วิธีเจริญภาวนา โดยสมถกรรมฐาน ตอนที่ ๓

วันที่ 04 กย. พ.ศ.2566

4-9-66-BL.jpg

พรหมวิหาร หรือ อัปปมัญญา ๔

               อัปปมัญญา หมายความว่า ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ไม่มีจํากัด มี ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้เจริญจะต้องกําหนดใจแผ่ให้ตลอดทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายไม่มีจำกัด ไม่มีกำหนด จึงจะเรียกว่าเป็นการแผ่ที่เป็น “อัปปปัญญา” ถ้าแผ่ชนิดจํากัดบุคคล จํากัดสถานที่ เรียกว่า เป็นการแผ่พรหมวิหารธรรม ธรรมดาไม่ชื่อว่า อัปปมัญญา
                คำ อัป แปลว่า ปราศจาก หรือ ไว้ คำว่า อัปปมัญญา อประมาณ อัปประมาณหมายถึงกำหนดไม่ได้ (ปราศจากการนับ) จำกัดไม่ได้ ไม่มีที่สุด

                การที่ อัปปมัญญา ๔ ได้ชื่อว่าเป็นพรหมวิหาร เพราะบุคคลใดกำลังปฏิบัติอัปปสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ บุคคลนั้นย่อมมีจิตใจเสมือนพรหม หรืออีกนัยหนึ่ง คำว่าพรหม แปลว่า ผู้ประเสริฐ วิหารแปลว่า ที่อยู่ ความเป็นอยู่อย่างประเสริฐ พรหมวิหารจึงแปลว่า ความเป็นอยู่อย่างประเสริฐของบุคคลผู้ประเสริฐ

 

                 ๑. เมตตา ความปรารถนาดี รักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เป็นธรรมชาติชนิดที่เกิดขึ้นในจิต มีสภาวะปราศจากความโกรธในปิยมนาปสัตว์ สัตว์ผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจ นำความรู้สึกอันนี้มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ปิยมนาปสัตว์ หรือปิยมนาปบุคคลที่มีอยู่ด้วยกัน ๒ ประเภท

                       ประเภทที่หนึ่ง เป็นที่รักที่ชอบใจธรรมดาทั่วไป เช่น หมู่ญาติสนิทมิตรสหาย คนใกล้ชิด คนที่ถูกใจ
                     ประเภทที่สอง เป็นประเภทที่เกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญภาวนา คือในขณะเมื่อเจริญภาวนาด้วยการแผ่เมตตานั้น ในระยะต้น ๆ จะกระทำได้ในเฉพาะคนที่รักที่ชอบใจธรรมดาคือในประเภทที่หนึ่ง แต่เมื่อปฏิบัติไปจนถึงขั้นอุปจารภาวนา (สมาธิเฉียดฌาน) จิตใจในขณะนั้นจะแผ่เมตตาได้ทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายหมด แม้ในผู้ที่เป็นศัตรู ผู้ที่ไม่ชอบ เกลียดชังสัตว์ บุคคล ทั้งหมดเหล่านี้เป็นปิยมนาปสัตว์ประเภทที่สอง

                     เมื่อเรานึกถึงหรือมองดูผู้ใดก็ตามด้วยความรู้สึกเมตตาแล้ว จิตใจจะไม่มีความรู้สึกเกลียดชัง มีแต่ความรักใคร่ ชื่นชม

                 ความรักใคร่ชื่นชมนี้ยังแบ่งออกได้เป็นอีก ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นความรักใคร่ชื่นชมที่เป็นเมตตาอโทสะ อีกชนิดหนึ่งเป็นความรักใคร่ชื่นชมด้วย ตัณหาเปมะ เมตตาอโทสะ เป็นความรักใคร่ชื่นชม ปรารถนาดีแท้จริง ไม่มีการยึดถือว่าผู้ที่เราคิดแผ่ความปรารถนาดีรักใคร่ให้นั้นมีความสัมพันธ์อย่างใดกับเรา เช่นเป็น บิดา มารดา บุตร ธิดา ภรรยา สามี ญาติพี่น้อง เพื่อน ผู้ร่วมงาน ร่วมอาชีพ ฯลฯ เมื่อไม่มีการยึดถือ แม้บุคคลเหล่านี้จะย้ายไปไกลห่างจากเรา เราก็ไม่รู้สึกเดือดร้อน คงนึกให้เขาไปอยู่ดีมีสุข ไม่ว่าจะไปอยู่ ณ ที่แห่งใด

                   ส่วนความรักใคร่ที่ประกอบด้วยตัณหาเปมะ เป็นความรักใคร่ชื่นชมที่มีการยึดถือว่าผู้นั้นผู้นี้ที่เรารักใคร่นั้น เป็นผู้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องในฐานะดังนั้นดังนี้กับเราแยกจากกันไปจะรู้สึกไม่สบายใจ เสียใจ สภาวะของจิตที่มีความรักใคร่ชนิดนี้ ไม่ใช่จิตใจที่ประกอบด้วย อโทสะ (ความไม่โกรธ) แต่เป็นจิตใจที่ประกอบด้วยอำนาจของ โลภะเมตตาชนิดประกอบด้วยตัณหาเปมะนี้ จึงไม่ใช่เมตตาบริสุทธิ์เหมือนเมตตาอโทสะกลายเป็นเมตตาเทียมไปเสีย แต่อย่างไรก็ดีแม้จะเป็นเมตตาเทียมก็มีประโยชน์มาก เมื่อปฏิบัติอยู่บ่อย ๆ จะเป็นกำลังอุดหนุนให้ปฏิบัติเมตตาแท้ได้ง่ายขึ้นตัณหาเปมะนี้เป็นสภาพธรรมที่เป็นปฏิปักษ์คือ ขัดกันกับการเจริญสมาธิ ตลอดจนขัดต่อการอบรมจิตให้มีสติ และสัมปชัญญะ ผู้ใดที่มุ่งบำเพ็ญเพียรให้บรรลุโลกุตตรธรรม แล้วจะต้องพยายามกำจัดตัณหาเปมะทิ้งเสีย

                  ในการแผ่เมตตาควรระวังเกี่ยวกับบุคคลต่อไปนี้
                (๑.) คนที่ไม่รัก (ไม่ชอบใจ) คนที่รักมากเป็นพิเศษ คนที่รู้สึกเฉย ๆ ไม่รักไม่ฟังและคนที่ถึงขั้นเป็นศัตรูกัน คนทั้ง ๔ ประเภทนี้ ไม่ควรนึกแผ่เมตตาให้ก่อนบุคคลประเภทอื่น ด้วยมีเหตุผลดังนี้ คือ
                            - คนที่ไม่เป็นที่รัก เมื่อไปนึกถึงก่อน จิตใจของผู้ปฏิบัติจะรู้สึกขุ่นหมองไม่สบายใจ อืดอัดขัดข้อง
                            - คนที่รักมากเป็นพิเศษ เมื่อนำมานึกถึงก่อน หากผู้นั้นกำลังมีความทุกข์ยากลาบากประการใดอยู่ แม้แต่เป็นทุกข์เพียง  เล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้ปฏิบัติจะรู้สึกเป็นทุกข์เดือดร้อนไปด้วยทันที
                            - ถ้าแผ่เมตตาให้คนที่รู้สึกเฉย ๆ ไม่รักไม่เกลียด จิตใจจะไม่เบิกบานไม่มีกำลัง เพราะคนพวกนี้ไม่มีคุณธรรมให้รู้สึกเคารพ  รัก อันเป็นเหตุให้เมตตาจิตเกิด
                            - ถ้าแผ่เมตตาให้แก่คนที่เป็นศัตรูมีเวรต่อกัน โทสะจะเกิดนำหน้าทันทีชมจิตให้เกิดเมตตาได้ยากลำบากยิ่ง

                 (๒.) คนที่มีเพศตรงข้ามกับผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะที่ไม่ใช่ญาติสนิทไม่ควรนึกแผ่เมตตาให้โดยเจาะจงเฉพาะตัว เพราะราคะอาจเกิดขึ้น

                 (๓.) คนที่ตายไปแล้ว การแผ่เมตตาให้คนที่ตายไปแล้ว น่ามาเป็นอารมณ์กรรมฐานไม่ได้ เพราะไม่สามารถทำอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ให้เกิด จึงเป็นการแผ่ที่ไร้ประโยชน์

                 (๔.) คนที่ควรแผ่เมตตาให้ก่อน ถ้าจะให้ดี ควรแผ่ให้แก่ตนเองก่อน เพื่อใช้เป็นสักขีพยานว่า ตนเองปรารถนาความสุข เกลียดชังความทุกข์ ผู้อื่นก็เป็นเช่นเดียวกัน ทั้งการแผ่เมตตาแก่ตนเองก่อนผู้อื่นยังทำจิตใจให้เกิดความแช่มชื่นยินดี ทั้งนี้เพราะ "น จ อตฺต สม เปม ความรักต่อสิ่งอื่น ๆ แม้จะมีมากมายเพียงใด ก็ไม่เหมือนความรักตนเอง"

                   เมื่อนึกถึงตนเองก่อน ความปรารถนาในความสุข กลัวความทุกข์ อยากอยู่สบายอายุยืน ไม่อยากตาย ฯลฯ ย่อมเกิดมีมากขึ้นเป็นพิเศษ ทำให้นึกเปรียบเทียบไปในความรู้สึกของสัตว์ทั้งหลายได้ง่ายว่าย่อมปรารถนาเช่นเดียวกัน ทำให้เมตตาจิตเกิดขึ้นง่าย เกิดแล้วตั้งอยู่ได้มั่นคง เมื่อแผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลายต่อจากตนเองมากเข้า อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิย่อมเกิด

                  (๕.) เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองเป็นสักขีพยานแล้ว บุคคลต่อไปในอันดับที่สอง คือผู้ที่รักใคร่ชอบพอนับถืออย่างธรรมดา เช่นครูอาจารย์ หรือผู้ที่มีคุณธรรมเทียบเท่า ที่ตนเองรัก ชอบใจ เคารพสรรเสริญ ระลึกถึงคุณงามความดีที่ได้รับจากบุคคลเหล่านั้น เช่นการที่ท่านให้ทานทั้งวิทยาทาน อามิสทาน ธรรมทานแก่ตน ตลอดจนปิยวาจาที่เคยได้รับมาต่าง ๆ

                  (๖.) อันดับที่สาม จึงถึงในบุคคลที่รักยิ่ง เช่นบิดามารดา บุตรธิดา สามีภรรยาตามลําดับความรัก

                  (๗.) อันดับที่สี่ แผ่เมตตาไปในบุคคลที่ไม่รู้สึกรักหรือยัง รู้สึกเฉย ๆ เป็นกลาง ๆ

                  (๘.) อันดับที่ห้า แผ่เมตตาไปในคนที่มีเวรต่อกัน

                  (๙.) เมื่อใดเมตตาจิตของผู้ปฏิบัติเกิดมีเท่าเทียมกันในบุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ ตัวเอง คนที่ตนรัก คนที่ตนรู้สึกเฉย ๆ และคนที่โกรธกัน ดังนี้แล้ว เรียกว่าเจริญภาวนาจนเป็นสีมส้มเภทเมตตา

