ที่มาของ การกล่าวสัมโมทนียกถา

วันที่ 17 พย. พ.ศ.2566

0014.jpg

ที่มาของการกล่าวสัมโมทนียกถา


                 การกล่าวอนุโมทนาสาหรับพระภิกษุนั้น เป็นพระบรมพุทธานุญาตที่พระพุทธเจ้าตรัสให้ภิกษุสงฆ์ ถือเป็นหลักปฏิบัติ และเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ต้องทำเป็นกิจวัตรประจำ ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในพระวินัยปิฎก จุลวรรค วัตตขันธกะ1
 

                 “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อนุโมทนาในโรงฉัน”


                 “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เถระอนุโมทนาในโรงฉัน”

 
                   “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุเถรานุเถระ ๔ - ๕ รูป รออยู่ในโรงฉัน”


                    ในงานประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนานั้น มีคาถา หรือถ้อยคำที่พระภิกษุต้องสวด ขาดมิได้ คือ อนุโมทนากถา ซึ่งท่านจะสวดตอนสุดท้ายก่อนเสร็จพิธีสงฆ์ทุกครั้ง ชาวบ้านเรียกว่า พระให้พร และชาวบ้านก็จะตั้งใจ รับพรพระ คือบทขึ้นต้นที่คนส่วนมากพูดติดปากว่า ยถา - สัพพี


                    เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอนุโมทนากถา ซึ่งมีปรากฏหลักฐานในพระวินัยปิฎก มหาวรรค เภสัชชขันธกะ2


                   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนครพาราณสี ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว เสด็จพระพุทธดำเนินมุ่งไปทางอันธกวินทชนบท พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป


                   ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้หนึ่งได้ถวายยาคูและขนมปรุงด้วยน้ำหวานมากมายด้วยมือของตน โดยมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุข


                   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ ล้างพระหัตถ์แล้ว ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ห้ามภัตแล้วจึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง


                    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระพุทธพจน์นี้กับพราหมณ์ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า


                   “ดูก่อนพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่าง ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ผู้ให้ข้าวยาคู ชื่อว่าให้อายุ ๑ ให้วรรณะ ๑ ให้สุข ๑ ให้กำลัง ๑ ให้ปฏิภาณ ๑ ข้าวยาคูที่ดื่มแล้วกำจัดความหิว ๑ บรรเทาความกระหาย ๑ ทำลมให้เดินคล่อง ๑ ล้างลำไส้ ๑ ย่อยอาหารใหม่ที่เหลืออยู่ ๑ ดูก่อนพราหมณ์ ข้าวยาคูมีคุณ ๑๐ อย่างนี้แล''

                    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสอนุโมทนากถาต่อไปนี้


คาถาอนุโมทนา


                    ทายกไตถวายข้าวยาคูโดยเคารพตามกาล แก่ปฏิคาหก ผู้สำรวม แล้วบริโภคโภชนะอันผู้อื่นถวายทายกนั้นชื่อว่า ให้ซึ่งสถานะ ๑๐ อย่างแก่ปฏิคาหกนั้น อายุ วรรณะ สุขะ พละ และปฏิภาณ ย่อมเกิดแก่ปฏิคาหกนั้น แต่นั้นยาคูย่อมกำจัดความหิว ความกระหาย ท้าลมให้เดินคล่อง ล้างลำไส้ และย่อยอาหารยาคูนั้นพระสุคตตรัสสรรเสริญว่าเป็นเภสัช เพราะเหตุนั้นแล มนุษยชนที่ต้องการสุขยั่งยืน ปรารถนาสุขที่
เลิศ หรืออยากได้ความงามอันเพริศพริ้งในมนุษย์ จึงควรแท้เพื่อถวายข้าวยาคู


ความหมาย


                   อนุโมทนาวิธี คือวิธีแสดงความยินดีในเมื่อมีผู้ทําบุญประกอบการกุศลทำความดีโดยอนุโมทนากถา

                   สัมโมทนียกถา เป็นคำศัพท์ของพระ มาจากคำว่า
สํ = พร้อม, กับ, ดี
โมทนีย = ความบันเทิง, ยินดี, พลอยยินดี
กถา = ถ้อยคํา, คําพูด
สัมโมทนียกถา = การกล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิดความยินดี หรือบันเทิงใจโดยพร้อมกัน


                     สัมโมทนียกถา กับ อนุโมทนากถา มีความหมายเดียวกัน คือ ถ้อยคำสำหรับกล่าวแสดงความยินดี ความพอใจ เป็นคำกล่าวตอบทำนองเดียวกับคำว่า ขอบใจ จะต่างกันก็แต่ว่า คำว่า ขอบใจ ผู้กล่าวใช้เมื่อมีผู้ปฏิบัติสิ่งชอบใจแต่ตนโดยเฉพาะ


                      ส่วนสัมโมทนียกถา ใช้กล่าวเมื่อเห็นชัดว่ามีบุคคลประกอบกรรมดี เป็นกุศลต่อตัวเองหรือต่อสังคม เป็นค่ากล่าวสนับสนุนส่งเสริมให้ภูมิใจในการกระทำนั้น พร้อมกับขออานุภาพคุณของพระรัตนตรัย คุณธรรมความดีนั้นให้คุ้มครองป้องกันภัยพิบัติอย่างที่
ชาวบ้านเรียกว่า ให้พร

 

1วัตตขันธกะ มก. ๙/๓๔๓, มจ. ๗/๒๒๘

2เภสัชขันธกะ มก. ๗/๑๐๑, มจ.๕/๘๗

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0014232317606608 Mins