การรักษาไตรทวาร

วันที่ 28 พย. พ.ศ.2561

การรักษาไตรทวาร

นิพพาน , dhammakaya , Dhammakaya Temple , Meditation , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) , พระผู้ปราบมาร , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , หลวงปู่สด , หลวงพ่อสด , ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย , วิชชาธรรมกาย , ธรรมกาย , ตามรอยพระมงคลเทพมุนี , วิสุทธิวาจา , ประวัติหลวงพ่อสด , ประวัติพระมงคลเทพมุนี , รวมพระธรรมเทศนา หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สมาธิ , วิปัสสนา , สัมมาอะระหัง , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , วิสุทธิวาจา , พระสัมมาสัมพุทธเจ้า , คู่มือสมภาร , พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ , การรักษาไตรทวาร

        ไตรทวาร แปลว่าประตูทั้ง ๓ คือกายวาจาใจ ที่เรียกทวารก็เพราะความชั่วและความดีจะรอดเข้าไปถึงจิตนั้นเข้าทางนี้ 

        ความชั่วเรียกว่า "ทุจริต" ความดีเรียกว่า "สุจริต" วิธีที่จะเข้าไปมีอาการไหวก่อน ซึ่งเขาเรียกว่า "วิญญัติ"

        ไหวทางกายเรียกว่า กายวิญญัติ 

        ทางวาจาเรียกว่า วจีวิญญัติ 

        ทางใจเรียกว่า มโนวิญญัติ 

        อะไรทำให้เกิดอาการไหวหรือบังคับให้ไหว ไม่ใช่อื่นไกลสังขารนั้นเอง บังคับให้ไหว บังคับทางกายได้แก่กายสังขาร ทางวาจาได้แก่วจีสังขาร ทางใจได้แก่จิตสังขาร 

        สังขารคือความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง และมีทางเกิดเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายทุจริตเกิดจากอวิชชาและอาสวะ ฝ่ายสุจริตเกิดจากวิชาและฝ่ายอนาสวะ 

        ฝ่ายเหตุทุจริต เป็นดวงดำมืดมน 

        ฝ่ายเหตุสุจริต เป็นดวงขาว ใสซ้อนอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นปรปักษ์กันอยู่ 

        ฝ่ายชั่ว (ดำ) เป็นภาคมาร

        ฝ่ายดี (ขาว) เป็นภาคพระ ต่างมีเจ้าของด้วยกัน  

        ฝ่ายชั่วอำนวยการให้มืด ฝ่ายอำนวยการให้สว่าง ขายโรงงานทำหมอกควันพวก หนึ่ง  โรงงานทำไฟฟ้าพวกหนึ่ง เมื่อเราไม่คอยระวังฝ่ายชั่วสอดเข้าไปได้ ย่อมเป็นเหตุให้เราตกไปทางชั่วคือจะทำอะไรก็ทำในทางชั่ว จะพูดอะไรออกมาก็เป็นทางชั่วจะคิดทำอะไรก็เป็นไปทางทั่วหมด อกุศลกรรมบถ ๑๐

        ถ้าเราคอยระวังรักษาไว้ให้ดี บำเพ็ญสมาธิให้ดวงขาวใสปรากฏอยู่ในส่วนกลางกายเสมอ เราจะทำอะไรก็เป็นไปในทางดี พูดอะไรก็พูดไปทางดี คิดอะไรก็คิดไปทางดี กุศลกรรมบถ ๑๐

        เพราะฉะนั้นจึงควรบำเพ็ญตนให้เป็นฝ่ายขาวเสมอ เวลาจะตายถ้าปล่อยให้ไปตกอยู่ฝ่ายดําเรียกว่า "หลงตาย" จะไปสู่ทุคติ 

        ถ้าอยู่ในฝ่ายข่าวเรียกว่า "ไม่หลงตาย" จะไปสู่สุคติแน่แท้ จึงเป็นการจำเป็นยิ่งที่จะต้องระวังให้อยู่ฝ่ายขาว 

 

 

จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ"

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.012966001033783 Mins