การปฏิบัติภาวนา แนววิชชา “ธรรมกาย”

วันที่ 11 กย. พ.ศ.2566

11-9-66-BL.jpg

การปฏิบัติภาวนา แนววิชชา “ธรรมกาย”

                โดยหลักการปฏิบัติกรรมฐานตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วทรงแสดงไว้ว่า
              เทฺว เม ภิกฺขเว วิชฺชภาคิยา                    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชามี ๒ อย่าง
              กตเม เทฺว                                            สองอย่าง มีอะไรบ้าง
              สมโถ จ                                               สมถะ ความสงบระงับ อย่างหนึ่ง
              วิปสฺสนา จ                                           วิปัสสนา ความเห็นแจ้งอย่างหนึ่ง
              สมโถ ภาวิโต กิมตฺถมนุโภติ                   เมื่อเจริญสมถะขึ้นแล้ว ต้องการอะไร
              จิตฺตํ ภาวิยติ                                         ต้องการให้จิตอยู่ในภาวะที่ดี
              จิตฺตํ ภาวิต กิมตุถมโภติ                         จิตดีขึ้นเป็นอย่างไร (คือต้องการอะไร)
              โย ราโค โส ปรีย                                  ความกำหนัดยินดีอันใดที่มีอยู่ในจิตใจ ความกำหนัดยินดีอันนั้นก็หมดไป สงบไป ระงับไป  ด้วยสมถะ
              วิปสฺสนา ภาวิตา กิมตุถมนุโภติ               เมื่อเจริญวิปัสสนาแล้ว ต้องการอะไร
              ปญฺญา ภาวัยติ                                      ต้องการทำปัญญาให้เกิดมีขึ้น
              ปญฺญา ภาวิตา กิมตุถมนุโภติ                  มีปัญญาขึ้นแล้ว ต้องการอะไร
              ยา อวิชฺชา สา ปหียติ                             ความไม่รู้จริงอันใดที่มีอยู่ในจิตใจ ความไม่รู้จริงอันนั้นหมดไป ด้วยความเห็นแจ้ง คือวิปัสสนา
              สมถะ มีวิธีเจริญภาวนาให้เกิดขึ้น อยู่ ๔๐ วิธี (วิปัสสนามี ๖ ดังกล่าวไว้ข้างต้น)

              ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง (ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔) เล็กน้อย ประมาณ ๑๐ ปี พระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งในพระพุทธศาสนาอยู่ในประเทศไทย ชื่อพระมงคลเทพมุนี (สดจนฺทสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ธนบุรี (สมัยนั้น) ได้ค้นคิดการเจริญภาวนาที่เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาโดยให้ชื่อว่า การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย
               วิธีการโดยย่อ คือเริ่มต้นด้วยเจริญสมถกรรมฐานมี อาโลกกสิณเป็นอารมณ์เมื่อมีสมาธิจิตมั่นคงเพียงพอแล้วจึงเจริญวิปัสสนา

               คำว่า "ธรรมกาย" มีกล่าวอยู่ในพระไตรปิฎกหลายแห่ง เช่น จากพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่ม ๑๑ หน้า ๗๖) เล่าว่า
               สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารบุพพาราม อันนางวิสาขามิคารมาตาสร้างถวาย เย็นวันหนึ่งเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ทรงเดินจงกรมอยู่ วาเสฏฐิสามเณรกับภารทวาชสามเณร (ซึ่งมาจากตระกูลพราหมณ์ เมื่อมาบวชในพระพุทธศาสนา จึงถูกพวกพราหมณ์พากันด่าว่ามาก) เข้าไปเฝ้า พระพุทธเจ้าตรัสชี้แจงเรื่องวรรณะให้เข้าใจว่าเรื่องที่ถือกันว่าวรรณะใดสูง วรรณะใดต่ำนั้น ที่แท้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ความจริงแล้วความสูงต่ำอยู่ที่การประกอบกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม สำหรับสามเณรทั้งสองเมื่อมีผู้ถามว่าอยู่ในวรรณะใด ให้ตอบว่าเป็นพวกสมณศากยบุตร เป็นบุตรของพระศากยะ (คือพระองค์เอง) ทั้งนี้เพราะ

               "ผู้มีศรัท ตั้งมั่น มีรากแก้วคืออริยมรรคประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์เทวดา มาร พรหม หรือผู้หนึ่งผู้ใดในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี ว่าพรหมกายก็ดี ว่าธรรมภูตก็ดี ว่าพรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต" ดังพระบาลีว่า
               ตถาคตสฺส โข เอตํ วาเสฏฐา อธิวัจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ
               ดูกรวาเสฏฐโคตรทั้งหลาย คำว่าธรรมกายนี้ เป็นชื่อของตถาคตโดยแท้*

               สมัยนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน พระอานนท์ทูลถามเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้าว่ามีจริงหรือ พระพุทธเจ้าตรัสตอบยืนยันว่า
               “นักปราชญ์เหล่าใด เจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มี ธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งมวลได้ ฯลฯ**

               ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับที่ กูฏาคาร ศาลาป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี พระมหาโคตมีภิกษุณีอันเป็นพระมาตุจฉา (น้าสาวซึ่งทรงเลี้ยงดูพระพุทธองค์ในเยาว์วัย เมื่อพระชนนีทิวงคตหลังจากประสูติพระพุทธองค์ได้เพียง ๗ วัน) เข้าเฝ้าเพื่อทูลลาเข้าปรินิพพาน พระมหาเถรีนั้นตรัสว่า "ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน”
                หรือ ในตอนที่พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ วักกลิ ออกบวชเพราะหลงใหลในพระรูปโฉมของพระพุทธเจ้าคอยเฝ้าติดตามพระพุทธองค์ไปในที่ทุกแห่ง แต่มิได้เอาใจใส่ในการสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา หรือตั้งใจปฏิบัติภาวนาแต่ประการใด คงติดตามเพื่อคอยชมเชยในความงามของพระรูปโฉมเท่านั้น พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาอยู่ เมื่อภิกษุนั้นมีอินทรีย์แก่กล้าสมควรแล้ว จึงตรัสเพื่อให้พระวักกลิเกิดความสังเวชสลดใจ โดยทรงกล่าวพระวาจาขับไล่ให้ไปเสียให้พ้น เพราะเป็นการเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ที่มาคอยดูชื่นชมในร่างกายที่นับวันแต่จะกลายเป็นสิ่งเปื่อยเน่าไม่สวยไม่งาม ผู้ที่เห็นรูปกายของพระองค์แม้จะอยู่ใกล้ขนาดจับชายจีวรอยู่ ไม่ได้ชื่อว่าเห็นพระองค์ ผู้ใดเห็น ธรรมกาย ผู้นั้นได้ชื่อว่าเห็นพระองค์
                   “ธมฺมกาโย อห์ อิติ เราตถาคตคือธรรมกาย"
                 พระวักกลิเสียใจมากคิดจะไปกระโดดภูเขาให้ถึงแก่ความตาย ณ สถานที่ที่ต้องการกระโดดนั้นเอง พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญพุทธปาฏิหาริย์เหมือนประทับอยู่เฉพาะหน้า ทรงเทศนาโปรด พระวักกลิส่งจิตฟังพระธรรมเทศนาและปฏิบัติตาม บรรลุเป็นพระอรหันต์ ณ ที่นั้น