                  (๑๐.) เมื่อเป็นสีมส้มเภทเมตตาแล้ว ให้แผ่เมตตาออกไปเป็น ๓ สถาน คือ แผ่ไม่เฉพาะ แผ่เฉพาะ และแผ่ทั่วทิศทั้ง ๑๐
                           แผ่ไม่เฉพาะ ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่ยังข้องอยู่ในอุปาทานขันธ์ด้วยกัน สัตว์ในภพต่าง ๆ ฯลฯ
                           แผ่เฉพาะ ได้แก่หญิงทั้งหลาย ชายทั้งหลาย พระอริยเจ้าทั้งปวง เทวดาทั้งหลาย ฯลฯ
                    แผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐


                          วิธีแผ่เมตตาแก่ตน และคนอื่น
                   การแผ่เมตตาแก่ตน มี ๔ ประการ เวลาคิดแต่จะใช้เพียงประการใดประการหนึ่งก็ได้
                   (๑.) อหํ อเวโร โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีศัตรู (ทั้งภายในและภายนอก)
                   (๒) อหํ อพฺยาปชฺโช โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความพยาบาท (วิตกกังวลเศร้าโศก)
                   (๓) อหํ อนีโฆ โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความลำบากกายลำบากใจ (พ้นจากอุปัทวเหตุ)
                   (๔.) อหํ สุขี อตฺตานํ ปริหราม ขอข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

                    การแผ่เมตตาให้ผู้อื่น มี ๔ ประการเช่นเดียวกัน (ในวงเล็บใช้สำหรับหลายคน)
                    (๑.) อเวโร (อเวร) โหตุ (โหนตุ
                    (๒.) อพยาปชโช (อพยาปชชา) โหตุ (โหนตุ)
                    (๓.) อนีโฆ (อนมา) โหตุ (โหนตุ
                    (๔) สุขี อัตตาน ปริหรา (ปริหาน )

                    ผู้อื่นที่ต้องนึกแผ่ให้คือ ผู้ที่ในขณะปัจจุบันรู้จักกัน ชอบพอกัน ทำงานร่วมกันอยู่ด้วยกัน แล้วนึกแผ่ให้คนประเภทเดียวกันนี้ที่เคยรู้จักเมื่อเดือนที่แล้ว ปีที่แล้ว สิบปี ห้าสิบปีที่แล้ว ฯลฯ ตามแต่จะนึกได้ จนกระทั่งสัตว์เดรัจฉานก็ไม่เว้น หมดแล้วนึกแผ่กลับทวนมาหาในปัจจุบันอีก กลับไปกลับมาเรื่อย ๆ เหมือนการพิจารณา ๓๒ โกฏฐาส

                 อนึ่งคนเหล่านี้ย่อมมีทั้งที รักธรรมดา รักมากอย่างยิ่ง ไม่รักไม่เกลียด และที่เกลียดชัง การแผ่ก็ต้องเป็นไปตามลำดับที่กล่าวไว้แล้ว

                     อย่างไรก็ดีมีปัญหาประการหนึ่ง คือการแผ่เมตตาให้แก่คนที่มีเวรต่อกัน มักจะกระทําได้ไม่ง่ายนัก จิตตั้งเมตตาลงมีใครได้ มักจะเกิดความเคียดแค้นมาแทนที่ ถ้าเป็นเช่นนี้ต้องใช้วิธีแก้ไขดังนี้
                            - หวนกลับไปแผ่เมตตาให้คนเป็นที่รักโดยปกติ มีครูอาจารย์ เป็นต้นอีกครั้ง แล้วจึงแผ่ไปในคนมีเวรต่อกันใหม่อีกหน ถ้ายังกระทำไม่ได้ จิตยังมีโทสะเกิดอยู่ให้กระทำดังนี้ต่อคือ
                       - กล่าวตักเตือนสั่งสอนตนเองว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่าหากมีมหาโจรใจร้ายเอาเลื่อยอันคมกล้ามาตัดอวัยวะใหญ่น้อยของผู้ใด แล้วผู้นั้นมีใจโกรธเคืองโจรนั้น ชื่อว่าไม่กระทำตามคำสอนของพระองค์ หรือ ใครก็ตามโกรธเคืองเราก่อน แล้วเราไปโกรธตอบ คนโกรธตอบทีหลังนี้เลวกว่าคนแรก หรือ เมื่อมีใครโกรธเคืองเราเราจงสู้อดทนไม่โกรธตอบ ได้ชื่อว่ามีชัยชนะอันใหญ่หลวงในสงคราม ยากที่ใครจะกระทำได้ คนที่ไม่โกรธตอบ เป็นผู้ประพฤติทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน คนไม่โกรธมีใจเยือกเย็น ไม่เดือดร้อน พลุ่งพล่านระส่ำระสาย มีความสบายกายใจ เป็นที่สรรเสริญของนักปราชญ์ผู้มีปัญญา เป็นที่รักใคร่ของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย มีโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นน้อย ผิวพรรณผุดผ่อง ไม่แก่เร็ว จะตายอย่างมีสติ ตายแล้วย่อมไปสวรรค์ ที่กล่าวนี้เป็นประโยชน์ตน ส่วนประโยชน์ผู้อื่น คือ เมื่อไม่โกรธตอบ คนที่โกรธก่อนจะโกรธไปได้ไม่นาน จะคลายหายโกรธลง จิตใจของเขาย่อมสบายขึ้น

                     เมื่อกล่าวสอนตนเองมากมายดังกล่าวแล้ว ยังไม่หายแค้นเคืองอยู่ให้กระทำต่อ คือ
                            - สั่งสอนตนเองเพิ่มเติมต่อไป ว่า พระพุทธองค์ตรัสพระธรรมเทศนาไว้ว่า ฉวาลาด อุภโตปทิตต์ หุ้นพื้นที่ใช้เผาซากศพ ปลายสองข้างมีไฟลุกไหม้อยู่ ตรงกลางเปื้อนอุจจาระ ย่อมไม่มีใครกล้าหยิบจับ เป็นพื้นที่ไม่ทำประโยชน์ให้แก่ใครทั้งในบ้านนอกบ้าน ได้แต่เป็นของสำหรับถูกทอดทิ้ง ใครที่โกรธตอบคนอื่นก็เป็นคนไม่มีคุณค่าเหมือนฟืนดุ้นนั้น ถ้าสอนดังนี้ยังไม่หายโกรธอีก ให้
                            - พิจารณานึกถึงพระจริยาวัตรของพระพุทธองค์เมื่อสมัยในพระชาติก่อน ๆ ที่ทรงอดกลั้นไม่โกรธตอบ เช่นในพระชาติที่เป็นพระยาสีลวราช ทรงมีศีลบริสุทธิ์ปัจจามิตรจับพระองค์และอำมาตย์ไปฝังดินไว้เพียงคอในป่าช้าผีดิบ เพื่อให้สัตว์ร้ายมากัดกินเสียทั้งเป็น พระองค์ ไม่ทรงคิดโกรธตอบ เมื่อช่วยตนเองและบริวารได้โดยเอาคางกดทับสุนัขจิ้งจอกที่จะมากัดไว้ สุนัขนั้นจึงตะกุยตะกายดินดิ้นรนขุดดินขึ้นมาจนพระองค์ขึ้นจากหลุมที่ฝังไว้ได้ ยังให้อภัยแก่ศัตรูและเป็นมิตรด้วย

                     พระชาติที่เป็นอันติวาทีดาบส พระยากลาปุราช ให้เฆี่ยนตี ตัดมือ ดัดเท้า กระทืบอก เพื่อดูความอดทนตามคำที่สอน จนสิ้นชีวิต ก็ไม่คิดโกรธตอบคงอวยชัยให้พรจนตาย

                     พระชาติที่เป็นจุฬธรรมบาลราชกุมาร ถูกพระบิดามีรับสั่งให้ประหารชีวิต ก็ไม่ทรงโกรธเคืองทั้งพระบิดา และนายเพชฌฆาต

                    พระชาติที่เป็นพระยาช้างฉัททันต์ ถูกนายพรานยิ่งด้วยลูกศรอาบยาพิษ ยังยินดีให้เลื่อยเอางาที่มีรัศมี ๖ ประการ ไปโดยไม่โกรธ ไม่ทำร้ายตอบ

                  พระชาติที่เป็นพระยาวานร ช่วยบุรุษคนหนึ่งขึ้นจากหุบเขา บุรุษนั้นกลับเอาก้อนหินทุบศีรษะเพื่อจะเอาเนื้อไปเป็นเสบียง ก็ไม่โกรธตอบ

                       พระชาติที่เป็นพญานาค พระยาภูริทัตนาคราช ไม่โกรธหมองูที่ชื่ออาลัมภายทรมานให้ล่าบากต่างๆ

                     พระชาติ เป็นพระยาสังขบาลนาคราช กษาศีลอยู่บนจอมปลวก ถูกบุตรนายพราน ๑๖ คน ใช้อาวุธแทงตัวถึง 4 แห่งเพื่อเอาไม้สอดเป็นคานหาม ทั้งยังเอาเชือกร้อยจมูกหิ้ว ก็ไม่คิดโกรธ

                     พิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนไปมาอยู่ดังนี้ ปราบพยศในจิตใจตน โทสะก็จะบรรเทาเบาบางจนสามารถแผ่เมตตาให้คนมีเวรต่อกันได้ หากยังไม่หมดสิ้นจริง ๆ คงต้องพิจารณาต่อไปด้วยคําสั่งสอน
                            - ตักเตือนตนเองอีกว่า การที่มีโทสะนั้นเป็นเหตุนำเราไปสู่อบายภูมิ การที่เราต้องไปอบายภูมิไม่ใช่คนมีเวรทำให้เรา เราทำตัวของเราเองโดยอำนาจความโกรธนั่นต่างหาก ทั้งพระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า คนที่จะไม่เคยเป็นมารดาบิดา พี่น้อง บุตรธิดากันในโลกนี้ไม่มี ฉะนั้นคนที่มีเวรกับเรานี้ ชาติใดชาติหนึ่งในอดีตคงจะได้เกี่ยวข้องเป็นญาติกับเรามาแล้ว ไม่ควรถือโทษโกรธเคืองกันเลย แล้วแผ่เมตตาต่อไป

