ม ง ค ล ที่  ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม

วันที่ 08 กค. พ.ศ.2565

 

mongkol-life21.jpg

ม ง ค ล ที่  ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม

รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง 
ทั้งหมดนั้น ย่อมถึงความประชุมกันลงในรอยเท้าช้าง
รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์เหล่านั้นเพราะเป็นรอยใหญ่ 
แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น
มีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท
ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

 

mongkol-life21.1.jpg
๑. ความสำคัญของความไม่ประมาทในธรรม

     ๑.๑ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น
ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้น
ทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท บัณฑิตกล่าวว่า
เป็นยอดกุศลธรรมเหล่านั้น.
อัง.ทสก. (พุทธ) มก. ๓๘/๓๕

     ๑.๒ รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลาย ผู้สัญจรไปบนแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมถึง
ความประชุมกันลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์เหล่านั้น
เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็น
มูลรวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๒

     ๑.๓ พระราชาผู้น้อย (ชั้นต่ำ ) เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้ตามเสด็จพระเจ้า
จักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าราชาผู้น้อยเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรม
เหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๕

     ๑.๔. กลอนแห่งเรือนยอดอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมดนั้นไปสู่ยอด น้อมไปสู่ยอด ประชุมเข้าที่
ยอด ยอดแห่งเรือนยอดนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่ากลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใด
เหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๓

     ๑.๕ แสงสว่างชนิดใดชนิดหนึ่งแห่งดาวทั้งหลาย แสงสว่างเหล่านั้นทั้งปวง ย่อมไม่ถึงส่วนที่
สิบหกแห่งแสงสว่างพระจันทร์ แสงสว่างพระจันทร์ชาวโลกกล่าวว่า เป็นเยี่ยมกว่าแสงสว่างแห่ง
ดาวเหล่านั้น ฉันใด ธรรมข้อหนึ่งซึ่งเจริญแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ
ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในสัมปรายภพ คือ ความไม่ประมาท ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.ปัญจก. (พุทธ) มก. ๓๖/๖๙๓

     ๑.๖ ไม้มีกลิ่นที่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม้กลัมพัก บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ราก
เหล่านั้น แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้น
เหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๔

     ๑.๗ ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทร์แดง บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้กลิ่นที่แก่นเหล่านั้น
แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๔

     ๑.๘ ไม้มีกลิ่นที่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง มะลิ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าไม้กลิ่นที่ดอกเหล่านั้น
แม้ฉันใด กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่งทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล... ฉันนั้นเหมือนกัน.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๑๓๕

     ๑.๙ พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบเนืองๆ ซึ่งความประมาท ส่วนผู้มีปัญญา
ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๔๖

 

mongkol-life21.2.jpg
๒. โทษของความประมาท

     ๒.๑ สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด ในโลกนี้น้อยคนนักจะเห็นแจ้ง น้อยคนนักจะไปใน
สวรรค์เหมือนนกหลุดแล้วจากข่ายมีน้อย ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๒๘

     ๒.๒ บุคคลผู้เกียจคร้าน และกินจุเหมือนต้นไม้ที่ถูกทรายคลุมทับในที่ที่ล้มลงนั่นแล้วเป็นไม้
ผุ ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๔๑๗

     ๒.๓ นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก แต่เป็นผู้ประมาทแล้วไม่ทำ 
ตามพระพุทธพจน์นั้น เขาย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโค นับโคทั้งหลายของ
ชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๒๑๓

     ๒.๔ ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาท
แล้วชื่อว่า ย่อมไม่ตาย ผู้ประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือนคนตายแล้ว.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๒๑๗

     ๒.๕ มฤตยูย่อมพาชนผู้มัวเมาในบุตร และสัตว์เลี้ยง ผู้มีใจซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ดุจน้ำ
ใหญ่พัดพาชาวบ้านผู้หลับไหลไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๕๐๓

 

mongkol-life21.3.jpg
๓. ผู้ไม่ประมาท 

     ๓.๑ ธรรมดากรรมกรย่อมคิดว่า เราเป็นลูกจ้าง เราจักต้องตั้งใจทำ งานด้วยความ
ไม่ประมาทเพื่อเราจักได้ค่าจ้างมาก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรคิดว่า เมื่อเราพิจารณา
กายอันประกอบด้วยธาตุ ๔ นี้ดีแล้ว เราก็จะเป็นผู้ไม่ประมาทเนืองๆ มีสติสัมปชัญญะดี ใจแน่วแน่
เมื่อเป็นอย่างนี้ เราก็จะพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
เพราะฉะนั้น เราไม่ควรจะประมาทเลย.
มิลิน. ๔๓๓

     ๓.๒ ธรรมดานายพรานย่อมรู้จักเวลาไหนควรทำอะไร ภิกษุผู้ปรารถความเพียรก็ควรรู้จัก
เวลา คือ ควรรู้ว่าเวลาอยู่ในที่สงัด เวลานี้เป็นเวลาออกจากที่สงัด.
มิลิน. ๔๕๙

     ๓.๓ นายท้ายเรือผู้เอาใจใส่เรือตลอดเวลาทั้งกลางวัน กลางคืน ไม่ประมาทเผลอเรอ
ฉันใด ภิกษุผู้ความเพียรก็ไม่ประมาท ควรกำหนดจิตไว้ด้วยโยนิโสมนสิการอยู่เป็นนิตย์ทั้งกลางวัน
กลางคืน ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๓๒

     ๓.๔ ธรรมดาหนูย่อมเที่ยวแสวงหาอาหารไปตามที่นั้นที่นี้ฉันใด ภิกษุผู้ปรารถความเพียร
เมื่อเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ก็แสวงโยนิโสมนสิการ ฉันนั้น. 
มิลิน. ๔๔๔


