ห้าห้องชีวิต

วันที่ 18 กค. พ.ศ.2564

4-8-64-1-b.jpg

ห้าห้องชีวิต
            ตามธรรมดาเมื่อมีการฝึกงาน ย่อมต้องมีสถานที่และอุปกรณ์สำหรับใช้ในการฝึกงานนั้นๆ
ในทำนองเดียวกัน การฝึกคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการ หรือปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์
จำเป็นต้องมีสถานที่และอุปกรณ์สำหรับฝึกเพื่อให้เกิดนิสัยดีๆ เช่นกัน

            สำหรับสถานที่และอุปกรณ์ดังที่กล่าวมานั้น แท้จริงเราไม่ต้องไปแสวงหาจากที่ใดเลย
เพราะไม่ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหน ที่นั่นก็คือที่สำหรับใช้ฝึกตัวของเรานั่นเอง ที่กล่าวอย่างนั้นเพราะการฝึกนิสัย
ต้องทำควบคู่ไปกับกิจวัตรประจําวันของเรา ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มต้นจากการตื่นนอน, เข้าห้องน้ำ, ทานอาหาร
แต่งตัว แล้วออกไปทำงาน (สำหรับเด็ก คือ โรงเรียน) เมื่อเลิกงานก็กลับบ้าน เปลี่ยนเครื่องแต่งตัว,
ทานอาหาร, อาบน้ำ แล้วจึงเข้านอน จะเห็นได้ว่าชีวิตของเราตลอดทั้งวัน ล้วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่อยู่ใน
สถานที่ต่างๆ ที่เราไปอยู่นั่นเอง ซึ่งในที่นี้จะขอเรียกสั้นๆ ว่า ๕ ห้องชีวิต ได้แก่
๑. ห้องนอน
๒. ห้องน้ำ
๓. ห้องอาหาร
๔. ห้องแต่งตัว
๕. ห้องทำงาน
            ห้องทั้ง ๕ และอุปกรณ์ในห้องเหล่านี้ คือสิ่งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการฝึกมรรคมีองค์ ๘
ของเรานั่นเอง

L5_Page_181--1.jpg

สถานที่เกิดนิสัย (๕ ห้องชีวิต)

 

L5_Page_182--2.jpg

วัตถุประสงค์ของ ๕ ห้องชีวิต

 

๑. ห้องนอน (ห้องมหาศิริมงคล)
คำนิยามที่แท้จริง : ห้องนอน คือ ห้องพัฒนานิสัยรักบุญกลัวบาป
หลักธรรมประจำห้องนอน : สัมมาทิฐิและสัมมาสมาธิ

หน้าที่หลักของห้องนอน
๑. ใช้ในการปลูกฝังความเข้าใจถูกเรื่องโลกและชีวิต ให้เป็นสัมมาทิฐิบุคคล
๒. ใช้ในการฝึกสัมมาสมาธิให้ใจตั้งมั่นอยู่ในศูนย์กลางกายเป็นปกติ เกิดกำลังใจในการทำ
ความดียิ่งๆ ขึ้นไป

หน้าที่หลัก ๒ ประการนี้ เป็นพื้นฐานของการคิดดี พูดดีและทำดี ตลอดทั้งวัน

ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องนอน
๑. อากาศปลอดโปร่ง ตั้งอยู่ในทิศทางลมผ่านเข้าออกสะดวก
๒. ไม่แคบหรือกว้างเกินไป
๓. ตกแต่งด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย
๔. ไม่นำโทรทัศน์ สัตว์เลี้ยง อาหาร เครื่องดื่ม เข้าไปในห้องนอน
๕. ไม่ประดับตกแต่งด้วยภาพลามกอนาจาร และภาพอื่นๆ ที่ไม่สมควร
๖. หมั่นทำความสะอาดเสมอ ไม่ปล่อยให้มีฝุ่นละอองจับหรือหยากไย่เกาะ