                 หลักการปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายเน้นตรงที่ต้องปฏิบัติภาวนาเพื่อให้ได้ทั้งรู้ ทั้งเห็น สภาวะธรรมต่างๆ ตามความเป็นจริง โดยเป็นการรู้และการเห็นทางใจ ต้องเริ่มเจริญภาวนานับแต่ขั้นต้นให้เห็นกายในกายไปตามลำดับ รวมทั้งสิ้น ๑๘ กาย มี
                 ๑. กายมนุษย์                                  ๑๐. กายโคตรภูละเอียด
                 ๒. กายมนุษย์ละเอียด                      ๑๑. กายพระโสดาบัน
                 (กายฝันหรือกายไปเกิดมาเกิด)         ๑๒. กายพระโสดาบันละเอียด
                 ๓. กายทิพย์                                    ๑๓. กายพระสกิทาคามี
                 ๔. กายทิพย์ละเอียด                        ๑๔. กายพระสกิทาคามีละเอียด
                 ๕. กายรูปพรหม                               ๑๕. กายพระอนาคามี
                 ๖. กายรูปพรหมละเอียด                   ๑๖. กายพระอนาคามีละเอียด
                 ๗. กายอรูปพรหม                            ๑๗. กายพระอรหัต
                 ๘. กายอรูปพรหมละเอียด                 ๑๘. กายพระอรหัตต์ละเอียด
                 ๙. กายโคตรภู

                นับแต่กายที่ ๔ ขึ้นไปจนถึงกายที่ ๑๘ เรียกว่ากายธรรม หรือ ธรรมกาย มีลักษณะรูปร่างเหมือนพระปฏิมา มีเกตุเป็นรูปดอกบัวตูม สวยงามใสสว่างมาก ใสเหมือนกระจกเงาที่ใช้ส่องดูหน้า แต่มีขนาดเล็กใหญ่กว่ากันตามลำดับ

               และด้วยการเห็นธรรรมกายภายในตัวและการปฏิบัติจนถึงขั้นได้อภิญญาจิต ทำให้พระภิกษุพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ) ทราบถึงเหตุผลที่ว่า เหตุใดพระพุทธรูปที่สร้างกันในสมัยโบราณ โดยเฉพาะตั้งแต่ยุคเชียงแสนขึ้นไป จึงเป็นพระปฏิมากรที่มีเกตุเป็นลักษณะดอกบัวตูม ทั้งนี้เป็นเพราะในยุคสมัยครั้งกระโน้นยังมีผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา จนบรรลุเห็นธรรมกายในตนเอง จึงจดจำเอารูปร่างลักษณะของกายธรรมที่ตนได้พบเห็นนั้น มาเป็นแบบอย่างการสร้างพระพุทธปฏิมากร ครั้นล่วงเลยเวลาต่อมาไม่มีผู้ปฏิบัติได้พบเห็นธรรมกายดังในสมัยก่อนนั้น จึงไม่เข้าใจถึงเหตุผลที่ต้องสร้างพระปฏิมาในลักษณะดังนั้น ไม่ทราบความหมายจึงมาคิดสร้างพระพุทธปฏิมาชนิดมีเกตุในลักษณะเปลวเพลิง โดยให้เป็นเครื่องหมายแสดงแทนพระฉัพพรรณรังสีของพระบรมศาสดา

                  จึงนับเป็นหลักฐานประการสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นพยานได้ว่า ในสมัยก่อน เมื่อมีการปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จะต้องปฏิบัติกันจนบรรลุธรรมกายแน่นอน วิธีปฏิบัติที่ทำให้เห็นกายในกายจนถึงกายธรรมนี้ ต้องเป็นของมีกันอยู่แต่เดิม มาเลอะเลือนสูญหายในภายหลัง เมื่อพระมงคลเทพมุนีค้นขึ้นมาสั่งสอนได้อีก จึงมิได้ตั้งหลักคำสั่งสอนใหม่แต่ประการใดเป็นแต่เพียงนำหลักปฏิบัติที่สูญหายไปกลับคืนมาใช้กันใหม่

                 สิ่งที่นับว่าอัศจรรย์อย่างยิ่งอีกประการหนึ่งคือ เมื่อเราศึกษาพระปริยัติธรรมโดยเฉพาะศึกษาเล่าเรียนในพระไตรปิฎก หรือจากที่พระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงพหูสูตรเขียนขึ้นไว้ในยุคหลัง ๆ เราสามารถพบเห็น ทำความเข้าใจ และรู้เรื่องเกี่ยวกับเรื่องของโลกต่าง ๆ มีอบายโลกมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก ได้ค่อนข้างละเอียด แต่ไม่สามารถเข้าใจโดยถ่องแท้เกี่ยวกับ มารโลก ที่กล่าวไว้มากมายหลายแห่งในตำราเหล่านั้น เมื่ออ่านพบเราจึงเพียงรู้ว่ามีมารโลกอยู่ แต่ลักษณะความเป็นไป ความเกี่ยวข้อง ฯลฯ ไม่มีแสดงไว้ให้ทราบในที่ใด ๆ เลยพุทธศาสนิกชนในยุคนี้จึงไม่มีโอกาสทราบ แต่เมื่อได้พากันมาปฏิบัติธรรม ตามแนววิชชาธรรมกายแล้ว จึงสามารถรู้และเห็นมารโลกนั้นได้โดยถ่องแท้เป็นมหัศจรรย์


                              วิธีเจริญภาวนาสมถวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิชชาธรรมกาย
                    ลำดับที่หนึ่ง คงเริ่มปฏิบัติรักษาศีล อย่างน้อยเบญจศีล และมีบุพกิจเบื้องต้นเช่นเดียวกับวิธีอื่น

                 ลำดับที่สอง บริกรรมนิมิต ใช้กำหนดเครื่องหมายเป็นดวงใสเหมือนเพชรลูกที่เจียระไนแล้วไม่มีขนแมว ขนาดโตเท่าแก้วตา หรือจะใช้พระพุทธรูปแก้วใส (บางคนใช้ดวงดาว ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงไฟ สรุปแล้วใช้สิ่งที่มีความใส และความสว่าง) ส่วนค่าภาวนาใช้คำว่า สัมมาอะระหัง ๆ อันเป็นพระพุทธคุณชนิดหนึ่ง สัมมาแปลว่า ชอบ ดี ดียิ่ง อะระหัง แปลว่าไกลจากกิเลส เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า สัมมาอะระหัง จึงแปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ปฏิบัติชอบปฏิบัติดียิ่งดังนี้ก็ได้

                ต้องกระทำบริกรรมภาวนาควบคู่ไปกับการนึกกำหนดให้เห็นนิมิตพร้อม ๆ กันไปอยู่เรื่อย ๆ แต่ไม่ต้องนึกถึงความหมายของค่าบริกรรมภาวนา สถานที่ที่นึกให้นิมิตเกิดมี ๗ แห่ง เรียกว่าฐาน

                ฐานที่ ๑ ตรงปากช่องจมูก (หญิงอยู่ตรงปากช่องจมูกข้างซ้าย ชายอยู่ตรงปากช่องจมูกข้างขวา)
                ฐานที่ ๒ ตรงเพลาตา หญิงอยู่ด้านซ้าย ชายอยู่ด้านขวา (ตรงหัวตาที่มูลตาออก)
                ฐานที่ ๓ ตรงจอมประสาท กลางถูกศีรษะข้างในตรงระดับเพลาตา
                ฐานที่ ๔ ตรงปากช่องเพดาน ที่รับประทานอาหารสำลัก
                ฐานที่ ๕ ตรงปากช่องลำคอ เหนือลูกกระเดือก
                ฐานที่ ๖ ตรงกลางท้องระดับเดียวกับสะดือ
                ฐานที่ ๗ ยกเหนือขึ้นมาจากฐานที่ ๖ สูงขึ้น ๒ นิ้วมือ