     ๓.๕ ธรรมดางูเมื่อพบเห็นมนุษย์แล้ว ย่อมทุกข์โศก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเมื่อ
นึกถึงวิตกที่ไม่ดีแล้ว ก็ควรทุกข์ และเสียใจว่า วันนี้เราได้ล่วงไปด้วยความประมาทเสียแล้ว
เพราะวันที่ล่วงไปแล้วไม่อาจได้คืนมาอีก. 
มิลิน. ๔๕๓

     ๓.๖ ธรรมดาไก่แม้จะถูกขว้างปาด้วยก้อนดิน ค้อน หรือถูกทุบตีด้วยสิ่งของใดๆ ก็ยังไม่
ยอมทิ้งรังของตน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแม้มีเรื่องต้องทำมากมายก็ไม่ทิ้งโยนิโสมนสิการ.
มิลิน. ๔๒๓

     ๓.๗ นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มากจากกองดอกไม้ แม้ฉันใด มัจจุสัตว์ผู้มีอันจะพึง
ตายเป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มาก ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๓

     ๓.๘ ธรรมดาโคย่อมไม่ทิ้งคอกของตน ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ไม่ควรทิ้งโอกาส
ของตน ฉันนั้น คือ ไม่ควรทิ้งการนึกเสมอว่า กายนี้ต้องหมั่นขัดสี ต้องอบรมอยู่เสมอ และย่อมมี
การแตกสลายเป็นธรรมดา.
มิลิน. ๔๔๗

     ๓.๙ ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า มีฟองน้ำ เป็นเครื่องเปรียบ รู้ชัดกายนี้ว่า มีพยับแดดเป็นธรรม
ตัดพวงดอกไม้ของมารเสียแล้ว พึงถึงสถานที่มัจจุราชไม่เห็น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๒

     ๓.๑๐ ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจาก
หล่ม ประหนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตมถอนตนขึ้นได้ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๒๒๔

     ๓.๑๑ ท่านทั้งหลายจงริเริ่ม จงก้าวหน้า จงประกอบความเพียรในพระพุทธศาสนา จงกำจัด
เสนาแห่งมัจจุราชเหมือนช้างจำกัดเรือนไม้อ้อ ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๑๘๕

 

mongkol-life21.4.jpg
๔. อานิสงส์ของความไม่ประมาท

     ๔.๑ ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือน
ดวงจันทร์พ้นจากหมอก ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๒/๒๒๗

     ๔.๒ ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้วไม่ประมาท เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่
โดยมาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้าตัวมีฝีเท้าเร็วละทิ้งตัวหากำลังมิได้ไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๐/๓๕๔

 

mongkol-life21.5.jpg
๕. ความแก่ ความเจ็บ ความตาย

     ๕.๑ ผู้ที่ยืนอยู่ยอดเขาศิลาล้วน พึงเห็นประชุมชนโดยรอบ ฉันใด ท่านผู้มีจักษุโดยรอบก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน เห็นประชุมชนผู้เกลื่อนกล่นไปด้วยความเศร้าโศก ถูกชาติ และชราครอบงำแล้ว
     ข้าแต่พระองค์ผู้กล้า ผู้ชนะสงครามแล้ว เป็นนายพวกปราศจากหนี้ ขอพระองค์จงเสด็จลุก
ขึ้นเปิดเผยโลก ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ยังจักมี.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๔๓

     ๕.๒ นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากินด้วยท่อนไม้ ฉันใด ชรา และมัจจุราชย่อม
ต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (ทั่วไป) มก. ๔๒/๖๖

     ๕.๓ แม่น้ำ ที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้โค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูก
ชรา และมรณะพัดพาไป ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕

     ๕.๔ บุรุษเอาเรือมาจอดไว้ที่ท่าน้ำ รับคนฝั่งนี้ส่งถึงฝั่งโน้น แล้วย้อนกลับมารับคนฝั่งโน้น
พามาส่งถึงฝั่งนี้ ฉันใด ชรา และพยาธิ ก็ย่อมนำเอาชีวิตสัตว์ไปสู่อำนาจแห่งมัจจุราชอยู่เนืองๆ
ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๖๑/๒๔๐

 

mongkol-life21.6.jpg
๖. ความแก่
     ๖.๑ ดอกบัวบานในเวลาเช้า ถูกแสงอาทิตย์แผดเผาย่อมเหี่ยวแห้ง สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความ
เป็นมนุษย์ก็เหมือนอย่างนั้น ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยอำนาจของชรา.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๗/๔๑๘

     ๖.๒ ใบไม้เหลืองได้ร่วงลงมาข้างหน้าของเขา เขาเริ่มตั้งความสิ้น และความเสื่อมไปใน
ใบไม้เหลืองนั้นนั่นเอง พิจารณาไตรลักษณ์ในแผ่นดินกึกก้องไป พร้อมกับให้พระปัจเจกโพธิญาณ
เกิดขึ้น.
ขุ.ชา. (ทั่วไป) มก. ๕๙/๒๙

     ๖.๓ เมื่อฝนไม่ตก พีชคาม  ภูตคาม  และติณชาติ  ที่ใช้เข้ายาในป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา
เหี่ยวแห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็น
กำหนด ควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๑๔

     ๖.๔ เมื่อด้ายที่เขากำลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่จะต้องทอก็ยังเหลืออยู่น้อยเท่านั้น
แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น
                แม่น้ำ ที่เต็มฝั่งย่อมพัดพาเอาต้นไม้ ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้โค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชรา
และมรณะพัดพาไป ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕

     ๖.๕ ทางไปของน้ำ ลม ไฟ ย่อมปรากฏ เพราะหญ้า และต้นไม้หักโค่นล้มหรือเพราะถูก
ไฟไหม้ ฉันใด ทางไปของชราย่อมปรากฏโดยที่ฟันหัก.
สัง.นิ. (อรรถ) มก. ๒๖/๒๔