ประโยชน์ของการใช้สอยห้องนอนอย่างถูกต้อง

๑. ทางใจ
๑.๑ เป็นที่กราบพระ สวดมนต์ และเจริญภาวนา
๑.๒ เป็นที่สำรวจตรวจสอบบุญ - บาปที่ตนได้ทำในแต่ละวัน
๑.๓ เป็นที่อบรมสั่งสอนสมาชิกในครอบครัว รวมถึงการเล่าธรรมะก่อนนอน
๑.๔ เป็นที่ปลูกฝังนิสัย รักศีลรักธรรม ด้วยการเล่าธรรมะก่อนนอน
๑.๕ เป็นที่วางแผนในการทำบุญกุศล และการทำงานในวันใหม่
๑.๖ เป็นที่กราบพระ สวดมนต์ สมาทานศีลและเจริญภาวนา หลังตื่นนอน

๒. ทางกาย
- ชาวโลกใช้ห้องนอนเป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และสร้างทายาทที่มีบุญมาเกิดเป็นมนุษย์
- ชาววัดใช้ห้องนอนเป็นที่พักผ่อน และบำเพ็ญเพียรภาวนา

๒. ห้องน้ำ (ห้องมหาพิจารณา)
คำนิยามที่แท้จริง : ห้องน้ำ คือ ห้องพัฒนานิสัยพิจารณาสังขาร
หลักธรรมประจำห้องน้ำ : สัมมาสังกัปปะ

หน้าที่หลักของห้องน้ำ
๑. พิจารณาความไม่งามของร่างกาย
๒. พิจารณาความเป็นรังแห่งโรคของร่างกาย
๓. พิจารณาความเสื่อมโทรมของร่างกายที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

ทั้งสามข้อนี้เป็นพื้นฐานของการคิดถูก คือ ไม่คิดหมกมุ่นในกาม ไม่คิดอาฆาตพยาบาท
และไม่คิดเบียดเบียนรังแกใคร อันเป็นต้นทุนสำคัญของพลังความคิดสร้างสรรค์

ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องน้ำ
๑. ขนาดของห้องไม่ควรเล็ก หรือใหญ่โตเกินความจำเป็น
๒. เน้นการแต่งห้องน้ำให้ปลอดภัย ทำความสะอาดง่ายและสะดวกต่อการดูแลรักษา
๓. มีอุปกรณ์ที่จำเป็นครบถ้วน มีคุณภาพดี อายุการใช้งานนาน
๔. มีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเด็กและคนแก่ พร้อมทั้งค่าแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์สมัยใหม่ติด
ไว้ในห้องน้ำด้วย
๕. หมั่นสังเกตสุขภาพจากสิ่งปฏิกูลที่ขับถ่ายออกจากร่างกาย
๖. จัดตารางเวลาให้สมาชิกในบ้านช่วยกันดูแลรักษาและทำความสะอาดห้องน้ำ ห้ามเกี่ยง
กันเด็ดขาด
๗. รู้จักใช้น้ำอย่างประหยัด
๘. จัดหาสิ่งของเครื่องใช้ประจำห้องน้ำ สำรองไว้ไม่ให้ขาด
๙. มีมารยาทในการใช้ห้องน้ำร่วมกัน ทั้งมีความเคารพเกรงใจผู้อยู่ร่วมบ้านในเรื่องการใช้
ห้องน้ำและเรื่องอื่นๆ

ประโยชน์ของการใช้ห้องน้ำอย่างถูกต้อง
๑. ทางใจ
๑.๑ ใจไม่หมกมุ่นในสิ่งลามกอนาจาร เพราะได้พิจารณาเห็นโทษและความไม่งามของ
ร่างกายตามความเป็นจริง
๑.๒ ใจไม่คิดอาฆาตเคียดแค้น เพราะได้พิจารณาเห็นถึงความเป็นรังแห่งโรคของ
ร่างกาย และความไม่จีรังยั่งยืนของชีวิต
๑.๓ ใจไม่คิดเบียดเบียนรังแกใคร เพราะได้พิจารณาเห็นถึงความเป็นเพื่อนร่วมทุกข์
เกิด แก่ เจ็บ ตาย ของคนทั้งโลก
๑.๔ ใจมีความคิดสร้างสรรค์อย่างสงบเย็นตลอดเวลา