 

%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%997.PNG


                คำสอนในการลงมือปฏิบัติมีดังนี้ “เมื่อนั่งสมาธิตัวตรงดีแล้ว ให้หลับตาพอประดูตาติดกัน ปริมุข สติ อุปฏฐเปตวา ตั้งสติไว้ไม่ให้เผลอ แล้วกำหนดเครื่องหมายเข้า ใสเหมือนดังเพชรลูกที่เจียระไนแล้วโตเท่าแก้วตา ผู้หญิงกำหนดเข้าปากช่องจมูกซ้าย ผู้ชายกำหนดเข้าช่องปากจมูกขวา อย่าให้ล้ำให้เหลื่อม พอถูกส่วนดีแล้วให้บริกรรมประคองกับเครื่องหมายที่ใสนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง แล้วเลื่อนเครื่องหมายขึ้นไปแค่เพลาตา หญิงอยู่อีกข้างซ้าย ชายอยู่อีกข้างขวา ตรงหัวตาที่มูลตาออก ตามช่องที่ลมหายใจเข้าออกข้างใน แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ใสนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายตรงลำดับ เพลาตาเข้าไป ฐานนี้เป็นฐานที่ ๓ ไม่ให้ค่อนซ้ายขวาหน้าหลังล่างบน กลางถูกพอดีแล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ใสกลางถูกศีรษะนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง

                แล้วก็เลื่อนเครื่องหมายนั้น ตรงนี้มีลัทธิพิธีกลเม็ดอยู่ เมื่อถึงฐานที่สามแล้วต้องเหลือกตาไปข้างหลังให้ตาค้างเสมือนคนชักจะตาย ค้างลงไป ๆ แล้วให้กลับคืนเอง จนกระทั่งใจหยุด ความเห็นกลับเข้าข้างใน ก็เลื่อนเครื่องหมายจากฐานที่ ๓ ไปฐานที่ ๔ ที่ช่องเพดานที่รับประทานอาหารสําลัก อย่าให้ล้ำอย่าให้เหลื่อมให้พอดี ๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ฐานที่ ๔ นั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง

                 แล้วเลื่อนไปฐานที่ ๕ ที่ปากช่องคอเหนือลูกกระเดือก เหมือนกลางกั๊กปากถ้วยแก้ว แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ปากช่องคอนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง

                แล้วเลื่อนเครื่องหมายนั้นไปที่กลางตัวที่สุดลมหายใจเข้าออก ไม่ให้ค่อนซ้ายขวาหน้าหลังล่างบนนอกใน ให้อยู่กลางถูกพอดี ๆ แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่กลางตัวนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ๓ ครั้ง

               แล้วเลื่อนเครื่องหมายถอยหลังขึ้นมาเหนือกลางตัว ๒ นิ้ว ตรงนั้นเรียกว่า ศูนย์ตรงนั้นมีศูนย์อยู่ ๕ ศูนย์ ศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย
               ศูนย์กลาง อากาศธาตุ ศูนย์ข้างหน้า ธาตุน้ำ
               ขวา ธาตุดิน ซ้าย ธาตุลม หลัง ธาตุไฟ

                  เครื่องหมายใสสะอาดลอยตรงช่องอากาศกลาง แล้วบริกรรมประคองเครื่องหมายที่ช่องอากาศกลางนั้นว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ที่กลางอากาศว่างนั้น

            แล้วจะเห็นเป็นดวงใส ดวงโตประมาณเท่าแก้วตาอยู่ที่นั่น ใจของเราก็จรดอยู่ที่กลางดวงนั้น แก้ไขไปจนกระทั่งใจของเราหยุด บริกรรมภาวนาอยู่เรื่อย ๆ ว่า สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง ที่บริกรรมว่าดังนี้ ก็เพื่อจะประคองใจของเราให้หยุด พอถูกส่วนเข้าใจก็หยุด จะมืดก็หยุดตรงนั้น หรือว่าจะสว่างก็ต้องหยุดตรงนั้น ไม่ต้องถอยไปถอยมา นิ่งอยู่ตรงนั้น พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงใส เราก็เอาใจหยุดอยู่ที่กลางดวงใสนั้น ถ้าหากว่าใจของเราไม่นิ่ง ไม่หยุด ซัดส่ายไปอย่างไร เราก็ต้องใช้บริกรรมภาวนาไว้ว่าสัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง จะกี่ร้อยกี่พันครั้งก็ตามให้บริกรรมภาวนาไปจนกว่าใจของเราจะหยุดนิ่งสนิทดี

                พอใจของเราหยุดดีแล้ว ก็เลิกบริกรรมภาวนาได้ ให้เอาใจของเราจรดเพ่งเฉยอยู่ที่ดวงใสนั้น วางอารมณ์เฉยให้หยุดเท่านั้น อย่าไปนึกถึงความมืดความสว่าง “หยุด” นั่นแหละเป็นตัวสําเร็จ

                ที่กล่าวข้างต้นเป็นวิธีสอนทำใจให้หยุดนิ่ง สงบระงับ เป็นสมถะภาวนา เช่นเดียวกับการทำสมถกรรมฐานวิธีใดวิธีหนึ่งใน ๔๐ วิธี ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ไม่มีอะไรแตกต่างกัน มิใช่เป็นวิธีคิดขึ้นใหม่ เพียงแต่เอา ๒ วิธี ใน ๔๐ มารวมกัน เพื่อให้ได้รับผลสำเร็จเร็วขึ้นและเป็นแบบที่ใช้ได้กับคนทุกจริตอัธยาศัย นอกจากนี้ยังมีคำสอนต่อไปอีกว่า

                “อะไรที่เรียกว่าใจ เห็นอย่างหนึ่ง จ่าอย่างหนึ่ง คิดอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง ๔ อย่างนี้ รวมเข้าเป็นจุดเดียวกัน นั่นแหละเรียกว่าใจ อยู่ที่ไหน อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ คือ

                         ความเห็นอยู่ที่ท่ามกลางกาย                         ความจำอยู่ที่ท่ามกลางเนื้อหัวใจ
                         ความคิดอยู่ท่ามกลางดวงจิต                         ความรู้อยู่ท่ามกลางดวงวิญญาณ
                         เห็น จำ คิด รู้ ๔ ประการนี้หมดทั้งร่างกาย
                         ส่วนเห็นเป็นต้นของรู้                                     ส่วนจําเป็นต้นของเนื้อหัวใจ
                         ส่วนคิดเป็นต้นของดวงจิต                              ส่วนรู้เป็นต้นของดวงวิญญาณ

               ดวงวิญญาณเท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางดวงจิต ดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอกอยู่ในกลางเนื้อหัวใจ ดวงจำกว้างออกไปอีกหน่อยหนึ่ง เท่าดวงตาทั้งหมด ดวงเห็นอยู่ในกลางกายโตกว่าดวงตาออกไป นั่นเป็นดวงเห็น ดวงเห็นนั่นแหละ ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลางดวงนั้น นั่นแหละเรียกว่าเห็น เห็นอยู่ในธาตุเห็นนั้น
                         ดวงจำ ธาตุจำอยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น ความจำอยู่ที่นั่น
                         ดวงคิด ธาตุคิด อยู่ศูนย์กลางดวงนั้น
                         ดวงรู้ ธาตุรู้ อยู่ในศูนย์กลางดวงนั้น

               เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้แหละ เอาเข้ามาเป็นจุดเดียวกัน เรียกว่า ใจ ของยากอย่างนี้เห็นไหมล่ะ คำที่เรียกว่าใจนั่นแหละ เวลานี้เรานั่งอยู่ที่นี่ ส่งใจไปถึงบ้านก็ได้ ส่งใจไปถึงนรกก็ได้ ส่งใจไปถึงสวรรค์ก็ได้ ส่งใจไปถึงนิพพานก็ได้ (เรานึก) ส่งใจไปได้มันลึก ซึ่งอย่างนี้เห็นไหมล่ะ ใจนี้เป็นของลึกซึ้ง ถ้าว่ารู้แคบก็ส่งไปได้แคบ ถ้ารู้กว้างก็ส่งไปได้กว้าง ถ้ารู้ละเอียดก็ส่งไปได้ละเอียด ถ้ารู้หยาบก็ส่งไปได้หยาบ แล้วแต่ความรู้ของมันความเห็นของมัน สำคัญนัก คำที่เรียกว่าใจนี่ เราต้องบังคับให้หยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างนี้ต้องมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกันอยู่กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กข้างใน สะดือทะลุหลังเป็นด้ายกลุ่มไปเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายเป็น
ด้วยกลุ่มไปเส้นหนึ่งตึงตรงกัน ซึ่งทั้งสองเส้น ตรงกลางจรดกัน ที่กลางจรดกันนั่นแหละ เรียกว่า กลางถูก กลางก๊กนั่นแหละเรียกว่าถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ถูกกลางดวงพอดี เราเอาใจไปจรดที่กลางกั๊กนั้น เห็น จำ คิด รู้ ๔ อย่างจรดอยู่กลางก๊ักนั้น

                กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์มีที่ตั้งแห่งเดียวเท่านั้น ใจ ที่เขาบอกว่าตั้งใจ ๆ นั้น เราจะต้องเอาไปหยุดตรงนั้นที่เดียวถึงจะถูกเป้าหมายใจดำ ที่เขาบอกว่าตั้งใจเวลานี้เราจะทำบุญทำกุศล เราก็ต้องตั้งใจตรงนั้น บัดนี้เราจะรักษาศีลก็ต้องตั้งใจตรงนั้น บัดนี้เราจะเจริญภาวนา เราก็ต้องตั้งใจตรงนั้นเหมือนกัน ต้องเอาใจไปหยุดตรงกลางนั้น เมื่อเอาใจไปหยุดอยู่ตรงนั้นได้แล้ว ก็ใช้สัญญาจำให้มั่น หยุดนิ่ง บังคับให้นิ่ง ถ้าไม่นิ่งก็ต้องใช้บริกรรมภาวนาบังคับไว้ บังคับให้ใจหยุด บังคับหนักเข้า ๆ ๆ พอถูกส่วนเข้า ใจหยุดนิ่ง ใจหยุด ใจหยุด พอหยุดเท่านั้นถูกตัวสมถะแล้ว หยุดนั่นแหละเป็นตัวสมถะหยุดนั่นเองเป็นตัวสำเร็จ ทั้งทางโลกและทางธรรมสำเร็จหมด โลกที่จะได้รับความสุข ใจ
ต้องหยุดตามส่วนของโลก ธรรมที่จะได้รับความสุข ใจต้องหยุดตามส่วนของธรรม ท่านได้แนะนำไว้ตามวาระพระบาลีว่า นตฺถิ สนฺติ ป สุข สุขอื่นนอกจากหยุดจากนิ่งไม่มีหยุดนั่นเองเป็นตัวสำคัญ เพราะเหตุนั้นต้องทำใจให้หยุด เมื่อใจของเราหยุดแล้ว เราก็ต้องหยุดในหยุด ๆ ไม่มีถอยหลังกลับ หยุดในหยุด ๆๆ อยู่นั่นเอง ใจที่หยุดนั้นต้องถูกกลาง ถ้าไม่ถูกกลางใช้ไม่ได้ ต้องหยุดเข้าสิบ เข้าศูนย์ เข้าส่วนถูกสิบ ถูกศูนย์ ถูกส่วน
ถ้าหยุดกลางกายเช่นนั้นถูกสิบ พอถูกสิบเท่านั้นไม่ช้าจะเข้าถึงศูนย์ พอถูกสิบแล้วก็เข้าถึงศูนย์ทีเดียว โบราณท่านพูดกันว่า
                         เห็นสิบแล้วเห็นศูนย์         เป็นเค้ามูลสืบกันมา
                         เที่ยงแท้แน่นักหนา          ตั้งอนิจจาเป็นอาจิณ
                         จุติแล้วปฏิสนธิ                ย่อมเวียนวนอยู่ทั้งสิ้น
                         สังขาราไม่ยืนยิน              ราศีสั้นเป็นตัวมา

                 สิบศูนย์นี้เป็นตัวสำคัญมาก สัตว์โลกจะเกิดในโลกได้ ต้องอาศัยเข้าสืบแล้วตกศูนย์จึงเกิดได้ ถ้าเข้าสิบไม่ตกศูนย์แล้วเกิดไม่ได้ โลกกับธรรมต้องอาศัยกันอย่างนี้
                 ส่วนทางธรรมเล่าก็ต้องเข้าสืบ เข้าสืบแล้วก็ตกศูนย์ ตกศูนย์คือใจหยุด พอใจหยุดเรียกว่าเข้าสิบแล้ว เห็นเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ผุดขึ้นที่ใจหยุดนั้น นั่นตกศูนย์แล้วเข้าสืบแล้ว เห็นศูนย์แล้วเรียกว่า เข้าสิบแล้วเห็นศูนย์ พอเห็นศูนย์ใจก็หยุดอยู่กลางศูนย์นั้น กลางดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั้น ดวงนั้นแหละเรียกว่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรืออีกนัยหนึ่งดวงนั้นเรียกว่า ดวงปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นแห่ง มรรคผลนิพพาน ถ้าไปสู่มรรคผลนิพพาน ต้องเข้ากลางดวงนั้นแห่งเดียว ไปได้ทางเดียวทางอื่นไม่มี เมื่อเข้ากลางดวงศูนย์นั้นได้แล้ว เรียกว่าปฐมมรรค นัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่งดวงนั้นนั่นแหละเรียกว่า เอกายนมรรค แปลว่า หนทางเอกไม่มีโท สองไม่มี แปลว่าหนทางหนึ่งสองไม่มี หนึ่งทีเดียว ดวงนั้นแหละ เรียกว่าธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทั้งหมดในสากลโลกในสากลธรรม พระองค์จะเข้าไปสู่นิพพานต้องไปทางนี้ทางเดียว ไม่มีทางแตกแยกจากกัน ไปแนวเดียวทางเดียวกันหมด แต่ว่าการไปนั้น บางท่านเร็ว บางท่านช้าไม่เหมือนกัน คำที่ว่าไม่เหมือนกันนี่แหละ ถึงจะได้ชื่อว่าไม่ซ้ำกัน คำว่าไม่ซ้ำกันเพราะเร็วกว่ากัน ช้ากว่ากัน แล้วแต่นิสัย วาสนาของตนที่สั่งสมอบรมไว้ แต่ว่าทางไปนั้นเป็นทางเดียวกันหมด เป็นเอกายนมรรค หนทางสายเดียว เมื่อจะไปต้องหยุด นี่ก็แปลก ทางโลกเขาจะไปต้องขึ้นเรือบิน เรือยนต์ รถยนต์ไปจึงจะเร็วจึงจะถึง แต่ทางธรรมไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อจะไปต้องหยุด ถ้าหยุดจึงจะเร็ว จึงจะถึง นี่
แปลกอย่างนี้ ฉะนั้นต้องเอาใจหยุดให้ถูกที่ จึงจะเร็วจึงจะถึง หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนก็เป็นดวงใส ดวงใสนั้นแหละเรียกว่า เอกายนมรรค หรือเรียกว่า ปฐมมรรค หรือเรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน โตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใจก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงนั้น พอหยุดนิ่งถูกส่วนเข้าเท่านั้น หยุดในหยุด ๆๆกลางของหยุด เรื่อยเข้าไป กลางของกลาง ๆๆๆ ที่หยุดนั้นพอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอีกดวงหนึ่งเท่า ๆ กัน อยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เรียกว่า ดวงศีล