                      เมื่อพยายามตามแก้ด้วยวิธีต่าง ๆ ไม่ได้ผลจริง ๆ จงหยุดแผ่เมตตาในเวรีบุคคลเหล่านั้นเสีย วางใจเฉยเป็นอารัมมณูเบกขา คิดเสียว่าเขาไม่ได้อยู่ร่วมกับเราในโลกนี้แล้ว พร้อมกับปลีกตัวไม่ให้พบเห็น ไม่ให้เกี่ยวข้อง หันกลับไปแผ่เมตตาให้ปุ๋ยบุคคล (คนที่ทั้งรักธรรมดา และรักมาก) และในมัชฌัตตบุคคล (คนที่ไม่รักไม่ฟัง) ทั่วไป

                      การที่ต้องพยายามแผ่เมตตาไปในเวรีบุคคล เพราะถ้าทำได้จะเป็นการช่วยให้เมตตานั้นเข้าถึงขั้น สมส้มเภท อันหมายถึง การทำลายขอบเขตของเมตตา ให้เป็นเมตตาที่มีอำนาจกว้างขวางเสมอกันในบุคคลทุกจำพวก สำเร็จเป็นสมจิตตตา มีเมตตาจิตสม่ำเสมอทั่วไป ไม่มีอุปสรรคใด ๆ ขัดขวาง ทำให้เกิดฌานเร็วขึ้น และตั้งมั่นไม่เสื่อมหาย

                      การที่ใช้วิธีแผ่เมตตาให้คนที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ก่อน เพราะจะทำให้เมตตาเกิดได้ง่าย แต่เป็นการกระทำที่ยากลำบากต่อผู้ปฏิบัติอยู่บ้าง เพราะจะต้องระลึกถึงให้เห็นด้วยใจตนแล้วจึงแผ่ไป ไม่ใช่แบบบริกรรมท่องจำ จิตใจของผู้ปฏิบัติจึงจำต้องประกอบด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (อันเป็นอินทรีย์ ๕) จึงจะกระทำได้สำเร็จ

                      เมื่อสําเร็จเป็นสัมสัมเภทเมตตาดีแล้ว จึงใช้วิธีแผ่ตามแบบบริกรรมท่องจําโดยส่วนรวมการแผ่ทั่วไปแบบนี้ แผ่ให้แก่บุคคล ๑๒ จำพวก เป็น อโนทิสบุคคล (ทั่วไปไม่เจาะจง) ๕ จำพวก และโอทิสบุคคล (เจาะจง) อีก ๗ จำพวก
                      อโนทิสบุคคล ๕ จ่าพวก ได้แก่
                       ๑. สพเพ สดตา                           สัตว์ทั้งหลาย
                       ๒. สัพเพ ปาณา                          สัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลาย
                       ๓. สพเพ ภูตา                             สัตว์ที่ปรากฎชัดทั้งหลาย
                       ๔. สพเพ ปุคคลา                         บุคคลทั้งหลาย
                       ๕. สัพเพ อตฺตภาวปริยาปนนา       สัตว์ที่มีอัตตภาพทั้งหลาย

                       โอทิสบุคคล ๗ จ่าพวก ได้แก่
                       ๑. สัพเพ อิตถิโย            หญิงทั้งหลาย
                       ๒. สพฺเพ ปุริสา              ชายทั้งหลาย
                       ๓. สพเพ อริยา              พระอริยบุคคลทั้งหลาย
                       ๔. สพเพ อนริยา            ปุถุชนทั้งหลาย
                       ๕. สพฺเพ เทวา              เทวดาทั้งหลาย
                       ๖. สพฺเพ มนุสสา           มนุษย์ทั้งหลาย
                       ๗. สัพเพ วินิปาติก         พวกวินิปาติกอสุราทั้งหลาย

                      การแผ่เมตตาตามแบบบริกรรมท่องจำนี้ใช้ภาษาบาลีเหมาะสมกว่าภาษาไทยเพราะถ้อยคำสละสลวยคล้องจอง และเข้าใจเนื้อความไม่ยาก ส่วนมากเป็นคำที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เริ่มต้นแผ่พวกที่ ๑. สัพเพ สัตตา อเวรา โหนตุ อพยาปัชชา โหนตุ อนีฆา โหนตุ สุข อตฺตานํ ปริหรนตุ รวมแผ่ ๔ ชนิด การแผ่พวกต่อ ๆ ไป ๒,๓,๔,๕. จนถึงพวกที่ ๑๒ ใช้ถ้อยค่าอย่างเดียวกัน เปลี่ยนเพียงค่าน่าหน้าไปตามชื่อที่ต้องการ เรียงลำดับกันไป เป็นอโนทิสผรณาเมตตา ๒๐ โอ สผรณาเมตตา ๒๘ รวม ๔๘ เรียกว่าบุคคลวาร วณาเมตตา

                      ต่อจากนั้น เมื่อจะแผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ ให้ออกชื่อทิศก่อนและบริกรรมเป็นพวก ๆ ตามเดิมครบ ๑๐ ทิศ จึงเท่ากับแผ่เมตตาไปจํานวน ๔๘๐ เรียกว่า สาผรณาเมตตา ทิศทั้ง ๑๐ คือ
                       ๑. ปุรตมาย ที่สาย               ทิศตะวันออก
                       ๒. ปจฉิมาย ทิสาย              ทิศตะวันตก
                       ๓. อุตตราย ทิสาย               ทิศเหนือ
                       ๔. ทท ณาย สาย                ทิศใต้
                       ๕. ปุรต มาย อนุทิสาย         ทิศตะวันออกเฉียงใต้
                       ๖. ปจฺฉิมาย อนุทิสาย          ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
                       ๗. อุตตราย อนุทิสาย          ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
                       ๘. ทกขิณาย อนุทิสาย        ทิศตะวันตกเฉียงใต้
                       ๙. เหฏฐิมาย ทิสาย             ทิศเบื้องล่าง
                       ๑๐. อุปริมาย ทิสาย             ทิศเบื้องบน

                      ในขณะที่เริ่มแผ่เมตตาให้ตนเองเป็นคนแรกเรื่อยไปจนถึงเวรีบุคคล เรียกว่าเป็นบริกรรมนิมิต เมื่อบริกรรมในใจด้วยถ้อยคำว่า อเวโร โหมิ หรือ อเวโร โหตุ หรือ อเวราโหนตุ ฯลฯ เป็นต้นไปใน อัตตะ ปิยะ มัชฌัตตะ เวรีบุคคล ทั้งหมดอยู่นั้น เรียกว่าบริกรรมภาวนา

                      ต่อจากนั้นเมื่อมีเมตตาจิตเกิดขึ้นทั่วไปในบุคคลเหล่านั้น แต่ยังไม่ถึงขั้น สีมสัมเภทเรียกว่า อุคคหนิมิต เมื่อสำเร็จเป็นสัมสัมนาทแล้ว เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต การแผ่เมตตาในระหว่างอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต เรียกว่า อุปจารภาวนา (อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นนี้ เรียกโดยนัยอ้อม)
                      เมื่อรูปฌานเกิด เรียกว่า อัปปนาภาวนา
                      อานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการแผ่เมตตามี ๑๑ ประการ คือ
                      ๑. สุขํ สุปติ                               นอนหลับสบายคล้ายเข้าสมาบัติ
                      ๒. สุขํ ปฏิพุชฺฌติ                       เมื่อตื่นก็สบายคล้ายออกจากสมาบัติ
                      ๓. น ปาปกํ สุปินํ ปสฺสติ              ไม่ฝันเห็นสิ่งชั่ว และเรื่องที่น่าเกลียดน่ากลัว ฝันแต่สิ่งที่ดีน่าปลื้มใจ
                      ๔. มนุสสานํ ปิโย โหติ                เป็นที่รักของคนทั้งหลาย
                      ๕. อมนุสสฺสานํ ปิโย โหติ            เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย มีเทวดา เป็นต้น
                      ๖. เทวดา รกฺขนฺติ                       เทวดาย่อมรักษา
                      ๗. นาสส อคติ วา วิส วา             ไฟหรือยาพิษหรือศาสตราวุธต่างๆ ทำร้ายไม่ได้
                           สตฺถํ วา กมติ
                      ๘. ตุวฎํ จิตตํ สมาธิยติ                มีจิตใจสงบได้เร็ว
                      ๙. มุขวณฺโณ วิปฺปสีทติ               มีหน้าตาผ่องใส
                      ๑๐. อสมฺมุฬโห กาลํ กโรติ          เมื่อเวลาตายจิตใจไม่ฟันเฟือน
                      ๑๑. อุตตฺรี มปฺปฏิวิชฺฌนฺโต โหติ  แม้ว่ายังไม่ได้บรรลุมรรคผล อันประเสริฐในภพนี้ก็ตาม ถ้าได้รูปฌาน ก็จักไปบังเกิดในพรหมโลก พรหมโลกปุโก โหติ

                     สิ่งที่ควรรู้ในการเจริญเมตตา มีอยู่ 4 ประการ คือ
                    (๑) เครื่องหมาย (ลักษณะ) ของเมตตา คือจะเป็นผู้มีลักษณะความเป็นไปทางกาย วาจา ใจ พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้สัตว์ทั้งหลาย
                    (๒) หน้าที่ (รส) ของเมตตา คือ น่าประโยชน์มาให้แก่สัตว์ทั้งหลายอย่างใกล้ชิด
                    (๓) อาการที่ปรากฏออกมา (ปัจจุปัฏฐาน) คือ การบำบัดความแค้นเคือง
                    (๔.) เหตุใกล้ (ปทัฏฐาน) ผู้แผ่เมตตาจะได้รับผลที่เห็นใกล้โดยง่าย ๆ ชัดเจนคือการพิจารณาเห็นแต่ความดีงามที่น่าพึงพอใจในสัตว์ทั้งหลาย (มองโลกในแง่ดี) ไม่มีการนึกถึงสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม
                    (๕) ความสมบูรณ์ (สัมมัตติ) การได้ผลสมบูรณ์เต็มที่ของการแผ่เมตตา คือการสงบความพยาบาทลงได้เป็นเวลานาน
                    (๖) ความเสียหาย (วิปัตติ) สิ่งที่ท่าให้เมตตาเกิดความเสียหายได้คือ ตัณหาที่เกิดขึ้นอย่างเหนียวแน่น
                    (๗.) ข้าศึกใกล้ (อาสันนปัจจัตถิกะ) สิ่งที่สามารถเป็นข้าศึกโดยง่าย คือเกิดได้ใกล้ชิดของเมตตา ได้แก่ ราคะ (เกิดได้ง่าย เรียกว่าใกล้ชิด)
                    (๘.) ข้าศึกไกล (ทูรปัจจัตถิกะ) สิ่งที่เป็นข้าศึกตรงข้าม คืออยู่ไกล ไม่เกิดได้ง่ายขณะแผ่เมตตาคือความพยาบาท

