นิพพานเป็น-นิพพานตาย

วันที่ 23 กค. พ.ศ.2561

นิพพานเป็น-นิพพานตาย
 

นิพพาน , dhammakaya , Dhammakaya Temple , Meditation , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , พระผู้ปราบมาร , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , หลวงปู่สด , หลวงพ่อสด , ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกาย , ตามรอยพระมงคลเทพมุนี , วิสุทธิวาจา , ประวัติหลวงพ่อสด , ประวัติพระมงคลเทพมุนี , รวมพระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สมาธิ , วิปัสสนา , สัมมาอะระหัง , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วิสุทธิวาจา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , คู่มือสมภาร , นิพพานเป็น-นิพพานตาย


       นิพพานที่ท่านจำแนกเป็น 2 ประเภทนั้นคือ สอุปาทิเสสนิพพาน ๑ อนุปาทิเสสนิพพาน ๑ สำหรับพวกทำสมาธิปัจจุบันเรียกกันง่ายๆ อีกแบบหนึ่งคือ นิพพานเป็น อันตรงกับ สอุปาทิเสสนิพพาน และนิพพานตาย อันตรงกับ อนุปาทิเสสนิพพาน

       นิพพานที่เป็นสถานที่อยู่ของกายธรรมนั้น อยู่ในศูนย์กลางของกายธรรมนั่นเอง ที่กล่าวนี้หมายความถึงเวลาที่กายมนุษย์ของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ยังมีชีวิตอยู่ ใช้กายธรรมเดินสมาบัติ 7 เที่ยว ตามแบบวิธีเดินสมาบัติที่เคยกล่าวไว้แล้วนั้น กายธรรมก็จะตกศูนย์เข้าสู่นิพพานที่อยู่ในศูนย์กลางหายธรรม ที่ซ้อนอยู่ในกลางกายอรูปพรหม-กายรูปพรหม-กายทิพย์ และกายมนุษย์เป็นลำดับเช่นนี้ ยังอยู่ในกลางของกายที่ยังหมกมุ่นครองกิเลสอยู่ตามสภาพของกายนั้นๆ ความบริสุทธิ์ของนิพพานที่อยู่ในท่ามกลางกิเลสเหล่านี้เองที่เรียกว่า “สอุปาทิเลสนิพพาน” สภาพของนิพพานนี้ที่มีลักษณะกลมรอบตัวใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก แต่ทว่านิพพานนี้เป็นนิพพานประจำกายของกายธรรมจึงมีพระนิพพานหรือพระพุทธเจ้าประทับอยู่เพียงพระองค์เดียว

        ความจริงถ้าจะกล่าวตามส่วนและตามลักษณะตลอดจนที่ตั้งแล้ว ก็จะเห็นว่า นิพพานเป็นหรือสอุปาทิเสสนิพพานนี้ เป็นที่เร้นอยู่โดยเฉพาะของกายธรรม ในเวลาที่ยังมีขันธ์ปรากฏอยู่ นอกจากนั้น สอุปาทิเสสนิพพาน ยังเป็นทางนำให้เข้าถึง “อนุปาทิเสสนิพพาน” หรือ “นิพพานตาย” อีกด้วย คือเวลาที่ขันธ์ซึ่งรองรับกายธรรมอยู่นั้นจะสิ้นไป พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ย่อมจะต้องเดินสมาบัติทั้ง 8 และเข้าสู่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ขณะนี้เองเป็นเวลาที่กายธรรมเข้าสู่สอุปาทิเสสนิพพาน ทรงดับสัญญาและเวทนาสิ้นแล้ว จึงเดินมาสมาบัติปฏิโลมอีก 

        คราวนี้กายธรรมก็จะตกสูญเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ซึ่งมีลักษณะรูปพรรณสัณฐานและขนาดดังกล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง

        ส่วน “พระนิพพาน” นั้นคือ กายธรรมที่ได้บรรลุอรหัตผลแล้วกายเหล่านี้มี กาย หัวใจ ดวง จิต และดวงวิญญานวัดตัดกลาง ๒๐ วา เท่ากันทั้งสิ้น หน้าตักกว้าง ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์มีรัศมีปรากฏ พระนิพพานนี้ประทับอยู่ในอายตนะนิพพานบางพระองค์ที่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ทรงประทับอยู่ท่ามกลางพระอรหันตสาวกบริวารเป็นจำนวนมาก 

        บางพระองค์ที่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มิได้เคยสั่งสอนหรือโปรดผู้ใดมาก่อนในสมัยที่ยังมีพระชนม์อยู่องค์นั้นก็ ประทับเด็ดเดี่ยวอยู่โดยลำพังหาสาวกบริวารมิได้ ส่งรังสีที่ปรากฏ ก็เป็นเครื่องบอกให้รู้ถึงการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เหล่านั้น ว่ามากน้อยกว่ากันเพียงไรแค่ไหน แต่ส่วนกว้างส่วนสูงและลักษณะของพระวรกายนั้น เสมอกันหมดมิได้มีเหลื่อมล้ำกว่ากันเลย 

        พระนิพพานนี้ทรงประทับเข้านิโรธสงบกันตลอดหมดเพราะความเข้านิโรธนี้เป็นความ สุขอย่างยิ่ง และความที่อยู่มนนิพพานทีกายอันยั่งยืนนี้เอง ท่านจึงได้กล่าวว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ

 

จากพระธรรมเทศนาย่อ "คู่มือสมภาร"
 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010236024856567 Mins