                  หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้า เห็นอีกดวงหนึ่งเท่า ๆ กัน เรียกว่าดวงสมาธิ
                  หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั้น พอถูกส่วนเข้าเห็นอีกดวงหนึ่งเรียกว่าดวงปัญญา ดวงเท่า ๆ กัน
                  หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่น พอถูกส่วนเข้าเห็นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่าดวงวิมุตติใสละเอียด หนักขึ้นไป
                  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่น พอถูกส่วนเข้าเห็นอีกดวงหนึ่งเรียกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
              หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าเห็นตัวกายมนุษย์ของเรา ที่นอนหลับฝันออกไป ที่ไปเกิดมาเกิด เขาเรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด พอเราไปเห็นเข้าเท่านั้น เราก็รู้ได้ทีเดียวว่า อ้อกายนี้เวลาฝันเราเคยเห็น เคยไปกับมัน ในเวลาทำกิจหน้าที่ฝัน เวลาตื่นแล้วไม่รู้มันไปอยู่ที่ไหน บัดนี้เรามาเห็นแล้ว อยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นเอง

                  เมื่อเห็นแล้วก็ให้กายมนุษย์ละเอียดนั้นนั่งสมาธิเข้า เหมือนกายมนุษย์หยาบข้างนอกนี้ เมื่อนั่งถูกส่วนเข้าแล้ว ใจของกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้า หยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายทิพย์
                  ให้กายทิพย์นั่งแบบเดียวกับกายมนุษย์ละเอียดนั่น ใจของกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                            ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                         ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                       ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                         ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ       ถูกส่วนเข้า เห็นกายรูปพรหม

                 ใจของกายรูปพรหมก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 ใจของกายรูปพรหม เมื่อหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล

                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                            ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                        ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                      ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                        ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ      ถูกส่วนเข้า เห็นกายรูปพรหมละเอียด

                ใจของกายรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                           ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                       ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                     ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                       ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ     ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหม

               ใจของกายอรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                           ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                       ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่ตรงกลางดวงปัญญา                ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่ตรงกลางดวงวิมุตติ                  ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ     ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด

                ใจของกายอรูปพรหมละเอียด หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                            ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                         ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                       ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                         ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ

                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรม (กายโคตรภู) รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใส่เป็นกระจกส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน หน้าตักเท่าไหน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ก็โตเท่านั้น กลมรอบตัวอยู่กลางกายธรรมกายนั้นธรรมกายเป็นตัวพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ ใจพุทธรัตนะก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอ
                 หยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                        ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                    ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                  ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงมิตตุ                      ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
               หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมละเอียด (กายโคตรภูละเอียด) โตกว่าธรรมกายที่เห็นแล้วนั้น ๕ เท่า

                 ใจของธรรมกายละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้กายธรรมละเอียดถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานขยายส่วนโตหนักขึ้นไป
                 ใจก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                       ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                    ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                  ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ 
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                    ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

                 ใจของกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศิล                        ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ

            หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                    ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                  ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                   ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
              หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระโสดาบันละเอียด อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะสของโสดานั้น หน้าตัก ๕ วา

       ใจของกายพระโสดาละเอียด หยุดนิ่งอยู่ที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                                ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                             ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                           ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                             ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกิทาคา หน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

                 ใจของพระสกิทาคา ก็หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                 หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                 หยุดอยู่กลางดวงศีล                                 ถูกส่วนเข้า ดวงสมาธิ
                 หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                             ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                 หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                           ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                 หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                             ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
              หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกิทาคาละเอียดหน้าตัก ๑๐ วา สูง ๑๐ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

              ใจของพระสกิทาคาละเอียด หยุดอยู่ที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                  หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                  หยุดอยู่กลางดวงศีล                                ถูกส่วนเช้า เห็นดวงสมาธิ
                  หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                            ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                  หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                          ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                            ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระอนาคา หน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้น

                  ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นพระอนาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                  หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                  หยุดอยู่กลางดวงศิล                                ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                  หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ                             ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                  หยุดอยู่กลางดวงปัญญา                           ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ                             ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                  หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกาย พระอนาคาละเอียดหน้าตัก ๑๕ วา สูง ๑๕ วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้น

                  ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
                   หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                   หยุดอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ
                   หยุดอยู่กลางดวงสมาธิถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา
                   หยุดอยู่กลางดวงปัญญาถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ
                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ
                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัตต์ หน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ ที่ ๒๐ วา กลมรอบตัว

                   ใจของพระอรหัตต์ก็หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัตต์ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
                   หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล
                   หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วากลมรอบตัวเหมือนกัน
                   หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐วากลมรอบตัวเหมือนกัน
                   หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วากลมรอบตัวเหมือนกัน
                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ๒๐ วากลมรอบตัวเหมือนกัน
                   หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัตต์ละเอียดสวยงามมาก นี่เป็นกายที่ ๑๘
                   เมื่อถึงกายพระอรหัตต์นี้แล้ว หลุดกิเลศหมด ไม่มีกิเลสเลย เสร็จกิจในพระพุทธศาสนาทั้งสมถะวิปัสสนาตลอด