                   ในข้อที่ว่า การเจริญกรรมฐานโดยการแผ่เมตตานั้น มีราคะ เป็นข้าศึกใกล้ ทั้งนี้เป็นเพราะการแผ่เมตตา ผู้ปฏิบัติมักจะมองเห็นแต่ส่วนดีงามของคนที่ตนระลึกแผ่เมตตาให้เมื่อนึกถึงแต่ส่วนที่แล้ว ความพอใจย่อมเกิด ความพึงพอใจต่อผู้ใดนั้น หากมีปัญญาและสติเป็นสิ่งควบคุมอยู่โดยสม่ำเสมอ อกุศลธรรมคือราคะ ย่อมไม่มีหนทางเกิด ถ้าขาดสติและปัญญาลงเมื่อใด ความพอใจจะชักจูงจิตใจให้รักใคร่ยินดีไปในทางกามคุณได้โดยง่าย (โดยเฉพาะในเพศตรงข้าม) ผู้เจริญเมตตาจึงพึงระวังเรื่องนี้จงดี

 

                   ๒. กรุณา ความหวั่นใจเมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องทุกข์นั้น หรือ ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ หมายความว่า เมื่อเห็นสัตว์ทั้งหลายได้รับความลำบาก จิตใจของสัปปุรุษย่อมเกิดความหวั่นไหว นั่งดูอยู่ไม่ได้ ย่อมพยายามช่วยผู้ที่ได้รับความลำบากให้ได้รับความสุขกรุณามีอยู่ ๒ อย่างคือ กรุณาแท้ และกรุณาเทียม
                  กรุณาแท้ หมายถึงแม้จะสงสารต่อสัตว์ที่ได้รับความลำบากอยู่มากมายเพียงใดทั้งพยายามช่วยเหลือยู่แล้วโดยเต็มความสามารถ จิตใจในขณะนั้นมีแต่ความแช่มชื่นผ่องใส จิตเป็นมหากุศล ไม่มีความเศร้าโศก เดือดร้อน ขุ่นหมองใจใด ๆ ดังนี้เป็นกรุณาอัปปมัญญาแท้
                  กรุณาเทียม หมายถึงเมื่อเกิดความสงสารและเข้าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากเหล่านั้นอยู่ กลับมีความทุกข์โศกเดือดร้อนฯขุ่นมัวเศร้าหมองไปกับผู้ที่ตนช่วยเหลือนั้นด้วย จิตใจจึงมีโทสะและโทมนัสเวทนา

                  การเจริญกรุณากรรมฐานนี้ ผู้ปฏิบัติต้องทำการแผ่กรุณาแท้ กรุณาเทียมใช้ไม่ได้การแผ่ต้องแผ่ไปในสัตว์ที่กำลังได้รับความทุกข์ (ทุกข์ตสัตว์) เป็นความทุกข์ที่เกิดจากความพินาศ (พยสนะ) ๕ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในปัจจุบัน หรือที่จะต้องรับทุกข์นั้นในกาลข้างหน้าอันเป็นทุกข์ที่เห็นได้ง่าย ส่วนทุกข์ที่เห็นได้ยากคือ วัฏฏทุกข์ (มีชาติทุกข์ชราทุกข์ มรณทุกข์) สัตว์ทั้งหลายล้วนต้องเผชิญอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ที่ได้รับความทุกข์ชนิดใด ทุกข์จากความพินาศในทรัพย์ ยศ หมู่ญาติมิตร สุขภาพพลานามัยและ คุณธรรมความดี หรือทุกข์จากวัฏฏะก็ตาม แล้วนำมาเป็นอารมณ์ในการเจริญกรรมฐานชนิดนี้ได้ทั้งสิ้น แม้แต่สัตว์ที่เคยได้รับทุกข์มาแต่อดีต สัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิก็นำมาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้

                   การแผ่กรุณาอัปปมัญญา ต้องแผ่ตามลำดับต่อไปนี้ คือ
                   ๑. แผ่ให้ตนเองก่อน
                   ๒. แผ่ให้แก่ผู้ที่เป็นมัชฌัตตบุคคล คือรู้สึกเฉย ๆ เป็นกลาง ๆ ไม่รักไม่ฟัง
                   ๓. แผ่ให้ผู้ที่เป็นที่รัก
                   ๔. แผ่ให้เวรีบุคคล
                 เหตุที่ไม่ควรแผ่ให้ผู้เป็นที่รักก่อน เพราะถ้าทำดังนี้ จิตใจของผู้แผ่จะพลอยทุกข์ร้อนไปกับผู้เป็นที่รักของตน จะเกิดแต่กรุณาเทียม ไม่ใช่กรุณาแท้
                ถ้าแผ่ให้เวรีบุคคลก่อน จิตใจอาจไม่มีความกรุณาสงสารเกิดขึ้น กลับเกิดความดีใจที่ศัตรูได้รับความเดือดร้อน เจริญกรุณากรรมฐานไม่สำเร็จ

                   วิธีเจริญกรุณาอัปปมัญญา คงเป็นไปในทำนองเดียวกับการเจริญเมตตาอัปปมัญญา
                            แผ่ไปในตนเอง ใช้คำว่า อห์ ทุกขา มุจจามิ ข้าพเจ้าจงพ้นจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ
                            แผ่ไปในบุคคลอื่นคนเดียว ทุกขา มุจจตุ ขอท่านจงพ้นจากความทุกข์กายทุกข์ใจ
                            แผ่ให้เกินกว่าสองคนขึ้นไปใช้ ทุกขา มุจจนตุ ขอท่านทั้งหลายจงพ้นจากทุกข์กาย ทุกข์ใจ
                   นอกจากนั้น วิธีแผ่ให้บุคคลทั้ง ๑๒ จำพวก (อโนทิสบุคคล ๕ โอทิสบุคคล ๗) และแผ่ในทิศทั้ง ๑๐ คงปฏิบัติแบบเดียวกันกับวิธีแผ่เมตตาอัปปมัญญา เปลี่ยนแต่ถ้อยคำที่ใช้เป็น ทุกฺขา มุจฺจตุ หรือ ทุกฺขา มุจฺจนฺตุ
                   ผลการปฏิบัติ คือการได้ นิมิต ๓ ภาวนา ๓ อานิสงส์ ๑๑ เช่นเดียวกับเมตตา

                   ส่วนสิ่งที่ควรทราบ ๘ ประการ มีดังนี้
                   ๑. เครื่องหมายของผู้มีความกรุณา คือผู้นั้นจะมีความเป็นไปทางกาย วาจา ใจ มีลักษณะเพื่อบำบัดทุกข์ของผู้อื่นให้สิ้นไป
                   ๒. ความกรุณานั้นมีการอดกลั้นนิ่งดูดายอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ร้อนของผู้อื่น เมื่อรู้เห็นเข้าก็ปรารถนาช่วยเหลือ เป็นกิจเป็นหน้าที่
                   ๓. มีการไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติ
                   ๔. มีการพิจารณาเห็นบุคคลที่ตกอยู่ในความทุกข์ไร้ที่พึ่ง เป็นเหตุใกล้
                   ๕. การได้ผลสมบูรณ์ของการแผ่ความกรุณา คือมีโทสะสงบไม่ปรารถนาเบียดเบียนสัตว์
                   ๖. ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น คือ อาจมีความเศร้าโศก ต้องพึงระวัง
                   ๗. มีความเสียใจ อันเนื่องกับกามคุณอารมณ์เป็นศัตรูใกล้ชิด
                  ๘. สิ่งที่ตรงข้าม เกิดได้ยากเป็นศัตรูไกล คือความเบียดเบียนสัตว์

 

                  ๓. มุทิตา หมายความว่า ความพลอยยินดีรื่นเริงบันเทิงใจในความสุขสมบูรณ์ของผู้อื่น จิตใจของผู้มีมุทิตาจิต จะถือเอาสัตว์ที่มีความสุข (สุขิตสัตว์) เป็นอารมณ์
                   มุทิตามีชนิดแท้ และเทียม เช่นเดียวกัน
                  มุทิตาแท้นั้น แม้จะพลอยยินดีมีความสุขกับผู้ที่ได้รับความสุขด้วยก็จริง แต่ไม่มีการยึดถือ หรือคิดอยากโอ้อวดต่อผู้อื่นแต่อย่างใด มีแต่ความเบิกบานแจ่มใสเป็นมหากุศลจิต
                  มุทิตาเทียมนั้น การพลอยยินดีปรีดาซ่อนความยึดถือเกี่ยวกับการอยากได้ดี ได้หน้าได้ตา ฯลฯ เอาไว้เบื้องหลัง จิตไม่เป็นมหากุศล แต่เป็นด้วยอำนาจโลภะ มุทิตาเทียมส่วนมากเกิดขึ้นในกรณีที่เห็นบิดามารดา ญาติพี่น้อง บุตรธิดา มิตรสหายได้ดีมีสุข ย่อมยึดว่าผู้นั้นมีความสัมพันธ์ดังนั้นดังนี้กับตน ได้หน้าตาและได้ประโยชน์ร่วมด้วย

                  การเจริญมุทิตากรรมฐาน ต้องใช้มุทิตาแท้ และแผ่ไปในสัตว์ที่เป็นสุขิตสัตว์ทั้งที่กำลังมีความสุขอยู่หรือที่จะมีในเวลาข้างหน้าหรือแม้ผู้ที่เคยมีสุขมาในอดีตก็ได้
                  การแผ่มุทิตาไปตามลำดับดังนี้
                  ๑. ตนเองก่อน
                  ๒. ผู้เป็นที่รักยิ่ง (อติปิยบุคคล)
                  ๓. ผู้เป็นที่รัก (ปิยบุคคล)
                  ๔. เป็นมัชฌัตตบุคคล
                  ๕. เป็นเวรีบุคคล

                  บุคคลทั้ง ๕ ประเภทเหล่านี้ สาเหตุที่เมื่อแผ่มุทิตาให้ตนเองเสร็จแล้ว ให้แผ่ให้กับผู้ที่ตนรักมากก่อนผู้ที่รักธรรมดา เพราะการนึกถึงคนที่รักมากนั้นมุทิตาเทียมเกิดขึ้นได้ง่าย มุทิตาแท้ก็เกิดได้ง่ายกับบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งเช่นเดียวกัน จากนั้นจึงแผ่ไปตามลำดับ กระทำดังนี้เรื่อยไปจนสำเร็จถึงขั้น สีมส้มเภท เช่นเดียวกับการเจริญเมตตา ส่วนการหักห้ามมิให้เกิด โทสะ อิสสา เกิดขึ้นขณะเมื่อแผ่ไปยังเวรีบุคคล คงปฏิบัติตามแนวของการแผ่เมตตา คือพยายามสั่งสอนตักเตือนตนเองด้วยอุบายวิธีต่าง ๆ จากนั้นจึงใช้วิธีแผ่แบบบริกรรมท่องจำไปโดยส่วนรวม ไม่เจาะจง ๕ เจาะจง ๗ และแผ่ไปตามทิศทั้ง ๑๐ ในทำนองเดียวกัน

