนำผ้าคลุมเข่าไปด้วยเพื่อใช้คลุมเข่าขณะนั่งพับเพียบหรือนั่งสมาธิ

4) ทรงผม ผู้ชายควรตัดให้สั้น ถ้าไว้ยาวก็หวีให้เรียบร้อยส่วนผู้หญิงอย่าแต่งผมประณีตเกินไป ผู้พบเห็นจะได้ไม่เกิดความคิดฟุ้งซ่าน

5) ไม่ควรใช้น้ำมันใส่ผม ถ้าจำเป็นต้องใช้ ควรเป็นชนิดที่มีกลิ่นอ่อนที่สุด จะได้ไม่รบกวนผู้อื่น

6) น้ำหอม ควรเว้นเด็ดขาด

7) การแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บ ฯลฯ จนเกินงามไม่ควรกระทำ

8) เครื่องประดับราคาแพง เช่น แหวนเพชร นาฬิกาเรือนทองหรือ ร้อยทองคำเส้นโต ๆ ฯลฯ ไม่ควรสวมใส่เด็ดขาด


พึงระลึกเสมอว่า

วัด -ไม่ใช่เวทีประกวดความงามหรือสถานที่พลอดรัก

วัด -ไม่ใช่สถานที่อวดความมั่งมี

วัด -ไม่ใช่สนามกีฬา

วัด -ไม่ใช่ตลาดขายสินค้า

วัด -ไม่ใช่โรงมหรสพ

วัด -เป็นสถานแสวงบุญ

ดังนั้นกิเลสใดที่พอจะกำจัดได้เอง ควรกำจัดทิ้งไว้นอกประตูวัดเสียก่อน

อานิสงส์ของการแต่งกายชุดขาว

1) ทำให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย
2) ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งการปฏิบัติธรรม
3) ทำให้เกิดความเสมอภาคแก่ชนทุกชั้น
4) ทำให้เกิดสติ มีความสำรวมระวังเพิ่มขึ้นไป
5) ทำให้ใจผ่องแผ้ว พร้อมที่จะเข้าถึงธรรม

 

3. การนำเด็กไปวัด
        การนำเด็กไปวัดเป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดีแก่เด็ก เพราะทำให้เด็กได้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาตั้งแต่ยังเยาว์

ข้อควรระวัง 

- อย่านำเด็กอ่อนไปวัดโดยไม่จำเป็น เพราะเด็กอาจร้องไห้หรือก่อความรำคาญต่าง ๆ ให้แก่ผู้อื่นได้
- เด็กที่ค่อนข้างซุกซน ชอบปีนป่าย ชอบรังแกเพื่อน ถ้านำไปด้วยควรดูแลอย่างใกล้ชิด

 

4. การปฏิบัติต่อพนักงานขับรถและผู้รับใช้
     ชาวพุทธทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจนอย่างไร ต่างมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศา นาร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องให้โอกาสแก่กันในการทำความดี แม้แต่พนักงานขับรถและผู้รับใช้ ก็ควรให้มีส่วนร่วมในการบุญการกุศลทุกครั้ง อย่ากีดกันเป็นอันขาด

ข้อควรระวัง 

- ดูแลการแต่งกายของพนักงานขับรถและผู้รับใช้ของท่านให้เรียบร้อย
- อย่าเปิดวิทยุฟังในรถ ขณะที่พระกำลังเทศน์สวดมนต์ หรือขณะที่ผู้อื่นกำลังประกอบศาสนกิจ
- อย่าใช้แตรรถ และเร่งเครื่องยนต์ในเขตวัด
- จอดรถให้เป็นระเบียบในบริเวณที่กำหนดไว้

 

5. การจัดเตรียมภัตตาหารถวายพระภิกษุสงฆ์
      อาหารที่ควรแก่พระภิกษุสงฆ์ ได้แก่ อาหารที่เราใช้รับประทานโดยทั่วไป คือ ปรุงขึ้นจากพืช ผัก ผลไม้หรือเนื้อสัตว์ที่มีวางขายอยู่ในท้องตลาด ฯลฯ แต่ต้องไม่ใช่อาหารที่เป็นเดนทิ้งแล้ว

ข้อควรระวัง 

อย่านำอาหารต้องห้าม ไม่สมควรแก่สมณะดังต่อไปนี้ไปถวายพระภิกษุสงฆ์
1. เนื้อมนุษย์          2. เนื้อช้าง
3. เนื้อม้า               4. เนื้อสุนัข
5. เนื้องู                 6. เนื้อราชสีห์ (สิงโต)
7. เนื้อเสือโคร่ง       8. เนื้อเสือเหลือง
9. เนื้อเสือดาว       10. เนื้อหมี