     ๖.๖ บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง บุรุษแห่งพระยายม คือ ความตายปรากฏแก่ท่าน
แล้ว ท่านตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑

     ๖.๗ บัดนี้ เราก็แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว
เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ก็เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันใด กายของตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ยังเป็นไปได้ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมแล้วด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๙๖

     ๖.๘ เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวยทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนา
เบียดเบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว ดุจดอกไม้ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทราย ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (อรรถ) มก. ๕๘/๓๓๓

 

mongkol-life21.7.jpg
๗. ความตาย

     ๗.๑ ผลไม้สุกแล้ว ย่อมมีภัย เพราะจะต้องร่วงหล่นลงไปเป็นนิตย์ ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกิดแล้ว ชื่อว่า ย่อมมีภัย เพราะจะต้องตายเป็นนิตย์ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๖

     ๗.๒ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๗๓

     ๗.๓ หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมาย่อมแห้งหายไปได้เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้
ฉันใด ชีวิตมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๗๓

     ๗.๔ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (พุทธ) มก. ๓๗/๒๗๓

     ๗.๕ มัจจุราชย่อมพานระผู้มีใจข้องไปในอารมณ์ต่างๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้เที่ยวไป เหมือน
ห้วงน้ำใหญ่พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๑/๒๔๐

     ๗.๖ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา ไหลไปไกล กระแสเชี่ยวพัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ไม่มีระยะ
เวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด แต่ที่แท้แม่น้ำมีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้ง
หลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔

     ๗.๗ อายุของพวกมนุษย์น้อย บุรุษผู้ใคร่ความดีพึงดูหมิ่นอายุที่น้อยนี้ พึงรีบประพฤติให้
เหมือนคนถูกไฟไหม้ศีรษะ ฉะนั้น เพราะความตายจะไม่มาถึงมิได้มี วันคืนย่อมล่วงเลยไป ชีวิตก็
กระชั้นเข้าไปสู่ความตาย อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป เหมือนน้ำในแม่น้ำน้อยย่อมสิ้นไป
ฉะนั้น.
ขุ.ม. (ทั่วไป ) มก. ๖๕/๖๐๔

     ๗.๘ ผู้ใดขจัดเสนาแห่งมัจจุราช เหมือนห้วงน้ำใหญ่กำจัดสะพานไม้อ้อ อันแสนจะทรุดโทรม
ฉะนั้น ก็ผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ชนะมาร ปราศจากความหวาดกลัว มีตนอันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่นดับกิเลส
และความเร่าร้อนได้แล้ว.
สัง.ส. (เถระ) มก. ๒๔/๓๙๘

     ๗.๙ เราไม่ยินดีความตาย เราไม่ยินดีความเป็นอยู่ แต่ดับขันธปรินิพพาน เหมือนลูกจ้างรอ
ค่าจ้าง ฉะนั้น.
ขุ.อิติ. (พุทธ) มก. ๔๕/๕๗๗

     ๗.๑๐ ภาชนะในดินที่ช่างหม้อทำ ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด
ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น.
ที.ม. (พุทธ) มก. ๑๓/๒๙๑

     ๗.๑๑ ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ มีกำหนดร้อยปีเป็นอย่างมาก ไม่เกินกำหนดนั้น ย่อม
จะเหือดแห้งไป เหมือนไม้อ้อที่ถูกตัดแล้ว มีแต่จะเหี่ยวแห้งไป ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๓๓

     ๗.๑๒ แท้จริงชีวิตของสัตว์ทั้งมวล ทั้งที่เป็นสตรี และบุรุษในโลกนี้ เป็นของหวั่นไหวเหมือน
แผ่นผ้าของนักเลงสุรา และต้นไม้เกิดใกล้ฝั่ง เป็นของหวั่นไหวไม่ยั่งยืน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๕

     ๗.๑๓ บุรุษมีกำลังอมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้นแล้วพึงถ่มไปโดยง่ายดาย แม้ฉันใด ชีวิตของ
มนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนก้อนเขฬะ ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔

     ๗.๑๔ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกระทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน ย่อมจะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่
นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔

     ๗.๑๕ แม่โคที่จะถูกเชือด ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดินไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย แม้
ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้นเหมือนกัน.
อัง.สัตตก. (โพธิ) มก. ๓๗/๒๗๔

     ๗.๑๖ ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเห็นความดับเท่านั้นว่า สังขารทั้งหลายเหล่านี้ย่อมแตกดับ
ไป ฉันใด แม้ในอดีตสังขารก็แตกแล้ว แม้ในอนาคตก็จักแตก ฉันนั้น.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๕๑

     ๗.๑๗ สังขารทั้งหลายมิใช่เป็นของใหม่อยู่เป็นนิตย์แต่เพียงอย่างเดียว ยังปรากฏไม่มีสาระ
หาสาระมิได้ ดุจหยาดน้ำค้างเวลาในพระอาทิตย์ขึ้น ดุจฟองน้ำ ดุจรอยขีดในน้ำ ดุจเมล็ดผักกาด
บนปลายเข็มแหลม ดุจสายฟ้าแลบ ดุจภาพลวง พยับแดด ความฝัน ฟองน้ำ เป็นต้น อันตั้งอยู่
ชั่วเวลาเล็กน้อย.
ขุ.จู. (อรรถ) มก. ๖๗/๖๔๗

     ๗.๑๘ ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา จรดท้องฟ้ากลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใด
ชรา และมัจจุราช ก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ พวกแพศย์
พวกศูทร พวกจัณฑาล และคนเทมูลฝอย ไม่เว้นใครๆ ไว้เลย ย่อมย่ำยีเสียสิ้น ณ ที่นั้น ไม่มี
ยุทธภูมิสำหรับพลช้าง ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลรถ ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลราบ และไม่อาจเอาชนะแม้
ด้วยการรบ ด้วยมนต์หรือด้วยทรัพย์.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๕๒๔