๒. ทางกาย
๒.๑ รู้เท่าทันสุขภาพร่างกายในแต่ละวันและแต่ละวัยของตน หมั่นหาความรู้และดูแล
ตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
๒.๒ ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ให้ถูกสุขอนามัย
จะได้ไม่เกิดโรค
๒.๓ พิจารณาสีและลักษณะของอุจจาระและปัสสาวะที่ขับถ่ายออกจากร่างกายในแต่
ละวัน เพื่อจะได้รู้ว่าสุขภาพภายในเป็นปกติหรือไม่ อย่างไร

๓. ห้องอาหาร (ห้องมหาประมาณ)
คำนิยามที่แท้จริง : ห้องอาหาร คือ ห้องพัฒนานิสัยประมาณในการพูดและการใช้ทรัพย์
หลักธรรมประจำห้องครัว : สัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ

หน้าที่หลักของห้องอาหาร
๑. เป็นที่ประชุมสมาชิกทุกคนในบ้านอย่างพร้อมหน้ากันทุกวัน
๒. ใช้ปลูกฝังสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะให้แก่สมาชิกทุกคนในบ้าน

หากสมาชิกในครอบครัวรับประทานอาหารไม่พร้อมหน้ากัน จะเกิดปัญหาน้อยเนื้อต่ำใจ
และปัญหาความแตกแยก ขณะเดียวกัน หากสมาชิกขาดสัมมาวาจาจะเกิดปัญหาการ
กระทบกระทั่งบานปลายตามมา

ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องอาหาร
๑. ห้องอาหาร คือ ห้องที่สมาชิกทั้งบ้านใช้รับประทานอาหารร่วมกัน จึงต้องรักษาความ
อาดให้ดี ไม่ใช้เป็นที่เก็บอาหาร
๒. ห้องครัว คือ ห้องสำหรับปรุงอาหารและเก็บอาหารทุกประเภท ต้องรักษาความสะอาด
และจัดให้เป็นระเบียบ มิฉะนั้นจะเป็นที่ชุมนุมของมด หนู และแมลงต่างๆ
๓. ห้องรับแขก คือ ห้องที่ใช้ต้อนรับแขกที่มาเยี่ยมเยียนหรือมีธุระสำคัญ จึงเป็นเสมือน
หน้าตาของบ้าน ไม่ควรปล่อยรกรุงรัง ต้องจัดให้เป็นระเบียบและทำความสะอาดอยู่
เสมอ
๔. บ้านใดที่ใช้ห้องอาหารรวมกับห้องรับแขก ควรใช้เครื่องเรือนแบ่งเขตทั้งสองห้องให้
ชัดเจน
๕. ควรจัดชุดเก้าอี้รับแขกไว้ตรงประตูทางเข้า และจัดโต๊ะรับประทานอาหารไว้ใกล้ห้องครัว
อีกทั้งควรตกแต่งห้องให้มีบรรยากาศเย็นตา
๖. ควรจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ของห้องครัว ห้องอาหาร ห้องรับแขกให้พร้อม สะอาด
และมีครบตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว
๗. ควรจัดเตรียมวัตถุดิบและเครื่องปรุงให้ครบตามความจำเป็นและเพียงพอกับคนใน
บ้าน
๘. ควรฝึกอบรมสมาชิกในบ้านให้รู้จักช่วยกันทำครัวตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อฝึกความสามัคคี
๙. ควรฝึกสมาชิกในบ้านให้รู้จักวิธีถนอมอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ เพื่อประหยัด
ค่าใช้จ่าย