                 ตั้งแต่กายมนุษย์ ถึงกายอรูปพรหมละเอียด แค่นั้นเรียกว่าชั้นสมถะ
                ตั้งแต่กายธรรมโคตรภู ทั้งหยาบทั้งละเอียด จนกระทั่งถึงกายพระอรหัตต์ทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ ขั้นวิปัสสนาทั้งนั้น เรามาเรียนสมถะวิปัสสนาวันนี้ ต้องเดินแนวนี้ผิดแนวนี้ไม่ได้ และก็ต้องเป็นอย่างนี้ ผิดอย่างนี้ไปไม่ได้ ผิดอย่างนี้ไปก็เลอะเหลวต้องถูก ตรงตามแนวนี้
                   เราจะต้องยึดกายมนุษย์นี้เป็นแบบ                เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียด
                   ต้องยึดกายมนุษย์ละเอียดเป็นแบบ               เข้าไปถึงกายทิพย์
                   ต้องยึดกายทิพย์เป็นแบบ                            เข้าไปถึงกายทิพย์ละเอียด
                   ต้องยึดกายทิพย์ละเอียดเป็นแบบ                 เข้าไปถึงกายรูปพรหม
                   ต้องยึดกายรูปพรหมเป็นแบบ                       เข้าไปถึงกายรูปพรหมละเอียด
                   ต้องยึดกายรูปพรหมละเอียดเป็นแบบ            เข้าไปถึงกายอรูปพรหม
                   ต้องยึดกายอรูปพรหมเป็นแบบ                      เข้าไปถึงกายอรูปพรหมละเอียด
                   ต้องยึดกายอรูปพรหมละเอียดเป็นแบบ          เข้าไปถึงกายธรรม
                   ต้องยึดกายธรรม*** เป็นแบบ                        เข้าถึงกายธรรมละเอียด
                   ยึดกายธรรมละเอียดเป็นแบบ                        เข้าไปถึงกายธรรมพระโสดา
                   ยึดกายธรรมพระโสดาเป็นแบบ                      เข้าไปถึงกายธรรมพระโสดาละเอียด
                   ยึดกายธรรมพระโสดาละเอียดเป็นแบบ           เข้าไปถึงกายธรรมพระสกิทาคา
                   ยึดกายธรรมพระสกิทาคาเป็นแบบ                  เข้าไปถึงกายธรรมพระสกิทาค่าละเอียด
                   ยึดกายธรรมพระสกิทาคละเอียดเป็นแบบ        เข้าไปถึงกายธรรมพระอนาคา
                   ยึดกายธรรมพระอนาคาเป็นแบบ                     เข้าไปถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด
                   ยึดกายธรรมพระอนาคาละเอียดเป็นแบบ         เข้าไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์
                   ยึดกายธรรมพระอรหัตต์เป็นแบบเข้าไปถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด ฯลฯ


                   นี่แหละหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนา ต้องแน่นอน จับตัววางตายอย่างนี้ ไม่เลอะเลือนเหลวไหล แต่ว่าจะไปทางนี้ต้อง “หยุด” ทางธรรมเริ่มต้นต้องหยุด ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งเข้าถึงพระอรหัตต์ ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ ชัดทีเดียว แปลกไหมล่ะ ไปทางโลกเขาต้องไปกันปราดเปรียวว่องไวคล่องแคล่ว ต้องเล่าเรียนกันมากมาย จนกระทั่งรู้เท่าทันเหลี่ยมผู้คนตลอดสาย จึงจะปกครองโลกให้รุ่งเรืองเจริญได้ แต่ว่าจะไปทางธรรมแปลก หยุดเท่านั้นแหละไปได้ “หยุด” อย่างเดียวเท่านั้น

                ที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นขั้นปฏิบัติเบื้องต้นของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายมีข้อสังเกตที่ประกอบด้วยเหตุผลอยู่ ๔ ข้อคือ
                    ๑. การให้นั่งสมาธิโดยมีมือขวาทับมือซ้ายอยู่บนตัก โดยให้ปลายนิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดปลายนิ้วหัวแม่มือของมือข้างซ้าย มีวัตถุประสงค์เป็นเครื่องป้องกันความง่วงเมื่อใดรู้สึกง่วง ปลายนิ้วทั้งสองที่ยันจรดกันไว้จะหลุดออกจากกัน ทำให้นิ้วหัวแม่มือของทั้งสองมือเลื่อนมาชนกัน เป็นการเตือนให้ผู้ปฏิบัติได้สติรู้สึกตนว่า กำลังจะเริ่มง่วงจะได้ตั้งสติให้มั่นคงขึ้นใหม่

                    ๒. เนื่องจากเป็นการปฏิบัติที่มุ่งให้เกิดผลทั้ง “รู้” และทั้ง “เห็น” การเห็นจำเป็นต้องอาศัยญาณทัสสนะที่ทำให้เกิดตาทิพย์เป็นอย่างน้อย ดวงตาธรรมดาของมนุษย์เรา ถ้าจะให้มองเห็นอะไร ๆ ได้ ยังต้องอาศัยแสงสว่างเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งทำให้เกิดการ “มองเห็น การเห็นทางใจก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ต้องมีความสว่างไสวเกิดขึ้นภายในใจ จึงจะทำให้เกิดการเห็นแจ้งภายใน
                    ดังนั้นในการปฏิบัติข้างต้น จึงต้องใช้สิ่งของที่มีคุณสมบัติ ใส สว่าง เช่นดวงแก้วพระพุทธรูปที่ทำด้วยแก้ว มาเป็นบริกรรมนิมิต เรียกว่าเป็นอาโลกกสิณ (กสิณ แสงสว่าง)ซึ่งเป็นกสิณที่ดีที่สุดในการปฏิบัติให้เกิด ทิพยจักขุ****

                    ๓. การใช้คำบริกรรมภาวนาว่า สัมมาอะระหัง ๆ ๆ นอกจากถือว่าเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกอบอุ่นใจแล้ว ยังเป็นถ้อยคำที่มีความยาวถึง ๕ พยางค์ ทำให้ผูกจิตใจไว้ได้นานขึ้น ถ้าใช้คำสั้น ๆ อาจทำให้สติเผลอไปนึกถึงเรื่องอื่น ๆ ได้ง่าย
                    เมื่อจิตหยุดสนิทดีแล้ว บริกรรมภาวนาก็ไม่ต้องใช้ หรือบางทีในการปฏิบัติขึ้นสูงขึ้นไปจากนี้ท่านยังให้ใช้ถ้อยคำอย่างอื่น เช่น หยุดในหยุด ๆ หรือ นึ่งในนิ่ง ๆ หรือกลางของกลาง ๆ ดังนี้เป็นต้น

                    ๔. การให้กำหนดนิมิต ตั้งไว้แน่นอนที่ศูนย์กลางกาย เพราะที่นั้นเป็นที่อยู่ของ “จิต” เมื่อกำหนดได้ชัดเจนอุปมาเหมือนจับ “ดวงจิต” ไว้ได้ ย่อมใช้งานได้ตามปรารถนา

                    ผู้ปฏิบัติที่บรรลุผลสำเร็จ เข้าถึงกายภายในทั้ง ๑๘ กาย อันเป็นเบื้องต้นแล้ววิชาชั้นสูงมีแนวทางปฏิบัติเป็น ๒ แนว แนวหนึ่งเป็นการทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสโดยปกติที่มีคำสอนอยู่ในพระไตรปิฎก และตำราของพุทธศาสนาโดยทั่วไป ต่างกันตรงที่ถ้าปฏิบัติโดยใช้กายธรรมเป็นกายพิจารณาแล้ว ปัญญาที่ได้แจ่มแจ้งชัดเจนละเอียดถี่ถ้วน ทั้งรู้ทั้งเห็นโดยถูกต้อง เป็นภาวนามยปัญญาอันบริสุทธิ์ สามารถทำผู้ปฏิบัติให้บรรลุมรรค ผล และเข้าถึงพระนิพพานได้

                    อีกแนวหนึ่ง เป็นวิชามรรคผลพิสดาร เป็นการปฏิบัติเพื่อทำวิชชาสะสางธาตุธรรม โดยเข้าให้ถึงต้นต้นธาตุ ต้นต้นธรรม เพื่อเก็บวิชชาธรรมดำหรือดับอวิชชา (ซึ่งเป็นของฝ่ายมารโลก) อันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดทั้งมวล ให้เหลืออยู่แต่เฉพาะฝ่ายธรรมชาว หรือฝ่ายบุญกุศล และแก้ไขธาตุธรรมสายกลาง (ไม่ดำไม่ขาว) ให้กลับเป็นฝ่ายขาวด้วย