                  ถ้อยคำที่ใช้ คือ แผ่แก่ตนใช้ อห์ ยถาลทธสมปฤติโต มา วิคจฺฉามิ ขอข้าพเจ้าอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ แผ่แก่ผู้อื่นคนเดียวใช้ ยถาลทธสมฺปตฺติโตมา วิคจฺฉตุ ขอท่านอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ ถ้าแผ่ให้ตั้งแต่สองคนขึ้นไปใช้ ยถาลทูธ สมฺปตฺติโต มา วิคจฉันตุ ขอท่านทั้งหลายอย่าได้สูญสิ้นจากความสุขความเจริญที่มีอยู่ โดยใช้คำนำหน้าว่า สพฺเพ สัตตา ทำนองเดียวกัน เวลาแผ่ในทิศทั้งให้เอ่ยชื่อทิศนำหน้าก่อน สพฺเพ สตฺตา

                  เมื่อปฏิบัติได้รับผลดี คงเกิดนิมิต ๓ ภาวนา ๓ อานิสงส์ ๑๑ ส่วนสิ่งที่ควรรู้ ๘ประการ มีดังนี้
                  ๑. การแผ่มุทิตา จะมีการบันเทิงใจพลอยยินดี ในคุณงามความดี ทรัพย์ บริวารความสุขของผู้อื่น เป็นลักษณะ
                  ๒. มีการไม่อิจฉาริษยาในคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่นเป็นกิจเป็นหน้าที่
                  ๓. มีการพิฆาตทำลายความริษยา เป็นอาการปรากฏแก่ผู้ปฏิบัติ
                  ๔. มีการรู้เห็นความเจริญด้วยคุณความดี ทรัพย์ บริวาร ความสุขของผู้อื่น เป็นเหตุใกล้
                  ๕. มีการสงบจากความไม่พอใจในสมบัติของผู้อื่น เป็นความสมบูรณ์ของการแผ่มุทิตา
                  ๖. ความเสียหายของมุทิตา คืออาจเกิดความสนุกสนานรื่นเริงในทำนองโอ้อวดการวางท่าข่ม
                  ๗. ศัตรูที่เกิดได้ง่าย (ใกล้) คือความดีใจที่เนื่องด้วยกามคุณอารมณ์
                  ๘. ศัตรูไกล (คือสิ่งที่เกิดได้ยากขณะแผ่มุทิตา) คือ ความไม่ยินดี ไม่สบายใจในความเจริญของผู้อื่น


                  ๔. อุเบกขา หมายความว่า การมีใจวางเฉยในสัตว์ทั้งหลาย ไม่มีอาการของเมตตา กรุณา มุทิตา คือไม่น้อมไปในความปรารถนาดี ไม่น้อมไปในการบำบัดทุกข์ ไม่น้อมไปในการชื่นชมยินดีในความสุขความเจริญของเหล่าสัตว์แต่อย่างใดทั้งสิ้น

                  อุเบกขา จึงเป็นธรรมชาติที่พิจารณาสัตว์ทั้งหลายด้วยความรู้สึกกลางๆ พอประมาณไม่รัก ไม่ชัง เป็นการสละความวุ่นวายเกี่ยวกับเรื่อง เมตตา กรุณา มุทิตา ลงเสีย ผู้เจริญอุเบกขา ภาวนา จะมีมัชฌัตตสัตว์ เป็นอารมณ์

                มัชฌัตตบุคคล (คนที่เรารู้สึกไม่รักไม่ชัง) มีอยู่ ๒ ประเภท คือ
                ประเภทธรรมดา คือที่เรารู้จักกันได้โดยทั่วไป ใครที่ไม่ได้มาทำความดีความชั่วอันใดให้ เราย่อมรู้สึกเฉย ๆ ไม่รักไม่ชังเขาเหล่านั้น
                ประเภทที่เกิดจากอำนาจภาวนาสมาธิ พวกนี้เป็นทั้งอติปิยบุคคล ปิยบุคคล เวรีบุคคลทั้งที่กำลังสุข หรือกำลังทุกข์ เมื่อเจริญภาวนาจนได้รับผลเป็นอุเบกขานั้น จะรู้สึกวางเฉยต่อบุคคลที่กล่าวแล้วทั้งหมดโดยเท่าเทียมกัน ไม่รักพอใจหรือเกลียดชังไม่ว่าจะเป็นบุคคลประเภทใด

                 การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายมีเป็น ๒ แบบ คือ เป็นแบบโมหะ และแบบอุเบกขาแท้

                 อุเบกขาที่เป็นโมหะ คือ การวางเฉยที่ปราศจากปัญญา เมื่อประสบกับสิ่งที่น่ารักไม่รู้จักรัก พบกับสิ่งที่น่าขวนขวายน่าอยากได้ ก็ไม่มีการขวนขวายพยายามจะแสวงหาพบสิ่งที่น่าเคารพเลื่อมใสก็ไม่เคารพเลื่อมใส พบสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว ก็ไม่รู้จักเกลียดกลัว พบสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุง หรือสนับสนุนส่งเสริม ก็ไม่คิดกระทำ นิ่งเฉยเสีย
                 อุเบกขาที่ขาดปัญญาดังนี้เป็นอุเบกขาเทียม หรือ อาณอุเบกขา อุเบกขาแท้ เป็นความวางเฉยที่ประกอบด้วยปัญญา เพียงแต่มีจิตใจสม่ำเสมอไปในสัตว์ทั้งหลายไม่เกี่ยวข้องกับเมตตา กรุณา และมุทิตา การเจริญกรรมฐานวิธีนี้ ต้องใช้แต่อุเบกขาแท้เท่านั้น

                 อย่างไรก็ดีอุเบกขาแท้นี้ยังไม่ประเสริฐเท่าอุเบกขาบารมี ซึ่งหมายถึงการวางเฉยทั้งในบุคคลที่กระทำดีและไม่ดีต่อตน ไม่ยินดียินร้ายด้วย ไม่ว่าใครจะกระทำดีกับตนหรือร้ายกับตนประการใด เป็นการบำเพ็ญที่ยากยิ่ง

                 การเจริญพรหมวิหารกรรมฐานที่เป็น เมตตา กรุณา มุทิตา นั้นไม่มีการจำกัดบุคคล ใครจะปฏิบัติก็ได้ และสามารถกระทำสำเร็จจนถึงขั้นได้อัปปนาฌาน
                  ส่วนการเจริญอุเบกขาภาวนา ผู้เจริญจะต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานเมตตากรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อน จนบรรลุผลเป็นจตุตถฌานลาภิบุคคล จึงจะเจริญอุเบกขากรรมฐานต่อได้ และสามารถปฏิบัติให้สำเร็จผลถึงขั้นฌาน แต่จะได้เพียงรูปาวจรปัญจมฌานอย่างเดียวเท่านั้นเป็นสูงสุด ส่วนจตุตถฌานที่เกิดจากกรรมฐานชนิดอื่น เช่น การเพ่งกสิณ อานาปานัสสติ ไม่สามารถอุดหนุนการเจริญอุเบกขากรรมฐานให้สำเร็จถึงฌานได้ เพราะอารมณ์กรรมฐานคนละชนิด ทั้งมีสภาพไม่ถูกกัน (วิสภาตะ) เช่น กสิณบัญญัติ หรือ อานาปานบัญญัติ เป็นอารมณ์ที่เน้นให้เห็นความไม่มีตัวตน เป็นของจำแนกแยกออก ส่วนสัตวบัญญัติในอัปปมัญญาพรหมวิหาร เน้นความเป็นสัตว์เป็นบุคคล จึงต่างกันคนละเรื่อง ย่อมอุดหนุนกันไม่ได้

                 กิจขั้นต้น ก่อนการเจริญอุเบกขาภาวนา
                 ๑. ผู้ปฏิบัติจะต้องชำนาญในจตุตถฌานที่ได้มาจากการเจริญเมตตา กรุณา หรือ มุทิตา โดยวสีทั้ง* ๕
                 ๒. จากนั้นให้พิจารณาโทษของฌานที่ได้มาจากการเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา เพราะกรรมฐานทั้ง ๓ ชนิดนี้มีสภาพไม่ประณีต เนื่องจากในองค์ฌานยังประกอบด้วยโสมนัสเวทนา จิตใจยังมีความยินดีรักใคร่ในเหล่าสัตว์ ทั้งยังประพฤติเป็นไปใกล้ต่อความรักและความเกลียด จิตใจไม่ละเอียดสุขุม
                 ๓. พิจารณาคุณของฌานที่เกิดจากการเจริญอุเบกขาภาวนา ว่าอุเบกขานั้นมีสภาพสงบ สุขุม ประณีต ห่างไกลจากกิเลสด้วย มีผลไพบูลย์ดีงามมากด้วย
                 ๔. ต่อจากนั้นจึงพิจารณาในความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นไปตามอำนาจกรรมของตน ๆ โดยระลึกว่า
                    “ผู้นี้เกิดมาในภพนี้ เพราะการกระทำของเขาเอง ต่อไปเขาจักไปเกิดในภพหน้า ก็เพราะการกระทำของเขาเองอีก แม้ตัวเราก็เป็นเช่นเดียวกัน ไม่มีอะไรแตกต่างกัน เราไม่สามารถจะน่าความสุขหรือทำลายความทุกข์ให้ผู้หนึ่งผู้ใดได้ เพราะโดยความเป็นจริงแล้วคนทุกคนมีกรรม (การกระทำ) ของตนเป็นหลักที่ตั้ง ไม่ใช่ผู้อื่นทำให้

                วิธีเจริญภาวนา ผู้ปฏิบัติจะต้องแผ่ไปในบุคคลเหล่านี้ตามลำดับ
                ๑. ตนเอง
                ๒. มัชฌัตตบุคคล
                ๓. ปิยบุคคล
                ๔. อติปิยบุคคล
                ๕. เวรีบุคคล

                การที่แผ่อุเบกขาให้มัชฌัตตบุคคลต่อจากให้ตนเองนั้น เพราะในคนธรรมดาที่ไม่รักไม่ชังนั้น ง่ายต่อการให้เกิดอุเบกขาเทียมอยู่แล้ว เมื่อนำมาใช้กับการแผ่อุเบกขาแท้ย่อมเกิดผลโดยง่ายไม่ต่างกัน ส่วนในบุคคลหลัง ๓ จำพวกมี ปิยบุคคล อติปิยบุคคล และเวรีบุคคล อุเบกขาทั้งเทียมและแท้เกิดขึ้นได้ยาก
                คำที่ใช้แผ่ให้แก่ตนเองใช้                      อห์ กมมสสโก เรามีกรรมเป็นของเรา
                คำที่ใช้แผ่ให้แก่ผู้อื่นคนเดียว                 กมฺมสฺสโก บุคคลนี้มีกรรมเป็นของตน
                คำที่ใช้แผ่ให้ผู้อื่นตั้งแต่สองคนขึ้นไป      กมุมสสกา สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
              สำหรับการแผ่อุเบกขาแบบบริกรรมท่องจำ แก่สัตว์ที่ไม่เจาะจง และเจาะจงรวม ๑๒ และแผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ คงใช้ทำนองเดียวกันกับการเจริญเมตตาภาวนา
                ผลที่เกิด นิมิต ๓ ภาวนา ๓ อานิสงส์ ๑๑ เป็นเช่นเดียวกับเมตตา

