โพชฌงค์ ๗

วันที่ 20 กค. พ.ศ.2561

โพชฌงค์ ๗
 

นิพพาน , dhammakaya , Dhammakaya Temple , Meditation , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , พระผู้ปราบมาร , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , หลวงปู่สด , หลวงพ่อสด , ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกาย , ตามรอยพระมงคลเทพมุนี , วิสุทธิวาจา , ประวัติหลวงพ่อสด , ประวัติพระมงคลเทพมุนี , รวมพระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สมาธิ , วิปัสสนา , สัมมาอะระหัง , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วิสุทธิวาจา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , โพชฌงค์ ๗


             สติสัมโพชฌงค์ เราต้องเป็นคนไม่เผลอสติเลย เอาสตินิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ตั้งสติตรงนั้นทำใจให้หยุด ไม่หยุดก็ไม่ยอมทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่งใจหยุดได้ นี่เป็นตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ ไม่เผลอเลยทีเดียว

              ที่ตั้ง ที่หมาย หรือกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่นใจหยุดตรงนั้น เมื่อทำใจหยุดตรงนั้น ไม่เผลอสติทีเดียว ระวังใจหยุดนั้นไว้ นั่งก็ระวังใจอยู่ นอนก็ระวังจะหยุด  เดินก็ระวังจะหยุด ไม่เผลอเลย นี่แหละตัวสติสัมโพชฌงค์แท้แท้ จะตรัสรู้ต่างๆได้เพราะมีสติสัมโพชฌงค์อยู่แล้ว

             ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติใจหยุดนิ่งอยู่ก็สอดส่องอยู่  ความดีความชั่วจะเล็ดลอดเข้ามาท่าไหน  ความดีจะรอดเข้ามา  หรือความชั่วจะรอดเข้ามา ความดีลอดเข้ามาก็ทำใจให้หยุด ความชั่วลอดเข้ามาก็ทำใจให้หยุด  ดี-ชั่วไม่ผ่องแผ้วไม่เอาใจใส่  ไม่กังวล  ไม่ห่วงใย  ใจหยุดระวังไว้  ไม่ให้เผลอก็แล้วกัน  นั่นเป็นตัวสติวินัย  ที่สอดส่องอยู่นั่นเป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

             วิริยสัมโพชฌงค์ เพียรรักษาใจหยุดนั่นไว้ไม่ให้หาย ไม่ให้เคลื่อนทีเดียว ไม่เป็นไปกับความยินดี-ยินร้ายทีเดียว ความยินดี-ยินร้ายเป็น อภิชฌา โทมนัส เล็ดลอดเข้าไปก็ทำใจหยุดนั่น ให้เสียพรรณไปให้เสียผิวไป ไม่ให้หยุดเสียให้เขยื้อนไปเสีย ให้ลอกแลกไปเสีย มัวไปดีๆ ชั่วๆ อยู่เสียท่าเสียทาง เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรกลั่นกล้าไว้ให้หยุดท่าเดียว นี่ได้ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เป็นองค์ที่ ๓

              ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อใจหยุดละก็ชอบอกชอบใจ ดีอกดีใจ ร่าเริงบันเทิงใจ อ้ายนั่นปีติ ปีติที่ใจหนยุดนั่น ปีติไม่เคบื่อนจากหยุดเลย หยุดนิ่งอยู่นั่น นั่นปีติสัมโพชฌงค์ นี่เป็นองค์ที่ ๔

              ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ แปลว่า ระงับ ซ้ำ หยุดในหยุดๆๆ ไม่มีถอยกัน พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น หยุดในหยุด หยุดในหยุด นั่นทีเดียว นั่นปัสสัทธิระงับซ้ำเรื่อยลงไป ให้แน่นหนาลงไว้ไม่คลาดเคลื่อน ปัสสัทธิมั่นคงอยู่ที่ใจหยุดนั่นไม่ได้เป็นสอง ไปเป็นหนึ่งทีเดียว นั่นเรียกว่า สมาธิทีเดียวนั่นแหละ 

              พอสมาธิหนักเข้าๆ นิ่งเฉยไม่มีสองต่อไป นี่เรียกว่า อุเบกขา เข้าถึงนิ่ง เฉยแล้ว อุเบกขาแล้ว

 

จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "โพชฌงค์ ๗"
๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๗

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011088649431864 Mins