ประโยชน์การใช้ห้องอาหารอย่างถูกต้อง
๑. ทางใจ
๑.๑ รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร คือ ระลึกอยู่เสมอว่า เรารับประทานอาหาร
เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ จะได้นำเรี่ยวแรงไปทำความดี
๑.๒ รู้จักประมาณในการใช้ทรัพย์ คือรู้จักกำหนดรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้ เพื่อจะได้
มีทรัพย์เหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น และใช้บริจาคสร้างบุญกุศล อันเป็นหนทาง
ไปสู่สุคติในสัมปรายภพ
๑.๓ รู้จักประมาณในวาจา คือ การใช้คำพูดที่นุ่มนวล มีเหตุผล มีประโยชน์ เหมาะแก่
กาลเทศะในสถานการณ์ต่างๆ

๒. ทางกาย
๒.๑ ใช้เป็นห้องสำหรับประกอบอาหาร
๒.๒ ใช้เป็นที่ประชุมสมาชิกพร้อมหน้ากัน
๒.๓ ใช้เป็นที่รับประทานอาหาร
๒.๔ ใช้เป็นที่เก็บอาหาร
๒.๕ ใช้เป็นที่ต้อนรับแขก

๔. ห้องแต่งตัว (ห้องมหาสติ)
คำนิยามที่แท้จริง : ห้องแต่งตัว คือ ห้องพัฒนานิสัยตัดใจและใฝ่บุญ
หลักธรรมประจำห้องแต่งตัว : สัมมาสติ

หน้าที่หลักของห้องแต่งตัว
๑. ใช้ปลูกฝังสัมมาสติ คือ ฝึกประคองรักษาใจให้ผ่องใสเป็นปกติ ไม่ปล่อยใจไปตาม
อำนาจกิเลส
๒. ฝึกให้มีความระมัดระวังตนในทุกๆ เรื่อง ไม่ประมาทเผอเรอ มีความตื่นตัวตลอดเวลา
๓. ฝึกตัดใจไม่คิดหมกมุ่นในกามราคะตามแฟชั่นหรือกระแสสังคม
๔. ฝึกใช้เหตุผลตักเตือนใจของตน ให้เป็นสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ไม่ให้เกิดความ
ลำเอียง และสูญเสียศีลธรรมประจำใจ

ความรู้ประจำห้องแต่งตัว
๑. แต่งตัวเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอายและเป็นที่อุจาดตา
๒. แต่งตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน ความหนาว สัตว์และแมลง
๓. แต่งตัวให้เหมาะกับกาลเทศะและสถานที่ ไม่เป็นไปเพื่อเปิดโอกาสให้โจรผู้ร้ายปล้นจี้
หรือฉุดอร่าไปทำร้ายทางเพศ
๔. ใช้เครื่องแต่งตัวที่เหมาะสมกับฐานะ ไม่ตกเป็นทาสของเสื้อผ้า สิ่งของหรือเครื่อง
ตกแต่งตามกระแสสังคม
๕. ไม่สนับสนุนให้เด็กหมกมุ่นในกามราคะด้วยการแต่งหน้าก่อนวัยอันควร อันจะนำไปสู่
ปัญหามากมายในภายหลัง

ประโยชน์ของการใช้ห้องแต่งตัวอย่างถูกต้อง
๑. ทางใจ
๑.๑ ตัดใจไม่ลุ่มหลงในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
๑.๒ ตัดใจไม่มัวเมาในความหนุ่มสาว ในความไม่มีโรค ในความมีอายุยืน
๑.๓ ตัดใจไม่ฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย
๑.๔ ตัดใจสร้างบุญกุศลเป็นประจำ เช่น การทำทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา
เป็นต้น
๑.๕ ไม่ตกเป็นทาสของอบายมุข