                สิ่งควรรู้เกี่ยวกับการเจริญอุเบกขาภาวนา คือ
                ๑. มีอาการวางใจเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย เป็นลักษณะ
                ๒. มีการมองดูสัตว์ทั้งหลายด้วยความเท่าเทียมเสมอกัน เป็นกิจเป็นหน้าที่
                ๓. มีความสงบจากเรื่องรักในสัตว์ทั้งหลาย เป็นอาการปรากฏ
                ๔. มีปัญญาพิจารณาเห็นกรรมเป็นของของตน สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมของตนเอง ไม่ใช่มีผู้หนึ่งผู้ใดกระทำให้ เป็นเหตุใกล้
                ๕. สงบความเกลียดและไม่มีความรัก เป็นความสมบูรณ์ของอุเบกขา
           
      ๖. ความเสียหายของอุเบกขา คือเกิดอุเบกขาชนิดขาดปัญญา ด้วยสาเหตุแห่งกามคุณอารมณ์
                ๗. การวางเฉยด้วยอ่านาจโทสะ เป็นเหตุใกล้
                ๘. ราคะ และ โทสะ เป็นศัตรูไกล

                  การมีอัปปมัญญามี ๔ ชนิด ไม่มีเกินกว่านั้น เพราะเป็นธรรมะที่ใช้ปราบอกุศลกรรมเพียง ๔ ชนิด ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในหมู่คนที่อยู่ร่วมกัน อกุศลเหล่านั้น คือ พยาบาทวิหิงสา (เบียดเบียน) อรติ (ความริษยา ไม่ยินดีด้วย) ราคะ
                ปุถุชนที่อยู่ร่วมกันในสังคมมักจะต้องมีการกระทบกระทั่งกันด้วยเรื่องต่าง ๆ เป็นเหตุให้อกุศลกรรมทั้ง ๔ เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพียงแต่บางอย่างเกิดขึ้นมาก บางอย่างเกิดขึ้นน้อย เมื่อใช้หลักธรรมของอัปปมัญญาเข้าปราบ จิตใจจึงจะสงบลงและเข้าถึงความบริสุทธิ์ผ่องใสได้
                                      เมตตา       ใช้ปราบ พยายาท
                                      กรุณา        ใช้ปราบ วิหิงสา
                                      มุทิตา        ใช้ปราบ อรติ
                                      อุเบกขา     ใช้ปราบ ราคะ

                อนึ่งแม้ในหมู่กัลยาณชนก็นิยมปฏิบัติคุณธรรมทั้ง ๔ นี้ต่อกัน คือ
                การนำประโยชน์ให้แก่กัน เป็นตัว เมตตา
                การบำบัดปัดป้องสิ่งที่ไร้ประโยชน์ให้ เป็นตัว กรุณา
                การยินดีในความสุขความเจริญทั้งหลาย เป็นตัว มุทิตา
                การวางเฉยในเรื่องทั้ง ๓ ข้างต้น เป็นตัว อุเบกขา

             เปรียบเหมือนบิดามารดามีลูก 4 คน คนหนึ่งยังเล็กมาก คนหนึ่งเจ็บป่วย คนหนึ่งกำลังวัยรุ่นสวยงาม คนหนึ่งมีงานทำแล้ว บิดามารดาย่อมเมตตาในบุตรคนเล็ก กรุณาในเจ็บป่วย มุทิตาในคนวัยรุ่นและวางอุเบกขาในคนโตที่ทำงานได้เองแล้ว ในอัปปมัญญาทั้ง ๔ นี้ เมตตามีประโยชน์มหาศาลที่สุด เป็นกำลังอุดหนุนให้คุณธรรมอื่นเกิดขึ้นได้โดยง่ายเมตตาจึงได้ชื่อว่า เป็นธรรมค้ำจุนโลก

 

อาหาเรปฏิกูลสัญญา

             อาหาเรปฏิกูลสัญญา หมายความถึง การพิจารณาให้เกิดความรู้สึกว่าอาหารเป็นของน่าเกลียด โดยปกติอาหาร** มี ๔ ชนิด ได้แก่
             ๑. อาหารต่าง ๆ ที่เราใช้บริโภคเลี้ยงร่างกาย เรียกว่า กพฬิงการาหาร อาหารเป็นคำทีกลืนกิน
             ๒. ความรู้สึกที่ได้จากการกระทบถูกต้องในอารมณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิด ผัสสาหาร
             ๓. จิตที่เป็นอกุศล ๑๒ อย่าง เป็นกุศลชนิดโลกีย์ ๑๗ อย่าง เป็น มโนสัญเจตนาหาร
             ๔. ปฏิสนธิจิต ๑๙ อย่าง เรียกว่า วิญญาณาหาร
             อาหารทั้ง ๔ ชนิดนี้น่าสิ่งต่าง ๆ มาให้ไม่เหมือนกัน

             กพฬิงการาหาร น่าโอชะ (คุณค่าของอาหาร) มาเลี้ยงร่างกาย ทำให้เกิดรูปกลาป*** ผัสสาหารนำสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอุเบกขาเวทนามาให้มโนสัญเจตนาหารนำปฏิสนธิจิตให้เกิดได้ในภพทั้ง ๓ ส่วนวิญญาณาหารทำให้ในขณะเมื่อตั้งปฏิสนธิ มีกัมมัชรูป**** และเวทนาทิตยขันธ์

              อาหารทั้ง ๔ ล้วนเป็นเหตุให้ได้รับ ทุกข์ ภัย อุปัทวันตรายต่าง ๆ เป็นอเนกประการภัยเกิดจากความยินดีในการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะกพฬิงการาหารมีภัยมาก หากพิจารณาด้วยสติปัญญาอันละเอียดสุขุม จะเห็นโทษภัยที่น่ากลัวยิ่ง ถ้าขาดการพิจารณาจะมองไม่เห็นโทษเลย

              การเจริญภาวนาโดยอาหาเรปฏิกูลสัญญา จะต้องใช้พิจารณาให้เห็นทุกข์โทษ ภัยของกพฬิงการาหาร ด้วยอาการต่าง ๆ ๑๐ ประการคือ
              ๑. โดยการไปยังสถานที่ที่มีอาหาร
              ๒. โดยการแสวงหา
              ๓. โดยการบริโภค
              ๔. โดยที่อยู่ของอาหารเมื่อบริโภคเข้าไปแล้ว
              ๕. โดยกระเพาะอันเป็นที่หมักหมม
              ๖. โดยยังไม่ย่อย
              ๗. โดยย่อยแล้ว
              ๘. โดยผลที่สําเร็จ
              ๙. โดยการหลั่งไหล
              ๑๐. โดยเปื้อน

             ๑. การพิจารณาเรื่องการไปยังสถานที่ที่มีอาหาร (คมนาคม) โดยปกติอาหารมิได้เกิดขึ้นในที่อยู่อาศัยของเราได้เอง ถ้าเป็นเพศสมณะก็ต้องออกเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตร ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องออกประกอบอาชีพให้ได้ทรัพย์สินเงินทอง มาจับจ่ายใช้สอยบริโภคในที่อยู่อาศัยอาจมีความสะดวกสบายสะอาดสวยงาม แต่เมื่อจะต้องเดินทางไป ย่อมได้รับความยุ่งยากนับแต่การแต่งกาย การเดินทางด้วยเท้า ขึ้นรถ ลงเรือ ได้พบเห็นสิ่งที่ไม่ถูกใจต่าง ๆ ทั้งสถานที่และผู้คน ได้สัมผัสสิ่งที่ไม่ดีงาม กรำแดด กรำฝน เบียดเสียดผู้คน เหน็ดเหนื่อยยิ่งนัก เป็นเรื่องยุ่งยากลำบากอยู่ทุก ๆ วัน

              ๒. พิจารณาเรื่องการแสวงหา (เอสนา) ถ้าเป็นสมณะ เมื่อไปบิณฑบาตรตามหมู่บ้าน ต้องแวะบ้านนี้ บ้านนั้น บางบ้านก็ให้ บางบ้านไม่ให้ บางบ้านให้ของเลวทราม เก่าค้าง บูดเน่า บางบ้านทำเป็นไม่เห็น บางคนไม่ให้แล้วยังตำหนิติเตียน ด่าว่าถากถาง การเดินทางนั้นเล่าแสนสกปรก ต้องเดินเท้าเปล่าเหยียบย่ำไปบนพื้นดินที่เปรอะเปื้อนด้วยสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เช่น มูลสุนัข เสมหะ มูตรคูถ บ่อน้ำครำ หลุมโสโครก พื้นที่ไม่ราบเรียบขรุขระเป็นหลุมบ่อ มีหมู่หนอน แมลงวันไต่ตอมที่อาหารบ้าง ที่ตัวบ้าง ที่ศีรษะบ้าง ฯลฯ ถ้าเป็นฆราวาสก็ต้องไปจับจ่ายซื้ออาหารที่ตลาด อันเป็นที่รวมของสิ่งไม่สะอาดนานาชนิด เข้าร้านโน้น ออกร้านนี้ ตลาดนั้นตลาดนี้ เหยียบย่ำพบเห็นสิ่งที่ไม่พอใจทั้งสิ่งของและผู้คนลำบากยุ่งยากอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อซื้อหาได้มาแล้ว ต้องลำบากด้วยการประกอบ ปรุงแต่งไปตามความต้องการของคนบริโภค คนนั้นชอบอย่างนี้ คนนี้ชอบอย่างโน้น ต้องพลิกแพลงประดิษฐ์สับเปลี่ยนมิให้เป็นที่เบื่อหน่าย มีแต่ความลำบากกายลำบากใจด้วยการแสวงหา