     ๗.๑๙ พระราชาบางพวกแวดล้อมด้วยพลม้า พลรถ และพลเดินเท้า ย่อมพ้นจากเงื้อมมือ
ของพวกข้าศึกได้แต่ก็ไม่อาจจะพ้นจากสำนักของมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิด
ว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๓

     ๗.๒๐ พระราชาทั้งหลายผู้กล้าหาญ ย่อมหักค่ายทำลายพระนครแห่งราชศัตรูย่อยยับได้
และกำจัดมหาชนได้ด้วยพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า แต่ไม่สามารถจะหักรานเสนาแห่ง
มัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔

     ๗.๒๑ คชสารทั้งหลายที่ตกมัน มีมันเหลวแตกออกจากกระพอง ย่อมย่ำยีนครทั้งหลาย
และเข่นฆ่าประชาชนได้ แต่ไม่สามารถจะย่ำยีเสนาแห่งมัจจุราชได้ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔

     ๗.๒๒ นายขมังธนูทั้งหลาย แม้มีมืออันได้ฝึกฝนมาดีแล้ว เป็นผู้มีปัญญา สามารถยิงธนู
ให้ถูกได้ในที่ไกล ยิงได้แม่นยำไม่ผิดพลาด ก็ไม่สามารถจะยิงต่อต้านมฤตยูได้ เพราะเหตุนั้น
ข้าพระพุทธเจ้า จึงคิดว่าจะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔

     ๗.๒๓ ยักษ์ก็ดี ปีศาจก็ดี หรือเปรตก็ดี โกรธเคืองแล้วย่อมเข้าสิงมนุษย์ได้ แต่ไม่สามารถ
จะเข้าสิงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๕

     ๗.๒๔ มนุษย์ทั้งหลายย่อมทำการบวงสรวงยักษ์ ปีศาจ หรือเปรตทั้งหลายผู้โกรธเคืองแล้ว
ได้ แต่ไม่สามารถจะบวงสรวงมัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวช
ประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๖

     ๗.๒๕ พระราชาทั้งหลายทรงทราบโทษผิดแล้ว ย่อมลงอาชญา ผู้กระทำความผิด
ผู้ประทุษร้ายต่อราชสมบัติ และผู้เบียดเบียนประชาชนตามสมควร แต่ไม่สามารถลงอาชญา
มัจจุราชได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๖

     ๗.๒๖ ชนทั้งหลายผู้กระทำ ความผิด ฐานประทุษร้ายต่อพระราชาก็ดี ผู้ประทุษร้ายต่อ
ราชสมบัติก็ดีผู้เบียดเบียนประชาชนก็ดีย่อมจะขอพระราชทานอภัยโทษได้แต่หาทำ มัจจุราชให้
ผ่อนปรนกรุณาปราณีได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๖

     ๗.๒๗ ราชสีห์ก็ดีเสือโคร่งก็ดีเสือเหลืองก็ดีย่อมข่มขี่เคี้ยวกินสัตว์ที่ดิ้นรนอยู่ได้แต่
ไม่สามารถจะเคี้ยวกินมัจจุราชได้เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗

     ๗.๒๘ นักเล่นกลทั้งหลาย เมื่อทำมายากล ณ ท่ามกลางสนาม ย่อมลวงนัยน์ตาประชาชน
ในที่นั้นๆ ให้หลงเชื่อได้แต่ไม่สามารถจะลวงมัจจุราชให้หลงเชื่อได้เลย เพราะเหตุนั้นข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗

     ๗.๒๙ อสรพิษที่มีพิษร้าย โกรธขึ้นมาแล้ว ย่อมขบกัดมนุษย์ให้ถึงตายได้แต่ไม่สามารถจะ
ขบกัดมัจจุราชให้ถึงตายได้เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗

     ๗.๓๐ อสรพิษโกรธขึ้นแล้วขบกัดผู้ใด หมอทั้งหลายย่อมถอนพิษร้ายนั้นได้แต่จะถอนพิษ
ของผู้ถูกมัจจุราชประทุษร้ายหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗

     ๗.๓๑ แพทย์ผู้มีชื่อเสียงเหล่านี้คือ แพทย์ธรรมมนตรีแพทย์เวตตรุณะ แพทย์โภชะอาจจะ
กำ จัดพิษพระยานาคได้แต่แพทย์เหล่านั้นต้องทำ กาลกิริยานอนตาย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้า
จึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๗

     ๗.๓๒ วิชาธรทั้งหลาย เมื่อร่ายอาคมชื่อ โฆรมนต์ย่อมหายตัวไปได้ด้วยโอสถทั่งหลาย แต่
จะหายตัวไม่ให้มัจจุราชเห็นไม่ได้เลย เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๘

     ๗.๓๓ สัตว์ที่เกิดมามีภัยโดยความตายเป็นนิตย์ เหมือนผลไม้ที่สุกแล้วมีภัย โดยการหล่นใน
เวลาเช้า ฉะนั้น.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๐๖

     ๗.๓๔ มนุษย์ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ โง่และฉลาด ทั้งหมดย่อมไปสู่อำ นาจมัจจุราช มีมัจจุสกัดอยู่
ข้างหน้า เมื่อมนุษย์เหล่านั้นถูกมัจจุสกัดอยู่ข้างหน้าแล้ว ถูกมัจจุครอบงำ บิดาก็ต้านทานบุตรไว้
ไม่ได้ หรือพวกญาติก็ต้านทานญาติไว้ไม่ได้ เมื่อพวกญาติกำ ลังดูกันอยู่นั่นแหละ กำลังรำ พันกันอยู่
เป็นอันมาก ท่านจงดูสัตว์ทั้งหลายอันมรณะนำ ไปได้ เหมือนโคถูกนำ ไปฆ่า ฉะนั้น สัตว์อันมัจจุ
และชราครอบงำ ไว้อย่างนี้.
ขุ.ม. (พุทธ) มก. ๖๕/๖๐๖

