ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

วันที่ 24 มิย. พ.ศ.2560

ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกเบื้องต้น , Pre-Degree , วัดพระธรรมกาย , DOU , ธรรมกาย , ปริญญาตรี , พรีดีกรี , พระพุทธศาสนา , พุทธศาสตร์ , พระไตรปิฎก , สร้างบารมี , หลวงพ่อธัมมชโย , พระไตรปิฎกคืออะไร , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

   การกล่าวถึงความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก จำเป็นต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ ตั้งแต่ยังมิได้จดจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร รวมทั้งหลักฐานเรื่องการท่องจำและข้อความที่กระจัดกระจายยังมิได้จัดเป็นหมวดหมู่ จนถึงมีการสังคายนา คือ จัดระเบียบหมวดหมู่การจารึกเป็นตัวหนังสือและการพิมพ์เป็นเล่ม

       ในเบื้องแรกเห็นควรกล่าวถึงพระสาวก 4 รูป ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาแห่งพระไตรปิฎก คือ

     1. พระอานนท์ผู้เป็นพระอนุชา และเป็นผู้อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดพระพุทธองค์ในฐานะที่ทรงจำพระพุทธวจนะไว้ได้มาก

         2. พระอุบาลี ผู้เชี่ยวชาญทางวินัย ในฐานะที่ทรงจำวินัยปิฎก

      3. พระโสณกุฏิกัณณะ ผู้เคยท่องจำบางส่วนแห่งพระสุตตันตปิฎกและกล่าวข้อความนั้น ปากเปล่าในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับ สรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมากสำเนียงที่กล่าวข้อความก็ชัดเจน แจ่มใสเป็นตัวอย่างแห่งการท่องจำใน มัยที่ยังไม่มีการจารึกพระไตรปิฎกเป็นตัวหนังสือ

       4. พระมหากัสสปะ ในฐานะผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่ ในข้อนี้ย่อมโยงไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสารีบุตรและพระจุนทะน้องชายพระสารีบุตร ซึ่งเคยเสนอให้เห็นความสำคัญของการทำสังคายนา คือ จัดระเบียบคำสอนให้เป็นหมวดหมู่ดังจะกล่าวต่อไป

 

 

*----------------------------------------------------------------------------------------------------------*
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0037978808085124 Mins