           ๓. โดยการบริโภค (โภคา) พิจารณาได้ว่าเป็นของน่าเกลียดดังนี้ เมื่อหย่อนอาหารเข้าไปในปากแล้ว อาหารก็คละเคล้าปะปนกับน้ำลายใสที่ปลายลิ้น น้ำลายข้นที่กลางลิ้น ฟันล่างทำหน้าที่เหมือนครก ฟันบนเหมือนสาก ลิ้นเหมือนมือ เวลาเคี้ยวอยู่ อาหารนั้นก็แปดเปื้อนไปด้วยมูลฟันที่ค้างติดอยู่ตามซอกฟัน ทั้งสีและกลิ่นของอาหารที่เคยเห็นก่อนบริโภคว่าเป็นของสวยของดี ก็กลายเป็นของน่าเกลียดไปสิ้น เมื่อเคี้ยวอยู่แล้วคายออกมาดู ย่อมไม่สามารถใส่คืนกลืนกินเข้าไปได้ใหม่ เหมือนอาเจียนของสุนัข แต่อาหารทุกคำที่เคี้ยวกลืนอยู่ได้นั้น เพราะเมื่อใส่ปากแล้ว ไม่สามารถมองเห็นได้อีก จึงได้กลืนลงการบริโภคนั้นเล่า ก็ไม่มีการสิ้นสุด อิ่มไปชั่วระยะเวลาไม่นานก็ต้องหิว บริโภค
ใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่ดังนี้ อาหารที่แต่ละคนบริโภคกันมาในชาตินี้ นับแต่แรกเกิดจากครรภ์มารดาจนเติบใหญ่ ถ้าจะนำมากองแยกกันไว้ จะมีจำนวนมากมายนัก ข้าวสารอาจเป็นร้อย ๆ กระสอบ น้ำอาจเท่าน้ำในสระใหญ่ ๆ เนื้อสัตว์ที่บริโภคคิดเป็นจำนวนตัว คงเป็นฝูง ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บก นี่ไม่รวมอาหารที่ได้บริโภคไว้ในชาติก่อน ๆ ผู้รู้จึงกล่าวอุปมาเอาไว้ว่า ท้องของเราเหมือนมหาสมุทรประจำร่างกาย การบริโภคจึงเป็นสิ่งน่า
เกลียดดังนี้

              ๔. การพิจารณาโดยที่อยู่ (อาสยา) ว่าเป็นของน่าเกลียด เพราะอาหารนั้นเมื่อกลืนเข้าไปแล้วต้องมี น้ำดี เสมหะ หนอง เลือด ออกมาคลุกเคล้าปะปน แม้พระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดต้องมีสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนคนธรรมดาย่อมมีครบทั้ง ๔ ใครที่มีน้ำดีมาก อาหารก็เหมือนถูกคลุกเคล้าด้วยน้ำมันมะซางขึ้น ถ้ามีเสมหะมากก็เหมือนคลุกเคล้าด้วยน้ำกากะทิง ถ้ามีหนองมากก็เหมือนคลุกด้วยเปรี้ยงเน่า ถ้ามีโลหิตมากก็เหมือนย้อมอาหารด้วยสีย้อมผ้าที่อยู่ของอาหารจึงมีอาการน่าเกลียดดังนี้

            ๕. พิจารณาให้เห็นความเป็นปฏิกูลน่าเกลียดโดยกระเพาะ อันเป็นที่หมักหมมรวมกันแห่งอาหารใหม่ การที่อาหารซึ่งคลุกเคล้ากับน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด แล้วเข้าไปสะสมกองรวมกันอยู่ในกระเพาะนั้น ไม่ใช่ไปรวมกันอยู่ในภาชนะที่ทำด้วยแก้ว หรือเงินทองอันสวยงามประการใด แต่ไปหมักอยู่ในกระเพาะอาหารซึ่งไม่เคยมีการทำความสะอาดเลย เปรียบเหมือนส้วมที่หมักหมมด้วยมูตรคูถ ไม่เคยล้างถ่ายทำความสะอาดเท่าอายุของผู้เป็นเจ้าของ นับแต่เกิดจนสิ้นชีวิต ๒๐ - ๓๐ - ๑๐๐ ปี น่ารังเกียจ

              ๖. พิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหารที่ยังไม่ย่อย (อปกกา) อาหารที่บริโภคเข้าไปทั้งเก่าและใหม่ที่ลงไปหมักอยู่ในกระเพาะ อันเป็นที่โสโครกยิ่ง คละเคล้ารวมกันทั้งน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด ซากศพของสัตว์ต่าง ๆ มีกลิ่นเหม็นเน่า คลุกกันอยู่ มิได้แยกแผนกแต่อย่างใด มีหมู่หนอนนานาชนิดไซซอนแทะกินพลุกพล่านคลาคล่ำ อำนาจของไฟธาตุสำหรับย่อยอาหาร (ปากเตโช) ทำให้อาหารร้อนเป็นฟองเดือดปุด ๆ ปูดเป็นฝาโสโครกเหมือนกองขยะที่อยู่ในหลุม น้ำฝนตกลงมาขัง พอถูกแดดเผาก็เป็นฟองเหม็นเน่าเหม็นโขง น่าเกลียดชัง อยู่ในที่มืดที่แฉะ เป็นดังป่าช้าฝังซากสัตว์ต่างๆ ที่กินลงไป

              ๗. พิจารณาความเป็นปฏิกูลในอาหารที่ย่อยแล้ว (ปกกา) การถลุงแร่ธาตุต่าง ๆ เมื่อกระท่าเสร็จย่อมได้แร่บริสุทธิ์สวยงาม เช่น เงิน ทอง ดีบุก ทองแดง แต่อาหารที่ถูกย่อยแล้วไม่บริสุทธิ์สวยงามดังแร่ กลับกลายเป็นอุจจาระไปขังอยู่ในกระเพาะอุจจาระเป็นก้อน ๆ เหมือนดินเหลืองที่เขาบดให้ละเอียดแล้วใส่ไว้ในกระบอกไม่ไผ่น้อย ยาวประมาณ ๔ องคุลี แต่มีกลิ่นเหม็นร้ายกาจรุนแรง อาหารที่ย่อยแล้วอีกส่วนหนึ่งกลายเป็นน้ำปัสสาวะขังอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ

              ๘. พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยผลสำเร็จ (ผลา) อาหารที่ย่อยเสร็จแล้วกลายเป็นเลือด เนื้อ กระดูก ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น แม้จะย่อยออกมาได้ดีดังนั้น ก็เป็นเพียงเหมือนของเลี้ยงซากศพ ส่วนอาหารที่ไม่ย่อย ไม่เป็นประโยชน์ กลับทำให้โรคต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น หิดเปื่อย หัดด้าน คุตทราด โรคเรื้อน กลาก หืด ไอ ลงแดง บางทีก็เกิดทุกขเวทนา ถ้าอาหารย่อยได้ไม่ดี

              ๙. พิจารณาโดยการหลั่งไหลออกมา (นิสสนฺทโต) ว่าเป็นของน่าเกลียด เมื่อบริโภคอาหารเข้าไปเพียงทางเดียว แต่เวลาไหลออก ออกมาถึง ๔ ทาง เช่น ไหลออกทางตาเป็นขี้ตา ออกทางหูเป็นขี้หู ออกทางจมูกเป็นขี้มูก ออกทางปากเป็นน้ำลาย เสมหะ ออกทางทวารหนักเป็นอุจจาระ ออกทางทวารเบาเป็นปัสสาวะ ออกทางขุมขนเป็นเหงื่ออาหารนั้นเวลาบริโภค ย่อมชักชวนนั่งล้อมวงกันเป็นกลุ่มใหญ่ เวลาถ่ายออกเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ ต้องปิดบังแอบซ่อนแต่เพียงลำพัง เมื่อจะบริโภค อาหารมีกลิ่น รสล้วนแต่มีประณีต หลังจากเข้าไปค้างคืนเมื่อจะถ่ายออก ต้องปิดจมูก หน้านิ่วคิ้วขมวดสะอิดสะเอียนเพราะกลิ่นเหม็น ทั้งเกลียดทั้งขยะแขยงไม่รู้สึกชื่นชอบใจเหมือนตอนบริโภค

              ๑๐. พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยความแปดเปื้อน (มกขนา) อาหารเวลาถูกบริโภคอยู่ ย่อมทำให้อวัยวะต่าง ๆ นับแต่ปาก ลิ้น เพดาน เปรอะเปื้อนเหม็นคาว ต้องล้างแล้วล้างอีกก็ไม่ใคร่หมดกลิ่น เมื่อย่อยเสร็จแล้วยังกลายเป็นขี้มูก ขี้ตา ขี้หู ขี้ฟัน ฯลฯ สิ่งน่าเกลียดเต็มไปทั่วร่างกาย แม้จะหมั่นอาบน้ำวันละหลาย ๆ ครั้งก็ไม่อาจให้สะอาดได้นานได้เพียงชั่วคราวแล้วก็สกปรกเปรอะเปื้อนใหม่อีก เป็นอยู่ดังนี้ไม่จบสิ้น

              การพิจารณาโดยอาการทั้ง ๑๐ ดังกล่าวแล้ว เป็นการพิจารณากพฬิงการาหาร
              สําหรับอาหารชนิดอื่น คือ ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร ก็สามารถนำทุกข์ภัยมาให้ไม่น้อยกว่ากพฬิงการาหาร บางอย่างน่ากลัวเป็นที่สุด เช่น การไม่รู้จักสำรวมอินทรีย์ ลุแก่อำนาจความปรารถนา ความอยากได้ ความติดใจชอบใจ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ไม่ควร ไม่เหมาะสม เพราะผัสสาหารที่ได้รับเหล่านั้นจะนำทุกข์ ภัย โทษมาให้ ถ้าไม่รู้จักพิจารณาย่อมประมาทเห็นว่าผัสสะเหล่านั้นไม่มีภัย ยกตัวอย่างชายหนุ่มที่มีฐานะปานกลางไม่ร่ำรวยมาก แต่ได้ไปเที่ยวในสถานเริงรมย์ที่เพียบพร้อมด้วยกามคุณ มีอาหารรสเลิศ สตรีงามปรนนิบัติ ดนตรีไพเราะ กลิ่นหอมจรุงใจ ได้รับความสะดวกสบายหลายประการ เป็นที่ถูกใจยิ่ง หากไม่พิจารณาให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้ เมื่อผูกใจเราเสียแล้ว จิตใจย่อมตกเป็นทาส มีความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะแสวงหามาเสพอีก เมื่อเป็นสิ่งเกินฐานะ แต่อำนาจความต้องการรุนแรง ย่อมเกิดการแสวงหาในทางที่ผิด เช่นทุจริตต่าง ๆ เพื่อให้ได้ทรัพย์มาจับจ่ายซื้อหาเอาความพอใจเหล่านั้น เมื่อทุจริตผลที่ตามมาคือความทุกข์ร้อนต่าง ๆ ทั้งผัสสาหารที่ไม่สมควรเหล่านั้น ก็มีลักษณะที่เป็นโทษเหมือนกพฬิงการาหารอยู่ประการหนึ่งคือ ไม่รู้อิ่ม รู้พอ ต้องคอยเปลี่ยนหามาเสพอยู่เสมอ ๆ

              ฝ่ายมโนสัญเจตนาหารยิ่งเป็นภัยล้ำลึกกว่าผัสสาหาร นับด้วยร้อยด้วยพันเท่า เพราะอาหารชนิดนี้เองเป็นผู้ทำให้เกิดการสร้างกรรมอันเป็นกุศลและอกุศล ก่อให้เกิดวิบาก (ผล) ต้องเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร ภพแล้วภพเล่าไม่มีสิ้นสุด นับจำนวนไม่ถ้วน มองไม่เห็นคุณค่าของการเลิกเกิด คือพระนิพพาน กั้นสรรพสัตว์ไว้ให้เป็นช้า นับเป็นภัยอันใหญ่หลวงข้ามภพข้ามชาติ น่ากลัวเป็นที่สุด