๗.๓๕ ชีวิตของมนุษย์เปรียบกับชีวิตของเทวดาทั้งหลายแล้วน้อย เหมือนหยาดน้ำ ค้าง
บนยอดหญ้า.
ขุ.สุ. (อรรถ) มก. ๔๗/๕๖๓

     ๗.๓๖ มัจจุพานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตร และปศุสัตว์ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่างๆ ไป เหมือน
ห้วงน้ำ ใหญ่พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไป ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๑๓๗

     ๓.๓๗ ห้วงมหานทีใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้าง พัดชาวบ้านนั้นไปหมด โดยที่สุดแม้สุนัขก็มิให้
เหลือไว้ฉันใด มัจจุราชย่อมพานระมีประการดังกล่าวแล้วไป ฉันนั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๓/๑๓๗

     ๓.๓๘ ภาชนะดินที่นายช่างทำแล้วทุกชนิด มีความแตกเป็นที่สุด แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้ง
หลาย ก็ฉันนั้น ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนเขลา ทั้งคนฉลาด ล้วนไปสู่อำ นาจของมฤตยูมีมฤตยูเป็นที่
ไปในเบื้องหน้า ด้วยกันทั้งหมด.
ขุ.สุ. (พุทธ) มก. ๔๗/๕๕๗

     ๗.๓๙ พระราชาผู้เป็นอธิบดีในรัฐทั้งหลาย ย่อมจะข่มขี่ราชศัตรู ผู้มีเสนาอันประกอบด้วย
องค์ ๔ ล้วนมีรูปร่างน่าสะพรึงกลัว เอาชัยชนะได้แต่ไม่สามารถจะเอาชนะเสนาแห่งมัจจุราชได้
เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๓

     ๗.๔๐ สระทั้งหลาย และมหาปฐพีกับทั้งภูเขาราวไพร ย่อมเสื่อมสิ้นไป ครั้นถึงกาลกำ หนด
แล้ว ย่อมจะแตกทำลายไป เพราะเหตุนั้น ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า จะบวชประพฤติธรรม.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๑/๒๗๔

     ๗.๔๑ สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เปรียบ
เหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อกำ ลังทำ อยู่ก็แตกได้ ทำ เสร็จแล้วเอาออกจากแป้นหมุนก็แตกได้สัตว์
ทั้งหลายก็เหมือนกัน บางคนพอคลอดก็ตาย บางคนอยู่ได้เกินกว่านั้นก็ตาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อ
ทำ กรรมชั่วไว้ตายไปก็จะไปสู่นรก ผู้ทำ กุศลกรรม เมื่อตายก็จะไปสู่โลกสวรรค์.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๔/๕๑๐

 

mongkol-life21.8.jpg
๘. การตายก่อนเวลาอันควร

     ๘.๑ การตายก่อนเวลาอันควร อุปมาเหมือนผลไม้ตกจากต้นก่อนสุก เหมือนลูกธนูที่ยิงออก
จากแล่งแล้วไม่ถึงที่สุด เพราะติดสิ่งกีดขวางก่อน.
มิลิน. ๓๗๓

     ๘.๒ อาตมภาพเห็นเด็กชายของท่านทั้งหลาย ยังไม่ทันแก่ก็ตายเสียแล้ว เห็นเด็กหญิงของ
ท่านทั้งหลาย ซึ่งเป็นเด็กหญิงที่สวยงามน่าชมสิ้นชีวิต เหมือนหน่อไม้ไผ่ที่ยังอ่อนอยู่ถูกถอน ฉะนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๔

     ๘.๓ สัตว์เหล่านี้ตายเสียแต่ในปฐมวัยก็มีเหมือนน้ำ ที่เราเทลงครั้งแรก ตายเสียในมัชฌิมวัย
ก็มีเหมือนน้ำ ที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มีเหมือนน้ำ ที่เราเทลง
ครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น.
ขุ.ธ. (อรรถ) มก. ๔๑/๔๙๗

 

mongkol-life21.9.jpg
๙. อายุ

     ๙.๑ อายุของมนุษย์ทั้งหลายน้อย คนดีควรดูหมิ่นอายุนั้น ควรประพฤติดุจคนที่ถูกไฟไหม้
ศีรษะ ฉะนั้น การที่มัจจุราชจะไม่มาไม่มีเลย.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๖

     ๙.๒ อายุของคนเราเป็นของน้อยนัก เพราะวันคืนล่วงไปๆ เหมือนอายุของฝูงปลาในน้ำ น้อย.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๔

     ๙.๓ วันคืนผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมสั้นเข้า อายุของสัตว์ทั้งหลายย่อมสิ้นไป ดุจน้ำ ในแม่น้ำ น้อย ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๘

     ๙.๔ แม่น้ำ ที่เต็มฝั่ง ย่อมไม่ไหลไปสู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่กลับไปสู่
ความเป็นเด็กอีก ฉันนั้น.
ขุ.ชา. (โพธิ) มก. ๖๓/๑๕

     ๙.๕ วันคืนย่อมผ่านพ้นไป ชีวิตย่อมสั้นเข้า อายุของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมดำ เนินไป ดุจกงจักร
ตามธูปรถไป ฉะนั้น.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๘

     ๙.๖ อายุย่อมอาศัยไออุ่นตั้งอยู่ ไออุ่นก็อาศัยอายุตั้งอยู่ เหมือนตะเกียงน้ำ มันที่กำ ลังไหม้
แสงย่อมอาศัยเปลวไฟจึงปรากฏ เปลวไฟก็ย่อมอาศัยแสงจึงปรากฏ ฉันใดก็ฉันนั้นแล.
ม.มุ. (เถระ) มก. ๑๙/๒๘๔