                     พระมงคลเทพมุนีได้เทศน์สอนไว้เมื่อ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ อันเป็นวันคล้ายวันเกิด ว่า
                   "มารปล่อยสายมาปกครองมนุษย์ มนุษย์ตกเป็นบ่าวเป็นทาสของ โลภะ โทสะ โมหะ มีแก่ มีเจ็บ มีตาย เช่น สงครามที่แล้วมาเกิดจากโลภะ คือความโลภเป็นเหตุให้คนเจ็บ คนตาย ลูกชายหญิงมีความหลง โมหะ ว่าตัวเก่งแล้ว พ่อแม่ว่าไม่ได้ มีโทสะ โมโหโต้เถียงไม่กลัวเกรง
                 ที่เป็นเช่นนี้เพราะนาย โลภะ โทสะ โมหะ เขาปกครอง เขาสั่งให้ทำเช่นนั้น เอาบ้านเมืองมาล่อ เอาความเจ็บความตายมาให้ ปราบมารเหล่านี้ลงเสียได้ มนุษย์จะได้อยู่เป็นสุข เจ้าตัวมารเหมือนผีเที่ยวสิง บังคับให้เป็นไปตามคำสั่งของเขา
                   เราต้องเข้าวิชชาธรรมกายจึงรู้ เห็นหมด เพราะธาตุธรรมไม่เหมือนกัน วัดปากน้ำช่วยเหลือแก้คนป่วยไข้ให้หาย ไม่ต้องกินยา มารมันยอมให้ คนไข้หาย แต่มันไม่ยอมแพ้ มันแพ้หลอก ๆ

                       มนุษย์ชายหญิงเป็นพระก็มาก เป็นมารก็มาก
                      เป็นธรรมกาย ดูเป็น รักษาตัวได้ เราจับสายธรรมะเสีย เขาก็ไม่รบกัน เก็บสมบัติให้หมด เก็บอาวุธให้หมดตามจุด เขาก็ไม่รบกัน (จับหรือเก็บในที่นี้เป็นวิธีของการปฏิบัติธรรม)

                   กวดกันอย่างนี้ ๒๕ ปีแล้ว แยกพระ แยกมาร ไม่ให้ปนกัน ไม่ให้กระทบกันต่างฝ่ายต่างเป็นสุข จะให้สัญญาไม่รังแกกัน ถ้าไม่ยอมก็เก็บฤทธิ์เสีย ที่ไม่ตกลงกันเพราะเขาลองฤทธิ์กัน ผู้เทศน์ปล่อยชีวิตถึง ๒ คราว จึงได้พบธรรมกาย

                  ชายหญิงผู้ปฏิบัติธรรมะ ถึงธรรมกายโคตรภู เท่ากับได้บวชข้างใน เป็นหญิงบวชข้างใน เป็นชายบวชทั้งข้างในข้างนอกเป็น ๒ ชั้น
                   ความอยาก เป็นเหตุให้เกิด เกิดเป็นผล
                  หยาบดับได้ ดับเป็นชั้น ๆ ดับตั้งแต่กายมนุษย์หยาบจนถึงธรรมกาย ความเกิดเป็นของจริง ละได้ก็เห็นดับ ดับนั้นเป็นนิโรธ นิโรธมีขึ้นได้เพราะศีล สมาธิ ปัญญา
                   ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นชั้น ๆ เข้าไป จนเป็นพระโสดา ตาดีก็เห็น ญาณดีก็รู้มีบาลีรับรอง
                   พระพุทธเจ้าทั้งหลาย “ธรรมกาย” นั่นแหละเป็นผู้รักษาความสงบ

                       สำหรับการปฏิบัติขั้นสูงมิได้กล่าวไว้ในที่นี้ เมื่อสิ้นสมัยของพระมงคลเทพมุนีลงเหล่าศิษย์ ได้ศึกษาปฏิบัติสืบทอด และเผยแผ่กันต่อมาอย่างกว้างขวาง แหล่งที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งคือ ที่วัดพระธรรมกาย ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานีมีท่านธัมมชโยภิกขุ เป็นเจ้าอาวาส ท่านทัตตชีโวภิกขุเป็นรองเจ้าอาวาส เป็นสถานที่ฝึกฝนการปฏิบัติและเผยแผ่อย่างจริงจัง พระภิกษุสงฆ์แทบทั้งสิ้นจบการศึกษาวิชาการทางโลกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และบวชอุทิศชีวิตไม่ลาสิกขาบทตลอดไปจนสิ้นอายุขัย นับเป็นกำลังอันสำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนาในยุคนี้ฃ

                     สําหรับการปฏิบัติธรรมตามแนววิชชาธรรมกาย มีหลายฝ่ายเข้าใจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยคิดว่าเป็นการตั้งวิธีปฏิบัติขึ้นมาเองใหม่บ้าง เป็นการสร้างมโนภาพอันเป็นภาพลวงตาบ้าง เมื่อได้ลงมือปฏิบัติกันจริงจังจึงจะพบว่า นอกจากเป็นการทำสมาธิด้วยอาโลกกสิณและค่าภาวนาเป็นพุทธานุสสติแล้ว กายในกายที่ปรากฏเห็นได้ก็เป็นไปตามหลักอภิธรรมไม่ผิดเพี้ยน

                     ในทางพระอภิธรรมกล่าวถึงจิตในภพภูมิต่าง ๆ มีอบายภูมิ มนุสสภูมิ เทวภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ และจิตที่เป็นโลกุตตระ ตั้งแต่โคตรภู โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และอรหัตต์ แต่เวลาที่เราศึกษาเล่าเรียน มักจะเป็นที่เข้าใจกันว่า ภูมิต่าง ๆ เหล่านั้น เหล่าสัตว์จะไปถึงได้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว ถ้าจะย้อนไปทบทวนความรู้เรื่อง “รูป” มีกล่าวเรื่องธรรมเป็นเหตุให้รูปเกิดมีอยู่ ๔ อย่าง คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร โดยเฉพาะจิตตสมุฏฐานกล่าวไว้ว่า

                     "จิต ๗๕ ชนิด (เว้นทวีปัญจวิญญาณจิต ๑๐ อรูปวิปากจิต ๔ ปฏิสนธิจิตของสัตว์ทั้งหลายและจุติของพระอรหันต์) เจตสิกจำนวนทั้ง ๕๒ ที่ ในปัจจุบันทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ทุก ๆ อุปปาทุกขณะของจิต นับตั้งแต่ปฐมภวังค์ที่ต่อจากปฏิสนธิจิตเป็นต้นมา”

                       นับเป็นการยืนยันได้ว่า จิตทำให้รูปเกิดได้ตลอดเวลาแม้ในขณะปัจจุบัน เรื่องนี้เราสามารถมองเห็นตัวอย่างได้โดยทั่วไป เช่นผู้มีจิตใจดีมักมีรูปร่างผิวพรรณอิ่มเอิบผ่องใส ถ้าหงุดหงิด โกรธทำให้ลักษณะที่แสดงออกตลอดจนผิวพรรณวรรณะไม่สวยงามคนที่มีอาชีพคุ้นอยู่กับการปาณาติบาต จิตใจมักดุร้าย พลอยให้หน้าตาแสดงอาการดุร้ายไปด้วย เพราะจิตต้องคุ้นเคยเสพอยู่กับอาการอันเป็นอกุศล หรือเหมือนคนที่เลี้ยงสัตว์ชนิดหนึ่งชนิดใดเป็นประจำ มักจะมีอากัปกิริยา นิสัยใจคอคล้ายสัตว์ที่ตนเลี้ยง