              ส่วนวิญญาณาหาร เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปฏิสนธิในกำเนิดทั้ง ๔ การเกิดนี้เป็นภัยนัก เพราะเมื่อเกิดแล้วย่อมมีทุกข์ทั้งหลาย ทั้งทุกข์ประจำเช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ทุกข์จรเช่น ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ความประสบกับสิ่งที่ไม่รัก ความเสียใจ ฯลฯ ตามมามากมายไม่รู้สิ้น

              อาหารทั้ง ๔ อย่าง นักปราชญ์ให้นึกพิจารณาเพื่อบรรเทาความคิดยึดติดในความพอใจไว้ดังนี้

              เมื่อบริโภคกพฟังการาหาร ให้นึกเหมือนบริโภคเนื้อลูกที่ตายลงในระหว่างเดินทางกันดาร และไม่มีสิ่งอื่นจะบริโภคนอกจากเนื้อลูกที่ตายนั้น เมื่อคิดเสียดังนี้จะบรรเทาความเอร็ดอร่อยในรสอาหารลง เพราะพ่อแม่เมื่อรู้ว่าตนกำลังกินเนื้อบุตรที่รักยิ่งย่อมไม่สามารถนึกว่าอร่อย นอกจากเพื่อประทังชีวิตให้ร่างกายได้มีกำลังเดินทาง นักปราชญ์เมื่อใช้กลอุบายนึกเทียบเคียงดังนี้ ย่อมบริโภคมิใช่ติดใจในรส คงเพื่อพอให้ร่างกายดำรงอยู่สำหรับใช้บำเพ็ญคุณงามความดีประการต่าง ๆ

            เมื่อจะต้องได้มาซึ่งผัสสาหาร เช่น ตามองเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้ดมกลิ่น ลิ้นได้รับรส กายได้รับสัมผัสถูกต้อง ให้ปลงใจพิจารณาระแวดระวังประดุจเป็นโคที่ไม่มีหนังหุ้มร่าง มีแต่เนื้อสดอยู่ทั้งตัว อารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เหมือนเหยี่ยว นกตะกรุม แร้ง กา ที่กำลังจะมาจิกเนื้อตามตัวกิน ธรรมดาโคที่ปราศจากหนัง มีเนื้อตัวอาบไปด้วยเลือด เมื่อแลเห็นนกที่ชอบกินเนื้อเหล่านั้นบินมาแต่ไกล ย่อมตื่นตระหนกหวาดกลัว เหลียวหน้าแลหลังหาที่กำบังหลบซ่อนเพื่อป้องกันรักษาตนให้รอดพ้นจากอันตรายถูกนกร้ายจิกทิ้ง ผู้ปฏิบัติจึงต้องเกรงกลัวผัสสาหารมีอาการดั่งโคนั้นระวังรักษาตน

               สําหรับมโนสัญเจตนาหาร คือกุศลกรรม อกุศลกรรม อันทำหน้าที่ส่งผลให้เกิดตายไม่รู้สิ้นสุดในภพทั้ง ๓ ต้องพิจารณาให้เห็นเป็นประดุจหลุมถ่านเพลิงอันใหญ่ มีเปลวไฟลุกโพลง สรรพสัตว์ทั้งหลายตกลงไปอยู่ในหลุมเพลิงนั้น มีร่างกายถูกเผาไหม้พุพองเป็นเถ้าถ่านหาเศษไม่ได้แม้เท่าฝุ่นธุลี สัตว์ที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ด้วยกันทั้งสิ้นเหล่านี้ ย่อมตกอยู่ในทุกข์ภัยต่าง ๆ มีชาติทุกข์ เป็นต้น เหมือนภัยจากหลุมถ่านไฟ จึงควรเกรงกลัวการที่ต้องไปเกิดวนเวียนในภพทั้ง ๓ ให้เหมือนกลัวการตกลงไปให้ไฟลุกไหม้อยู่ในหลุมถ่านเพลิง

               วิญญาณาหาร คือ ปฏิสนธิวิญญาณจิตทั้ง ๑๙ พิจารณาให้เห็นเหมือนจิตเหล่านี้เป็นดังนักโทษที่ถูกนายเพชฆาตเอาหอกเล่มใหญ่แทงตรงอกทะลุผ่านตลอดถึงข้างหลังได้รับความทุกกข์ทรมานเจ็บปวดแสนสาหัสอยู่เฉพาะหน้า กำลังรอคอยเวลาตายในไม่ช้าสัตว์ที่ถือปฏิสนธิในกำเนิดทั้ง ๔ เปรียบได้เช่นเดียวกัน เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องพบทุกข์ต่าง ๆ และสิ้นสุดลงที่ความตาย ปฏิสนธินี้จึงเป็นเสมือนดอกไม้ของกิเลสมาร เอามาล่อลวงสัตว์ทั้งหลาย ว่านี่เป็นดอกไม้หอม เหมือนกิเลสมารล่อลวงปวงสัตว์ว่า การเกิดที่นั้นที่นี้จะมีความสุขมากมายดังนั้นดังนี้ สัตว์ทั้งหลายพากันหลงเชื่อ จึงพากันประกอบกรรมล้วนแต่เป็นไปเพื่อการเกิดแล้วเกิดอีก ไม่สนใจในพระนิพพานอันเป็นการเลิกเกิด กลับมองเห็นพระนิพพานเป็นของสูญเปล่าไม่มีค่า ปราศจากความสนุกสบาย เมื่อหลงเล่ห์กลของมารตั้งปฏิสนธิขึ้นแล้วเท่ากับตกอยู่ใต้อำนาจของเขา มารนั้นก็ได้โอกาสปล่อยทุกข์ภัยต่าง ๆ มีชราทุกข์ พยาธิทุกข์ เข้ารุกโรมโจมตีจนตั้งตัวไม่ทัน พ่ายแพ้ยับเยินลุกไม่ขึ้นแล้ว พระยามัจจุราชก็มาฟาดฟันชีวิตินทรีย์ขาดสินดินดับลง ถ้ายังปราศจากปัญญารู้ไม่เท่าทันอยู่อีกก็จะตั้งปฏิสนธิใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ผู้ปฏิบัติจึงควรพิจารณาเรื่องนี้ให้รู้แจ้งด้วยปัญญาแสวงหาพระนิพพานไม่หลงเล่ห์มารอีกต่อไป

               การปฏิบัติอาหาเรปฏิกูลสัญญากรรมฐาน มุ่งหมายเฉพาะเรื่อง กพฬิงการาหารเป็นประการสําคัญ

               ส่วนอาหารอื่น ๆ แม้จะมิได้นำมากำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน แต่ก็ควรทราบถึงภัยทั้งหลายเหล่านั้น พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ว่า "
               ยํ กิญจิ ทุกขํ สมโภติ            สพฺพํ อาหารปจฺจยา
               อาหารานํ นิโรเธน                นตฺถิ ทุกฺขสฺส สมฺภโว ฯ
              แปลความว่า ทุกข์ใด ๆ ที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ทุกข์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมมีอาหารทั้ง ๔ ช่วยอุดหนุนให้เกิดเสมอ ดังนั้นถ้าอาหารทั้ง ๔ ดับลงเมื่อใด ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ก็ไม่มีเมื่อนั้น

               อานิสงส์ในการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา ทำให้บรรเทาราคะในกามคุณลงได้โดยง่าย เมื่อดับราคะลงได้ย่อมเป็นปัจจัยให้ กำหนดรูปขันธ์ ได้ กายคตาสติจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์สามารถพิจารณาเห็นเป็นปฏิกูล เรียกการปฏิบัตินี้ว่าเป็นอสุภสัญญาโดยอนุโลม

               เมื่อพิจารณาอาหารด้วยอาการอันเป็นที่น่ารังเกียจ ๑๐ อย่าง ติดต่อกันอยู่โดยสม่ำเสมอ บริกรรมนิมิตย่อมเกิด สภาวะอาหารมีสภาพเป็นของละเอียดลุ่มลึก เป็นธรรมารมณ์ไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนเหมือนตัวอาหารต่าง ๆ ที่มองเห็น (อาหารที่เป็นกพฬิงการาหาร หมายเอาคุณค่า หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า ไวตามิน) ด้วยเหตุนี้ ในการปฏิบัติจึงไม่เกิดอุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต เมื่อปฏิภาคนิมิต ไม่เกิด อัปปนาฌานย่อมเกิดไม่ได้

              อย่างไรก็ตามแม้กระนั้นผู้เจริญกรรมฐานชนิดนี้ย่อมสามารถมีปัญญาพิจารณาเห็นความทุกข์ยากต่าง ๆ ในการบริโภค เห็นความเกิดดับเปลี่ยนแปลงของอาหารทีบริโภคเข้าไป เห็นความเกิดดับของรูปกายในตนที่ต้องใช้อาหารหล่อเลี้ยง เห็นความเกิดดับของจิตใจขณะบริโภค และหลังบริโภคแล้ว ตลอดจนประหารความติดใจในรสอาหารลงได้

                เมื่อยังมีบารมีอ่อนอยู่ ไม่สามารถบรรลุพระนิพพานในชาตินี้ กุศลกรรมย่อมส่งผลให้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เมื่อทำลายเบญจขันธ์ลง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เชิงอรรถ

* วสี แปลว่าความชำนาญคล่องแคล่ว วลีทั้ง ๕ คือชำนาญคล่องแคล่วในการนึก ตรวจดูองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้วชำนาญในการเข้าฌานได้รวดเร็ว ชำนาญในการรักษามิให้จิตตกภวังค์ ชำนาญในการออกจากฌานตามที่ตนต้องการ ชำนาญในการพิจารณาทวนองค์ฌาน เสียก่อน

** อาหารแปลว วัตถุที่ควรนำมา
*** รูปปรมาณูเล็ก ๆ รวมกันเป็นรูปใหญ่
**** รูปที่เกิดจากกรรม
***** มีอบาย กามสุคติ รูปาวจร อรูปาวจร เกิดในที่มียางเหนียว เรียก สังเสทชะ เกิดผุดเป็นตัวมีขนาดโตทันที เรียก โอปปาติกะ เกิดในครรภ์มารดาเรียก คัพ เลยยกะ ซึ่งแยกเป็นเกิดในฟองไข่ (อัณฑชะ) และเกิดในมดลูก (ชลาพุชะ) รวม ๔ อย่าง
****** มี อุเบกขานติณ อกุศลวิปากจิต ๑ อุเบกขา สันติรณ อเหตุกกุศลวิปากจิต ๑ มหาวิปากจิต ๘ รูปาวจรวิปากจิต ๔ รูปาวจรวิปากจิต

 เมตติโส สพพภูเตสุ เวรนตสส น เกนจิ ผู้มีเมตตา ย่อมไม่มีเวรกับใคร ๆ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.039465999603271 Mins