      - อย่านำอาหารที่ปรุงจากเนื้อดิบ ๆ เลือดดิบ ๆ ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ เช่น ปลาดิบ กุ้งดิบ ไก่ดิบ ฯลฯ จนกว่าจะทำให้สุกแล้วด้วยไฟ

       - อย่านำอาหารที่ปรุงด้วยสุรา จนมี สี กลิ่น หรือรสปรากฏให้รู้ได้ว่ามีสุราเจือปน ไปถวายพระภิกษุสงฆ์

       - อย่านำเนื้อสัตว์ที่ฆ่าโดยจำเพาะเจาะจงเพื่อทำอาหารถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ ไปถวายเป็นอันขาด

 

6. การจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระภิกษุสงฆ์
      ไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายพระภิกษุสงฆ์ เพื่อไว้บริโภคใช้สอย โดยไม่ขัดต่อพระวินัย ปกติหมายถึง ปัจจัย 4 กล่าวคือ เป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต 4 อย่าง ได้แก่

       1. จีวร ใช้นุ่งห่ม เพื่อกันความหนาวร้อนและเหลือบยุง ทั้งใช้ปกปิดสิ่งที่น่าละอาย

       2. บิณฑบาต ใช้บริโภค เพื่อบรรเทาความหิวกระหายให้มีกำลังพอที่จะประพฤติพรหมจรรย์ต่อไป

      3. เสนาสนะ ใช้อยู่อาศัย เพื่อป้องกันความหนาวร้อน และเหลือบยุง ตลอดจนความแปรปรวนของฤดูกาล ทั้งใช้เป็นที่พักผ่อนด้วย

       4. คิลานเภสัช ใช้รักษาโรค เพื่อป้องกันรักษาทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นจากความเจ็บไข้

       นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงสิ่งของที่นับเนื่องในปัจจัย 4 ด้วย ได้แก่

       1. เครื่องนุ่งห่มทุกชนิด มีสีสันไม่ฉูดฉาดบาดตา ไม่หรูหราหรือมีราคาสูงเกินไป

     2. อาหาร เครื่องขบฉัน ทั้งของหวาน ของคาว ตลอดจนเครื่องดื่มนานาชนิด ยกเว้นเครื่องดองของเมา เช่นสุราเมรัย และยาเสพติดให้โทษทุกชนิด

      3. เครื่องอุปกรณ์ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นต่าง ๆ ได้แก่ ตู้ เตียง โต๊ะ เก้าอี้ ที่นอน เสื่อ หมอน มุ้ง พรม ดอกไม้ ธูปเทียน และปัจจัย (เงิน) รวมถึงเครื่องชำระล้างร่างกายและเครื่องนุ่งห่มให้สะอาดถูกสุขลักษณะ เช่น บู่ถูตัว แปรงสีฟัน กระดาษเช็ดปากผงซักฟอก เป็นต้น

       4. ยารักษาโรค และเครื่องบำบัดความป่วยไข้ทุกชนิดตลอดจนเภสัช 5 คือ เนยใสเนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (น้ำตาล)

1) ประเภทเครื่องไทยธรรมที่ประเคนถวายพระภิกษุสงฆ์ได้เฉพาะเช้าถึงเที่ยง
        พระวินัยพุทธบัญญัติ ห้ามพระภิกษุสงฆ์รับประเคนเครื่องไทยธรรมประเภทอาหารทั้งหมดเมื่อเลยเที่ยงวันไปแล้ว หากได้นำไทยธรรมประเภทอาหารไปวัดหลังเที่ยงวัน และตั้งใจถวายพระภิกษุสงฆ์ก็เพียงแต่แจ้งให้ท่านทราบ แล้วมอบสิ่งของเหล่านั้นไว้ให้ศิษย์ของท่านเก็บรักษา เพื่อจะได้นำถวายท่านในวันต่อไป เครื่องไทยธรรมเหล่านี้ ได้แก่

1. อาหารสด มีอาหารคาวหวาน รวมทั้งผลไม้ทุกชนิด

2. อาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ข้าวสาร เกลือ น้ำตาล เป็นต้น

3. อาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น นม ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น

2) ประเภทเครื่องไทยธรรมที่ประเคนถวายพระภิกษุได้ตลอดเวลา
       นอกจากเครื่องไทยธรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว เครื่องไทยธรรมประเภทอื่น ๆ สามารถประเคนถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ได้ตลอดเวลา ไม่มีกำหนดห้าม

 

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 004 คู่มือพุทธมามกะ
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014356811841329 Mins