                     เมื่อเป็นเช่นนั้นในการปฏิบัติเจริญภาวนา เมื่อผู้ปฏิบัติกระทำจิตให้ดีงามถึงระดับเดียวกับจิตใจของสัตว์ในภูมินั้น ๆ จิตตชรูปย่อมเกิดได้ ผู้ปฏิบัติจึงสามารถมองเห็นกายต่าง ๆ ภายในตนตามลำดับ เริ่มแต่ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายโคตรภู กายโสดาบัน กายสกิทาคามี กายอนาคามี กายอรหัตต์ ไม่ใช่เห็นด้วยการเพ้อฝัน แต่เป็นการทั้งรู้ทั้งเห็นที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เป็นการปฏิบัติสมถกรรมฐานในเบื้องต้น และวิปัสสนากรรมฐานในลำดับสูงขึ้น เหมาะสมกับจริตของคนทุกชนิด ไม่เลือกจริตเหมือนวิธีอื่น ๆ ทั้งสิ่งที่นำมาเป็นบริกรรมนิมิต อันเป็นอารมณ์ของการปฏิบัติก็เป็นของหาได้ง่าย พกพาติดตัวไปที่ใด ๆ ได้สะดวก ผลของการปฏิบัติขั้นสมถกรรมฐาน ก็เข้าถึงอัปปนาสมาธิโดยง่าย สามารถพิสูจน์ความเป็นจริงในเรื่องราวต่าง ๆ ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ต่าง ๆ ปราศจากข้อสงสัยลังเลอย่างสิ้นเชิง เช่นเรื่อง นรก สวรรค์ ชาตินี้ ชาติหน้า ความเป็นไปของโลกและจักรวาล การระลึกชาติในอดีต การรู้ชาติในอนาคต รู้ความเป็นไปของสัตว์ทั้งหลาย รู้ใจสัตว์อื่น ตลอดจนมีอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆเป็นต้น

                         ฉะนั้นสำหรับมนุษย์ในยุคนี้ซึ่งมีเวลาว่างจากการทำมาหากินน้อย มีความลังเลสงสัยมาก มีทิฏฐิมาก มีโมหะมาก มีความเพียรในทางที่ควรน้อย การปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายนับว่าเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด

 

อุปสรรคของสมาธิ

                        การเจริญภาวนา โดยเฉพาะสมถะภาวนา ที่ไม่ได้รับผลสำเร็จด้วยดี ใจไม่หยุดไม่นิ่งไม่สงบลงได้ หรือไม่ได้รับผลใด ๆ เพราะมีอุปสรรคประการต่าง ๆ ดังนี้
                           ๑. วิจิกิจฉา                               ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ
                           ๒. อมนสิการ                             ความไม่สนใจไว้ให้ดี
                           ๓. ถีนะมิทธะความท้อแท้           ความเคลิบเคลิ้มง่วงงุน ง่วงเหงาหาวนอน
                           ๔. ฉัมมิตัตตะ                            ความสะดุ้งหวาดกลัว
                           ๕. อุพพีละ                                ความตื่นเต้นด้วยความยินดี
                           ๖. ทุกจุลละ                              ความไม่สงบกาย
                           ๗. อังจารัทธวิริยะ                      ความเพียรจัดเกินไป
                           ๘. อติลีนะวิริยะ                         ความเพียรย่อหย่อนเกินไป
                           ๙. อภิชัปปา                              ความอยาก
                           ๑๐. นานัตตสัญญา                    ความคิดนึกไปในสิ่งต่าง ๆ เรื่องราวต่าง ๆ ที่เคยผ่านมา หรือจดจำไว้ มาผุดขึ้นในสมาชิ
                           ๑๑. รูปานัง อตินิชฌา อิตัตตะ     ความเพ่งต่อรูปหรือเพ่งในนิมิตนั้นเกินไป

                          ทั้ง ๑๑ ข้อนี้ เป็นอุปกิเลสขัดขวางการเจริญสมาธิภาวนา ถ้าเกิดขึ้นแม้เพียงอย่างเดียว สมาธิก็ไม่เกิด ฉะนั้นในการปฏิบัติ จะต้องใช้ ความเพียร และความอดทน ทั้ง ๒ ประการนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ต้องคอยประคองคุมสติไว้ไม่ให้เผลอ ใช้ปัญญาสอดส่องดูว่าวิธีใดที่จะไม่ให้อุปกิเลสเหล่านี้เกิดขึ้น แล้วพยายามกำจัดเสียด้วยอุบายนั้น ๆ
                          อนึ่งในการปฏิบัติ จะต้องทำใจให้เป็นกลาง ๆ คือมัชฌิมปฏิปทา ให้เป็นอุเบกขาอย่ายินดี ยินร้าย การบำเพ็ญเพียรก็ต้องเป็นไปโดยสม่ำเสมอ ทำเนือง ๆ ในทุกอิริยาบถ ไม่ว่านั่ง นอน ยืน เดิน กระทำเรื่อยไป ไม่หยุด ไม่ละ ไม่ทอดทิ้ง ท้อแท้เบื่อหน่าย มุ่งรุดหน้าไปตลอดจะต้องได้รับผลสำเร็จ ซึ่งย่อมสามารถรู้ด้วยตัวของตัวเอง

                           แม้หากไม่ได้รับผลสำเร็จที่น่าพึงพอใจประการใด แต่ก็จะเป็นบุญกุศลตามติดตัวเป็นปุพเพกตปุญญตาต่อไปในภพหน้า เมื่อสิ้นชีวิตลงในขณะที่ยังไม่ทอดทิ้งการปฏิบัติย่อมมีสุคติภูมิเป็นที่ไปเกิดอย่างแน่นอน
                          การคอยใส่ใจตักเตือนตนเองด้วยอุบายอันแยบคาย เพื่อให้จิตใจตั้งมั่นอยู่ในการบำเพ็ญเพียร เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด เพราะการคิดกระทำกุศลด้วยตนเอง ไม่ต้องรอหรือคอยให้ผู้อื่นกระตุ้นเตือน ย่อมเป็นมหากุศลจิตที่มีกำลังมาก มีกำลังเข้มแข็ง เรียกว่า เป็นชนิดอสังขาริก เป็นคุณอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

 

 

เชิงอรรถ

* จากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทานวรรค พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงเล่ม ๒ ทน ๑๕
** จากพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทานวรรค พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวงเล่ม ๓๓ หน้า ๒๓๙
*** กายธรรม รูปเหมือนกับพระปฏิมากรที่เขาขึ้นไว้ ในโบสถ์วิหารการเปรียญ เขาทำแบบไว้อย่างนั้น
**** กสิณ ทำให้เกิดอภิญญาจิต ทิพยจักร มี 3 อย่าง คือ เตโชกสิณ (กสิณไฟ) โอทาตกสิณ (กสิณสีขาว) และอาโลกกสิณ กสิณแสงสว่าง

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0093693017959595 Mins