 

mongkol-life21.10.jpg
๑๐. ร่างกาย

     ๑๐.๑ พยับแดดนี้ตั้งขึ้นแล้วในฤดูร้อน ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้ยืนอยู่ ณ ที่ไกลดุจมีรูปร่าง
แต่ไม่ปรากฏเลยแก่บุคคลผู้มาสู่ที่ใกล้ฉันใด แม้อัตภาพนี้ก็มีรูปเหมือนอย่างนั้น เพราะเกิดขึ้น
และเสื่อมไป เดินมาแล้วเมื่อยล้าในหนทาง อาบน้ำ ในแม่น้ำ อจิรวดี นั่งในที่ร่มไม้ริมฝั่งแม่น้ำ มี
กระแสอันเชี่ยวแห่งหนึ่ง เห็นฟองน้ำ ใหญ่ ตั้งขึ้นด้วยกำ ลังแห่งน้ำ กระทบกันแล้วแตกไป ได้ถือเอา
เป็นอารมณ์ว่า แม้อัตภาพนี้ก็มีรูปร่างอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะเกิดขึ้นแล้วก็แตกไป.
ขุ.ธ. (เถระ) มก. ๔๑/๘

     ๑๐.๒ คนทั้งหลายแลเห็นน้ำ ในพยับแดด แม้ที่ไม่มีน้ำ ฉันใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายอันนี้ว่า
เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน ไม่สวยงามว่า เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตน และ
สวยงาม ฉันนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๘๓

     ๑๐.๓ การพิจารณาน้ำ ในพยับแดดแม้ไม่มีน้ำ ฉันใด การพิจารณาว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข
เป็นอัตตา และงาม ในกายนี้ซึ่งเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่งามนั่นแล ฉันนั้นหามิได้ ที่แท้
การพิจารณากายก็คือ การพิจารณาหมู่แห่งอาการที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และไม่งามนั่นเอง.
ขุ.ม. (อรรถ) มก. ๖๕/๑๐๙

     ๑๐.๔ คนฆ่าโคบางคน หรือลูกมือของเขา ที่เขาเลี้ยงดูด้วยอาหาร และค่าจ้าง ฆ่าโคแล้ว
ชำแหละแบ่งออกเป็นส่วนๆ แล้วนั่ง ณ ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง คือ ที่ชุมทางย่านกลางทางใหญ่ ซึ่งไป
ได้ทั้ง ๔ ทิศ ฉันใด ภิกษุผู้บำ เพ็ญธาตุกัมมัฏฐาน ก็ฉันนั้นแล ย่อมพิจารณาร่างกายอย่างนี้ว่า ใน
กายนี้มีปฐวีธาตุอาโปธาตุ เตโชธาตุวาโยธาตุ.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๐๔

     ๑๐.๕ เมื่อเขาชำ แหละแบ่งออกแล้ว ความสำ คัญว่าโคก็ขายไป กลับสำ คัญเนื้อโคไป
เขามิได้คิดว่า เราขายโค ที่แท้เขาคิดว่า เราขายเนื้อโค เปรียบฉันใด แม้ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อครั้งเป็นปุถุชนผู้เขลา เป็นคฤหัสถ์ก็ดีบรรพชิตก็ดีสำ คัญว่าสัตว์หรือบุคคลยังไม่หายไปก่อน
ตราบเท่าที่ยังไม่พิจารณาเห็นกายนี้ตามที่ตั้งอยู่ ตามที่ดำ รงอยู่ แยกออกจากก้อน ต่อเมื่อเธอ
พิจารณาโดยเห็นความเป็นธาตุความสำคัญว่าสัตว์จึงหายไป.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๐๔

     ๑๐.๖ เรือแล่นไปได้ด้วยกำลังลม ลูกธนูแล่นไปได้ด้วยกำลังสายธนูฉันใด กายอันนี้ลมนำ ไป
จึงเดินไปได้ฉันนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๓๐๐

     ๑๐.๗ กระดูกเหล่านี้ใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาด ดุจน้ำ เต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ
ความยินดีอะไรเล่าจักมีเพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๑๔๑

     ๑๐.๘ เราติเตียนกระท่อม คือ สรีระร่างอันสำ เร็จด้วยโครงกระดูกอันฉาบทาด้วยเนื้อ
ร้อยรัดด้วยเส้นเอ็น เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็นน่าเกลียด ที่คนทั่วๆ ไปเข้าใจว่าเป็นของ
ผู้อื่น และเป็นของตน.
ขุ.เถร. (เถระ) มก. ๕๓/๔๓๓

     ๑๐.๙ พิจารณาเห็นร่างกายที่เป็นที่รวมของ ผม ขน เป็นต้น เหมือนพิจารณาเห็นส่วนน้อย
ใหญ่ของพระนคร.
ที.ม. (อรรถ มก. ๑๔/๒๘๒

     ๑๐.๑๐ คนที่มัวหมกมุ่นอยู่ในกายของตน ย่อมเดือดร้อนอยู่เป็นนิตย์ ด้วยชาติชรา และ
ทุกข์มีโรค เป็นต้น เหมือนปลาติดเบ็ด ฉะนั้น.
ม.ม. (อรรถ) มก. ๑๗/๙๓

     ๑๐.๑๑ ท่านทั้งหลายจงดูโลกนี้อันตระการ ดุจราชรถที่พวกคนเขลาหมกอยู่ แต่พวกผู้รู้หา
ข้องอยู่ไม่.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๒/๒๒๗

     ๑๐.๑๒ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมจับงูอันเปื้อนคูถมีพิษมาก เป็นผู้เพลิดเพลินงูในโลก ชื่อว่า
จับเอาภาวะที่ไม่พึงปรารถนาทั้ง ๕ คือ ของเหม็น ของไม่สะอาด พยาธิชรา และมรณะ ภาวะที่ไม่
ปรารถนา ๕ อย่างเหล่านี้มีอยู่ในงูที่เปื้อนคูถ ปุถุชนผู้บอด และเขลาไม่ฉลาด ก็อย่างนั้นเหมือนกัน
เป็นผู้เพลิดเพลินความเกิดในภพ ชื่อว่า จับภาวะที่ไม่ปรารถนาทั้ง ๕ เหล่านี้มีอยู่ในกายอันเป็นดังงู
ที่เปื้อนคูถ ฉะนั้น.
สัง.สฬา. (อรรถ) มก. ๒๘/๓๘๑