๒. ทางกาย
๒.๑ รู้จักให้เกียรติและเคารพสถานที่
๒.๒ รู้จักมารยาทในการเข้าสังคม
๒.๓ รู้จักการวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามภาวะและฐานะที่ตนเป็น
๒.๔ มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นในการคิดดี พูดดี และทำดี อยู่เสมอ

๕. ห้องทำงาน (ห้องมหาสมบัติ)
คำนิยามที่แท้จริง : ห้องทำงาน คือ ห้องพัฒนานิสัยใฝ่ความสำเร็จ
หลักธรรมประจำห้องทำงาน : สัมมาอาชีวะและสัมมาวายามะ

หน้าที่หลักของห้องทำงาน
ใช้ปลูกฝังสัมมาอาชีวะ ไม่หารายได้จากการทำผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย หรือผิด
จารีตประเพณี
๒. ใช้ปลูกฝังวินัยประจำห้องทำงาน ๖ ประการ
๒.๑ มีสัมมาวาจา ใช้คำพูดได้อย่างเหมาะสม
๒.๒ มีความเคารพในบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์
๒.๓ มีมารยาทดี เหมาะแก่บุคคลและกาลเทศะ
๒.๔ มีความรับผิดชอบทั้งส่วนตัวและส่วนรวม
๒.๕ เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยในการทำงาน
๒.๖ เอาใจใส่ดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ความรู้ที่ต้องมีเกี่ยวกับห้องทำงาน
๑. เลือกประกอบอาชีพที่ไม่ผิดศีลธรรม ไม่ผิดกฎหมาย ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข ไม่
ก่อให้เกิดมิจฉาทิฐิ
๒.ทำเลที่ประกอบอาชีพต้องสอดคล้องกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อความเหมาะสมใน
การทำงาน และเพื่อความสำเร็จในอาชีพ
๓. ห้องทำงานต้องเหมาะสมกับจำนวนบุคลากรและชนิดของงาน
๔. การตกแต่งต้องสะดวกในการทำงาน สะอาด ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัย ไม่มีภาพ
ลามกอนาจาร
๕. อุปกรณ์เครื่องใช้ในแต่ละห้องต้องพอเพียง จัดเก็บเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความคล่องตัว
๖. ใช้อุปกรณ์อย่างถูกวิธีและหมั่นดูแลรักษา เพื่อจะได้มีอุปกรณ์สำหรับใช้งานได้นานๆ
หากเกิดการชำรุดเสียหายต้องรีบซ่อมแซม
๗. มีกุศโลบายในการสนับสนุนคนดี แก้ไขคนโง่ คัดออกคนพาล

ประโยชน์ของการใช้ห้องทำงานอย่างถูกต้อง
๑. ทางใจ
๑.๑ ใช้สติปัญญาในการประกอบอาชีพให้ประสบผลสำเร็จด้วยดีตามเป้าหมาย
๑.๒ มีโอกาสเพิ่มบุญกุศลให้ตนเองเป็นใจ
๑.๓ แสวงหาความรู้ เพิ่มพูนปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อจะได้ไม่ต้องก่อเวร
ก่อภัยกับใครทั้งสิ้น

๒. ทางกาย
๒.๑ ใช้เพิ่มปัญญาในการประกอบสัมมาอาชีพ
๒.๒ ใช้พัฒนาความชำนาญในการทำงาน
๒.๓ ใช้ฝึกนิสัยวิริยะอุตสาหะในการทำงาน
๒.๔ ใช้เพิ่มพูนทรัพย์อันเป็นทางมาแห่งมหาสมบัติ

 

 

 

L5_Page_192--3r.jpg

 

 

L5_Page_205--4r.jpg

 

 

L5_Page_206--5r.jpg

 

 

L5_Page_207--6r.jpg

 

 

L5_Page_208--7r.jpg

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0010816653569539 Mins