     ๑๐.๑๓. ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว
ราวกับท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๐/๓๘๘

     ๑๐.๑๔ งูละทิ้งคราบเก่าของตนจากร่างในระหว่างต้นไม้ ในระหว่างไม้ฟืน ในระหว่างโคน
ต้นไม้หรือในระหว่างแผ่นดิน เหมือนคนถอดเสื้อแล้วไปตามต้องการ ฉันใด สัตว์ผู้หมุนเวียนไปใน
สงสาร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ละร่างของตน คือ สรีระของตน อันชื่อว่า เป็นของคร่ำ คร่า เพราะ
กรรมเก่าหมดสิ้นไป คือ ไปตามกรรม.
ขุ.เปต. (อรรถ) มก. ๔๙/๑๒๕

     ๑๐.๑๕ ร่างกายไม่เป็นที่รักของบรรพชิต แต่บรรพชิตรักษาร่างกายไว้เพื่ออนุเคราะห์
พรหมจรรย์เหมือนบุคคลรักษาแผลให้หายเป็นปกติแต่ไม่ได้รักแผล ฉะนั้น.
มิลิน. ๑๑๕

๑๐.๑๖ พวกสัตว์ทั้งหลายอาศัยแผ่นดิน แต่ไม่มีอำ นาจในแผ่นดิน ฉันใด จิตของพระอรหันต์
อาศัยกาย แต่ไม่มีอำ นาจทางกาย ฉันนั้น.
มิลิน. ๓๒๒

     ๑๐.๑๗ ฟองน้ำ นั้น ใครๆ ไม่สามารถจะจับเอาด้วยความประสงค์ว่า เราจักเอาฟองน้ำ นี้ทำ
ภาชนะหรือถาด แม้จับแล้วก็ไม่ให้สำ เร็จประโยชน์นั้นได้ย่อมสลายตัวทันทีฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น
ใครๆ ไม่สามารถยึดถือได้ว่า เราหรือของเรา แม้ยึดถือแล้วก็คงอยู่อย่างนั้นไม่ได้ย่อมเป็นเช่นเดียว
กับฟองน้ำอย่างนี้ทีเดียว คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา ไม่สวยงามเอาเลย.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๓๒๑

 

mongkol-life21.11.jpg
๑๑. สติ

๑๑.๑ ประโยชน์ของการมีสติ
     ๑๑.๑.๑. เกลือสะตุย่อมอยู่แม้ในกับข้าวทั้งปวง ฉันใด และอำ มาตย์ผู้ประกอบการงานทั้ง
ปวงย่อมทำ หน้าที่รบ ทำ หน้าที่ปรึกษาบ้าง ทำ หน้าที่สนับสนุนบ้าง รวมความว่า ย่อมทำ กิจทุก
อย่างให้สำ เร็จได้ฉันใด การข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน การยกจิตที่หดหู่ ก็ฉันนั้น กิจแม้ทั้งหมดจะสำ เร็จได้
ด้วยสติ.
สัง.ม. (พุทธ) มก. ๓๐/๓๐๙

     ๑๑.๑.๒. สติมีการตักเตือนเป็นลักษณะ เหมือนขุนคลังของพระราชา คือ เมื่อเกิดขึ้นก็
ตักเตือนให้รู้จักสิ่งที่เป็นกุศล และอกุศล.
มิลิน. ๕๒

     ๑๑.๑.๓. สติมีการเข้าไปถือเอาเป็นลักษณะ เหมือนนายประตูของพระราชา ย่อมรู้จัก
กลั่นกรองบุคคลผู้มีประโยชน์เข้าพบพระราชา กำ จัดพวกไม่มีประโยชน์.
มิลิน. ๕๓

     ๑๑.๑.๔. ธรรมดาพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงดูแลรักษาบ้านเมืองให้ดีทั้งภายใน และ
ภายนอก ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภความเพียรก็ควรตั้งนายทวาร คือ สติควบคุมกิเลสทั้งภายใน และ
ภายนอกไม่ให้เกิดขึ้น ฉันนั้น
ข้อนี้สมกับพระพุทธพจน์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีนายทวาร คือ สติย่อมละ
อกุศล สร้างกุศล ละสิ่งที่มีโทษ สร้างแต่สิ่งที่ไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์เท่านั้น.
มิลิน. ๔๔๓

     ๑๑.๑.๕. หลงลืมสติคือ ระลึกไม่ได้ว่าสิ่งที่ตนทำแล้ว ในที่นี้ย่อมเหมือนการวางก้อนข้าวไว้
แล้วก็ลืม ฉะนั้น.
สัง.ข. (อรรถ) มก. ๒๗/๒๑๙

     ๑๑.๑.๖ ขณะที่กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเลี้ยงอาหารบริวารอยู่ในทุ่งนา พระบรมศาสดา
เสด็จเข้าไปประทับยืนบิณฑบาต
     พราหมณ์ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ไถ และหว่านแล้วจึงบริโภค แม้พระพุทธองค์ก็จงไถ
และหว่านแล้วบริโภค
     พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า พระองค์ก็ไถ และหว่านแล้วบริโภคเหมือนกัน
     พราหมณ์กราบทูลว่า ไม่เห็นการไถของพระบรมศาสดา
     พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า ศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและ
ไถ หิริเป็นงอนไถ ใจเป็นเชือก สติของเราเป็นผาล และประตัก
     เมื่อจบพระธรรมเทศนา พราหมณ์ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปจนตลอดชีวิต.
สัง.ส. (พุทธ) มก. ๒๕/๒๔๓

     ๑๑.๑.๗ พระบรมศาสดาตรัสกับพระภิกษุทั้งหลายว่า สติและสัมปชัญญะย่อมเป็นเหตุให้
เกิดหิริและโอตตัปปะ...
หิริและโอตตัปปะย่อมเป็นเหตุให้เกิดอินทรียสังวร...
     อินทรียสังวรย่อมเป็นเหตุให้ศีลสมบูรณ์...
     ศีลย่อมเป็นเหตุให้เกิดสัมมาสมาธิ...
     สัมมาสมาธิย่อมเป็นเหตุให้เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ...
     ยถาภูตญาณย่อมเป็นเหตุให้เกิดวิมุตติญาณทัสสนะ...

     เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่ง และใบสมบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้แม้แก่นของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์ฉันนั้น.
อัง.อัฏฐก. (พุทธ) มก. ๓๗/๖๖๙

     ๑๑.๑.๘ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามพระนาคเสนว่า สติมีลักษณะอย่างไร
     พระนาคเสนทูลตอบว่า สติมีการเตือนเป็นลักษณะ คือ เมื่อเกิดขึ้นก็เตือนให้รู้จักสิ่งที่เป็น
กุศล อกุศลมีโทษ ไม่มีโทษ เหมือนขุนคลังของพระราชา คอยทูลรายงานพระราชาในยามเช้า เย็น
     สติมีการเข้าไปในลักษณะ คือ เมื่อเกิดขึ้น ก็ถือเอาแต่ธรรมที่มีประโยชน์มีอุปการะเหมือน
นายประตูของพระราชาที่กำ จัดพวกไม่มีประโยชน์ให้เข้าไปแต่พวกมีประโยชน์.
มิลิน. ๕๓

 

๑๑.๒ การเจริญสติ

๑๑.๒.๑ นรชนในพระศาสนานี้ พึงผูกจิตของตนให้มั่นในอารมณ์ ให้มั่นด้วยสติเหมือนคน
เลี้ยงโค เมื่อจะฝึกลูกโค พึงผูกมันไว้ที่หลัก ฉะนั้น.
ที.ม. (อรรถ) มก. ๑๔/๒๙๓

     ๑๑.๒.๒ บานประตูคือ สติที่รู้กันว่าการสำ รวมทางจักขุนทรีย์ในจักษุทวาร เหมือนคนปิด
บานประตูที่ประตูเรือน ฉะนั้น.
ม.มุ. (อรรถ) มก. ๑๗/๑๘๐

     ๑๑.๒.๓ มีสติและสัมปชัญญะในการกระทำ ทุกอย่าง แล้วไม่มีความติดข้องในธรรมทั้งปวง
เหมือนหยาดน้ำ ไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น.
ขุ.อุ. (พุทธ) มก. ๔๔/๔๐๕

     ๑๑.๒.๔ มุนีพึงตั้งสติเที่ยวไปในบ้าน เหมือนบุรุษผู้ไม่ได้สวมรองเท้า ตั้งสติเที่ยวไปในถิ่นที่มี
หนาม ฉะนั้น.
ขุ.เถร. (อรรถ) มก. ๕๓/๑๘๘

     ๑๑.๒.๕ บุคคลพึงประคองภาชนะอันเต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำมัน ฉันใด บัณฑิตผู้ปรารถนาจะไป
สู่ทิศที่ยังไม่เคยไป ก็พึงตามรักษาจิตของตนไว้ด้วยสติฉันนั้น.
ขุ.ชา. (พุทธ) มก. ๕๖/๓๕๓

     ๑๑.๒.๖ ธรรมดาช้างย่อมมีสติอยู่ทุกเวลายกเท้าขึ้น วางเท้าลง เวลาย่างก้าว ฉันใด ภิกษุ
ผู้ปรารภความเพียรก็ควรมีสติสัมปชัญญะทุกเวลายกเท้าขึ้น วางเท้าลง เดินไปเดินมา ฉันนั้น.
มิลิน. ๔๔๘

     ๑๑.๒.๗ เธอจงตักเตือนตนด้วยตน จงพิจารณาดูตนด้วยตน เธอนั้นมีสติปกครองตนได้
แล้วจักอยู่สบาย ตนแหละเป็นนาถะของตน ตนแหละเป็นคติของตน เพราะฉะนั้นเธอจงสงวนตน
เหมือนอย่างพ่อค้าม้าสงวนม้าตัวเจริญ ฉะนั้น.
ขุ.ธ. (พุทธ) มก. ๔๓/๓๓๙

     ๑๑.๒.๘ ธรรมดาเสากระโดงเรือย่อมยึดไว้ด้วยเชือก รอก และใบเรือ ฉันใด ภิกษุผู้ปรารภ
ความเพียร ก็ควรเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะทุกเวลาย่างก้าว แลเหลียว คู้เหยียด ครองสังฆาฏิบาตร
จีวร ฉัน ดื่ม เคี้ยวกิน ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ นั่ง นอน ยืน เดิน ตื่น พูด นิ่ง ฉันนั้น
     ข้อนี้สมพระดำ รัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเป็นผู้มี
สติสัมปชัญญะนี้เป็นอนุสาสนีย์สำ หรับเธอทั้งหลาย.
มิลิน. ๔๓๒


เชิงอรรถอ้างอิง
ปริเทวะ ความร่ำ ไรรำ พัน, ความคร่ำครวญ, ความรำ พันด้วยความเสียใจ, ความบ่นเพ้อ
พีชคาม      พืชพันธุ์อันถูกพรากจากที่แล้ว แต่ยังเป็นได้อีก ๒
ภูตคาม      ของเขียวหรือพืชพรรณอันเป็นอยู่กับที่ ๓

ติณชาติ     หญ้า

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018479033311208 Mins